จิตตปัญญาเวชศึกษา 172: Live for Learning อยู่เพื่อการเรียนรู้


Live for Learning (อยู่เพื่อการเรียนรู้)

ก่อนอื่นต้องให้ credit แก่บทความที่เป็นแรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องนี้ นั่นคือ "เวทีเรียนรู้ "ครูเพื่อศิษย์" เรื่องเล่ากระบวนการเรียนรู้ในบทบาทวิทยากร" เขียนโดยน้องเอก จตุพร วิศิษฎ์โชติอังกูร Ico48 และคำ "ครูเพื่อศิษย์" โดยท่านอาจารย์วิจารณ์ พานิช Ico48 ซึ่งผมขอกราบขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

มีไม่บ่อย (แต่ก็มาเรื่อยๆ) ที่มีคนนำเอาคำถามดีๆมาให้เรา และผมเองเป็นคนที่เทิดทูนคำถามดีๆ บางคำถามดีจนเสียดายไม่อยากตอบ เพราะตอบไปมันยังไม่รู้สึกว่าตอบได้ดีเท่าที่ควร และอีกประการคือเห็นแก่ตัว อยากจะให้คำถามดีๆแบบนี้หล่อเลี้ยงตัวเราไปอีกนานๆ เท่านาน

คำ "ครูเพื่อศิษย์" นี้ถูกทอยออกมานานพอสมควร เกิด community of practices ขึ้นในรูปแบบต่างๆ เป็นกุศลอย่างยิ่งเพราะทำให้ผู้ประกอบอาชีพครูโดยตรง และครูโดยอ้อม มีโอกาสเหลียวหลังมาหันกลับมาเช็คสภาพแรงบันดาลใจของตนเองอีกครั้ง หลังจากที่รูปแบบการบริหารต่างๆ ดามคอให้ชะโงกดูไปข้างหน้า มองหาอนาคต อนางอ อยู่อย่างเดียว จนหลายคนหลงทางออกไปจากแผนที่เดิมไปสุดกู่ (ผมนึกถึงภาพทาสชายของเจี๊ยะกวนอิม ในเรื่องชอลิ่วเฮียง ที่เดินรอบเครื่องบดทั้งวันทั้งคืน หมดแรงบันดาลใจในชีวิต เหลือแต่ต้องบดชิ้นงานตามที่รับมอบหมายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น)

ที่น่าชื่นใจมากก็คือ พอเราได้หันมาคุยกัน ว่าเราอยากจะทำอะไรให้ลูกศิษย์ และจะทำได้อย่างไร มันเกิดเป็น empowering talk ขึ้นมา ยังไม่ต้องสรุปอะไรออกมา ทุกคนก็ได้ไปแล้ว ได้ทันทีที่เรา "ช้าลง มองให้ชัด และ elaborate ออกมาดังๆ"

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ได้กลายเป็น sanctuary ที่ทำให้เรากลับไปที่แผนที่ชีวิตส่วนตัวของเรา และเห็นจุดกากะบาทตรงนั้นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ถูกองค์กรควบคุมจิตใจมาบอกให้ทำอย่างโน้นที อย่างนี้ที ประกวดบ้าบอคอแตกอะไรกันไม่รู้จักหยุดจักหย่อน เอาชีวิตคนมา ranking เอาเจตจำนงความมุ่งมั่นมาจัดลำดับ เกิดกระบวนการ dehumanizing เชิงระบบอย่างเอาเป็นเอาตาย focus ไปที่เฉพาะคนที่ได้ top โรงเรียนที่ชนะเลิศ แต่ "คนส่วนใหญ่" กลายเป็น second-class citizen ไปโดยปริยาย

ขอเอาจดหมายของ Edward Demming ที่เขียนให้ Peter Senge เป็นคำนำในหนังสือ The Fifth Disciplines อีกครั้งหนึ่ง (quoted มาหลายทีแล้ว)

"Our prevailing system of management has destroyed our people. People are born with intrinsic motivation, self-respect, dignity, curiosity to learn, joy in learning. The forces of destruction begin with toddlers- a prize for the best Halloween costume, grades in school, gold stars- and so on up through university. On the job, people, teams, and divisions are ranked, rewarded for the top, punishment for the bottom. Management by objectives, quotas, incentive pay, business plan, put together separately, division by division, cause further loss, unknown and unknowable."

เมื่อกี้แวะบ่น ขอเลี้ยวกลับเข้าบทความเดิม (แหะ แหะ)
ในบางครั้งเท่านั้น ที่ผมยังรู้สึกมีอะไรแว่บๆหลังฉากในสมอง (ไม่ใช่ retinal flashing ครับ ไม่ต้องกังวล) ว่าเรายังไม่ได้แตะอะไรที่ควรจะแตะ พอผมอ่านบทความของน้องเอก (จตุพร) และคันมือตอบไป ปรากฏว่ามันค่อยๆไหลออกมา ขออนุญาต quote ที่ผมตอบไปใน blog นั้นมาไว้ตรงนี้ด้วย

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ สำหรับการจัดกิจกรรมอันทรงคุณค่า และเป็นคุณค่าในระยะยาว

มีสองประเด็นอยากจะแลกเปลี่ยน

  1. ทันทีที่ฟังชื่อ professional learning community ผมมีความรู้สึกว่าน่าจะมี "นักเรียน" อยู่ใน community นี้ด้วย ไม่ใช่ลำพังแต่เป็น community ของครูฝ่ายเดียว ที่จริงการเป็นครูกับการเป็นนักเรียนมันแยกจากกันไม่ค่อยออกอยู่แล้ว ทั้งสองกลุ่มอยู่ใน "แวดวง" การศึกษาเหมือนกัน การเรียนและการสอนมีทั้งส่วนต่างและส่วน intersection ที่มีความสำคัญคนละแง่มุมกัน จริงอยู่ครูทุกคนเคยเป็นศิษย์มาก่อนทั้งสิ้น แต่เราคงจะทราบว่าบริบททางสังคมมีส่วนกระทบต่อการรับรู้ได้เยอะ ดังนั้นเราอาจจะ "คิดแทน" เด็กในขณะที่เราเริ่มเป็นผู้ใหญ่กันแล้วไม่ได้ทั้งหมด
  2. คำ "ครูเพื่อศิษย์" มีความหมายลึกซึ้งและงาม เพียงแต่มองย้อนกลับไปข้อหนึ่ง เห็นคำๆนี้ เราอาจจะเกิด perception ว่าวงนี้เป็นวงของครู ศิษย์เป็นคนรับประโยชน์ แต่ไม่ได้มีส่วนโดยตรง ภาษา OM คงจะว่าศิษย์เป็นผู้รับประโยชน์ ไม่ได้เป็นแม้แต่ strategic partners และที่แน่ๆไม่ได้เป็น direct partners

ผมครุ่นคิดใคร่ครวญว่าผมเป็นครูเพราะอะไร เพื่อศิษย์เป็นส่วนหนึ่งแน่ๆ แต่ผมกลับไม่ได้ใช้ "ศิษย์" เป็น successful parameters ที่เด่นชัดอย่างที่มันควรจะเป็น (ถ้าตรงนี้เป็นระดับ "วิสัยทัศน์") ก็เลยใช้วิธีมองหาว่า "ผมรู้สึกว่าประสบความสำเร็จเมื่อไร" แทน ถึงแม้ว่าตรงนี้ไม่ใช่ representative ของอาชีพครูไปได้ (เพราะมีเพียงหนึ่ง sample) แต่ก็จะมี advantages ตรงที่มัน "ชัด" เนื่องจากผมตรวจสอบตัวเองได้ว่ามันใช่ หรือว่าเกือบใช่ หรือว่าไม่ใช่

ในช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ผมโชคดีที่มีเวทีเกี่ยวกับการศึกษาสองรูปแบบ นั่นคือเวทีแรกเป็นแพทยศาสตรศึกษา ซึ่งเป็นเวที adult learners (แตกต่างจากการเรียนของเด็กพอสมควร จากการแลกเปลี่ยนกับท่านรองฯวิชชามาหลายครั้ง) แถมยังเป็นแพทยศาสตรศึกษาที่ใช้ PBL-based ซึ่งคงจะไม่ได้ represent Med-ed ของประเทศ กับอีกเวทีหนึ่งคือ การเรียนรู้ด้วยกระบวนการ (workshop) ที่ผมได้จับพลัดจับผลู จาก participants หันเหไปเป็นกระบวนกร (faciliator) เองไปๆมาๆก็หลายครั้งอยู่ ผู้เรียนจัดว่าเป็น "ผู้เรียนนอกระบบการศึกษา" แต่เป็นมาเข้าร่วมเพราะเหตุอื่น

เขียนถึงตอนนี้คิดว่าเริ่มมี seeding พอที่จะไปตั้งบทความใหม่ต่างหากของผมเอง จึงจะขอรวบรัดในตอนนี้ตรงนี้ว่าผมคิดถึงอะไร

ผมคิดว่าสิ่งที่ผมทำและรู้สึกดี นั่นคือผมทำ "เพื่อการเรียนรู้" คือ for learning นั่นเอง ทั้งของตัวเอง และของคนที่มาเข้าร่วม ปฏิสัมพันธ์ของคนที่นั่งอยู่ตรงนั้น (แบบแรกผมนั่งที่ครู แบบหลังผมนั่งรวมในระดับเดียวกัน) มันเอื้อให้เกิดความรู้สึก bliss ที่เกิดการเรียนรู้แบบธรรมชาติ และเห็นการเตบโตในตัวบุคคลอื่นๆต่อหน้าต่อหน้าอันเป็นสิ่งมหัศจรรย์

นั่นคือเป็น "ครูเพื่อการเรียนรู้"

ในขณะที่การเรียนในระยะเริ่มต้น คือของเด็กๆนั้นแน่นอนที่เราต้องการ "ครู" ที่ดีมาสอน เป็นผู้ให้ เป็นผู้สร้างฐาน เสียก่อน แต่ในระยะยาวนั้น love to learn หรือ live to learn จะกลายเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญมาก

ตรงนี้เปรียบได้กับสมัยก่อนที่ผมเรียนเรขาคณิต ก่อนจะเข้าทฤษฎีต่างๆ นักเรียนก็ต้องรู้จัก "สัจจพจน์" ก่อน ก่อนที่เราจะเปิดพจนานุกรมใช่ได้ เราก็ต้องมีพื้นฐานคำธรรมดาไว้ก่อนฉันใดก็ฉันนั้น แต่ไม่ใช่ว่าเราป้อนศัพท์ไปเรื่อยๆจนเกินระดับพื้นฐาน จนภายหลังเด็กหมดความอยากเปิดพจนานุกรมเอง อันนี้เรียกว่าสอนสัจพจน์ไปเรื่อย จนลืมตัวสอนหมด แม้กระทั้งไปถึงสมมติฐาน ทฤษฎี ซึ่งเป็นระดับความเข้าใจ ก็ยังทะลึ่งป้อนเอาๆ จนนักเรียนกลายเป็นลูกนกง่อย มีปีกแต่กางไม่ออก มีขาแต่เดินไม่ได้ไปเสียยังงั้น เอาแต่อ้าปากอย่างเดียว

กับดักประการหนึ่งของการ "ทำเพื่อ..." นั้น มันมีโอกาสที่คนทำคิดว่าเราเป็นคนทำเพียงฝ่ายเดียว แต่จริงๆการทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการซับซ้อนที่ทุกคนอยู่ในระบบทั้งสิ้น คนสอนก็กำลังเรียน และจะต้องเปิด sensor ว่าเรากำลังเห็นอะไร ได้ยินอะไร และเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมตลอดเวลา ครูบางคนเห็นเด็กนักเรียนหยิบ iPad หรือ iPhone ออกมาจิ้มๆ จิตก็เริ่มตก แว้ดๆขึ้นมาทันที หารู้ไม่ว่าเด็กสามารถ search evidence-based ล่าสุดของสาระที่กำลังอภิปรายออกมาได้ ณ เดี๋ยวนั้น ตรงนั้น แต่ "ครูไม่รู้" และ "กลัวที่จะพบว่า เรากำลังรู้น้อยกว่าเด็ก" ก็หันไปใช้ authority หรือ aggression มาปกป้องตัวเองทันที

เมื่อวานผมสอน Health promotion ให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 เป็นการให้ไปสัมภาษณ์คนไข้ที่ได้รับอุบัติเหตุ และไปพยายาม empower คนไข้ที่อาจจะมีอาการพิการทางกาย บาดเจ็บทางจิตใจอารมณ์ให้ดีขึ้น ซึ่งก็ทำได้ดีมาก (จะมีเรื่องเล่า "อภิชาตศิษย์" ตอนใหม่ออกมาอีกไม่นาน) แต่ติดอยู่อย่างนึงก็คือ พอน้องๆนักเรียนเห็นต้นทุนคนไข้มีเยอะ ก็อดมิได้ที่จะพูดออกมาดังๆว่า ทำไมไม่ใช้เรื่องนั้น คุณควรจะใช้วิธีนี้ ใช้ต้นทุนนี้สิ ฯลฯ ซึ่งคนไข้เองก็ดีใจนะครับที่น้องๆเขาแนะนำ แต่ผมคิดว่า ถ้าเราเพียงแค่ narrate คือ "นำไปถึงจุดที่เขาจะได้คิดเอง" น่าจะเป็นการ empower ที่ดีสมบูรณ์ คือ คนไข้เองที่จะยืนบนแข้งขาของเขา และภาคภูมิใจที่คิดขึ้นเองได้ และเราเองเป็นเพียงผู้ให้หยิบยืมพลังมาหนุนเขาเท่านั้นก็พอ

ผมเชื่อว่าการที่ครูควรจะทราบว่า การ "คิดออกเอง" นั้นมีคุณค่ามาก

การคิดออกเอง เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองของนักเรียน และในบรรยากาศที่ปลอดภัย ในเรื่องที่มีการ "ปูพื้น" หรือให้ "สัจพจน์" ไว้เพียงพอ การคิดออกเป็นสิ่งที่ inevitable เสมือนดินร่วนที่อิ่มน้ำ อิ่มปุ๋ย อากาศดี หว่านเมล็ดไว้เรียบร้อย มันต้องงอกออกมา in due time เหมือนมะม่วงที่พร้อมจะสุกคาต้น โดยไม่ต้องไปรีบบ่มแก๊สรีบเอาออกขาย หรือ claim ความดีความชอบว่า "ลูกนี้สุกเพราะฉันบ่ม" มิสู้ปล่อยให้สุกคาต้น และต้นไม้นั้นภาคภูมิใจว่าฉันก็ออกลูก ออกผลเองได้หอมหวานอร่อยตามธรรมชาติ

ครูจึงควรถามตนเองว่า "เราอนุญาตให้เด็กคิดออกเองมากเพียงไร?" ถึงจะไปถึงคำถามว่าเราจะสอนให้เด็กคิดเป็นอย่างไร เพราะหากไม่เห็น "ฉันทาคติ" ที่ได้มาจากการ "คิดออกเอง" แล้ว เราก็ไม่เห็นความดี ความสำคัญในเรื่องนี้จริงๆไปได้ เป็นแค่ทำตามกระแส หรือเพราะว่าเขาสั่งมาให้สอนคิดเท่านั้นเอง
และข้อสำคัญที่สุดอีกประการก็คือ ครูจะต้องสามารถมองเห็นและให้คุณค่าแก่ "การพยายามทำด้วยตนเอง" ของนักเรียน อย่าไปดูแต่ "ผลลัพธ์" แต่เพียงอย่างเดียว

อันนี้เป็นอีกกับดักหนึ่ง ที่มาจากความเชื่อที่ว่า "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" มีคนเอาไปแปลดิบๆ คือไม่ได้สนใจความพยายามในการทำงานก่อนหน้านั้นมาเลย ไปดูที่ผลอย่างเดียว ก็ไม่ต้องแปลกใจ หากในสังคมจะมีคนใช้ทฤษฎีของ Machiavellie ที่ว่า "The end justifies the means" มากขึ้นๆ

เพราะที่น่ากลัวก็คือ เรื่องของ ethics moral คุณธรรม จริยธรรม นั้น มันเกิดตอนกำลังทำ ไม่ได้เกิดตอนผลลัพธ์ของการกระทำ เราไปเน้นผลลัพธ์มากๆเข้า เด็กก็ copy ข้อสอบ ครูก็สอนพิเศษ เอาข้อสอบมาเฉลย เรียนเพื่อสอบ แทนที่จะเรียนเพื่อปัญญา เพื่อสังคม เพื่อโลกใบนี้ มันกลายเป็นเรียนเพื่อกู เรียนเพื่อเหยียบมึงไปซะ

วัดแต่ผลลัพธ์จนกระทั่งไม่เห็นว่า เด็กรร.หนึ่ง ยากจนขนาดหนัก แต่ยังอุตส่าห์มาใช้หนังสือร่วมกัน 3-4 คนต่อเล่ม กลางวันวิ่งกลับไปป้อนข้าวป้อนน้ำให้แม่ที่เป็นอัมพาต เสร็จแล้ววิ่งกลับมาเรียนต่อ แต่เห็นแค่ผลการเรียนของเด็กเมืองที่ไปเรียนพิเศษ เรียนอะไร 7 วันต่อสัปดาห์ ไม่เคยได้อยู่เป็นครอบครัวสักวันเดียวในอาทิตย์ แล้วก็ได้รางวี่รางวัล ได้ Olympic ได้เป็น Olympians ประกวดตะหวักตะบวย แล้วบอกว่านี่ไงชนะเลิศ ถ้าแน่จริงก็ random สิ อย่าเอาแต่เด็กคัดแล้วไปสอบ เราจะได้เห็น performance ที่เป็นภาพรวมของประเทศที่ไม่ได้ represent โดย genius ไม่กี่คน

ต่อเมื่อครู และสังคม หันมาสนใจในเรื่อง "เจตจำนงความมุ่งมั่น" ของมนุษย์ แล้วเราค่อยไปถึงการเรียนเพื่อสังคม การสร้างสังคมแห่งจิตอาสา ไม่งั้นพวกเหล่านี้ก็จะเป็น "มะม่วงอบแก๊ส" ที่ออกตลาดเร็วๆเท่านั้น พอแก๊สหมด แรงก็หมด

ผมคิดว่า learning community นั้นมีแต่ครูไม่ได้ มันไม่ "ครบองค์" เหมือนกับการออกแบบแพทยศาสตรศึกษาที่มีแต่หมอ ไม่มีตัวแทนภาคประชาชนไปเกี่ยวข้อง ผลก็คือ เราต้องเรียนอะไรก็ไม่รู้ที่เป็นเพียง glorify of medical technology ที่ไม่ได้ benefit to mankind เท่านั้น ทุกวันนี้เราสร้างบันไดต่อยอด ego ให้แก่บัณฑิตมากมาย จนสูญเสียความหมายทางการศึกษา Education for Liberation ไปไกลมากแล้ว learning community มันต้องมี "ทุกคนในสังคม" ไม่ใช่เฉพาะแต่ professional teachers เท่านั้น เพราะผมเชื่ออย่างที่สุดว่า "มนุษย์เกิดมามีศักยภาพในการเรียนรู้" มันต้องมีเหตุผลอะไรบางอย่างที่อธิบายว่าทำไมเราถึงมีศักยภาพด้านนี้ถึงเพียงนี้

เมื่อนั้นเราอาจจะได้คำตอบว่า "ทำไมนิเวศน์นี้ถึงต้องมีมนุษย์"?

หมายเลขบันทึก: 455555เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2011 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณครับอาจารย์ บทความของอาจารย์ผมนำ print out ออกไปอ่านเเบบช้าๆ แล้วจะมาเเลกเปลี่ยนอีกครั้งครับ

 455555

บันทึกนี้รหัส Link เลขสวยมาก ๆ ครับ  455555

เห็นด้วยครับ ตอน post ไป ก็แว่บเข้าลานสายตา เตะตาดี

"เราอนุญาตให้เด็กคิดออกเองมากเพียงไร?"

นโยบาย Learning by struggling ( a little bit :-)

ตรงกับ Dawin's law น่าจะดีเนาะ

น่าสนใจมากครับอาจารย์  กรณี learning community มันต้องมี "ทุกคนในสังคม   ผมคงจะทดลองเริ่มที่มีทั้ง "คุณครู" และ "นักเรียน" ก่อน  ในชุมชนแห่งการเรียนรู้   นักเรียนหลายคน  กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น   แต่ข้อจำกัดอยู่ที่คุณครูครับ  คุณครูบางท่่าน ยังไม่เปิดใจ  ยังไม่พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของเด็ก   ก็คงจะต้องหาคุณครูที่ใจกว้าง ก่อนนะครับ  คุณครูที่พร้อมจะเปฺดใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเด็กไดเ   เป็น "ครูเพื่อการเรียนรู้"  นั่นคือ เรียนรู้จากครูด้วยกันเอง และ เรียนรู้จากเด็ก


ขอบคุณค่ะอาจารย์ ขอร่วมเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

ชอบมากกับการสอนให้เด็กหรือคนไข้ได้ "คิดออกเอง" จากการตั้งคำถามที่ดี

ซึ่งคิดว่าเป็นแนวทางของการ empowerment และ counselling ที่น่าจะได้ผลที่สุด

........

และประเด็น " ethics moral คุณธรรม จริยธรรม นั้น มันเกิดตอนกำลังทำ ไม่ได้เกิดตอนผลลัพธ์ของการกระทำ"

จะนำไปคิดต่อค่ะ...ขอบคุณค่ะ...^_^

บันทึกนี้ให้ข้อคิดดีๆ ที่ อ้อ จะเอาไปทำงานครูเพื่อศิษย์ฯ ต่อ...ขอบคุณ อ.หมอสกล ค่ะ ^_^

ทำไมอ่านรวมๆแล้ว รู้สึกได้อารมณ์เหมือนอ่านธรรมของเว่ยหล่างเลยครับอาจารย์ แต่บอกไม่ถูกว่าทำไมและตรงไหน อาจจะอยู่ตรงที่ทำให้ได้ภาพของการแสดงความเป็นเหตุปัจจัย เป็นเหตุผลของกันและกัน เรียนรู้ที่จะเป็นและไม่เป็น โดยดำเนินไปอย่างเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันของ ครู ผู้เรียน ชีวิตเพื่อการเรียนรู้ (ที่เป็นฐานของ)ชุมชนแห่งการเรียนรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้

ต้องขอขอบคุณทรรศนะและการแบ่งปันนี้ในวาระอย่างนี้ของอาจารย์ครับ รวมทั้งขอบคุณไปถึง 'ข้อความดลใจ' ของคุณเอกจตุพร ที่อาจารย์นำมาสานความคิดแบ่งปันต่อยอดกัน หลังตื่นเช้าแล้วก็กำลังคิดว่าจะวางฐานอารมณ์เพื่ออยู่กับตนเองให้เป็นการเจริญสติและปฏิบัติบูชาสำหรับวันมาฆะบูชาวันนี้ ไปบนการทำงานและกิจกรรมชีวิตที่ให้การใคร่ครวญ 'มิติจิตใจและจิตวิญญาณ' ของชีวิตการงานต่างๆ สักหนึ่งวันในวันมาฆะบูชานี้ อยู่พอดีครับ บันทึกของอาจารย์ให้ความคิดที่กำลังคิดอยู่ในใจนี้พอดีเลย วันนี้ไม่ได้ไปทำบุญที่ไหน เลยต้องขออาศัยคติของท่านอาจารย์ ดร.จันทวรรณ ที่ว่า 'ทำบ้านให้เป็นวัด' มาเป็นหลัก 'ทำวัดในเรือนใจ' สักวัน

วันนี้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้และเป็นเครือข่ายผู้นำการเปลี่ยนแปลง เครือข่าย Facilitator สร้างศักยภาพการเรียนรู้และสร้างพลังการตื่นรู้ของมนุษย์ ที่ตถาคตสร้างขึ้นด้วยตนเองโดยตรงและล้วนหลุดพ้นแล้ว ๑,๒๕๐ รูป ต่างมุ่งไปชุมนุมเพื่อน้อมปฏิบัติบูชาต่อครูอาจารย์ของตนอย่างพร้อมเพรียง โดยอาการแล้วก็เป็นการเกิดขึ้นอย่างมิได้นัดหมาย แต่มองในแง่หนึ่ง แท้จริงแล้วก็เกิดจากการมีวาระในใจที่ตรงกันคือ แรงแห่งการน้อมนำความกตัญญูกตเวฑิตาและความรักต่อครูของตน ที่กำกับวิถีปฏิบัติของตนออกมาจากใจที่ตรงกันพอดี ครู ศิษย์ และชุมนุมชนแแห่งการเรียนรู้ จึงร่วมกันทำให้เกิดชุมชนมาฆะบูชา ลากไปซะไกลเลยครับ เหมือนไม่เกี่ยวกัน แต่ได้อารมณ์อย่างนี้พอดีครับ

ขอบพระคุณอาจารย์วิรัตน์ครับ ที่ทำให้เช้านี้ผมได้บุญ (บุญ = จิตใจผ่องใสเบาสบาย) โดยที่ยังไม่ต้องลุกจากเตียงเลย เพราะสิ่งแรกที่ผมทำหลังจากตื่นนอนคือกวาดมือหยิบ iPad มาตรวจหา email และก็เลยได้มาอ่านธรรมสั้นๆ แต่เปิดโลกทัศน์ของอาจารย์พอดิบพอดี อย่างนี้กระมังที่เป็นความรู้สึก "ทำบ้านเป็นวัด" ที่อาจารย์กล่าวถึง

การ "ใช้ชีวิต" หรือไม่ที่เป็นตัวสะท้อนตัวตนของเรา ณ ขณะนั้น? ไม่ใช่สถานะที่เราได้ (หรือไม่ได้) ที่บ่งบอกตัวตนเรา ผมพยายามตีความหลงจากที่สะดุดคำ "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" มาหลายครั้ง หลายครา ที่จริงเราไม่ได้เป็นครู เพราะมีอาชีพครู เราไม่ได้เป็นกระบวนกรเพราะสอบผ่านอนุมัติบัตรการเป็น facilitator หากแต่ว่าเมื่อไรที่เรานำเอาศิลปการเอื้อการเรียนรู้มาใช้ในชีวิตแล้วล่ะก็ เมื่อนั้นเรากำลังสวมบทบาทครู-กระบวนกร-นักเรียน ไปในทันที

แนวคิดนี้อาจจะไม่ได้เสริมโครงการครูเพื่อศิษย์มากนัก เพราะดูท่าโครงการนั้นจะเน้นที่ "ครูวิชาชีพ" มากกว่า แต่ภายหลังผมอ่านเจอะเจอมาตรฐาน criteria วิถี วัตร ของครู ของกระบวนกร ออกมามากมายจนกระทั่งแทบจะกลายเป็นอีก species หนึ่งไปแล้ว จริตผมลอยกลับมาที่อะไรที่มันน่าจะเรียบง่ายไปกว่านั้นก็คือ มนุษย์เกิดมาเพื่อเรียนรู้ตามศักยภาพของเรา การได้เรียน การได้สอน ก็เป็นเพียงพิธีกรรมที่เราภาวนาว่าเราตระหนักในคุณค่าขององคพยพแห่งการเรียนรู้ที่เรามี (ที่มนุษย์ทุกรูปนามมี) เราสอน (คือเป็นครู) ไม่ใช่กับนักเรียนเท่านั้น ยังกับพี่น้อง ลูกหลาน แม้กระทั่งกับหมา กับแมว กับนก ม้า หมู เราเรียนไม่ได้จากครูอาชีพเท่านั้น แต่จากพี่ จากพ่อแม่ จากธรรมชาติ จากการใช้ชีวิต คำ "โรงเรียน" ดูจะครอบงำเราผิดๆว่่าเราเรียนก็เฉพาะที่โรงเรียน (เหมือนกับอีกคำที่ชี้นำผิดๆอย่างม่กคือคำว่า "เรียนจบ" จนผู้คนเกิดอหังการมากมาย) เราเป็นเผ่าพันธุ์ที่ฝักใฝ่เรื่องเรียนเรื่องสอนอย่างฝังลึก แม้แต่เซลล์ของเราก็ยังเรียน

****** สมมติว่าเรามีแผลเนื้อแหว่ง เช่นฉลามงับ เซลล์สองฝากฝั่งของแผลจะเกิดอักเสบ เพื่อส่งข่าวสารระดมเซลล์ซ่อมแห่แหนมาชุมนุมกันที่แผล บ้างก็ซ่อม บ้างก็จัดการกับสิ่งแปลกปลอม บ้างก็เคลือบส่วนที่ซ่อมเสร็จกันไม่ให้เสีย ก้นแผลพอสุกดีแล้ว เซลล์ผิวหนังจะได้รับสัญญานออกมาคลุมแผล จากขอบหนึ่งลามไปหาอีกขอบหนึ่ง ที่ก้นแผลเซลล์พังผืดก็จะผลิตสายใยเหนียวดึงรั้งแผลทั้งสองด้่านให้หดเล็กลงๆ เมื่อไรก็ตามที่เซลล์ผิวหนังเจอะเจอฝั่งตรงข้ามก็จะหยุดสร้าง (มิฉะนั้นถ้าสร้างต่อไปเรื่อยๆ จะกลายเป็น keloid หรือแผลหยาบใหญ่ น่าเกลียด *******

จะเห็นขบวนการเรียนรู้ สื่อสาร ที่ละเมียดละมัย มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งของเซลล์นานาชนิด ร่างกายเรานั้นอุดมด้วยปัญญาที่นักวิทยาศาสตร์ขบมาทั้งชีวิต หลายรุ่นสมัย ก็ยังพิศวงงงงวย ผมจึงคิดว่าการ monopoly การเรียนอยู่ที่นักเรียน การสอนอยู่ที่ครูหรือกระบวนกร เป็นการ minimalize humanity ไปไม่น้อย

กราบขอบคุณอาจารย์วิรัตน์ครับ ขออนุโมทนาต่อกุศลของอาจารย์ที่กำลังเจริญธรรมอยู่ ณ บ้าน (วัดชั่วคราว) และต่อวิถีผู้เรียนรู้ที่นำพาเรามาได้รู้จักกันครับม

Namaste

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท