หนังสือทำมือ (3) : ต่อขวัญ : กลุ่มคนที่เสพวรรณกรรมแทนอาหารว่าง


กลุ่มวรรณกรรมต่อขวัญ อาจจะแตกต่างลิบลับกับกลุ่มวรรณกรรม “ป่งใบ” เพราะถือกำเนิดขึ้นจากกลุ่มผู้รักและหลงใหลในการอ่านวรรณกรรม และยังไม่มีใครแจ้งเกิดเป็นนักเขียนเลยแม้แต่คนเดียว

กลุ่มวรรณกรรมต่อขวัญ  เป็นกลุ่มวรรณกรรมกลุ่มที่สองที่มีการรวมตัวขึ้นอย่างเป็นทางการในรั้วมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยเกิดขึ้นเมื่อวันที่  23  กรกฎาคม  2542  ภายใต้การเสวนาแบบ F2F  ในชายคาบ้านท่านอาจารย์ธัญญา  สังขพันธานนท์  (ไพฑูรย์ ธัญญา)  

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กลุ่มวรรณกรรมต่อขวัญ  อาจจะแตกต่างลิบลับกับกลุ่มวรรณกรรม ป่งใบ  เพราะถือกำเนิดขึ้นจากกลุ่มผู้รักและหลงใหลในการอ่านวรรณกรรม  ยังไม่มีใครแจ้งเกิดเป็นนักเขียนเลยแม้แต่คนเดียว  ถ้าจะมีบ้างก็คงเป็นคุณวิชัย  จันทร์สอนกระมังที่พอจะมีบทกวีตีพิมพ์เผยแพร่อยู่ก่อนแล้วในนิตยสารต่าง ๆ   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และส่วนใหญ่ก็เป็นการรวมกันระหว่างนิสิตปริญญาโทและนิสิตปริญญาตรีในวิชาเอกภาษาไทยทั้งนั้น  ไม่ว่าจะเป็น  คุณประยูร  หงษาธร  ศุภเมธ  หมายมุ่ง  ธนวรรธ ชายกุล  สุวิล  โต่นวุธ  รวมถึงโกสินทร์  ขาวงาม  (เอกทัศนศิลป์)   และคุณประจวบ  จันทร์หมื่น  บัณฑิตหนุ่มที่จบแล้ว   (ตอนนี้ออกเทปในชื่อวงอีเกิ้ง  อัลบั้ม อีเกิ้งเต็มดวง)  รวมถึงตัวกระผมเอง  นายพนัส  ปรีวาสนา  ด้วยเช่นกัน</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมยังจำค่ำคืนการก่อเกิดกลุ่มวรรณกรรมของตนเองได้อย่างชัดเจน   เพราะครั้งนั้นกว่าจะได้ชื่อกลุ่มว่า ต่อขวัญ  ถึงขั้นต้องโหวตลับกันเลยทีเดียว  ซึ่งผมเป็นคนเสนอชื่อนี้เข้าชิงชัยด้วยตัวเอง   โดยอภิปรายชี้แจงต่อองค์ประชุมว่า   เพื่อให้ชื่อนี้ตอบประวัติศาสตร์การก่อเกิดกลุ่มวรรณกรรมที่ ต่อ  เนื่องมาจากกลุ่มป่งใบที่ปิดตัวลงแล้ว  และอีกนัยหนึ่งก็คือ  ต่อขวัญ  คือ  กลุ่มวรรณกรรมที่เกิดมาเพื่อสาน ต่อ  ลมหายใจของกลุ่มวรรณกรรมและหนังสือทำมือในรั้ว มมส  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กลุ่มวรรณกรรมต่อขวัญมีลักษณะที่ต่างไปจากกลุ่มป่งใบอยู่ประการหนึ่งก็คือ  ไม่เน้นเรื่องการผลิตหนังสือทำมืออย่างจริงจัง  แต่มุ่งพบปะเสวนาและแลกเปลี่ยนเรื่องวรรณกรรมเป็นสำคัญ  โดยในทุกวันเสาร์ของสัปดาห์ก็จะสัญจรมาแลกเปลี่ยนเรื่องวรรณกรรมกันอย่างสม่ำเสมอ  ใครมีหนังสือดีก็นำมาเล่า  ใครมีผลงานก็เอามาให้เพื่อนได้ร่วมวิจารณ์เสนอแนะ  ซึ่งมี อ.ธัญญา  สังขพันธานนท์   และพี่สุขุมพจน์   คำสุขุม เป็นที่ปรึกษาคอยชี้แนะอย่างอาทร</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กระทั่งเมื่อวันเวลาล่วงมาจนถึงเดือนมกราคม 2543  จุลสารต่อขวัญฉบับปฐมฤกษ์ก็ได้เวลาเปิดโฉมต่อสาธารณชน  โดยมีสโลแกนว่า ต่อขวัญ  :  อีกทางเลือกของกิเลสคอวรรณกรรม  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การปรากฏตัวของจุลสารต่อขวัญฉบับทำมือเล่มเล็ก ๆ  ด้วยกระดาษพิมพ์สีขาวครั้งนั้น  ถือได้ว่า ฮือฮาและเป็นที่จับตามองกันไม่น้อย  หรืออาจจะเป็นเพราะหลังจากป่งใบปิดตัวลง  กลุ่มวรรณกรรมใน มมส  ก็กลายเป็นสุญญากาศ  มีความเงียบทางวรรณกรรมห่มคลุมอยู่บ้างเล็กน้อย  เมื่อชาวต่อขวัญเผยโฉมออกมาทักทายก็ชวนให้สนใจและติดตามอย่างง่ายดาย ….</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การเปิดตัวของจุลสารต่อขวัญฉบับปฐมฤกษ์ (มกราคม กุมภาพันธ์ 2543)  ได้สร้างความตื่นตัวในการรวมกลุ่มทางวรรณกรรมใน มมส  เป็นอย่างมาก  ดังจะเห็นได้จากเริ่มมีหลายคนเข้าร่วมวงไพบูลย์กับพวกเรา  บางคนก็รวบรวมคอวรรณกรรมตั้งเป็นกลุ่มขึ้นมา  หรือบางคนก็พยายามที่จะนำเสนอผลงานตัวเองในแบบศิลปินเดี่ยว !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทันทีที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งได้ทำการสัมภาษณ์ผมและเขียนถึงกลุ่มวรรณกรรมต่อขวัญ  ก็ยิ่งทำให้กลุ่มวรรณกรรมต่อขวัญเป็นที่สนใจใคร่ดีจากผู้คน  ถึงขั้นว่ามีกัลยาณมิตรส่งเงินมาจากแดนไกลสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการผลิตหนังสือทำมือเลยทีเดียว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อย่างไรก็ตาม จุลสารต่อขวัญ  มีความหลากหลายทางด้านเนื้อหามิใช่น้อย  เพราะไม่เพียงการตีพิมพ์ผลงานของกลุ่มเพียงสถานเดียว  แต่ยังมีคอลัมน์แนะนำหนังสือ ,  คำคมจากวรรณกรรม, แนะนำนักเขียน,  แนะนำบทกวีและเรื่องสั้นเก่า ๆ  ที่ควรค่าต่อการศึกษา  รวมถึงการเน้นภาพประกอบที่เกิดจากลายเส้นของคุณโกสินทร์  ขาวงามที่ถือได้ว่านั่นคือเวทีแรกที่เขาได้ละเลงลวดลายลงอย่างเป็นทางการในหนังสือทำมือ  ซึ่งบัดนี้เจ้าตัวก็แจ้งเกิดในฐานะนักเขียน และนักวาดในสังคมเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และนี่คือคำแถลงการณ์ที่ผมได้เขียนไว้ในจุลสารเล่มแรกของชาวต่อขวัญเมื่อร่วม 7 ที่แล้ว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จุลสารต่อขวัญ  เป็นผลิตผลทางอารมณ์ของกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมหลงใหลอยู่กับการเสพวรรณกรรม  เห็นหนังสือที่ไหนเป็นต้องถลาร่อนเข้าไปซบ !  เก็บตัวอยู่ในร้านหนังสือได้เป็นชั่วโมง ๆ  ขึ้นรถลงเรือไปเหนือล่องใต้ ภายในย่ามก็ต้องพกพาหนังสือ (คำนึงถึงหนังสือมากกว่ายาดม ยาหม่อง)  ไม่แค่นั้นหรอก  เข้าห้องน้ำยังต้องหนีบหนังสือติดมือเข้าไปด้วย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นั่นแหละ พฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่ชอบ เสพวรรณกรรมแทนอาหารว่าง  เย็นย่ำของทุกวันเสาร์ก็หันมารวมกลุ่มพูดคุยเสวนาเรื่องวรรณกรรม  บ้างเอาหนังสือมาอวด  บ้างเขียนเรื่องสั้นและบทกวีมาแบ่งกันอ่าน  บ่อยครั้งเข้าทั้งพฤติกรรมส่วนตัวและกิจกรรมเสวนาก็กลายเป็น กิเลส ..กิเลสที่เราพร้อมใจกันเรียกมันว่า กิเลสของคอวรรณกรรม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ท้ายที่สุด ความเป็นกิเลสของคอวรรณกรรมอย่างพวกเรา ๆ ก็หลอมตัวกลายออกมาเป็นจุลสารต่อขวัญ  จุลสารที่เป็นผลิตผลของการเสพวรรณกรรม  ด้วยความปรารถนาจะสะกิดเตือนมิ่งมิตรให้หันมาให้ความสำคัญต่อการเสพวรรณกรรม  เพราะเราเชื่อและศรัทธาว่าอานุภาพแห่งวรรณกรรมจะช่วยรังสรรค์ให้มวลมนุษยชาติมี ชีวิตที่ดี สังคมที่ดี …เราเชื่อเช่นนั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ส่วนในทางกระบวนการผลิตต้องถือว่า  เป็นการผลิตในแบบ ทำมือ ล้วน ๆ  พิมพ์แล้วตัดแปะเป็นต้นฉบับ  จากนั้นก็นำไปถ่ายเอกสารแล้วมาเย็บเล่ม  จำหน่ายในราคา 20  บาท</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จุลสารต่อขวัญ  โลดแล่นอยู่ในมหาวิทยาลัยในช่วงหนึ่ง มีจุลสารและหนังสือทำมือออกสู่แวดวงประมาณ  4  เล่ม  รวมถึงการเป็นแรงส่งให้นิสิตนำผลงานของตนเองมาพิมพ์เป็นหนังสือจำหน่ายขายอย่างเป็นทางการ….</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>เหนือสิ่งอื่นใด  คงไม่อาจเรียกได้ว่ากลุ่มวรรณกรรมต่อขวัญ คือ ผลิตผลของกลุ่มวรรณกรรมป่งใบ  เพราะมีเพียงผมคนเดียวเท่านั้นที่ได้แรงบันดาลใจมากจากกลุ่มป่งใบ   แต่วิถีที่ก้าวเดินไปนั้นก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  นั่นก็คือ  การสืบต่อลมหายใจการอ่าน - การเขียนในสถานศึกษาอันเป็นที่รักยิ่งของตนเอง     </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แล้วค่อยมาตามรายละเอียดที่เหลือที่ถือน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเป็นครั้งแรกที่หนังสือทำมือขายดิบขายดี  จนต้องผลิตซ้ำมากกว่า 2 ครั้ง  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โดยเฉพาะคนที่ชอบอ่านบทกวีรักที่ไม่ถึงกับหวานจนเลี่ยน   ต้องไม่พลาด ..</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> 

หมายเลขบันทึก: 85895เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2007 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

อยากเห็นจุลสารต่อขวัญ ถูกตีพิมพ์ วางแผงเบียดหนังสือ (อื่นๆไร้สาระ) ตกขอบ   ตามตลาดร้านหนังสือทั่วไปจังเลย  ผมคิดว่านักเขียนคงมีความใฝ่ฝันเหมือนกัน เพราะนั่นจะเป็นความภาคภูมิใจกับผลงานของตัวเองเป็นอย่างยิ่ง 

***แล้วจุลสารนี้ยังคงสืบสานอยู่เช่นเดิมไหมครับ  

ขอบคุณสำหรับคำแถลงการณ์เมื่อต้นเดือนมกราคม 43 และผมเชื่อว่าแม้จะ 7 ปีผ่านมาแล้ว พี่พนัสก็ยังคงเสพวรรณกรรม เป็นอาหารสมองอยู่จวบจนวันนี้และตลอดไป
สวัสดีครับ คุณพรหมลิขิต
P

ก่อนอื่นต้องขอบคุณในแรงใจและความปรารถนาดีที่มีต่อชาวต่อขวัญ...แต่เราก็คงไม่อาจเทียบชั้นกับหนังสือและนิตยสารที่ร่ำรวยต้นทุนเหล่านั้นได้ !

ตอนนี้และขณะนี้ไม่มีจุลสารต่อขวัญแล้วครับ... หลายคนแยกไปตามเส้นทางชีวิต  บ้างกลับไปสอนหนังสือเด็ก,  บางคนอยู่ในสำนักพิมพ์  บางคนไปเป็นผู้สื่อข่าวทีวี   บางคนไปเป็นพระเอกละครเวที  และบางคนก็กำลังเดินตามฝัน คือ เขียนหนังสืออย่างเอาเป็นเอาตาย

....

พวกเรายังติดต่อกันบ้าง ... คิดถึงและระลึกถึงกันเสมอ

ขอบคุณมากครับ...

ว้าว น่าติดตาม ชวนชื่นชม ให้ลองสัมผัส

.

ช่วงความกว้างของเวลา ไม่กว้างกว่า ช่วงความกว้างของสมอง เลย

.

ก่อเกิด กิเลส แห่งการอยากลิ้มลองวรรณกรรม แล้วละครับ อิอิ 

  • เข้ามาชื่นชมวรรณกรรมสานต่อรุ่นต่อรุ่นค่ะ

..น้องแจ๊ค  ครับ

P

แม่นมากครับ...

ทุกวันนี้ชีวิต หรือสมองของพี่ก็ยังถูกหล่อเลี้ยงด้วยวรรณกรรมเกือบทุกชนิด  ไปไหนมาไหนมีหนังสือติดมือติดย่ามเป็นอาหารสมองเสมอ...

ไม่สงสัยแล้วละว่าทำไมคุณแผ่นดินจึงมีลวดลายบนตัวหนังสือ ที่อ่อนหวานนุ่มนวล อ่านแล้วเกิดความละมุนละไมทางอารมณ์และความรู้สึก...คุณแผ่นดิน เป็นนักเขียนที่หลงไหลวรรณกรรม ...อย่างนี้เรีบกว่าเป็นศิลปิน...ใช่มั้ยค่ะ...
       คุณแผ่นดิน คนที่มีพฤติกรรมเสพวรรณกรรมแทนอาหารว่าง” อย่าลืมดูแลที่อยู่รอบข้างหละ โดยเฉพาะน้องดินและแดนไท อาจจะถูกกล่าวหาว่าให้เวลาเสพแต่วรรณกรรม   และทุกคนที่มีหลงไหลวรรณกรรม  จะต้องเป็นอย่างนี้หรือเปล่าเห็นด้วย ว่า อานุภาพแห่งวรรณกรรมจะช่วยให้มวลมนุษยชาติ  มีชีวิตที่ดีและ สังคมที่ดี
  • สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • หลานสองคนน่ารักมากนะคะ

สวัสดีครับ  คุณตาหยู

P

ผมช่างประทับใจวลีเหล่านี้จังเลยครับ ช่วงความกว้างของเวลา ไม่กว้างกว่า ช่วงความกว้างของสมอง

....

ผมชอบอ่านหนังสือ  บางครั้งซื้อหนังสือมากกว่าซื้ออาหารการกินเลยด้วยซ้ำไปครับ...

ขอบคุณมากครับ

พี่อัมพรครับ..
P

กลุ่มวรรณกรรมใน มมส  เคยส่งหนังสือทำมือรวมบทกวีประกวดซีไรต์และติด 1 ใน 5 แล้วนะครับ...รวมถึงชนะเลิศการประกวดหนังสือทำมือเกือบทุกปีเลยก็ว่าได้

ตอนนี้ก็มีกลุ่มใหม่ก่อร่างสร้างปัญญาขึ้นมาบ้างแล้ว  แต่ยังไม่แกร่งและจัดเจนเหมือนที่ผ่านมา

ขอบคุณครับ...ที่แวะมาชื่นชมเป็นกำลังใจผมอย่างไม่รู้จบ

 

สวัสดีครับ...อ.แป๋ว

P

วันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดผม...คนข้างเคียงเลยพาไปเลี้ยงหนัง 1 รอบ...(ผีไม้จิ้มฟัน ...ไม่โรแมนติคเอาซะเลย)

ผมเป็นคนอารมณ์ศิลปิน  อ่อนไหว  บอบบางและห้าวห้วน  และที่สำคัญคือ  ขี้อายครับ..

 

ขอบคุณครับ พี่อนงค์

P

ลูกยังคงเป็นอันดับหนึ่งของผม...อยู่ที่บ้านผมจะเล่นกับพวกเขาจนสะบักสะบอม  เด็กนอนโน่นแหละถึงได้อ่านหนังสือ

เว้นแต่การไปราชการเท่านั้นครับ ที่ทำให้ร่างกายของผมห่างไปจากลูก

ยืนยัน...ไม่ได้เสพวรรณกรรมจนลืมลูก ๆ ครับ....แม้กระทั่งจะเขียนบันทึก  ยังต้องแบ่งเวลาให้น้องดินเล่นเกมส์ในโน้ตบุ๊คด้วยเช่นกัน

สวัสดีครับพี่อร
P
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาทักทาย
  • เช่นกันนะครับ...ขอให้มีความสุขกับการดำเนินชีวิต และมีเสรีในการก่อร่างสร้างความฝัน

 

  • กลุ่มวรรณกรรมต่อขวัญ "มุ่งพบปะเสวนาและแลกเปลี่ยนเรื่องวรรณกรรมเป็นสำคัญ  โดยในทุกวันเสาร์ของสัปดาห์ก็จะสัญจรมาแลกเปลี่ยนเรื่องวรรณกรรมกันอย่างสม่ำเสมอ  ใครมีหนังสือดีก็นำมาเล่า  ใครมีผลงานก็เอามาให้เพื่อนได้ร่วมวิจารณ์เสนอแนะ  ซึ่งมี อ.ธัญญา  สังขพันธานนท์   และพี่สุขุมพจน์   คำสุขุม เป็นที่ปรึกษาคอยชี้แนะอย่างอาทร"
  • นี่แหละครับ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร) ที่เราเรียกขานกันในนาม การจัดการความรู้ (KM) แบบในตัวคน (Tacit Knowledge) ในปัจจุบัน (ตามความคิดของผม)
  • วงขวาในรูป

สวัสดีครับ อ.แพนด้า

P

ขอบพระคุณครับ  สำหรับคำชี้แนะอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  รวมถึงการช่วยย้ำเตือนถึงความเป็น KM  ในวิถีของผม

ผมยังต้องเรียนรู้อีกเยอะครับ

 

ผมมีแนวคิดอยากจัดตั้งกลุ่มที่มีแนวคิดเช่นนี้คือแนววรรณกรรม ผมชอบการเขียนมากๆ  อยากได้คำแนะนำครับ  พี่กุ๋ย อีเกิ้ง  (พี่ประจวบ  จันทร์หมื่น)ท่านเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ที่ม.ผมครับ  รู้จักกันดีครับ ขอคำแนะนำในการตั้งกลุ่มด้วยครับ  สวัสดีครับ

สวัสดีครับพี่พนัส

หลายปีแล้วที่เราไม่ได้เจอกัน  ตั้งแต่แผ่นดินยังอยู่ในท้อง จนป่านนี้แผ่นดินเดิบโตจนรู้จักที่จะเรียนรู้ หลังจากที่จบจากรั้วมหาวิทยาลัย 2-3 ครั้งที่ผมได้กลับไปไปที่นั่น แต่ไม่มีโอกาสได้เจอกัน  ลึกๆ แล้วยังหวังที่จะติดต่อกัน  ยังอยากที่จะคุยกับพี่เสมอ มีโอกาสอยากจะเขียนจดหมายถึงพี่ครับ

ตอนนี้ผมอยู่ที่

ศุภเมธ หมายมุ่ง

25/5 ม.5 ต.คลอง6 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ครับ

ด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท