ประสบการณ์ของฉัน..ในการเขียนบทความวิชาการ


การเขียนบทความทางวิชาการ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่
ประสบการณ์ของฉันในการเขียนบทความทางวิชาการและผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์
ชีวิตการทำงานของดิฉันได้เขียนบทความทางวิชาการและเขียนรายงานวิจัยหลายเรื่อง เนื่องจากมีโอกาสได้เป็นวิทยากรและมีโอกาสทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย จึงอยากเก็บรวมไว้และขอเล่าเทคนิกเล็กๆน้อยๆไว้ให้ผู้สนใจ ลองเรียนรู้นะคะ

....................

1.อุบล  จ๋วงพานิช. (2534).พยาบาลกับสมองไหล.วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(3)  
2. อุบล  จ๋วงพานิช. (2535).บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์15(2): 12-15. 
3. อุบล  จ๋วงพานิช. (2536).การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วย:แนวทางใหม่ของพยาบาล วารสารคณะพยาบาลศาสตร์16(3-4): 12-15. 
4. อุบล  จ๋วงพานิช.  2539. ผลการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านจิตใจของ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านม. Srinagarind Medical Journal  11(4)   
5. รัชนีพร  คนชุม และ อุบล  จ๋วงพานิช. (2540).การพยาบาลตามกรอบแนวคิดในการดูแลตนเองของโอเร็มในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนบลาสติกที่ได้รับยาเคมีบำบัด: กรณีศึกษา.   วารสารคณะพยาบาลศาสตร์บูรพา5(2):47-54 
6. อุบล  จ๋วงพานิช,  รัชนีพร  คนชุม,และสมจิตร์  หร่องบุตรศรี. (2541).การศึกษาคุณภาพชีวิตและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมที่ผ่าตัดและได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์บูรพา  6(2):7-15. 
7. จินตนา บุญจันทร์,  สุรีพันธ์ เวชนิยม, อุบล  จ๋วงพานิชและคณะ.(2542).การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยตามความต้องการการพยาบาล ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์.  วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 17(2):29-38.   
8. อุบล จ๋วงพานิช,  รัชนีพร  คนชุมและสมจิตร์  หร่องบุตรศรี. (2542).ผลการให้ความรู้และการพยาบาลระบบสนับสนุนต่อคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมที่ผ่าตัดและได้รับยาเคมีบำบัด วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคฯ 17(3):42-50 
9. อุบล จ๋วงพานิช .(2547).ภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์:บทบาทที่ท้าทายพยาบาลวิชาชีพ.วารสารการศึกษาพยาบาล 15(2):2-7. 
10. อุบล จ๋วงพานิช .(2544). บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารการศึกษาพยาบาล.12(3): 72-77. 
11. อุบล  จ๋วงพานิช,  อาภรณ์  ทวะลี, สุรีพร คณาเสน,และสุพัสตรา สุกุมาลย์.(2549). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร.12(1):49-66    
......................

 

จุดเริ่มต้นของการเขียนบทความทางวิชาการ 
ตอนที่ดิฉันเรียนปริญญาโททางการพยาบาล เมื่อปี 2534 ได้เขียนบทความทางด้านการบริหาร ส่งอาจารย์  เรื่อง พยาบาลกับสมองไหล ในวารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเรื่องแรก   ก่อนลงมือเขียน ดิฉันคิดว่าเรื่องอะไร น่าสนใจทันสมัย ทันเหตุการณ์ ในเวลานั้น พยาบาลลาออกไปทำงานเอกชนมาก เพราะเงินเดือนมากกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลหลายเท่า  การค้นเอกสารสมัยนั้นต้องค้นจากวารสารหลายฉบับ ทั้งจากหนังสือพิมพ์ด้วย  เมื่อเขียนเสร็จก็ได้ตีพิมพ์ ครั้งแรกในชีวิต ทำให้ภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก เพราะอาจารย์เพ็ญศรี ชุนใช้ บอกว่า บทความของดิฉันได้ถูกคัดเลือกตีพิมพ์
 

.................. 

เรื่องที่ 2 ก็ตามมา  ดิฉันได้เขียนและตีพิมพ์ ในปี 2535 เรื่อง บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ลงในวารสารคณะพยาบาลศาสตร์  ตอนนั้นดิฉันจบ ป.โท แล้ว มีโอกาสเข้าอบรม เรื่อง การเขียนบทความ จากผู้ช่วยศาสตราจารย์วลัยพร นันทศุภวัฒน์  พอเรียนเสร็จก็ลองเขียน เรื่องใกล้ตัว และเป็นงานของเราเอกสารได้จากการที่หาไว้ตอนเรียน   ประสบการณ์ได้จากงานที่ทำ   หลักการเขียนได้จากอาจารย์ที่สอน 
 
...............
จุดเริ่มต้นในการฝึกเขียนบทความทางวิชาการอย่างจริงจังของดิฉันเริ่มต้นในปี 2536 เรื่อง การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วย:แนวทางใหม่ของพยาบาล วารสารคณะพยาบาลศาสตร์  เนื้อหาได้จากการทบทวนวรรณกรรม ของวิทยานิพนธ์    เขียนบทความ ส่งให้ รองศาสตราจารย์สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ  อาจารย์ช่วยอ่านและแนะนำมีการแก้ไข   จนบทความของดิฉันเริ่มอ่านรู้เรื่อง    มีการแก้ไขนับครั้งไม่ได้  ดิฉันใช้เวลาเขียนและแก้ไขเกือบปี ถึงได้ตีพิมพ์ 
.............................
การเขียนรายงานวิจัย ดิฉันคิดว่าเป็นการเขียนที่ง่ายที่สุด  เพราะมีกรอบแนวคิดในการเขียนอยู่แล้ว  ดิฉันเคยฟังอาจารย์ของดิฉันเคยสอนว่า  การทำวิจัยไม่ตีพิมพ์ ก็เหมือนทำวิจัยไม่เสร็จ  คนเราทำงานวิจัยมา  แม้จะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด    แต่ถ้าไม่ตีพิมพ์เผยแพร่   ก็ถือว่างานวิจัยนั้น....มีคุณค่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น    ผู้ที่รับทุนมาทำวิจัย.... แล้วไม่ตีพิมพ์เผยแพร่ความรู้ที่ตัวเองค้นพบ   นับว่าผิดจริยธรรม
ดังนั้นเส้นทางสุดท้ายที่เป็นบทสรุปของการทำวิจัย  ไม่ใช่การบรรยาย   ไม่ใช่การทำโปสเตอร์   แต่เป็นการตีพิมพ์.....เผยแพร่ความรู้ของเราออกไปในวารสารวิชาการ
.............................
สรุป 
  • การเขียนบทความทางวิชาการตามประสบการณ์ของดิฉัน ถ้าเราชำนาญแล้ว: เขียนเอง อ่านเองแล้วแก้เองก็ได้ค่ะ
  • บทความตอนหลังๆของดิฉัน   ได้จากการเรียนรู้จากการทำงาน แล้วได้รับเชิญเป็นวิทยากร  ดิฉันจะต้องจัดเตรียมเป็นเอกสารประกอบคำบรรยาย.....  ดังนั้นการปรับปรุงเนื้อหารจากเอกสารประกอบคำบรรยาย  ให้สามารถตีพิมพ์เป็นเรื่องไม่ยาก
  • การจะเขียนบทความหรือรายงานการวิจัย จะต้องเริ่มจากศึกษาคำแนะนำ... การเตรียมต้นฉบับของวารสารนั้นๆ
  • ดิฉันเขียนเอง อ่านเอง แก้เอง    อ่านและแก้ไข 10 รอบ ขึ้นไป
 
หวังว่า....เรื่องเล่านี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน ให้สามารถเขียนบทความทางวิชาการหรือรายงานวิจัยได้นะคะ
หมายเลขบันทึก: 120832เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2007 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีครับ

อ่านบันทึกนี้แล้วได้ประโยชน์และเห็นแนวทางที่ชัดเจนในการต้องพัฒนาตนเอง  โดยเฉพาะในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับผู้เขียนนั้น ต้องถือได้ว่า ควรต้องอ่านบันทึกนี้

....

ผมเห็นด้วยกับข้อสังเกตบางประการในบันทึกนี้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะ 

ผู้ที่รับทุนมาทำวิจัย แล้วไม่ตีพิมพ์เผยแพร่ความรู้ที่ตัวเองค้นพบ

นับว่าผิดจริยธรรม

...

แต่ผู้ที่ได้ชำนาญการหลายคนเท่าที่พบเห็น  ก็มิอาจนำผลงานต่าง ๆ มาเป็นต้นทุนขององค์กรได้เลย  จะด้วยเหตุผลของการหวงแหน หรือคุณภาพก็แล้วแต่  ซึ่งผมมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นในระบบองค์กรทุกองค์กร 

...

ขอบพระคุณครับ

 สวัสดีค่ะ คุณแผ่นดิน

การตีพิมพ์เผยแพร่รายงานวิจัย เป็น KPI ขององค์กร

ถือว่าเราทำประโยชน์ต่อองค์กรได้เช่นกัน

เห็นด้วยกับคุณแผ่นดินค่ะ

ที่ผู้ชำนาญการ หลายคน ควรจะทำประโยชน์ให้องค์กรมากขึ้น

จะทำให้องค์กรของเรา เจริญมากกว่านี้ค่ะ

ชื่นชมผลงานค่ะ คุณอุบล เล่าให้ฟังอีกนะคะ เผื่อเป็นแนวทางและตัวอย่างในการทำผลงานวิชาการ สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัย สายสนับสนุนและข้าราชการอื่นๆ ค่ะ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • รู้สึกชื่นชมและยินดีกับอาจารย์มากค่ะ
  • เขียนแล้วก็ต้องแบ่งปันนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณใบบุญ

ดิฉันโชคดี ที่พี่ๆให้โอกาสทำงานหลายอย่าง

การได้ฝึกเขียนบทความทางวิชาการบ่อยๆ

ทำให้เราเขียนง่ายขึ้น

จากการได้รับเชิญ..เป็นวิทยากร

จากการเป็นผู้ร่วมวิจัยและเป็นหัวหน้าโครงการฯวิจัย ทำให้เราต้องเขียนค่ะ

แล้วควรตั้งเป้าหมายไว้ด้วยว่า เราควรจะมีงานตีพิมพ์ทุกปี

ทำให้เราภาคภูมิใจในผลงานเราและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณป้าแดง

ตอนนี้ดิฉันและทีมงาน..ก็คอยเป็นพี่เลี้ยง

เป็นวิทยากรสอนน้องพยาบาล..เขียนสิ่งที่น้องทำงาน

จะได้เผยแพร่ให้ประชาชนรู้ว่า บทบาทหน้าที่ของพยาบาลทำอะไรบ้าง

จะทำให้ภาพลักษณ์พยาบาล ในสายตาของประชาชนทั่วไปดีขึ้นค่ะ

ชื่นชมพี่แก้วมานาน เป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาวิชาชีพในเชิงวิชาการ การพัฒนาและการสร้างองค์ความรู้ พยายามจะทำตามแนวทางที่พี่ได้เขียนไว้ค่ะ

สวัสดีค่ะน้องนุชจรีย์ APN(CAPD)

พี่ยินดีที่ได้น้องที่น่ารักมาร่วมทำงานเพื่อวิชาชีพของเรา มีอะไรให้พี่ช่วยยินดีนะคะ

พี่เสียใจกับคุณแม่ด้วยนะคะ

                    พี่แก้ว

ผศ.ยุพาวรรร ศรีสวัสดิ์(อักษรวงศ์)

สวัสดีค่ะน้องแก้ว

พี่เรียนป.โท รุ่น2 สาขาAdult Nursing จากนราธิวาสไม่แน่ใจว่าแก้วพอจะจำได้หรือไม่ จบรับปริญญาปี1991 ทำวิทยานิพนธ์โดยมีท่านอาจารย์วิพร เสนารักษ์เป็นที่ปรึกษา มีท่านอาจารย์ สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

เห็นผลงานของน้องแล้วต้องขอชื่นชมจากใจจริงว่าเก่งมากๆ พี่เองยังไม่ได้ขนาดนั้นเลยค่ะ ขอให้กำลังใจให้คิด เขียนผลงานใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ ...ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

ผศ.ยุพาวรรณ ศรีสวัสดิ์

ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ศิษย์ ม.ข รุ่น2

สวัสดีครับ

แวะมาชื่นชมครับ

ขอเพิ่มเติม ครับ อยากให้ทำ web link แล้วแปลงเป็น PDF เพื่อให้สามารถสืบค้นแบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้สะดวกขึ้น เพราะบางเรื่องปี 2534-2540 อาจยังไม่สามารถ Download ได้ ครับ

ผศ.ยุพาวรรร ศรีสวัสดิ์(อักษรวงศ์)

จำได้ เพราะได้นำวิทยานิพนธ์ของอาจารย์มาอ้างอิงอยู่บ่อยๆ

จำได้ว่า อาจารย์เป็นคนสวยสง่า

ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์

จะพยายามทำค่ะ เพื่อเผยแพร่อีกครั้งนะคะ

แต่ดูเหมือนว่างานบางอย่าง file หายไปแล้ว อาจต้องแสกนแล้วค่อยนำมาทำ web link ค่ะ

งานชิ้นที่ 12

อุบล  จ๋วงพานิช, ณัฏฐ์ชญา   ไชยวงษ์,และนางสาวจุรีพร อุ่นบุญเรือง .(2551) ผลของการใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.16(3):32-42

สวัสดีคะ

ตอนนี้น้องเรียน ป.โท adult ของ มอ. อยู่คะ ทำเกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็งคะ ได้อ่านผลงานพี่หลายชิ้นคะ

แต่มีชิ้นนึง น้องหาไม่ได้ เป็นคู่มือการรักษาและการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด คะ

รบกวนพี่ส่ง ลิ้ง PDF ให้หน่อย ได้รึเปล่าคะ รึว่าพี่แนะนำ สถานที่ในการหาก็ได้คะ

ขอขอบคุณคะ

เจริญพร โยมแก้ว

       ได้ขยายมุมมองเพิ่มเติมจากอาจารย์หลายประเด็นจากองค์ความรู้ของโยม

  • "บาป" ของนักวิจัย
  • (๑) ได้ทุนทำวิจัย แต่ไม่ตีพิมพ์เพยแพร่
  • (๒) ได้ผลการศึกษาจากวิจัย แต่ไ่ม่ตีพิมพ์
  • (๓) บรรทัดสุดท้ายของการทำวิัจัย ไม่ใช่การบรรยาย ทำโปสเตอร์แต่ืคือการตีพิมพ์
  • "บุญ" ของนักวิจัย
  • (๑) เริ่มต้นจากเรื่องใกล้ตัว
  • (๒) เริ่มต้นจากการสอน/บรรยาย
  • (๓) เริ่ีมต้นจากประสบการณ์การทำงาน
  • (๔) เริ่มต้นจากใจที่ "อ่าน" "เรียนรู้" "ตกพลึก" "ย่อย" และได้จรดตัวหนังสือตัวแรกลงบนกระดาษ หรือแป้นพิมพ์
  • อนุโมทนา

คุณกฤษณา

พี่จะลองหาเอกสารต้นฉบับดูก่อนนะคะ

กราบนมัสการพระอาจารย์   P

เป็นความโชคดีของบันทึกนี้ที่พระอาจารย์ได้สังเคราะห์และตกผลึกให้ค่ะ

ในปีนี้เรายังจะต้องจัดอบรมให้บุคลากรในการทำวิจัย การเขียนบทความต่อไป

การได้แนวคิดเพิ่มเติม ทำให้เรามีสิ่งดีดีไปเล่าให้น้องเราต่อ

 

สวัสดีคะพี่แก้ว น้องชื่อมิ้นท์นะค่ะ บทความต่างๆของพี่แก้วเพิ่มความรู้ให้มิ้นท์ได้เยอะเลยค่ะ ตอนนี้เรียนป.โท ม.บูรพาค่ะ กำลังจะเริ่มศึกษางานวิจัย มิ้นท์สนใจแนวทางในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในผู้สูงอายุของโรงพยาบาลโกสุมนะค่ะ แต่ตอนนี้เก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ค่ะพี่แก้ว ฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์หน่อยนะค่ะ ถ้ามีโอกาสจะไปศึกษาหาความรู้กับพี่แก้วที่ศรีนครินทร์นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท