สรรพปัญญา ดุจดั่งมหรรณพ


สรรพปัญญา ดุจดั่งมหรรณพ

เร็วๆนี้มีการสนทนาที่น่าสนใจใน go to know ที่ผมได้มีโอกาสไปร่วมด้วย จนรู้สึกว่าอดมิได้ ต้องขอเขียนอะไรออกมาบ้าง

Link แรกเป็นของคุณเบิร์ด P 
ส่วนสามอันหลังเป็นของคุณสมพร P

กรุงปารีส ปี 1900 La Belle Epoque คุณพ่อคนหนึ่ง เดินเข้าไปหานักจิตวิทยาผู้ฉลาดเฉลียวท่านหนึ่งชื่อ Alfred Binet ถามว่า "ท่านครับ ผมและครอบครัว เพิ่มย้ายจากบ้านนอกมาเข้าเมือง ลูกๆกำลังเดือดร้อนเรื่องการเรียน เรื่องการบ้าน ท่านพอจะมีเครื่องมืออะไรไหมครับ ที่จะบอกได้ว่าเด็กคนไหนจะประสบความสำเร็จ คนไหนจะสอบตก ในโรงเรียนที่ปารีสนี่?"

และอย่างที่ประจักษ์ในปัจจุบัน Binet ทำสำเร็จ ต่อมาเครื่องมือของ BINET ก็ถูกเรียกว่า "The Intelligence Test" สิ่งที่เขาวัด IQ หรือ intelligence quotience คือ อายุสมองหารด้วยอายุจริงคูณด้วย 100 นั่นก็คือคนธรรมดาที่อายุสมองเท่ากับอายุจริงก็จะมี IQ 100

และก็เหมือนๆกับทกอย่างที่เป็นแฟชันปารีส ก็ได้ระบาดไปอเมริกา บูมเต็มที่ตอนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง WWI ที่ใช้ทดสอบทหารเกณฑ์ จากการที่อเมริกาชนะสงคราม Binet's IQ test ก็เกิดขึ้นเต็มตัว ในที่สุด IQ test ก็ถูกยอมรับนับถือว่าเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีประโยชน์มาก

ที่จริงมี ความอยาก ลึกๆของคนที่จะวัด "ความฉลาด" มานานแล้ว (ไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะโดย "คนฉลาด" ที่อยากจะวัด อยากจะประกาศให้โลกรู้) คนตะวันตกวัดทุกอย่างที่ขวางหน้า แล้วก็บันทึก ความฉลาดเป็นของที่จดบันทึก เป็นอะไรที่วัด วัด วัด วัด วัด

เอามาใช้ยังไง

ที่เห็นชัดเจนเช่น SAT Test (เดิม SAT test ชื่อเต็มว่า Scholastic Aptitude Test ต่อมากาลเวลากัดกร่อนกลายเป็น Scholastic Assessment Test เดี๋ยวนี้ SAT test คืออะไร? คือ SAT test!!! มีแต่ initials!@#!) โรงเรียน programme for the gifted (เด็กอัจฉริยะ so-called) มาถึงก็วัดเลย เอ้า เด็กคุณเท่าไร? 130 OK เข้าได้ เท่าไรนะ? 129!! sorry yours cannot make it, NEXT PLEASE!!

Online Etymology Dictionary
scholastic 

1596, "of or pertaining to Scholastic theologians" (Churchmen in the Middle Ages whose theology and philosophy was based on Church Fathers and Aristotle), from M.Fr. scholastique, from L. scholasticus "learned," from Gk. skholastikos "studious, learned" (see school (1)). Meaning "pertaining to schools or to school education" is from 1647. Scholasticism is attested from 1756.

Online Etymology Dictionary, © 2001 Douglas Harper

scho·las·tic      [skuh-las-tik] 

–adjective Also, scho·las·ti·cal.
1. of or pertaining to schools, scholars, or education: scholastic attainments.
2. of or pertaining to secondary education or schools: a scholastic meet.
4. of or pertaining to the medieval schoolmen.
–noun
5. (sometimes initial capital letter) a schoolman, a disciple of the schoolmen, or an adherent of scholasticism.
6. a pedantic person.
7. Roman Catholic Church. a student in a scholasticate.

[Origin: 1590–1600; < L scholasticus < Gk scholastikós studious, learned, deriv. of scholázein to be at leisure to study. See school1, -tic]

 

Dictionary.com Unabridged (v 1.1) - Cite This Source
ap·ti·tude      [ap-ti-tood, -tyood] Pronunciation Key - Show IPA Pronunciation
–noun
1. capability; ability; innate or acquired capacity for something; talent: She has a special aptitude for mathematics.
2. readiness or quickness in learning; intelligence: He was placed in honors classes because of his general aptitude.
3. the state or quality of being apt; special fitness.

[Origin: 1400–50; late ME (< MF) < LL aptitūdō. See apt, -i-, -tude]  
Online Etymology Dictionary - Cite This Source
aptitude 
1548, "quality of being fit for a purpose or position," from L.L. aptitudo (gen. aptitudinis) "fitness," from L. aptus "joined, fitted" (see apt).

Online Etymology Dictionary, © 2001 Douglas Harper

IQ test นี่จะเรียกได้ว่าเป็นปู่ หรือต้นตระกูลฟันธงเลยก็ว่าได้ เป็นการ label หรือตีตรา ฟันธงไป อย่างที่ La Belle Epoque ทำ ก็คือ "บอกผมมาที ลูกคนไหนจะสอบได้ คนไหนจะสอบตก" ถ้าในภาษาเศรษฐศาสตร์ ก็อาจจะเป็น "คนไหนที่เลี้ยงแล้วจะคุ้มค่า คนไหนลงทุนไปจะสูญเปล่า?"

เรามีภาษาที่ตีตรา label เยอะมากครับ slow learner บ้างล่ะ difficult patients บ้างล่ะ พยาธิกำเนิดของการเรียกใครๆแบบนี้เหมือนกัน ก็คือ การขาดความเข้าใจ ขาดความสนใจใน ความแตกต่าง มองไม่เห็นประโยชน์หรือคุณค่าของความแตกต่าง

และอาการที่ว่านี้ ถ้าเกิดกับคนบางคนก็จะส่งผลร้ายให้อีกคน (ซึ่งมักจะเป็นผู้ไร้อำนาจ เช่น เด็กนักเรียน ลูก) ในระยะยาว (อาจจะเป็น generations เลยก็ได้) นึกถึงสมุดพกที่ครูเขียนลงไปของนักเรียนว่า "เด็กคนนี้ สติปัญญาค่อนข้าง...อ่อน" หรือนึกถึงคำปรามาศ (อย่างเอ็นดู) ของพ่อแม่สำหรับเด็ก สำหรับลูกว่า "หน้าอย่างแก........... " นึกถึงความผิดหวังของพ่อแม่ (หมอ) ที่ลูกบอกว่าอยากเป็นศิลปิน อยากเป็นนักบัญชี อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์

ในปี 1983 Howard Gardner เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง ชื่อ Frame of Minds: The Theory of Multiple Intelligences

Howard Gardner ตอนวัยรุ่นนั้นเป็นนักเปียโนที่ serious มากคนหนึ่ง ต่อมาขณะที่เขากำลัง pursue การศึกษาด้าน psychology เขาพบว่าการวัด intelligence ในขณะนั้น ไม่ได้รวม "ความฉลาด" ทางด้านศิลปะไว้เลย จากจุดนี้มุมมองของ Gardner ผ่านเห็น Thomas Jefferson, Jane Austen, Gandhi, etc คำถามกวนใจในเรื่อง classification of intelligences ก็รบกวนสมาธิของ Gardner มาโดยตลอด ออกมาเป็นผลงานอมตะ คือ Frames of Mind ที่ครบรอบ 20 ปีปีนี้ โดยที่ความสนใจและความ popular ของทฤษฎี multiple intelligences มีแต่จะเพิ่มขึ้น และถูก educators ทั่วโลกนำไปดัดแปลงใช้กับ curriculum ของตนเองอย่างแพร่หลาย

ในเล่มแรกเมื่อปี 1983  Gardner แบ่ง Intelligences เป็นเจ็ด domains
1. Linguistic intelligence
2. Logical-mathematical intelligence
3. Musical Intelligence
4. Bodily-kinethetic intelligence
5. Spatial intelligence
6. Interpersonal intelligence
7. Intrapersonal intelligence

ต่อมาในปี 1999 Gardner ได้เพิ่มอีกสาม คือ
8. Naturist intelligence
9. Spiritual intelligence
และ 10. Existential intelligence

โดยคาดการณ์ไว้ว่าความพยายามต่อไปในการจำแนก "มนุษย์" มีแต่จะเพิ่ม list นี้ให้ยาวออกไปเรื่อยๆ ความสำเร็จของทฤษฎี multiple intelligences ไม่ได้ปรากฏเด่นชัดใน original field ของ Gardner คือ psychology แต่กลายเป็นว่าลูกค้า (สานุศิษย์) กลุ่มสำคัญคือนักการศึกษา หรือผู้ที่หน้าที่รับผิดชอบในการจัดกหลักสุตร จัดประสบการณ์การเรียนการสอนทั่วโลก
 

ซึ่งในหนังสือ Multiple Intelligences: New Horizons ปี 2006 สำหรับ domains ที่ 8, 9, 10 นั้น Garder คง Naturist Intelligence ไว้ ตัดเอา Spiritual intelligence ออก และคงไว้ (สองจิตสองใจ) ครึ่งๆ ของ Existential intelligences สรุปแล้วมีอยู่ 8 domain ครึ่ง!!

ในการให้การศึกษานั้น ครูมี หน้าที่สำคัญ ที่จะช่วยค้นหาความถนัด ความสามารถของเด็ก ในอดีต เป็นการง่ายที่จะโทษเด็กว่าเรียนไม่ได้ ไม่สำเร็จ เพราะ IQ ต่ำ แต่จาก concept ของ Howard Gardner ในเรื่อง multiple intelligences นี้เอง ที่นักการศึกษานำเอาไปใช้ จนกระทั้งบอกว่า

There is no such a thing like students who fail, there are only school and teacher who fail studfent

คำตอบอาจจะไม่ได้เรียบง่ายหรือตกอยู่ที่ครูเท่านั้น พ่อแม่ คือครูคนแรกของลูกๆ เป็นคนหล่อหลอม และ "ถ่ายทอด" genetic imprint คนละครึ่ง ผสมผสานออกมาเป็น อะไรที่ไม่เหมือนต้นแบบ เนื่องจากกระบวนการออกแบบธรรมชาติที่ "เน้นความต่าง เพื่อความอยู่รอด พัฒนา วิวัฒนา" บ่อยครั้ง คนที่กด กีดกัน และเป็นอุปสรรคการเรียนรู้คือพ่อแม่ ที่ต้องการให้ลูกเป็นในสิ่งที่เขาไม่ได้เกิดมาเป็น

สังคมเราดูเหมือนจะอยู่ในโลกที่วัด วัด วัด วัด วัดไปเรื่อยๆ เพราะความไม่แน่ใจ ไม่แน่นอน พยายามค้นหาอะไร มา reassure ว่าเราเข้าใจ แต่ถ้านำไปสู่การ เข้าใจผิด ผลที่ตามมา อาจจะหมายถึงความลำบากใจ ทั้งชีวิตของคนๆหนึ่ง ในขณะที่ การศึกษาเป็นกระดูกสันหลัง เป็นจิตวิญญาณของประเทศ การไม่เข้าใจในศาสตร์แห่งการศึกษา ไม่เข้าใจเรื่องการพัฒนา ดูจะเป็นบาปที่รุนแรงมากที่สุด ที่เศรษฐกิจ หรืออะไรก็ตาม ไม่อาจจะชดเชยความเสียหายจากความไม่เข้าใจนี้ได้เลย

ในช่วงชีวิต หรือหลายช่วงชีวิตก็ตาม

 

หมายเลขบันทึก: 97863เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • กราบสวัสดีคุณหมอ
  • ขอบพระคุณมากครับ ที่คุณหมอนำบทความมาขยายผลต่อที่นี่นะครับ
  • เห็นด้วยว่า  การศึกษาเป็นกระดูกสันหลัง เป็นจิตวิญญาณของประเทศ
  • เราต้องหันมาช่วยกันหาทางส่งเสริมและเอาจริงเอาจังเรื่องนี้นะครับ ที่สำคัญคือความต่อเนื่องในการส่งเสริมครับ
  • แถมสักประโยคแบบเลียนแบบคนดังนะครับ
  • ไม่มีเด็กที่ไหนจะล้มเหลว มีแต่ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนเท่านั้นที่จะทำให้เด็กล้มเหลว

    อิๆ  เขียนสนุกๆ นะครับ เลียนแบบคนดังครับ ตามหลักการของ สามเหลี่ยมทรงพลัง ในบทความ อยากมีครูดี เก่ง ถ่ายทอดเป็น ร่วมปลูกต้น "ครูน้อย" ตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะจบประถม... ครับ

  • ขอบพระคุณมากครับ

ขอบคุณครับคุณสมพร P

ตีเหล็ก ก็ต้องกำลังร้อน จริงไหมครับ :)

ประเดี๋ยวต้องดูก่อนว่าผมสามารถจะเชื่อมเข้ากับบทความ series เก่าของผม เรื่อง จิตปัญญาเวชศึกษา ได้หรือไม่

  • จิตตปัญญาเวชศึกษา
  • จิตตปัญญาเวชศึกษา และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
  • จิตตปัญญาเวชศึกษา การเรียนแพทย์ด้วยใจที่ใคร่ครวญ
  • จิตตปัญญาเวชศึกษา สังคมศาสตร์ในหลักสูตรแพทยศาสตร์
  • จิตตปัญญาเวชศึกษา 5: ประเมินแบบสร้างเสริมมณฑลแห่งพลัง
  • ก็ต้องบอกว่าเป็น เหล็ก และ ไฟ ที่จุดต่อๆมาจากของคุณเม้ง คุณเบิร์ด แหละครับ ผมเขียนไว้ไม่ได้ต่อเนื่องมานานพอสมควร (เอ๊ะ สองเดือนเองนี่หว่า นึกว่าตัวเองมาอยู่นานแล้ว!! )

    การศึกษาในแพทยศาสตร์ นอกจากมีความสำคัญในมิติการศึกษาแล้ว ยังมี percussion ไปถึงระบบสุขภาพ เป็นกระดูกสันหลังของประเทศ ถ้าไม่เป็นจิตวิญญาณด้วย

    ผมคิดว่าความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ ที่องค์การอนามัยโลกพยายาม campaign อยู่นั้น ยังไม่ได้รับการสะท้อนจากสาธารณะเท่าที่ควร และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเรายังคิดว่าเรื่อง สุขภาพ การศึกษา ความปลอดภัย เศรษฐกิจ ต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องของคนละกระทรวง คนละทบวง กันอยู่ โอกาสที่แขนงไม้เล็กจะมารวมเป็นกองฟืนใหญ่ ให้ความอบอุ่นกันทั้งหมวด ทั้งหมู่ ก็คงจะยาก ได้แต่เป็นไม่ขีดไฟที่ไหม้ไปๆ ทีละแขนง ทีละก้าน (เอาไว้จุดบุหรี่มั้ง) เท่านั้นเอง

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท