วังวนแห่งความไม่รู้: ไม่รู้ว่าตัวเองรู้


ในอีกหนึ่งของปัญหาการจัดการความรู้ ก็คือคนที่ไม่ทราบว่าตัวเองรู้อะไรบ้าง

ประสบการณ์นี้มาจากตอนที่ผมไปรวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านในการจัดการทรัพยากรน้ำในภาคอีสาน  ผมต้องใช้เวลาอธิบายอยู่ตั้งนานกว่าจะได้ชุดความรู้ในแต่ละเรื่อง แต่ละประเด็นออกมา

สาเหตุใหญ่ก็คือเกษตรกรในท้องถิ่นทั่วไปมักใช้ความรู้แบบเป็นธรรมชาติและอัตโนมัติ โดยไม่คิดว่าเป็นความรู้  สิ่งนี้เป็นปัญหาสำคัญในการทำงานวิจัยในระดับชุมชน อันเนื่องมาจากภาคีวิจัยในระดับชุมชนจะคิดว่าความรู้ต้องมาจากนักวิชาการ จะทำอะไรก็กลัวผิดพลาด ไม่กล้าคิด ไม่กล้าตัดสินใจ ทั้งๆที่ปกติตัวเองก็รู้และทำได้อยู่แล้ว

ดังนั้นแนวทางในการพัฒนาที่สำคัญก็คือ จะทำอย่างไรให้คนที่รู้ รู้ว่าตัวเองรู้อะไรบ้าง การชี้นำมากเกินไปก็อาจเป็นข้อเสียคิดต่อไม่ได้ ไม่ชี้นำเลยก็คิดไม่ออก ทางสายกลางในการจัดการความรู้เรื่องนี้หายากเหมือนกันครับ แล้วแต่บรรยากาศ  กลุ่มคน และสถานที่ครับ 

ใครมีประสบการณ์ด้านนี้ขอแลกเปลี่ยนหน่อยนะตรับ

หมายเลขบันทึก: 60896เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2006 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • บางอย่างชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นทำดีแล้วครับเช่นเรื่องของครูบาสุทธินันท์ ที่บุรีรัมย์
  • อยากให้นักวิชาการสนับสนุนในเรื่องวิชาการ ที่ลงลึกมากกว่าภูมิปัญญาเข้าถึง เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ไม่ชี้นำครับ
  • ขอบคุณมากครับ

เรียนอาจารย์

  • ออตคิดว่าเราน่าจะปรุงปลาทูให้ถูกกับจริตของคนในชุมชนนะครับ อาจจะกี่ ย่าง นึ่ง ปิ้ง แกง อ่อม เอาะ อู่ หมก ลาบ ฯลฯ
  • ปรุงแล้วก็เผื่อแผ่คนในครอบครัว ชุมชนอื่น ๆ ด้วยนะครับ ปรุงแซบก็บอกวิธีปรุงแก่ครัวอื่น ปรุงไม่เป็นก็แลกเปลี่ยนกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท