การค้นหาสิ่งดีๆในโครงการชุมชนอินทรีย์ที่นครศรีธรรมราช


เรื่องการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การยอมรับ ความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือของผู้พิจารณาตัดสิน ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่สำคัญทั้งสิ้น

บันทึกนี้เขียนขึ้นด้วยแรงจูงใจที่ว่าจังหวัดนครศรีธรรมราชกำลังจะมีการจับภาพ ค้นหา เฟ้นหาชุดความรู้ ประสบการณ์ ชิ้นงาน ผลผลิต สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นจากโครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทำกันมานานร่วมสามปีเข้าไปแล้ว

จับภาพเพื่อจะได้ทราบว่าตัวละคอนจัดการความรู้ระดับต่างๆไม่ว่าจะเป็นคุณกิจครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ คุณกิจแกนนำหมู่บ้านหรือคุณอำนวยหมู่บ้านที่เยี่ยมๆ คุณอำนวยระดับตำบล คุณอำนวยระดับอำเภอ ไม่ว่าจะในประเภทบุคคล ประเภททีม จะในบทบาทการทำหน้าที่คุณประสาน คุณกระบวนการ หรือคุณลิขิต ใครที่ไหน ทีมไหนคือบุคคลเด่นทีมเด่น คุณเอื้อระดับต่างๆก็เช่นกันว่าเยี่ยมๆอยู่เป็นใครอยู่ที่ไหนจากหน่วยงานไหน รวมไปถึงกิจกรรมเด่น พื้นที่/ชุมชนเด่นๆ หน่วยงาน องค์กรเด่นๆ หรือเครือข่ายกิจกรรมทั้งเครือข่ายที่เคลื่อนงานทั้งในเชิงพื้นที่ และเชิงประเด็นต่างๆที่เด่นๆ เป็นกิจกรรมอะไร พื้นที่ ชุมชน เครือข่ายใด ทั้งนี้เพื่อนำความสำเร็จมาต่อยอด ขยายผล ไปสู่การทำงานในเป้าหมายใหม่ต่อไป

งานนี้เป็นงานใหญ่จำเป็นต้องอาศัยชุดความรู้ประสบการณ์จากผู้มีประสบการณ์ ผู้ที่ทำมาก่อนแล้ว นครศรีธรรมราชเราเพิ่งจะทำครั้งนี้เป็นครั้งแรก อาจจะเคยทำมากก่อนก็จริงแต่ในความหมายอื่นคนละอย่างกับแนวการจัดการความรู้ที่กำลังเป็นที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน จึงอาจจะจำเป็นต้องศึกษาประสบการณ์จากที่อื่นประกอบ อย่าด่วนใจร้อนตัดสินใจไปโดยที่ไปได้เหลียวหลังแลหน้า ศึกษาบทเรียนจากที่ต่างๆเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างที่ สคส.ที่มีทุนความรู้ประสบการณ์สูงในเรื่องการจับภาพเพื่อหายอดคุณเอื้อ คุณอำนวย คุณประสาน คุณกิจ คุณลิขิต เป็นต้น หรืออย่างที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือ มมส.เฟ้นหายอดคุณลิขิต รางวัล ฅ KM มมส. หรือหน่วยงานอื่นๆเขามีแนวการวิธีการทำอย่างไร เรียกว่าเรียนลัดจากประสบการณ์จากที่อื่นประมาณนั้น

ผมทราบว่าตอนนี้ กศน.จังหวัดในฐานะเลขานุการโครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์จังหวัดนครศรีธรรมราชก็คงจัดทำร่างรายละเอียดหลักเกณฑ์ไปได้บางส่วนแล้ว เมื่อร่างเสร็จแล้วคงจะได้นำสู่การพิจารณาของผู้เกี่ยวข้องระดับต่างๆเพื่อการยอมรับและให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะถึงขั้นนำไปใช้จริงต่อไป

มากไปกว่านั้นทราบว่า กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราชได้ทำหนังสือแจ้ง กศน.อำเภอทุกอำเภอให้ค้นหาหมู่บ้านชุมชนอินทรีย์เด่นๆอำเภอละ 2 หมู่บ้านด้วยแล้ว และทราบว่าอำเภอต่างๆทะยอยส่งกลับไปให้ กศน.จังหวัดเรียบร้อยแล้ว นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ

ในเรื่องของหมู่บ้านเด่นผมอยากจะให้หมู่บ้านเด่นส่วนหนึ่งนั้นมาจากที่ กศน.อำเภอต่างๆได้เสนอมา จากนั้นก็คัดเลือกกันในระดับจังหวัดต่อไป กรองอีกชั้นหนึ่งด้วยกรรมการที่มีความรู้ประสบการณ์อีกชุดหนึ่ง แต่หมู่บ้านอีกส่วนหนึ่งก็น่าที่จะให้หน่วยงานอื่นๆที่เป็นภาคีเครือข่ายร่วมทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ได้เสนอขึ้นมาด้วย เพื่อความหลากหลายของแหล่งที่มาหลากหลายมุมมอง

ทบทวนกิจกรรมโครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์กันเสียหน่อยกิจกรรมปีแรกของโครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์นั้น คือการเรียนรู้เน้นหนักเรื่องการสร้างแผนชุมชนอินทรีย์ ปีที่สองฝึกนำกิจกรรมโครงการในแผนไปปฏิบัติจริงเน้นใช้กระบวนการเรียนรู้(KM)เป็นเครื่องมือ ปีที่สามต่อยอดเนื้อหาการเรียนรู้ที่เน้นหนักในด้านการเกษตร และในปีที่สี่ต่อยอดเน้นหนักการทำงานให้ได้มาตรฐานเน้นการพัฒนาชุมชน มาตรฐานชุมชน มชช. และด้านสุขภาพ ควรอย่างยิ่งที่หน่วยงานเครือข่ายเหล่านั้นจะได้มีสวนร่วมในการกำหนดทั้งตัวละคอน KM เด่น กิจกรรม พื้นที่/ชุมชนเด่นด้วยตั้งแต่ต้น เพราะเชี่ยวชาญในเนื้อหาฟังชั่นหน่วยงานตนเอง ซึ่งถือเป็นธงย่อยๆหรือเป็นเครื่องมือย่อยๆของธงใหญ่หรือหัวปลาใหญ่คือชุมชนอินทรีย์หรือชุมชนเรียนรู้ ทุกหน่วยงานคือเครื่องมือของชาวบ้าน

เรื่องการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การยอมรับ ความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือของผู้พิจารณาตัดสิน ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่สำคัญทั้งสิ้น 

สำหรับวิธีการดำเนินการในรายละเอียดคงต้องคิดกันอีกมากทีเดียว 

นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ทุกคนจะได้เรียนรู้ร่วมกัน

มีอะไรที่ต้องคำนึงอีก.....มีอะไรจะแนะนำ...เชิญท่านทั้งหลายบรรเลงได้เลยครับ

หมายเลขบันทึก: 103924เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2007 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • แวะมาติดตามข่าวคราวของนครศรีธรรมราชครับ
  • น่าชื่นชมมากเลยครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมา ลปรร.
  • ตามคุณสิงห์ป่าสัก มามั่งค่ะ
  • ด้วยความชื่นชม ครูนงเมืองคอน แบบสุด สุด เช่นเคย
  • ขอบคุณค่ะ สักวันหนึ่ง ... ต้องไป ลปรร. ถึงที่นครฯ เลยละค่ะ

อาจารย์จำนงคะ

ตั้งแต่อาจารย์กลับมาจากญี่ปุ่น ยังไม่มีโอกาสทักทายกันเลยค่ะ เป็นว่าตามอ่านบทความแต่ไม่ค่อยได้เข้ามาเขียนน่ะค่ะ

ดูเหมือนว่าอาจารย์ไม่เคย "หยุดคิด-หยุดเคลื่อน" งานพัฒนาเลยนะคะ ขอชื่นชมด้วยอีกคนค่ะ หน่วยงานต่าง ๆ น่าจะมีบุคคลากรที่มี "พลัง" อย่าง "ครูนง" ให้มาก ๆ นะคะ จะได้ช่วยกัน "ขับเคลื่อน" ให้เกิดวงเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติที่ได้ผลจริงจังมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นะคะ

การจัดการความรู้ใช้หลักการทำงานของพุทธศาสนาซึ่งก็คือ ต้องมีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ คือ ต้องมีความรู้ทั้งทางทฤษฎีและสามารถนำความรู้นั้นไปปฏิบัติจนเกิดผล ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัตินั้นก็นำมาถอดเป็น "บทเรียน" แห่งการเรียนรู้และยกระดับเป็น "ชุดความรู้ใหม่" ที่นำไปปฏิบัติต่อ เป็น"วงจร" เช่นนี้เรื่อยไป ซึ่งทำให้การทำงานทุกอย่างส่งผลสำเร็จตามเป้าหมาย... ไม่ว่าเป้าใหญ่หรือเป้าเล็ก นั่นคือ สามารถปักธงได้ทั้งธงรายทางและธงใหญ่

ตัวเองคิดว่ามีโจทย์ในการทำงานพัฒนาของภาคีต่าง ๆ อยู่บางประการ สิ่งแรกคือ การทำให้ทุกคนในขบวนการได้ "เข้าใจ" ถึงเป้าหมายและสิ่งที่จะได้รับร่วมกัน ซึ่งต้องการ "เวลา" และ "ความอดทน" ของนักประสานเวที นอกจากนั้นต้องแยกแยะให้ได้ระหว่างคำว่า " ผลประโยชน์" และ "ประโยชน์สาม" (ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง ) ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความ "สมานสามัคคี" ในการทำงานร่วมกันค่ะ

 อาจารย์ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

 

 

 

 

เรียนอาจารย์นงครับ

          ผมมาแวะเยี่ยม ขอบคุณมากครับที่แบ่งปัน

  • หวัดดีครับ ครูนง
  • กะว่าจะแวะมาเยียมที่ สนง.แต่ไม่มีเวลามากพอครับ จึงได้แต่อ่านบันทึกของครู ครับ
  • ขอบคุณ ที่ครูนำเรื่องมา เล่าสู่กันอ่านครับ

น้องสิงห์ป่าสักครับ

            เราคงได้แลกเปลี่ยนกันอย่างเข้มข้นแน่นอนเลยแหละครับโยเฉพาะกับชาวกรมส่งเสริมการเกษตรเพราะน้องสร้างเครือข่ายไว้เยอะมาก ความรู้ในคนคงจะถูกนำมาเรียนรู้กันอย่างคึกคักกว่าปีที่แล้วแน่นอนเลย....ทางนครศรีฯก็จะค้นหาสิ่งดีๆให้เจอแล้วนำมาเสนอเช่นกัน...คงเป็นสัญญาณที่ดีนะครับ

 

คุณหมอนนทลีครับ

           คงได้แลกเปลี่ยนกับชาวกรมอนามัยอย่างออกรสออกชาติสักครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้ามานครศรีฯก็จะดีใจมากเลย ผมเชื่อมกับทีมคุณอำนวยเมืองไทยแข็งแรง รพ.มหาราชนครศรีธรรมราชได้แล้วครับ ถ้ามาแลกกันที่นครศรีฯก็คงจะได้คุยกับเครือข่าวสาธารณสุขได้อย่างแน่นอน

ดร.ทิพวัลย์ อ.ตุ้มครับ ผมชอบที่อาจารย์พูดว่าการจัดการความรู้ใช้หลักการทำงานของพุทธศาสนาซึ่งก็คือ ต้องมีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ คือ ต้องมีความรู้ทั้งทางทฤษฎีและสามารถนำความรู้นั้นไปปฏิบัติจนเกิดผล อากัปกิริยาการเรียนรู้ ในระดับ ปริยัติ และระดับปฏิบัติสองคำนี้เข้าใจได้พอสมควรแหละครับ แต่ปฏิเวธคำนี้แหละครับอาจารย์คืออาการอย่างไรครับ ผมงงคำนี้มานานแล้ว คือผลของการเรียนรู้ระดับปริยัติ และระดับปฏิบัติ ใช่ไหมครับ ไม่ใช่ตัวเรียนรู้ใช่ไหมครับ

ขอบคุณในความเป็นห่วงครับอาจารย์

คุณสายันห์ครับ

         ขอบคุณนะครับที่เข้ามาเยี่ยมเยียน

หวัดดีครับคุณชัยพร

          แหมเสียดายจังไม่ได้เลี้ยงขนมจีนซอยพานยม...ขอบคุณนะครับหมุ่มเมืองร้อยเกาะที่เข้ามาเยี่ยมบอกเล่ากิจกรรมชีวิต

 

สวัสดีครับครู ผมสรณพงษ์KM เมืองสมุทรครับ

แวะมาเยี่ยมครับ

สวัสดีครับน้องสรณพงศ์

           ดีใจที่มาเยี่ยม ยังระลึกนึกถึงนะครับ สบายดีนะครับ งานการเป็นอย่างไรมั่ง ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท