ที่ทำในฐานะ บก.วารสารสายใยพยา-ธิ : มองหาเรื่อง


ทำมา 6-7 ฉบับแล้ว เก็บประสบการณ์มาได้พอสมควร ก็เลยอยากบันทึกไว้ และทะยอยเล่าสู่กันฟัง

“สายใยพยา-ธิ”  วารสารของภาควิชาพยาธิวิทยา เปิดตัวฉบับแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว โดยตนเองนั่งในตำแหน่งบรรณาธิการ  จนถึงฉบับล่าสุด คือฉบับประจำเดือนมิถุนายน (เป็นฉบับที่ 7)  มีการเปลี่ยนแปลง โดยให้ทีม บก. ผลัดกันมานั่งในตำแหน่ง บก.ประจำฉบับ ซึ่งคุณสุคนธ์ ก็รับอาสา มาเป็น บก.ประจำฉบับคนแรก  ส่วนตนเองก็ขยับขึ้นไปเป็นที่ปรึกษา  ฉบับล่าสุด ซึ่งมีการแจกให้ทุกคนได้เป็นเจ้าของ ก็มีเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ดังที่คุณศิริ และ คุณ nidnoi  ได้บันทึกไว้

ทำมา 6-7 ฉบับแล้ว เก็บประสบการณ์มาได้พอสมควร ก็เลยอยากบันทึกไว้ และทะยอยเล่าสู่กันฟัง

ส่วนสำคัญที่ทำให้วารสารออกได้ คือ ต้องมีเรื่องลง   เป็นหน้าที่ของ บก. ที่จะมองหาเรื่องลงวารสาร   ส่วนหนึ่งเป็นคอลัมน์ประจำที่วางไว้ตั้งแต่แรกและมีผู้เขียนประจำ ส่วนนี้ บก.ก็เหนื่อยน้อยหน่อย  เพียงแค่ติดตามต้นฉบับเมื่อถึงเวลา  อีกส่วนหนึ่ง เป็นคอลัมน์จร แล้วแต่โอกาส  ส่วนนี้ บก.ต้องออกแรง  เรื่องราวในคอลัมน์ไม่ประจำเหล่านี้  มาจากการ….

มองหาเรื่อง จากกิจกรรมของภาคฯ ในช่วงเวลานั้น  ออกแบบแนวของเรื่องคร่าวๆ  ว่าอยากได้เนื้อหาแนวไหน  แล้วก็หาคนเขียน  เช่น ช่วงที่มีกิจกรรม sport day ก็คิดว่า น่าจะมี คอลัมน์แซวภาพ  มีคอลัมน์บอกเล่าความก้าวหน้า  เป็นต้น  โดยเฉพาะ หากเป็นกิจกรรมใหญ่ มีระยะเวลาของกิจกรรมระยะหนึ่ง ก็จะพยายามให้มีเรื่องราวลงในวารสารอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์กิจกรรม รวมทั้งเรื่องราวต่อเนื่อง อันเกิดจากกิจกรรมดังกล่าว

มองหาเรื่อง จากการไปประชุม อบรม ของบุคลากรในภาค  ตรงนี้ เป็นข้อได้เปรียบของตนเอง เนื่องจากเป็นหัวหน้าภาควิชา ทำให้ทราบความเคลื่อนไหวของคนในภาค  เมื่อพบเจอจากหนังสือที่ขออนุมัติเดินทางไปประชุม ก็จะ note ไว้ เพื่อติดต่อขอเรื่องมาลงวารสาร

มองหา เรื่องเล่าคนทำจริง เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำสิ่งดีๆ ของบุคคล หรือหน่วยงาน   เช่น เมื่อมีการนำเสนอผลงาน ส.6 สร้างสรรค์ของคณะฯ  ก็ขอให้คนที่ไปนำเสนอเขียนเล่าประสบการณ์ในการนำเสนอ  หรือ เมื่อ 2 เดือนก่อน มีผลการประเมิน 5 ส. ส่งมาที่ภาค และมีคำชมว่า 5 ส. ของหน่วยจุลชีวฯ ทำได้ดี  จึงได้ติดต่อให้คนหน่วยจุลฯ เขียนเล่าเรื่องการทำ 5 ส. เป็นต้น

ส่วนรูปแบบการเขียนเรื่องราวเหล่านี้  ก็บอกคนเขียนว่า เขียนเป็นแบบเล่าเรื่อง สบายๆ  บางเรื่อง ก็ใช้วิธีสัมภาษณ์

แล้วเราก็ได้ เรื่องราวดี ๆ ที่อ่านได้อย่างสนุกสนาน และมีสาระ  ด้วยประกา..ระ..ฉะนี้

หมายเลขบันทึก: 40313เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
อ้อ ขออนุญาติคุณศิริ นำรูปถ่ายปกสายใยฯ มาใช้นะคะ
  • สะดุ้งเลยค่ะ นึกว่าท่านเอื้อไป "มอง(หน้า)หาเรื่อง" ใครซะแล้ว ที่แท้ก็มองหาเรื่องมาลงวารสารนี่เอง
  • ไม่ง่ายเลยนะคะ กับหน้าที่ บก. วารสารเนี่ย อ่านจากบันทึกแรกก็จับประเด็นได้ว่า ต้องใช้ tacit ของการเป็น นักวางแผน และ นักสืบค้นข้อมูล  มากมายเหมือนกันค่ะ

สะดุดหัวคะมำจริงๆนะคะกับชื่อบันทึกของอาจารย์ ไม่ใช่ตรง "มองหาเรื่อง"นะคะ แต่เป็นการเริ่มประโยคด้วยคำว่า "ที่" น่ะค่ะ อ่านแล้วอ่านอีก นึกไม่ออกค่ะว่าอาจารย์ตั้งใจจะบอกว่าอะไร เป็นสำเนียงใต้ไหมคะ อาจารย์ สงสัยจริงๆ

อ่านซ้ำอีกหลายรอบแล้ว สงสัยว่าอาจารย์จะบอกว่า "ประสบการณ์ที่ทำฯ" หรือ "งานที่ทำฯ" หรือ "หลายๆเรื่องราวที่ทำฯ" หรือเปล่าคะ สงสัยและไต่ถามด้วยความเคารพจริงๆค่ะ

ขอบอกแล้วบอกอีกได้เลยว่า อาจารย์เป็นยอดคุณเอื้อ เป็นแบบอย่างในทุกๆด้านสำหรับลูกภาคฯอย่างตัวเองค่ะ จึงทุ่มสุดตัวให้ทุกด้านค่ะ อาจารย์ต้องเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องเร็วๆนะคะ เพื่อสั่งสอนแนะนำบอ กอ คนต่อไป มิฉะนั้นอาจารย์จะต้องรับบทหนักในการเป็นพี่เลี้ยงอย่างเลี่ยงมิได้แน่ค่ะ 

ด้วยความยินดีค่ะ อาจารย์ 

เรียนคุณโอ๋

ไม่ใช่สำเนียงใต้ค่ะ  แต่เป็นสไตร์คนใต้หรือเปล่าไม่รู้ คือ พูดสั้นๆ ละบางคำในประโยค

และจริงๆ ตอนที่เขียนก็คือว่า ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดี ประมาณอย่างที่คุณโอ๋เขียนมานั่นแหละ ทั้ง ประสบการณ์  งานที่ทำ  หรือ หลายๆ เรื่องราวที่ทำ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท