มหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี่ : People prepared to make a difference


(ร่าง)
มหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี่ University of Canterbury (UC)
People prepared to make a difference

ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ
มหาวิทยาลัยนเรศวร

1. ประวัติการก่อตั้ง

         University of Canterbury (UC) ตั้งอยู่ที่เมือง Christchurch ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเกาะใต้ของประเทศ New Zealand (NZ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1873 โดยกลุ่มนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (ประเทศสหราชอาณาจักร) นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นที่ 2 ของ NZ โดยที่มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุด คือ University of Otago ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1869 อยู่ที่เกาะใต้ด้วยกันแต่อยู่ที่เมือง Dunedin

         Website : www.canterbury.ac.nz

2. ปัจจุบัน

         UC ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นหนึ่งในสองมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศนิวซีแลนด์ (ตามเอกสารของ UC) (อีกมหาวิทยาลัยหนึ่งคือ University of Auckland)โดยที่ทุกหลักสูตรมุ่งเน้นการมีอิสระทางปัญญา เสริมสร้างความคิดวิเคราะห์และความเป็นเลิศทางวิชาชีพของแต่ละสาขาวิชา นอกจากเน้นการมีหลักสูตรที่เยี่ยมยอดแล้ว UC ยังเน้นที่บริเวณสถานที่รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ยอดเยี่ยม (เมื่อเข้าไปในมหาวิทยาลัยจะเหมือนได้เข้าไปในสวนพฤกษศาสตร์) และความคุ้มค่าในเรื่องค่าเล่าเรียนและการดำรงชีพที่ไม่แพงไปกว่าที่มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ สาขาที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษ คือ วนศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

         ปัจจุบัน UC มีนักศึกษาประมาณ 13,500 คน มีบุคลากรสายวิชาการประมาณ 650 คน และ บุคลากรสายสนับสนุนอีกประมาณ 850 คน

         ในแต่ละปีจะมีผู้สำเร็จการศึกษาประมาณ 2,400 คน และในจำนวนนี้ราว 350 คน คือที่จบระดับสูงกว่าปริญญาตรี

3. งบประมาณ

         งบประมาณในแต่ละปีประมาณ $200 million (ประมาณ 5,000 ล้านบาท) ซึ่งจะถูกแบ่งไปใช้กับนักศึกษาโดยตรงประมาณ 50% ใช้ในการบริหารจัดการประมาณ 40% และในการวิจัยประมาณ 10%

         โดยที่ค่าใช้จ่ายที่เป็นหมวดเงินเดือน (Personnel costs) คิดเป็นประมาณ 60% ของงบประมาณทั้งหมด

4. พันธกิจ (MISSION)

         UC ประกอบด้วย พนักงาน (สายวิชาการและสายสนับสนุน) นักศึกษา บัณฑิต และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยคือ “เพื่อความเจริญก้าวหน้าของความรู้รวมทั้งการเผยแพร่และการดำรงอยู่ของความรู้ ทั้งนี้โดยอาศัยการวิจัยและการสอน” UC ได้แยกวัตถุประสงค์นี้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

         4.1 วัตถุประสงค์ในระดับนานาชาติ คือ

    • เพื่อความเจริญก้าวหน้าของความรู้ โดยอาศัยการวิจัย
    • เพื่อการดำรงอยู่และการเผยแพร่ความรู้ ผ่านทางการสอน การตีพิมพ์ การวิพากษ์วิจารณ์
    • เพื่อยืนยันผลลัพธ์ที่ได้ ผ่านทางการมอบประกาศนียบัตรและปริญญาบัตรระดับต่าง ๆ 
    • เพื่อเป็นแหล่งสะสมความรู้และความชำนาญต่าง ๆ
    • เพื่อทำการวิพากษ์วิจารณ์และให้สติกับสังคม

         4.2 วัตถุประสงค์ที่ใช้สำหรับประเทศนิวซีแลนด์ คือ

    • เพื่อสนับสนุนระบบอุดมศึกษาของประเทศให้มีความเป็นเลิศ ตรงเป้าตรงประเด็น มีเสรีภาพ และพยายามให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้เท่าเทียมกัน
    • เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่นในการเพิ่มพูนสติปัญญา คุณภาพการศึกษา และกิจกรรมการวิจัย
    • เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการ วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจให้เกิดวิถีชีวิตที่ดีกับคนในเมือง ในภูมิภาคและในประเทศ

         4.3 วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับชาวเมารี

    • เพื่อตอบสนองและสนับสนุนความต้องการหรือแรงบันดาลใจของชาวเมารีในด้านการศึกษา และการวิจัยเพื่อพัฒนา
5. กลยุทธ์และโครงสร้างการบริหาร

         UC ได้อธิการบดีคนใหม่เมื่อปี ค.ศ. 2003 กลยุทธ์ในการดำเนินงานเป็นดังแสดงในรูปที่ 1 มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ในปี ค.ศ. 2003/2004 (Restructure 2003/2004) ดังแสดงในรูปที่ 2

 

รูปที่ 1 กลยุทธ์ในการดำเนินงาน

 
รูปที่ 2 โครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี่
(กรุณาดูความหมายของคำย่อ ๆ ต่าง ๆ ในเนื้อหาของบทความ)

6. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ (Key Strategic Areas) มี 8 ประการคือ

         6.1 ความอยู่รอดทางด้านการเงิน (Financial Viability)
         6.2 การวิจัยและความเป็นผู้คงแก่เรียน (Research and Scholarship)
         6.3 การเรียนและการสอน (Teaching and Learning)
         6.4 ความเข้ากันได้กับชุมชน (Community Engagement)
         6.5 สนธิสัญญาที่เกี่ยวกับชาวเมารี (Treaty of Waitangi)
         6.6 บุคลากร (Staff)
         6.7 นักศึกษา (Students)
         6.8 การปกครอง การเป็นผู้นำ และการจัดการ (Governance, Leadership and Management)

7. ความหมายของคำต่าง ๆ ในโครงสร้างการบริหารงาน

         ในปี 2003 มีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ใน UC ได้ผลเป็นดังแสดงในรูปที่ 2 ตัวย่อที่อยู่บนสุด “V-C” ย่อมาจาก Vice-Chancellor ซึ่งถ้าเทียบกับมหาวิทยาลัยไทยก็คือตำแหน่งอธิการบดี ส่วนคำอื่น ๆ มีความหมายดังนี้

         7.1 Colleges

            7.1.1 Colleges เป็นหน่วยงานที่ “ทำหน้าที่ทางการบริหาร” หัวหน้าคือ College PVCs (the Pro-Vice-Chancellors)
            7.1.2 ภายใน Colleges จะมีหน่วยบริหารย่อยลงมาอีกเป็น Schools หรือ Departments ซึ่งการแยกย่อยนี้มีฐานคิดว่าขนาดไหนจึงจะแยกออกมาเป็นหน่วยย่อยนี้ได้
  
         7.1.3 ภายใน Schools อาจจะมีหรือไม่มี Departments ก็ได้ ส่วนที่เป็น Departments ภายใน Schools นี้ให้เป็นเพียงเสมือนว่ามีเท่านั้น (ไม่มีตำแหน่งหัวหน้าภาคและไม่มีการแยกเงินงบประมาณมาทำการบริหารเอง) คือให้มีไว้สำหรับการรักษาเอกลักษณ์หรือชื่อเสียงที่เคยมีมาเท่านั้น
  
         7.1.4 มีข้อยกเว้นสำหรับ The School of Engineering เนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ที่ School นี้ประกอบด้วย Departments ต่าง ๆ และมีข้อยกเว้นที่ The School of Law ด้วยเช่นกัน ที่ School นี้ไม่ได้อยู่ภายใน College
  
         7.1.5 เส้นทางการจัดทำรายงานตามลำดับการบังคับบัญชาเป็นดังนี้

         Members of the Department/School ---> HoD/HoS --->College PVC --->VC

         ยกเว้นที่ the School of Law ซึ่งจะเป็นดังนี้

         Members of the School ---> PVC ---> VC

         7.2 Faculties and Deans

            7.2.1 Faculties คือ ผู้ดูแลการมอบ awards ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น degrees, diplomas และ certificates
  
         7.2.2 Faculties ประกอบด้วยผู้สอนทั้งหมดที่ทำการสอนในหนึ่ง award โดยไม่คำนึงว่าผู้สอนท่านนั้นจะสังกัดอยู่ใน College ไหน หรือ department หรือ school ไหน
  
         7.2.3 Faculties มีหัวหน้าคือ Deans ซึ่งปกติจะได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกของ Faculty
  
         7.2.4 เนื่องจาก Deans เป็นคนดูแล awards ของ College ดังนั้น Deans จึงควรเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหาร College ด้วย ในบางกรณี Dean และ College PVC อาจเป็นคนคนเดียวกัน แต่เวลาทำหน้าที่จะต้องแยกกันอย่างชัดเจน

         7.3 Boards of Studies

            7.3.1 ในแต่ละ Faculty จะมี Board of study
  
         7.3.2 Board of Studies อาจจะประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดใน Faculty หรือเลือกตั้งมาบางส่วน โดยปกติแล้ว Faculties จะเป็นผู้กำหนดอำนาจหน้าที่ของ Boards of Studies และส่งไปให้ Academic Board ให้ความเห็นชอบ
  
         7.3.3 เส้นทางความรับผิดชอบเกี่ยวกับ awards เป็นดังนี้

            Subjects --->Faculties --->Deans --->Academic Board --->Council

            7.3.4 การมอบ PhD ทั้งหมดเป็นการพิจารณาจากมหาวิทยาลัย (a University-wide degree)
  
         7.3.5 มี Boards of Studies ที่ไม่อยู่ใน Faculties และ Colleges ด้วยเช่นกัน เช่น Continuing Education Curriculum Committee, Health

         หมายเหตุ : ต่อมาในปี ค.ศ. 2004 Christchurch College of Education ซึ่งมีประวัติการก่อตั้งมานานกว่า 120 ปี มีความเชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมครู การพัฒนาวิชาชีพครู ได้เข้ามาผนวกเป็น College หนึ่งของ UC ตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้ UC มี College เพิ่มขึ้นจากที่แสดงในรูปที่ 2 อีกหนึ่ง College

8. Academic Board

         ปกติ VC จะทำหน้าที่เป็นประธาน Academic Board ซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านวิชาการกับ Council และใช้อำนาจตามที่ได้รับจาก Council

         Academic Board จะมีคณะกรรมการชุดต่าง ๆ มาช่วยทำงานจำนวนมาก

         คณะกรรมการหลักมีดังนี้

         8.1 Academic Committee

         8.2 Teaching and Learning Committee

         8.3 Research Committee

         8.4 Library Committee

         8.5 Postgraduate Committee

9. การประกันคุณภาพการศึกษา

         การประกันคุณภาพการศึกษาของ UC จะอยู่บนพื้นฐานที่มุ่งสู่ความสำเร็จที่ได้เขียนไว้ใน the Charter Goal ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ คือ

    • การมีหลักสูตรที่เป็นเลิศ
    • เน้นการสอนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    • การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับนานาชาติ
    • การพัฒนาศักยภาพและความสามารถให้กับนักศึกษา

         ในประเทศนิวซีแลนด์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องได้รับการตรวจสอบ (ประเมิน) ทุก ๆ 3 ปี ขณะนี้ (ค.ศ.2006) กำลังอยู่ระหว่างการประเมินรอบที่ 3 (the Cycle 3 audit) ซึ่งรอบนี้จะเน้นในเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ทำให้ UC ต้องเร่งปรับแนวคิดในเรื่องของการประกันคุณภาพทางวิชาการใหม่ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายในระดับชาติ

         เดิม UC มีแนวความคิดด้านคุณภาพของการจัดการศึกษาว่าเป็นเรื่องของความสามารถทางด้านวิชาชีพและความมุ่งมั่นของพนักงานแต่ละคนมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ

         ในรอบที่ 2 ของการประเมิน UC ได้รับคำแนะนำให้จัดทำแผนเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นระบบทั่วทั้งมหาวิทยาลัย ให้สามารถติดตามตรวจสอบ เทียบเคียงผล ให้เห็นคุณภาพที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อพร้อมรับการประเมินในรอบที่ 3 มีผลทำให้มีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่

         จากการปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ครั้งใหญ่ในปี ค.ศ.2003 (ได้ผลดังรูปที่ 2) จะเห็นว่ามี 3 หน่วยงานเป็นอย่างน้อย (ที่มีเครื่องหมายดาวในรูปที่ 2) ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของ UC โดยตรง คือ (1) Planning and Institutional Research Unit (PIRU) (2) Academic Policy and Programmes Unit (APPU) และ (3) University Centre for Teaching and Learning (UCTL)

         9.1 PIRU กับหน้าที่สำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงสร้างใหม่

            9.1.1 Quality Assurance : ประสานงานในเรื่องกระบวนการการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย โดยเน้นไปที่

    • ประสานงานให้มีการประเมิน academic units และ programmes อยู่เป็นประจำ
    • ควบคุมดูแลวงจรของ institutional surveys ที่ดำเนินการภายในมหาวิทยาลัย
    • พัฒนา reference points ให้เป็นปฏิบัติการที่ดีในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา

            9.1.2 Institutional Research : วิจัยสถาบันของมหาวิทยาลัย โดยเน้นไปที่

    • ริเริ่มดำเนินการให้มีการวิจัยสถาบันเพื่อการวางแผนและตัดสินใจ
    • พัฒนา benchmarking indicators and processes
    • พัฒนา Enterprise Information System (EIS)
    • ผลิต UC INFO (a “fact book”)

           9.1.3 Monitoring of Strategic Issues : ตรวจติดตามประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย
 
         9.1.4 Project Management : ประสานงานและสนับสนุนเกี่ยวกับ project management ภายในมหาวิทยาลัย
 
         9.1.5 Special Project : สนับสนุนโครงการเฉพาะกิจที่ขอการสนับสนุน

         9.2 APPU กับการประกันคุณภาพหลักสูตร

         AVC (academic) [ย่อมาจาก Assistant Vice-Chancellor (Academic)] จะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดใน APPU เพื่อการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาบุคลากร การจัดทำนโยบายด้านวิชาการ การประกันคุณภาพทางวิชาการ และการถ่ายทอดนโยบายด้านวิชาการไปยังหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนต่าง ๆ

         9.3 UCTL กับการประกันคุณภาพการเรียนการสอน

         ผู้สอนที่ UC จะกระตุ้นนักศึกษาของตนให้รักการเรียนรู้และเป็นคนใฝ่รู้ ในขณะเดียวกันตัวผู้สอนเองก็ตั้งใจที่จะเรียนรู้จากนักศึกษาของตนเองด้วยเช่นกัน

         บรรยากาศการเรียนการสอนเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับความใส่ใจเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน คุณภาพของอาจารย์และนักวิจัย ห้องสมุดที่ดี ระบบ IT ที่ทันสมัย รวมทั้งการบริการและการสนับสนุนอื่น ๆ จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ก็คือ UCTL นอกจากนั้น UCTL ยังมีหน้าที่ในการบริหาร the Survey and Testing Unit และทำวิจัยสถาบัน

         สิ่งอื่น ๆ ที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการสอน เช่น e-learning and Web CT, Audio Visual

         ใน UCTL จะมีคณะกรรมการชุดหนึ่งคือ Teaching and Learning Committee (TLC) ทำหน้าที่จัดทำนโยบายในเรื่องของการเรียนการสอน บริหารกองทุนการสอน และมอบรางวัลการสอนดีเด่นประจำปี

10. วงจรของการจัดทำแผนและการจัดทำรายงาน ดังแสดงในรูปที่ 3 ดังนี้

11. ความสัมพันธ์ของการจัดทำรายงานการประเมินระดับต่าง ๆ ดังแสดงในรูปที่ 4 ดังนี้

12. ข้อสังเกตเมื่อเทียบกับการประกันคุณภาพอุดมศึกษาไทย

         ประเทศไทยและนิวซีแลนด์มีระบบประกันคุณภาพอุดมศึกษาที่ทั้งคล้ายกันและต่างกันอยู่หลายประการ เช่น

         12.1 มีทั้งการประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอกเหมือนกัน
         12.2 ที่นิวซีแลนด์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะได้รับการประเมินภายนอกทุก ๆ 3 ปี ส่วนของไทยจะมีการประเมินจากภายนอกทุก ๆ 5 ปี
         12.3 ขณะนี้ที่นิวซีแลนด์กำลังอยู่ระหว่างการประเมินในรอบที่ 3 ของไทยกำลังเริ่มในรอบที่ 2
         12.4 ที่นิวซีแลนด์ในรอบแรกเน้นดูที่การมีระบบพัฒนาคุณภาพ รอบที่สองเน้นที่การวิจัยและบัณฑิตศึกษา รอบที่สามเน้นที่การจัดการเรียนการสอน ของประเทศไทยจะคล้ายกันกับนิวซีแลนด์ในรอบแรก ส่วนรอบที่สองของไทยจะมีการประเมินแต่ละมหาวิทยาลัยตามจุดเน้นของแต่ละสถาบัน
         12.5 ที่นิวซีแลนด์ไม่มีการกำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การตัดสินในแต่ละตัวบ่งชี้ ส่วนของไทยมีอย่างชัดเจน
         12.6 ที่นิวซีแลนด์มีการนำผลการจัดทำนโยบายและผลการประเมินมาใช้ในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ส่วนของประเทศไทยยังไม่มีความสัมพันธ์นี้

อ่านบทความ : จากนโยบายระดับชาติสู่การจัดการศึกษา การตรวจสอบและการพัฒนาคุณภาพ ระดับอุดมศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์โดย ศ.ดร. กิตติชัย วัฒนานิกร LINK 

         วิบูลย์ วัฒนาธร

.

หมายเลขบันทึก: 39221เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวความรู้โดยละเอียดจากบันทึกนี้และได้เห็นข้อแตกต่าง เช่น ในข้อ 12.2,12.3 ดูเหมือนว่าบ้านเราจะให้เวลามากไปในรอบการประเมิน ซึ่งน่าจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนองค์กรอยู่นะครับ ถ้าหากว่าเขาเดิน 1 ก้าวเราน่าจะเดิน 3 ก้าวเพื่อตามให้ทันและเดินต่ออีก 2 ก้าวเพื่อไปอยู่ข้างหน้าพร้อมกับรักษาระดับไว้ตลอด และในข้อ 12.5 บ้านเราให้ความสำคัญและยึดติดกับรูปแบบมากเกินไปหรือเปล่าครับ

ขอบพระคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท