จากเกมส์หวงไข่ สู่ โมเดลภูมิคุ้มกันในสองและสามมิติ


ในโมเดลสามมิติ คุณลองช่วยพิจารณาดูนะครับ ว่ายอดปิระมิด นั่นเป็นภูมิปัญญาหรือไม่ครับ โดยเด็กอยู่ภายในนั้น และระบบเกื้อกูลไหลถึงกันได้ทุกเส้นเชื่อมโยงนะครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

               วันนี้มีเกมส์มาให้เล่นนะครับ ตั้งชื่อว่าเกมส์หวงไข่ ได้รับการแนะนำรายละเอียดจากคุณเบิร์ดครับ โดยลักษณะของเกมส์มีอุปกรณ์และเป้าหมายดังนี้ครับ

อุปกรณ์สำหรับเกมส์หวงไข่

  • กระดาษหนังสือพิมพ์ 1 คู่ , ตะเกียบ 1 คู่ , กระดาษกาวยาว 1 ฟุตหรือหนังยาง 3 เส้น , ไข่ 1 ฟอง

วิธีการเล่น

  • ออกแบบโมเดลที่หุ้มไข่ไม่ให้ไข่แตกเวลาโยนจากชั้นสองของตึก จะทำอย่างไรกับ อุปกรณ์ที่ให้ก็ได้แต่ต้องออกมาเป็นโมเดลสำเร็จรูปภายในเวลา 1/2 ชม.

คำถามของเกมส์

  • คุณคิดว่าจากอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ กระดาษหนังสือพิมพ์ ตะเกียบ กระดาษกาว หนังยาง และไข่ จะเปรียบได้กับอะไรในสังคมเรา

  • โมเดลนี้น่าจะเป็นโมเดลอะไร ใช้แทนอะไรในโลกความจริงหรืออุดมคติได้ไหมครับ

  • ลองคิดกันดูนะครับ คุณอาจจะได้โมเดลอะไรใหม่ อีกเพียบครับ

จากบทความ สภาการศึกษา G2K : ไวรัสร้ายที่ทุกคนต้องระวัง "ภูมิคุ้มกันชุมชนบกพร่อง" เมื่อวันก่อนได้นำเสนอรูปโมเดลอันหนึ่งครับ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กครับ ดังรูปต่อไปนี้ครับ

และมีสามเหลี่ยมทรงพลังจาก บทความ อยากมีครูดี เก่ง ถ่ายทอดเป็น ร่วมปลูกต้น "ครูน้อย" ตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะจบประถม...

มาฝากด้วยครับ

แล้วได้ต่อยอดเป็นสามมิติ ดูนะครับ ก็คิดว่าอะไรน่าจะเป็นยอดของปิระมิดฐานสามเหลี่ยมอันนี้ ดีครับ ผมก็เลยแทนด้วยคำว่า ภูมิปัญญา ลงไป คุณลองคิดดูนะครับ ว่าจริงๆ แล้วควรจะเป็นอะไรดีครับ แล้วมีส่วนอื่นจำเป็นต้องเปลี่ยนไหม มาลองดูภาพกันเลยครับ

จากภาพทั้งในระบบ สองและสามมิติ นะครับ

ลูกศรสีแดง มีปลายศรทั้งสองข้างแทนการเกื้อกูล สนับสนุนกัน ส่งผ่านถ่ายเท พึ่งพา ระหว่างกันนะครับ โดยมีเด็ก หรืออนาคตของชาติ หรือเยาวชน คน อยู่ตรงกลางนะครับ

โดยคุณสามารถจะขยายผลต่อได้ให้ใหญ่ขึ้นนะครับ คำว่าโรงเรียนไม่ใช่ แค่ในระบบครับ  ชุมชนก็ไม่ใช่แค่หมู่บ้าน .... แต่หากมองในเซลล์เล็กๆ อาจจะเริ่มต้นที่จุดเล็กๆ ก่อนครับ หากเซลล์เหล่านี้เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ไม่ว่าจะมองเป็นเซลล์ประสาทที่เชื่อมโยงกัน หรือว่าเซลล์อย่างอื่นประกอบเป็นภาพรวมขึ้นมา ด้วยเครือข่ายที่เกื้อกูลและทำงานร่วมกันอย่างมีระบบ ภูมิคุ้มกันในระบบก็น่าจะแข็งแรงครับ

ในโมเดลสามมิติ คุณลองช่วยพิจารณาดูนะครับ ว่ายอดปิระมิด นั่นเป็นภูมิปัญญาหรือไม่ครับ โดยเด็กอยู่ภายในนั้น และระบบเกื้อกูลไหลถึงกันได้ทุกเส้นเชื่อมโยงนะครับ

  • ภูมิปัญญาครอบครัว

  • ภูมิปัญญาโรงเรียน

  • ภูมิปัญญาชุมชน

  • ครอบครัว + โรงเรียน + ชุมชน + ภูมิปัญญา <----> เด็ก

  • ทั้งห้าส่วนของทุกส่วน จะมีนำเข้า 4 เส้น และนำออก 4 เส้น นำไปสู่ความสมดุล

ลองคิดๆ กันลองดูเล่นๆ นะครับ ใครจะลองเอาไข่ใส่ไว้ตำแหน่งของเด็ก แล้วโยนเล่นดูก็ได้นะครับ ว่าไข่แตกไหม แล้วหากโยนเด็กให้ตกลงมาแบบโมเดลในเกมส์นี้หล่ะครับ เด็กจะตายไหมครับ มีเกราะอะไรคุ้มกันเค้าได้บ้างครับ

โมเดลนี้จำเป็นต้องเป็นแบบนี้เสมอไปไหม...เป็นรูปลูกรักบี้ได้ไหม หรือว่า ลูกบาศก์จะได้ไหมครับ อะไรคือแทนมุมต่างๆ หากจะเป็นโมเดลอื่นครับ

หยุดถามแค่นี้ก่อนแล้วกันครับ เดี๋ยวสมองอาจจะเสื่อมได้ หรือไม่คนถามอาจจะโดนเชือดเสียก่อนครับ....

ขอบคุณมากครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 98988เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
อาจารย์ขาอ่านแล้วมันเข้าใจยากเหมือนกันจะอ่านหลาย ๆ รอบคะ
P

สวัสดีครับคุณรัตน์ชนก

  • ลองคิดดูนะครับ ให้เป็นการบ้าน การเรือน การชุมชน การโรงเรียน และการประเทศครับ อิๆ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ไว้ผมจะทบทวนดูว่าผมเขียนสับสนมากไปหรือเปล่าครับ ขอบคุณมากนะครับ
  • อืม...ครับ เข้าลักษณะสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาครับ...
  • ขออนุญาต save  ไว้นะครับ
P

สวัสดีน้องย่ามแดง

  • ประมาณนั้นครับผม
  • และพี่อยากให้สามเหลี่ยมนี้ หรือปิระมิดนี้ เขยื้อนหัวใจน้องย่ามแดงออกจากความเศร้าโศกด้วยนะครับ
  • เก็บไว้ได้เลยครับ หากมีประโยชน์นะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

            ตอนแรกว่าจะวิจารณ์โมเดลของอ.เม้งว่าคล้าย ๆ กับ สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของ ท่าน อ.ประเวศ  แต่พอมาดูในแบบ 3 มิติ ผมมองถึงความสมดุลของแรงต่าง ๆ ที่มาจากทุกทิศทาง ที่จะให้เด็ก ลอยอยู่ตรงกลาง

        แต่จะมีจุดอ่อนหรือเปล่าครับ แรงเพียงแค่นี้จะช่วยให้เด็กสมดุลได้ หรือเปล่าครับ

           ส่วนเรื่องหวงไข่นี่ ผมชอบมากเกมส์ลักษณะนี้ พบเห็นทั่วไปในกระบวนการพัฒนาผู้คน ทีมงานสำคัญเป็นคีเวอร์ด สำหรับการช่วยกันนำความรู้ของแต่ละคน นำประสบการณ์ของแต่ละคนมาช่วยกัน ออกแบบโครงสร้างให้ดูแลไข่ได้เมื่อตกจากที่สูง

             ตอนผมเล่นเกมส์นี้ผมจิตนาการไปถึงยานอวกาศที่ ท่านอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่าน ออกแบบยาน ฯ เพื่อลงจอดบนดาวดวงนึง ( ขอโทษไม่แน่ใจครับ )   ผมสนุกมาก ท้าทายว่าเราจะดูแลไข่ได้หรือไม่

            แตกหรือเปล่าก็จำไม่ได้แล้ว เพราะแก่นเรื่องนี้อยู่ที่การถกเถียงหาข้อสรุปในบรรดาวิศวกรทั้งหลาย แต่ที่ไม่น่าเชื่อกว่านั้น เคยเล่นกับชาวบ้าน ไม่เห็นว่าเขาจะใช้หลักการอะไรมากนัก เอาอะไรห่อหุ้มไข่ให้มาก ๆ เข้าไว้ มันตกมาก็ไม่แตกเอง ก็มีครับ

P

สวัสดีครับคุณมิตร

  • ขอบคุณมากครับคุณมิตร
  • โมเดลในสองมิติ เป็นฐานรากของสามมิติครับ โดยมีครอบครัว โรงเรียน และชุมชนเป็นฐานให้กับเด็ก และแต่และฐานจะมุ่งสู่การอุ้มชูเด็กให้วิ่งไปหาภูมิปัญญา โดยแต่ละจุดในฐานจะมีภูมิปัญญาของตัวเองด้วยครับ

แต่จะมีจุดอ่อนหรือเปล่าครับ แรงเพียงแค่นี้จะช่วยให้เด็กสมดุลได้ หรือเปล่าครับ

  • ลองวิจารณ์ดูครับ ว่าตรงไหนเป็นจุดอ่อนบ้างครับ เพื่อหาแนวทางร่วมกันครับ
  • อาจจะต้องดูว่า ส่วนอื่นๆ แรงจากด้านอื่นจะช่วยดันมาจากมุมต่างๆ ได้ไหมครับ หากได้ก็เป็นแรงด้านเดียวกัน หากไม่ได้ อาจจะต้องเป็นจากฐานเหลี่ยมเป็นฐานมากกว่าสามเหลี่ยมครับ
  • ลองคิดกันเล่นๆ ครับ เผื่อได้ใช้จริง

            ส่วนเรื่องหวงไข่นี่ ผมชอบมากเกมส์ลักษณะนี้ พบเห็นทั่วไปในกระบวนการพัฒนาผู้คน ทีมงานสำคัญเป็นคีเวอร์ด สำหรับการช่วยกันนำความรู้ของแต่ละคน นำประสบการณ์ของแต่ละคนมาช่วยกัน ออกแบบโครงสร้างให้ดูแลไข่ได้เมื่อตกจากที่สูง

             ตอนผมเล่นเกมส์นี้ผมจิตนาการไปถึงยานอวกาศที่ ท่านอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่าน ออกแบบยาน ฯ เพื่อลงจอดบนดาวดวงนึง ( ขอโทษไม่แน่ใจครับ )   ผมสนุกมาก ท้าทายว่าเราจะดูแลไข่ได้หรือไม่

            แตกหรือเปล่าก็จำไม่ได้แล้ว เพราะแก่นเรื่องนี้อยู่ที่การถกเถียงหาข้อสรุปในบรรดาวิศวกรทั้งหลาย แต่ที่ไม่น่าเชื่อกว่านั้น เคยเล่นกับชาวบ้าน ไม่เห็นว่าเขาจะใช้หลักการอะไรมากนัก เอาอะไรห่อหุ้มไข่ให้มาก ๆ เข้าไว้ มันตกมาก็ไม่แตกเอง ก็มีครับ

  • ดีมากๆ เลยครับ ที่ได้ร่วมกันเล่น ผมเคยเล่น ตอน ม.ห้า ครับ สนุกดีครับ ออกแบบกันสนุกเลยครับ
  • หากยิ่งมีอุปกรณ์ให้จำกัดจะยิ่งต้องใช้สมองเข้าไปอีก กรณีที่เรามีทรัพยากรจำกัดจะทำให้เรายิ่งต้องใช้พลังคิดมากๆขึ้นครับ เหมือนแมกไกเวอร์เลยครับ อิๆๆ
  • แต่ในระดับชาวบ้าน ผมว่าก็ดีครับ จะได้สนุกในการคิดครับ หากเรามีไข่เยอะก็มีโอกาสหลายครั้งในการลองผิดลองถูกได้ แต่หากเรามีใข่ใบเดียว คงต้องคิดมาก่อนการลอง เพราะบางทีชีวิตเราไม่มีโอกาสให้ลองได้หลายครั้งเหมือนกันใช่ไหมครับ...
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับผม.... ผมว่าอาจจะให้ครอบครัวทุกๆ ครอบครัวเล่นกันก็น่าจะสนุกนะครับ โดยให้พ่อแม่ลองคิดดูครับ... แล้วให้โยนลงมา ให้ไข่เปรียบเสมือนลูก เวลาไม่มีพ่อแม่ อะไรประมาณนี้ครับ
  • ขอบคุณมากครับ

    ฐานรากสู่การอุ้มชู เข้าใจได้เลยครับ    แต่เด็กก็จะกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ชุมชน และครอบครัว อีก  เป็นระบบที่ไดนามิค

           สมดุลน่าจะอยู่ในโมเดลนี้นะครับ

           การเคลื่อนไหว ถ่ายเท

           แล้วศาสนาล่ะครับน่าจะอยู่ตรงไหน

           แต่เห็นด้วยครับว่าภูมิปัญญาน่าจะมีอยู่ทุกจุดของรากฐาน

          จะคิดต่อครับ  น่าสนใจมากๆ ครับ โมเดลของอาจารย์ 

P

สวัสดีครับคุณมิตร

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • ใช่ครับ ฐานรากสู่การอุ้มชู อุ้มชูแล้วก็พร้อมพอที่จะโตพอที่จะอุ้มชูคนอื่นได้ต่อครับ
  • น่าสนใจครับ คำถามว่าศาสนาอยู่ตรงไหนครับ ผมมองว่าศาสนาเป็นอิสระต่อเด็ก ช่วงแรกเด็กจะมีบทบาทที่สำคัญจากฐานสามฐานนี้ จริงๆ แล้วศาสนาคนเราจะมีก็ได้ไม่มีก็ได้ แต่ผมก็คิดว่าศาสนาจะถูกฝังอยู่ในฐานทั้งสามนั้นแล้ว ซึ่งเด็กจะซึมซับรับไปตามกาลเวลา คือไม่มองว่าติดตัวมาแต่เกิดนะครับ แต่หากติดตัวมาแต่เกิดก็จะถูกฝังอยู่ที่ฐานมุมครอบครัวครับ อันนี้ช่วยกันมองดูนะครับ
  • ลองคิดดูไปต่อไปเล่นๆ นะครับ ว่าที่มุมฐานทั้งสามนั้น สนับสนุนอะไรได้บ้าง เพื่อจะมุ่งเป้าไปที่เด็กและภูมิปัญญา
  • แต่หากมีปัจจัยอื่นๆ สำคัญมากๆ ก็เปิดมุมอีกมุมหนึ่ง แต่ต้องเชื่อมต่อกันกับจุดอื่นๆ ทั้งห้า ได้อย่างลงตัวครับ
  • คุณธรรม จริยธรรม ก็คงจะความหมายเดียวกับศาสนา.... คงต้องมีภูมิคุ้มกันมาตั้งแต่ บ้าน โรงเรียน ชุมชน ครับ
  • ขอบคุณ คุณมิตรมากๆ นะครับ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

มายิ้มๆกับโมเดลที่นักคิดสร้างสรรค์ขึ้นที่บังเอิญมาพ้องกับเกมส์ได้อย่างน่าอัศจรรย์

สาเหตุที่เกมส์นี้กำหนดทรัพยากรให้อย่างจำกัดเพราะในชีวิตจริงของเราก็ไม่มีที่แห่งใดสมบูรณ์แบบรวมทั้งตัวเราเองด้วย...และเราต่างก็มีหน้าที่ที่ต้องทำภายใต้ความไม่สมบูรณ์แบบด้วยกันทั้งนั้น..เพียงแต่เราต้องรู้ว่าความไม่สมบูรณ์แบบนั้นคืออะไรและควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุดภายใต้ทรัพยากรที่เรามี

นอกจากนี้คืออย่ายึดติดกับรูปแบบค่ะ เพราะถ้าเรามองว่าตะเกียบคือตะเกียบเราจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆจากตะเกียบไม่ได้เลย ..การแก้ปัญหาบางคราวจึงต้องคิดออกนอกกรอบที่มี..และอย่ายึดความรู้ชุดเดียว

ยังมีเรื่องของการยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคลและต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราทำ + สิ่งที่เราคิด ถ้าความคิดนั้นผ่านการพิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผลอย่างรอบด้านแล้วเกิดขึ้นเป็นการกระทำไม่ว่าผลของการกระทำนั้นจะเป็นอย่างไร..เราต้องยอมรับผลนั้นและหาทางแก้ไขให้ดีขึ้นไปกว่าเดิม เพราะชีวิตก็เป็นอย่างนี้นี่คะ...การคิดที่คิดว่าดีแล้วบางคราวก็พลาดได้เช่นเดียวกัน

อีกอย่างคือปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องจะมีทั้งสิ่งที่ควบคุมได้คือทรัพยากรที่กำหนดและสิ่งที่ควบคุมไม่ได้เช่นลม มุมตกกระทบ ฯลฯ ก็เหมือนเหตุการณ์ในชีวิตจริงของเราเช่นเดียวกัน..มีเหตุการณ์หลายๆอย่างที่เราอาจคาดไม่ถึงเข้ามาส่งผลต่อเด็กๆ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเด็กๆเค้าสามารถที่จะอยู่รอดได้ด้วยตัวเขาเองหรือไม่ ?  จากภูมิคุ้มกันที่เราให้กับเขาอาจเป็นการควบคุมปัจจัยที่ควบคุมได้ในระดับหนึ่ง..แต่ตัวเด็กเองก็ต้องเติบโตด้วยตนเองเช่นเดียวกัน การคุ้มครองจึงต้องคู่กับการกระตุ้นให้เติบโต งอกงามจากต้นกล้าเป็นต้นไม้ใหญ่...ที่สามารถยืนหยัดท้าแดดลมฝนได้...และถ้าเกิดความผิดพลาดที่ทำให้ไข่แตกก็ไม่ควรโทษว่ากันและกันเพราะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ จึงควรหาสาเหตุร่วมกันมากกว่า

ที่กำหนดเป็นไข่เพราะไข่มีความบอบบางแต่เปลือกไข่ก็แข็งพอที่จะรับแรงกระแทกได้ระดับหนึ่ง ...ดังนั้นเด็กๆเค้าจึงไม่เล็กอย่างที่เราคิด ( คิดแทนเค้า )...เมื่อถึงเวลาที่เค้าต้องเติบโต เราต้องให้โอกาสเค้าเติบโตในวิถีที่ควรเป็น ไก่ที่ฟักจากไข่ไม่จำเป็นต้องหน้าตาเหมือนกันนี่คะ

รูปแบบของโมเดลเช่นเดียวกันค่ะ ไม่มีโมเดลเดียวในการทำให้ไข่ไม่แตก เพราะขึ้นอยู่กับการออกแบบซึ่งเปรียบได้กับรูปแบบที่แต่ละครอบครัว  แต่ละชุมชน แต่ละสังคมกำหนดเพื่อรองรับเด็กๆตามสิ่งที่ตนมี และวาดฝันไว้

สิ่งที่สำคัญที่สุดจึงอยู่ที่การมองให้เห็นว่า " เรา " มีอะไรบ้างและควรใช้อย่างไร..มากกว่าการคัดลอกสิ่งที่คนอื่นมีแล้วนำมาใช้โดยไม่พิจารณาให้ดี..

เข้ามาป่วนเล่นๆค่ะ ^ ^

 

 

 

 

P

สวัสดีครับคุณเบิร์ด

  • กำลังคอยอยู่เลยครับ ว่าเมื่อไหร่คุณเบิร์ดจะเข้ามาทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ มาได้ทันเวลาพอดีครับ ไม่งั้นผมจะโยนไข่ลงไปโดดๆ เลยครับ ฮ่าๆๆๆๆๆ ล้อเล่นครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับผม นักจิตวิทยาอีกท่านที่ไม่ธรรมดา ของพวกเราครับ
  • คำว่าไม่ยึดติดนี่ ผมชอบมากครับ... ทำให้ผมคิดถึงการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ของแมคไกเวอร์ ครับ ผมว่าสร้างพลังจินตนาการในการประยุกต์ได้หลายๆ อย่าง ผมชอบเวลามานั่งดูหนังเรื่องนี้ แล้วทำให้เราคิดไปแล้วจำลองตัวเองเป็นพระเอกครับ (ช่วยดึงๆ หน่อยครับ) แล้วก็คิดว่าหากเป็นแบบนั้นเราจะทำอย่างไรดีหนอ
  • แล้วคุณๆ ท่านที่กำลังอ่านอยู่หล่ะครับ คิดอย่างไร ครับ ในเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันครับ
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท