Synchronicity


Synchronicity

ผมทราบว่ากำลังอหังการ์ทำอะไรเกินตัว แต่ก็ด้วยความรู้สึก "อดมิได้" หลังจากที่โดนระดมข้อมูลใส่จากการกระเสือกกระสนแสวงหาของตนเอง สมองร้อน และ "ความต่อเนื่อง เชื่อมโยง สอดประสาน" นั้นวิ่งพลุ่งพล่านไปหมด

ครับ ผมกำลังเล่าความประทับใจหลังการอ่าน Synchronicity, An Acausal Connecting Principle ของ CG Jung; Embrace Our Selves ของ Hal และ Sidra Stones; และ Buddhism without Beliefs ของ Stephen Batchelor และ บทความคุณ K-jira อันนั้น

 Merriam-Webster's Medical Dictionary - Cite This Source

Main Entry: syn·chro·nic·i·ty
Pronunciation: "si[ng]-kr&-'nis-&t-E, "sin-
Function: noun
Inflected Form: plural -ties
: the coincidental occurrence of events and especially psychic events (as similar thoughts in widely separated persons or a mental image of an unexpected event before it happens) that seem related but are not explained by conventional mechanisms of causality —used especially in the psychology of C. G. Jung

Merriam-Webster's Medical Dictionary, © 2002 Merriam-Webster, Inc.

คาร์ล จุง (Carl G Jung) ใช้คำๆนี้ครั้งแรกในปี 1930 เขียนวิเคราะหนังสือเรื่อง I Ching, or Book of Changes หรือคัมภีร์อี้จิงนั่นเอง หลังจากนั้นได้พูดถึงเรื่องนี้อีกทีเมื่อ 1935 ว่า "Synchronicity...... a peculiar principle active in the world so that things happen togther somehow and behave as if they were the same, and yet for us they are not."

เรื่องราวบางเรื่องเกิดขึ้นดูเหมือนมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงอย่างประหลาด ทั้งๆที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ หรือไม่น่าจะอยูในความเชื่อมโยงลักษณะ A causes...... B, or C, or even Z คือพูดง่ายๆมันไม่น่าเกี่ยวกันเลย แต่ถ้าเป็นการบังเอิญล่ะก็ น่าจะเป็นการบังเอิญที่ไม่น่าเชื่อ หรือยอมเชื่อว่ามีการเกี่ยวข้องกันจริงๆจะยอมรับได้ง่ายกว่า

ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงในการยอกมาอ้าง ได้แก่ evolution ของมนุษย์ ถ้าเชื่อในทฤาฎี Charles Dawin มนุษย์มาจากลิง หรือสัตว์ชั้นสูงค่อยๆพัฒนามาจากสัตว์ชั้นต่ำ ซึ่งจะขัดแย้งกับทฤาฎีพลังงานเบื้องต้น ที่ว่าพลังงานต่างๆจะพอใจอยู่ในสภาพที่ chaos มากกว่าที่จะถูกจัดเรียงเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งต้องอาศัย bond อาศัยพลังงานเชื่อมโยงสูงว่าการอยู่อย่างกระจัดกระจายมากนัก

แต่คนเป็นสัตว์ที่ซับซ้อนกว่าสัตว์อื่นๆ จริงหรือไม่? ทำไมวิวัฒนาการจึงย้อนความเสถียรของพลังงาน?

วันก่อนผมซื้อหนังสือเล่มนึงมาอ่าน เป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎี voice dialogue ของ Hal & Sidra Stones ฟร้อมๆกับ Facilitator's guide ของ Miriam Dyak และก่อนหน้านี้ผมกอ่านเรื่อง "อย่กับมาร" หรือ Living with the Devils ของ Stephen Batchelor ในหนังสือของ Stones กล่าวว่า "You simply cannot just aware life, but you have to live the life"

หนังสือวันนี้เป็นภาคต้นของ Stephen Batchelor เรื่อง Buddhsm without Beliefs เปิดไปไม่กี่หน้าก็มีลอยออกมาเลย "Dharma is not for believing but it is for understanding, doing, reliazation and cultivate it (or do it)

จริงๆมีตัวอย่างมากกว่านี้ แต่ทำไม new science book, buddhism book, voice dialogue ของต่างชาติ ต่างภาษา เกิดขึ้นมาในเวลาอันไร่เรี่ยกัน จะเป็น Acausal Connection Principle ของ Jung หรือไม่ หรือแค่การบังเอิญที่หนังสือทั้งหมดมาทะยอยโผล่กันตอนนี้พอดี?

คำสำคัญ (Tags): #batchelor#beliefs#jung#stones#voice dialogue
หมายเลขบันทึก: 89862เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2007 02:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

 


ไม่ทราบเพราะเหตุใด เวลาอ่านบทความของอาจารย์แล้ว.. มันจะเกิดมีความรู้สึกที่บอกไม่ถูกเสียทุกครั้ง

คือรู้สึกว่าเข้าใจ แต่ไม่สามารถบรรยายออกมาได้ ว่าเข้าใจว่าอย่างไร  มันเป็นความเข้าใจที่อยู่ในระดับส่วนลึก ในระดับของการสัมผัส รับรู้ เห็นด้วย คล้อยตาม ชอบว่าตรงใจ  แต่สรรหาคำพูดมาอธิบาย ตีความไม่ถูก

เหมือนคำว่า Synchronicity  แปลความหมายไม่ถูกค่ะ  แต่มีความรู้สึกว่า มันคือ การเชื่อมประสาน ตรงกัน สอดคล้อง เข้าจังหวะกัน ประมาณนั้นหรือเปล่าคะ ?

เกี่ยวกับความ "ความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงอย่างประหลาด" นั้น  อาจารย์หมายถึงเหตุการณ์ "ความบังเอิญที่ไม่บังเอิญ"  หรือเปล่า ?

.......

 

黄色主题壁纸-品味生活4 - ml0004.jpg


จำไม่ได้ว่าเคยดูสารคดีช่อง discovery หรือว่าเคยอ่านหนังสือ   ว่าคน สัตว์ หรือแม้แต่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มันจะเปล่งคลื่นที่เป็นลักษณะของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา คลื่นที่มีความถี่ต่างกันไป ในบางครั้งก็จะมาสอดประสาน เชื่อมโยงกัน ทำให้เกิดการสัมผัส ...รับรู้ ...เกี่ยวพัน ... บันดาลให้เกิด...ฯลฯ

 

ตัวอย่างเช่น ... คนๆหนึ่ง จ้องมองคนอีกคนหนึ่งแต่ไกล  คนอีกคนก็จะรู้สึกว่าตนเองถูกจ้อง แล้วก็จะหันไปมอง

การจ้อง ปกติเป็นการกระทำที่ผู้ถูกกระทำ ไม่น่าจะสัมผัสรับรู้ เพราะไม่ได้แตะตัวต้องตัว ไม่มีโดนประสาทสัมผัสใด ทั้งสัมผัสกาย สัมผัสกลิ่นโดยจมูก สัมผัสเสียงโดยหู หรือสัมผัสรสโดยลิ้น  แต่ทำไมคนถูกจ้องจึงมักรู้สึกตัวว่าโดนจ้อง ?

เพราะการจ้องมอง.. คนจ้องมองอาจจะแผ่คลื่นบางอย่างออกมา แล้วคนที่ถูกจ้องสามารถสัมผัสรับคลื่นนั้นได้

ปัญหาอยู่ที่.. เขาใช้อะไรสัมผัสรับคลื่น... นั่นก็น่าคิดอยู่เหมือนกัน !

 

หรืออีกเหตุการณ์ ...  ลูกกำลังเผชิญเหตุการณ์บางอย่างที่กำลังทุกข์สาหัส หรือไม่ก็เกิดอุบัติเหตุ   ความกลัว ความทุกข์ทรมาน ความตื่นตระหนกของลูก บังเกิดคลื่นแผ่ออกไป  คนเป็นแม่ที่รักและห่วงใยลูก สัมผัสรับรู้ บังเกิดเป็นความรู้สึกที่เรียกว่า "ลางสังหรณ์"  ถึงสิ่งที่เกิดกับลูกซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป


หรือเหตุการณ์ใกล้ๆตัว.. ของ k-jira เอง เวลาแทงน้ำเกลือให้คนไข้  มีหลายครั้งที่หากโดนจ้องมากๆ มักจะแทงพลาด ความรู้สึก มันเหมือนมีอะไรรุกเร้าเข้ามาในใจ จนสมาธิสับสน ความนิ่งจะหายไป บางครั้งจะต้องขอร้องญาติคนนั้นช่วยหันหน้าไปทางอื่น ซึ่งพอเขาปฏิบัติ ก็จะแทงได้สัมเร็จ .... อันนี้คงเรียกว่า  ความกดดัน

 

 

ดังนั้น k-jira จึงมีความเชื่อว่า ความรู้สึกนึกคิด แรงปรารถนาของคนนั้น มีคลื่นพลังงานชนิดหนึ่งแฝงอยู่  และคนเราทั้งหลาย สามารถสัมผัสรับมันได้ เพียงแต่..สัมผัสชนิดนี้ แต่ละคนจะแตกต่าง รับได้มากน้อยต่างกันไป ขึ้นอยู่กับคนๆนั้น ฝึกใช้มันบ่อยแค่ไหน และมีสัมผัสอื่นเข้ามาเบี่ยงเบนสิ่งนั้นมากน้อยแค่ไหน

ถ้าใครเป็นคอหนังกำลังภายใน คงจะเจอบ่อยๆ  จอมยุทธที่ตาบอด มักมีประสาทหูไวมาก  จอมยุทธที่ตาบอด จะสามารถรับวิชาดาบไวของคู่ต่อสู้ ได้ดีกว่าคนตาดี  ทั้งนี้เพราะเขาใช้หูและใจ สัมผัสทิศทางของดาบที่จู่โจมเข้ามา ในขณะที่คนตาไม่บอด.. อาจจะถูกมายาภาพของวิชาดาบไว ล่อหลอกจนหลงกล

นั่นเป็นเพราะ.. การ compensate ที่เกิดขึ้นหรือเปล่า ? เราต้องตัดประสาทสัมผัสบางอย่างออกไป เพื่อให้สามารถดึงเอา สัมผัสที่อยู่ในส่วนลึก ที่ซ่อนเร้นของมนุษย์ออกมา  เหมือนคนที่ไม่มีมือ สามารถใช้เท้าเขียนหนังสือ หรือ สีไวโอลินได้ แต่คนที่มีมือ ต่อให้ฝึกอย่างไร ก็ฝึกใช้เท้าแทนมือได้ดี แบบคนที่ไม่มีมือ ย่อมทำไม่ได้ เป็นต้น

 

ตัวอย่างดังกล่าว.. คงยืนยันได้ว่า มนุษย์เรามีประสาทสัมผัสที่พิเศษอีกชนิดหนึ่งอยู่จริงๆ บางครั้ง เราเรียกมันง่ายๆว่า "ใจ"  เพื่อฝึกสัมผัสชนิดนี้ ให้ใช้ประสาทชนิดนี้ได้มีประสิทธิภาพขึ้น เราคงต้องปิดประสาทตา ปิดประสาทหู ปิดประสาทกายสัมผัส  เพื่อให้รับรู้ถึงคลื่นความรู้สึก ที่อีกฝ่าย ส่ง (แผ่) เข้ามา

ใจที่จะรับสัมผัสได้ดี  คงต้องอยู่ในสภาพสมาธิที่นิ่ง  เปรียบเสมือนผิวน้ำที่เรียบสงบ แม้ลมที่แผ่วเบา ก็จะสะกิดให้ผิวน้ำเกิดเป็นละลอกคลื่นเล็กๆขึ้นมา  จิตของเราก็คงจะรับสัมผัสคลื่นความรู้สึกที่ส่งมาเช่นนั้น แต่ถ้าจิตไม่สงบ ดั่งน้ำที่มีละลอกคลื่นบางๆอยู่ หากมีคลื่นอีกละลอกส่งมากระทบ มันก็จะเข้ามารวมกับคลื่นเดิมที่มีอยู่ ทำให้เกิดการแปลความหมายที่ผิดเพี้ยนไป

พูดยกตัวอย่างออกไปเสียไกล ก็เพื่อนำมาโยงกับผู้รักษา (แพทย์ พยาบาล) และคนไข้ (รวมไปถึงญาติ)  หากผู้รักษาฝึกการใช้ประสาทส่วนลึกออกมาสัมผัส กับคลื่นความรู้สึกที่ผู้รับการรักษาเปล่งออกมา  บางทีแม้เขาไม่พูด ไม่แสดงอาการออกมาให้ตาเห็น แต่ผู้รักษาก็อาจจะสัมผัสได้..ว่าเขาป่วยเป็นอะไร และกำลังรู้สึกอย่างไร

ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ ก็คงจะดีไม่น้อยเนอะ

......

 

2007年2月月历壁纸  1280*1024 14 - 1280x1024_2007_February_calender_gunbang_1280x1024.jpg

ปล : - ไม่แน่ใจว่า k-jira กำลังคุยเรื่องเดียวกับอาจารย์อยู่รึเปล่านะคะ    ถ้าคนละเรื่องกัน ก็ขอโทษด้วย ^^'
       - รู้สึกว่า k-jira ชักจะเขียนอะไรเท้งเต้ง  ขึ้นต้นมากล่าวเรื่องหนึ่ง แต่จบท้ายด้วยอีกเรื่องหนึ่ง ยังไงก็.. รบกวนช่วยโยงอ่านให้เป็นเรื่องเดียวกันที่ต่อกันหน่อยนะคะ  แหะๆ

.....

คุณ K-jira ครับ

โลกวิทยาศาสตร์แบบ Newtonian หรือ Freudian นั้นเป็นโลกแห่ง cause-effect หรือเป็น Causal principle นั่นเอง คำว่า "บังเอิญิ" หรือ by chance จึงบังเกิดขึ้นมาอธิบายพวกที่เป็น acausal relation ต่างๆ เวลาที่นักวิทยาศาสตร์จะอธิบายว่าอะไรทำให้เกิดอะไร วิธีสถิติก็จะพูดว่า "ของแบบนี้จะเกิด by chance ได้น้อยกว่า 5%, 0.5%, 0.05% ฉะนั้น มันจึงไม่น่าจะบังเอิญ" events ต่างจะมี / ไม่มี ความสัมพันธ์ก็จะดูตามนี้

มีคนบันทึกเรื่องหนึ่งไว้ คือ Wilhelm von Scholz (ในหนังสือ Eine Vorform des Schicjsals ของ Der Zufall) มีผู้หญิงคนหนึ่งถ่ายรูปลูกชายของเธอไว้ ที่ Black Forest ในเยอรมันนี ฟิล์มนั้นยังได้ล้าง ทิ้งไว้อยู่ที่ Strassburg พอดีเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เกิดการระหกระเหินแยกย้าย ฟิล์มนี้ก้เหมือนจะสูญหายไป ในปี 1916 หลังสงคราม เธอก็ซื้อฟิล์มม้วนหนึ่งใน Frankfurt เอามาถ่ายรูปลูกสาวที่พึ่งเกิด พอเอามาล้างก็พบว่ามีภาพซ้อนอยู่ ปรากฏว่าเป็นภาพของลูกชายเธอที่ถ่ายไว้ตั้งแต่ 1914 นั่นก็คือฟิล์มจองเธอที่หายสาบสูญไป ไม่ได้ล้าง ถูกนำมาขายใหม่ และเธอก็ "บังเอิญ" เป็นคนมาซื้อเอง ในอีกสองปีต่อมา!! คนเขียนเขาบรรยาย (ขออนุญาตไม่แปล) ว่า "The author comes to the understandable conclusion that everything points to the "mutual attraction of related objects," or an "effective affinity." He suspects that these happenings are arranged as if they were the dream of a "greater and more comprehensive consciousness, which is unknowable."

เรามีทางเลือกสองทาง (ถ้าเรื่องข้างบนเป็นเรื่องจริง) คือ 1. มันบังเอิ๊น บังเอิญ (ต้องลากเสียง "เอิ๊นนนน" ยาวๆหน่อย) และ 2. มันมี "สาเหตุอะไรบางอย่าง"

นักวิทยาศาสตร์อาจจะรู้สึกสบายใจกว่าในการใช้คำอธิบายข้อหนึ่ง แต่นักกระยาสาทร หรือนักไสยศาสตร์ นักจิตศาสตร์แบบ Jungian อาจจะตื่นเต้นกับ prospect ของ explanation จากประเด็นหลังมากกว่า

ในการทดลองที่ classic มากๆที่ในปัจจุบันเราก็ยังเห็นในภาพยนต์ก็คือการทดลอง "ทายไพ่" ที่มีไพ่ 25 ใบ ประกอบด้วยรูป 5 ชุด คือ ดวงดาว สี่เหลี่ยม วงกลม เส้นคลื่น และกากะบาท แต่ละรูปมีซ้ำกันห้าใบ ในแต่ละครั้ง คนทายก็จะมีโอกาสหนึ่งในห้าที่จะ "เดา" ถูก ทำบ่อยๆทำเยอะๆ ค่าตรงนี้ก็น่าจะใกล้กับ 1/5 chances (ต้องทำบ่อยๆ มิฉะนั้นจะเหมือนการโยนเหรียญหัวก้อย เราอาจจะได้ไม่ถึง 50% ก็ได้ ไม่ปแลกถ้าเราโยนไม่กี่ครั้ง) ที่ทำกันมักจะต้องทายประมาณ 800 ครั้ง ถ้าใครทายได้ 6.5 ใบจาก 25 ใบ จะมีโอกาส "มั่วถูก" ได้ประมาณ 1:250,000

ที่น่าสนใจคือ มี "บางคน" ที่ consistently ทายได้เหนือกว่า 1:5 มีหนุ่มนายนึง ค่าเฉลี่ยของเขาคือ 10 hits per 25 cards และมีอยู่ครั้งหนึ่งที่แกทายได้ถูกหมดเลย 25 cards!!! นั่นคือ propability ประมาณ 1:298,023,223,876,953,125 หรือหนึ่งในสามล้านล้านล้านนั่นเอง

เราจะยอมเชื่อว่า "มันบังเอิญ" หรือ "เพราะมีสาเหตุ" กันล่ะครับ ในกรณีแบบนี้?

สวัสดีครับ อาจารย์ Phoenix

        สุขสันต์วันสงกรานต์ครับอาจารย์ :-)

        ฝากเรื่องสั้นๆ ไว้ก่อน (ไปนอน) เอาไว้จะหาโอกาสมาคุยกับอาจารย์อีกที

       1.   เรื่อง Synchronicity ในมุมมองของ Skeptics

       2.   อีกเรื่องคือ ลูกศรของเวลา (The Arrow of Time) หรือทิศทางการเปลี่ยนแปลงของระบบนั้น ถูกหนดโดยกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ (The 2nd Law of Thermodynamics) ซึ่งกล่าวว่า

         "สำหรับระบบโดดเดี่ยว (isolated system) เอนโทรปี (entropy) จะมีค่าเพิ่มขึ้น หรือคงที่ เมื่อเวลาผ่านไป"

         ระบบโดดเดี่ยว (isolated sytem) เป็นระบบที่ไม่แลกเปลี่ยนทั้งพลังงานและสสารกับสิ่งแวดล้อม (environment) 

         ตัวตัดสินว่าระบบโดดเดี่ยวจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดเป็นเอนโทรปีครับ

         อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตเป็นระบบเปิด (open system) ซึ่งหมายความว่า สามารถแลกเปลี่ยนได้ทั้งพลังงานและสสารกับสิ่งแวดล้อม

         แม้ว่า ในขณะที่กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจะดำเนินไป เอนโทรปีของตัวสิ่งมีชีวิตเองจะลดลง แต่เอนโทรปีของสิ่งแวดล้อมจะเพิ่มขึ้นมากกว่า ทำให้ เอนโทรปีโดยรวม (ซึ่งเป็นระบบโดดเดี่ยว) เพิ่มสูงขึ้น

         ชีวิตและกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิต (เช่น วิวัฒนาการ) จึงไม่ขัดกับกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ครับ

         ส่วนที่ว่า แล้วทำไมตัวชีวิตเองถึงได้พยายามลดเอนโทรปีของตัวเองลง (คือ มีความเป็นระเบียบ หรือ order มากขึ้น) นั้น อาจมองอย่างง่ายๆ ด้วยจลน์ศาสตร์ (kinetics) ได้

สวัสดีปีใหม่ครับชิว

สำหรับเรื่อง synchronicity นั้น ถูกหรือผิด คงเป็น perception เพราะฝั่งหนึ่งไม่ต้องการพิสูจน์ในขณะที่อีกฝั่งหนึ่งเน้นเรื่องการพิสูจน์ได้ (deduction at least) น่าจะลงไปกองแถวๆ Faith versus Science หรือ God versus no-God ซึ่งในความเห็นของผมเอง (จัดตัวเองเป็นพวก agnostic ครับ) อาจจะไม่ใช่ priority

แต่ทว่า การนำเอาอะไรมาใช้ มันมีผลต่อ ความคิด และ พฤติกรรม นี่สิน่าสนใจ

ผมคิดว่า interconnectedness ใน full meaning ณ ขณะนี้ เรายังใช้อะไรที่เป็นเครื่องมือในปัจจุบันแสดงออกได้ถึงที่สุด (ที่จริงในบท argument ของ primary article เรื่อง sceptic ก็ไม่ได้ argue อะไรมากไปกว่า impractical และ discredit เรื่อง psychotic attack ของ Jung) ว่าเราจะใช้อะไรมาอธิบาย ความเชื่อมโยงแบบนี้ แล้ว มั่นใจ ว่ามันเป็นความจริง การถกเถียงในระบบนี้ เป็น core weapon ของกลุ่ม Athiest หรือพวกที่เชื่อว่า ไม่มี God และที่แน่ๆก็คือ ไม่มี หรือ ไม่เชื่อใน "ศรัทธา"

สำหรับผมเอง ก็ไม่ได้วางอยู่บน ศรัทธา อย่างเดียว หรือฝักใฝ่ใน superstition ในระดับเดียวกับ Jung (ในกรณีที่มีคนเป็นห่วงว่าจะเกิด psychotic breakdown!!) แต่ผมคิดว่า sensory system ที่อธิบายในขณะนี้ทั้ง5 อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไม่พอเพียงที่จะอธิบายปรากฏการณ์การรับรู้ หรือ cognitive psychophysiology ของมนุษย์ ทั้ง evidence-based และ non-evidence-based ข้อสำคัญก็คือ ไม่เพียงแต่อธิบายไม่พอ แต่ทว่ายังมีการผลักดันที่จะ ลดความหมาย ความสำคัญ ของ personal experience/ personal meaning ลงไปอีกด้วย สังเกตจาก Evidence-based Era ในขณะนี้ ขณะที่เราสามารถชื่นชมการรวบรวมและสังเกตความเป็นไปแบบรวม (statistical significance, meta-analysis หรือ systemic review) เราก็ได้กำหนดว่า personal experience นั้นเป็น evidence-based level 5 คือ ต่ำสุด (อีกหน่อยถ้าจัดมี 5, 6, 7 ก็คงจะลดตามไปเรื่อยๆ ให้อยู่ที่ก้นกุฎิ)

ในการที่ผมทำงานกับ ชีวิต คน ถึงแม้จะไม่ยาวนานมากเท่าไหร่ (ทั้งๆของผมเอง หรือของคนไข้ด้วย) แต่สถิติ หรือ meta-analysis นั้น ไม่ค่อย work well เท่าไรนักครับ เวลาลงมาที่ individual experience แล้วเราจะบอกว่า คนๆนี้แปลกประหลาดจากเพื่อนๆส่วนใหญ่ ได้จริงหรือ? ที่แปลกนั้นเป็นของคนส่วนใหญ่ หรือเป็นคนจริงๆที่นอนอยู่ตรงหน้าเรากันแน่ ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย

ในเรื่องของวิวัฒนาการนั้น น่าสนใจในประเด็นที่ ตอนมีวิวัฒนาการ ครับ น่าสนใจกว่า ตอนนี้ คือผมเรียนเรื่อง transplantation immunology หรือภูมิคุ้มกันวิทยาการปลูกถ่ายอวัยวะมา ตอนเรียนไปๆ ก็เกิดความรู้สึกว่า ระบบภูมิคุ้มกันของเรานี่มันมหัศจรรย์จริงๆ ยิ่งมาทราบทีหลังว่า genes ของมนุษย์ที่บอกความเป็นมนุษย์มีแค่ 30,000+ genes เท่านั้นเอง ยิ่งมหัศจรรย์มากขึ้น แต่แรกเกิดเซลลืเม็ดเลือดขาวของเราจะถูกอบรมสั่งสอนใน thymus gland ว่า อะไรคือเซลล์ของเรา อะไรไม่ใช่เซลล์ของเรา โดยการ detect surface protein ที่เรียกว่า Major Histocompatibility complex อะไรที่ไม่ใช่เราก็จะทำหน้าที่ทำลายเสีย แต่แค่นั้นไม่พอ เพราะเซลล์ใน thymus ไม่ได้รู้จักเซลล์อื่นๆทั่วร่างกายที่ไหน ไม่นับ maturation protein ที่จะออกมาทีหลัง เช่น adolescent protein, aging proteins มากมาย ระบบร่างกายก็มี โรงเรียนพิเศษ สอนว่า บางทีถึงเป็น foreign proteins ก็ให้ดูก่อนว่าเป็น harmless หรือ harmful protein แล้วค่อยลุย ตรงนี้ยิ่ง ingenius ใหญ่เลย ว่ามันทำได้อย่างไร ที่พวกเรากินเป็ด กินหมู กินเนื้อทุกวันนี้นี่ เป็น foreign proteins ที่เข้าไปใน circulation "intact" นะครับ (เดี๋ยวจะบอกว่าย่อยหมดแล้ว) เราก็ยังรับได้หน้าตาเฉย แต่ถ้าเอาหัวใจหมูมาต่อเส้นเลือดคน เพียงไม่ถึงนาทีดี ร่างกายก็จะส่งทหารเซลล์เม็ดเลือดขาวมาถล่มในพริบตา

จริงๆแค่ระบบภูมิคุ้มกันอย่างเดียว ก็มีพวก Thiesm หรือศาสนาที่มี god บอกว่าเป็น หลักฐาน ว่า ทฤษฎี evolution นั้น ไม่เพียงพอที่จะบอกว่าระบบต่างๆที่มีสอดประสานกัน perfect แบบนี้ สามารถ self-evolved เอง โดยไม่มีคนช่วยทำ (acausal connection or someone does it?) ตรงนี้ทิ้งไว้ให้คิดกันเองต่อ เพราะมีการ debate เรื่องนี้มานานมาก และคงจะมีอีกนานมากๆๆต่อไป

แต่ agnostic ไม่สนนี่ครับ!!

 

สวัสดีครับคุณหมอ

  •  ผมมองว่า อาจเป็นเรื่องของ "ความสุกงอมของฐานคิด"
  • เมื่อฐานคิดคนพอ ๆ กัน เจอสิ่งเร้าคล้าย ๆ กัน คนที่เปิดใจกว้างหน่อย ก็มักจะ "สังเคราะห์"สิ่งที่ดูใหม่ และออกมาไล่เรี่ยกันอย่างบังเอิญแบบไม่น่าเชื่อได้
  • คงเหมือนสอนเด็กหลาย ๆ คนให้รู้จักเลข 0 - 999 นั่นแหละครับ เมื่อถึงจุดสุกงอม เลข "1000" ก็"ปิ๊ง"ได้เองแบบไล่เรี่ยกัน
  • ..กระมังครับ...

อ. wwibul P ครับ

Synchronicity บางทีครอบคลุมไปถึงบางครั้งเราซื้อตั๋วรถเมล์ ปรากฏว่าตัวเลขบนตั๋ว ปรากฏเป็นชุดเดียวกันกับหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านแฟน เกิดคิดถึงขึ้นมาก็โทรไปหา พอเราโทรไปก็ปรากฏว่าเขากำลังจะชวนกันไปดู opera ก้เลยได้ไปกันเพื่อที่จะพบว่าหางตั๋ว opera ก็เบอร์ตรงกันกับเบอร์แรกทั้งสองครั้งอีกที!!!

ตรงนี้แหละครับที่ science เริ่มอดทนอธิบายต่อไปไม่ไหว!!!

 

สวัสดีครับคุณหมอ

  • มีหนังสือชื่อ SYNC - how order emerges from chaos  in the universe, nature, and daily life โดย Steven Strogatz พยายามอธิบายปรากฎการณ์เรื่องนี้ในมุมมองของนักคณิตศาสตร์ เล่าโดยไม่ใช้ภาษาคณิตศาสตร์ ทำให้อ่านง่าย
  • เท่าที่อ่านได้ไปบางส่วน ดูเหมือนจะชี้ว่าปรากฎการณ์ลักษณะนี้ อธิบายทางคณิตศาสตร์ได้ระดับหนึ่งครับ
  • ผมยังอ่านไม่จบ แต่เผื่อคุณหมอจะสนใจหาอ่านครับ

 

 

อ.วิบุล P ครับ

มีนักคณิตศาสตร์เขียน และอธิบายไว้เยอะทีเดียวจริงๆครับ ขอบพระคุณที่ให้ reference เพิ่ม

ปัญหา อืม... ไม่ใช่ปัญหาสินะ ประเด็นก็คือคำอธิบายคณิตศาสตร์นันเป็นข้อสรุปเดียวคือ mere chance คือเป็นโอกาสเท่านั้น ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านั้น หรือ forget it

ใจผมไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไรกับคำอธิบายแบบนี้ (ความตื่นเต้นอาจจะเป็นอะไรที่ไม่ค่อย convince mathematician เท่าไร)

ผมคิดว่าตราบใดที่เรายังไม่ถึงกับหมกมุ่น ตีความ synchronicity มากเกินไป แต่เอาแค่เห็น หรือ พยายามเห็น interconnectedness ของสรรพสิ่งมากขึ้น จะเป็นแค่บังเอิญหรือไม่ก็ตามที ผมคิดว่าผลลัพธ์ต่อ พฤติกรรม นั้นมากกว่าที่น่าเอามาไตร่ตรองว่า ถ้าเราทำ เราจะเป็นคนอย่างไร มีพฤติกรรมอย่างไร ถ้าเราไม่ทำ ไม่สนใจ เราจะเป็นคนอย่างไร มีพฤติกรรมอย่างไร

Mere chance นั้น แปลว่า not significant, แปลลุกมากขึ้นก็คือ not interesting, not worthy to be concerned เราก็จะ ไม่มีอะไรสืบทอดต่อเนื่อง ออกมา เป็นแค่เศษเสี้ยวของสิ่งที่บังเอิญเกิด การอธิบายคณิตศาสตร์นั้น มากๆเข้าก็อาจจะ negate เรืองกรรม วิบากไปหมดเสียด้วยซ้ำไป

คนบางคนที่มีประสบการณ์รอดตายจากอุบัติเหตที่เหลือเชื่อ นักคณิตศาสตร์อาจจะอธิบายด้วย by chance แต่บางคนถือว่าเป็น "ลางเตือน" ให้มีชีวิตอย่างไม่ประมาท และอาจจะเปลี่ยนวิถีชีวิตไปตลอดไป

นี่ก็เป็น free will อย่างหนึ่ง เป็น menza เล่นๆ วันหยุดครับ :)

 

เป็นเรื่องราวที่ล้ำลึก และ ลึกซึ้งค่ะ

และ พลังหลายอย่างอาจไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์ เพียงแต่ขณะนี้มนุษย์ ยังอธิบายไม่ได้ มนุษย์ยังหยั่งรู้ไปไม่ถึงค่ะ

และ เชื่อว่าสิ่งต่างๆ เป็นพลังธรรมชาติจัดสรร ค่ะ

ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท