การเล่าเรื่องหลังการประชุมHA เรื่องที่ดิฉันภูมิใจ


ขอชมหมอหน่อยและทีมที่จัดได้อย่างผ่อนคลาย ดูคนที่อยากไปอยากเล่ากันมาก บางคนเตรียมslide มาอย่างดี แต่เวลาน้อยทำให้หมอหน่อยแนะนำให้ไปเล่าในกลุ่มของตัวเอง หรือกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกันต่อไป

25-5-50

ศุกร์นี้ทางคณะทำงานKMได้เชิญคนที่ไปฟังการประชุมของ พ.ร.พ.มาเล่าเรื่องที่ตัวเองได้ไปประสบ ในการ ฟัง เห็น บรรยากาศของการประชุมที่เมืองทองธานี 

ปีนี้บางคนก็ไปทุกวันบางคนก็ไปเป็นบางวันแล้วแต่หน่วยงานจัดการกันเอง

ดิฉันเองไม่ได้ไปเพราะมอบให้หนูเล็กไปแทนเนื่องจากอยากให้น้องๆที่จะถูกประเมินครั้งที่สองไปกันเยอะ      แต่ได้อ่านเอกสาร

ดิฉันแนะนำให้หมอหน่อยเชิญส่วนที่เกี่ยวข้องมาแลกเปลี่ยนกันตามความสมัครใจค่ะ 

ขอชมหมอหน่อยและทีมที่จัดได้อย่างผ่อนคลาย   ดูคนที่อยากไปอยากเล่ากันมาก    บางคนเตรียมslide มาอย่างดี  แต่เวลาน้อยทำให้หมอหน่อยแนะนำให้ไปเล่าในกลุ่มของตัวเอง     หรือกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกันต่อไป

หนูเล็กศุภลักษณ์  พูดถึงhumanized health care  ทำให้เกิด4เพิ่ม 2ลด โดยที่คนไข้พอใจ เจ้าหน้าที่มีความสุข KMยั่งยืน  ต้องlearn to learn และ learn to share  ( สำหรับดิฉันอยากเพิ่ม learn to communicate อีกข้อ )

คุณสมพร จากตึกพิเศษบอกว่าดูหมดทุกเรื่องไม่ให้เล็ดลอด    อยากรู้ที่ใหนทำอะไรกันบ้าง        ประทับใจโรงพยาบาลปัตตานีมากในเรื่อง end of life care ทำให้บันทึกของพยาบาลมีค่ามาก  ได้เทคนิกของกระเป๋าใส่ถุงdrain    และสื่อการสอนการฉีดยา insulin

คุณสุนันทา รองฝ่ายการพยาบาลแจ้งว่าตัวเองถ่ายรูปมาทุกรูปแต่ไม่ได้จด       ส่วนบางคนจดมาทุกอย่างแต่ไม่ได้ถ่าย     ทำให้เราจะเอาสองคนมาทำงานด้วนกันทำให้เราเห็นทั้งรูปและคำอธิบาย  ทำให้คนฟังได้ประโยชน์  

คุณทองดีจากงานอายุรกรรมจะปรับปรุงระบบยา

 น้องเภสัช นำเสนอแผนที่จะป้องกันการแพ้ยาอย่างรุนแรงและบ่นว่า   คนไข้ไทยแปลกจริงๆ คนใหนเห็นยาน้อยจะบ่น  ใครได้ยามากก็จะดีใจจนเธอต้องคอยปลอบว่าหมอไม่ให้ยาก็ดีแล้วแสดงว่าเราแข็งแรง

คุณเครือวัลย์จากงานอายุรกรรมไปดูเทคนิก end of life care ทั้งเรื่อง pain music therapy     จะมาทำร่วมกับหมอดมยาที่บำราศ โดยได้รับการสนับสนุนจากคุณสว่างที่มีประสบการณ์จริงที่แม่มาป่วยจนเสียชีวิตทำให้เข้าใจว่าคนไข้อยากได้อะไร

คุณหมอชยนันท์ไปวันสุดท้ายเล่าถึงองค์กรแพทย์ที่ชลบุรีที่น่าสนใจคือการที่จะให้แพทย์เข้าต้องไปดูว่าหมอสนใจอะไรก็พัฒนาตรงนั้นแล้วหมอก็จะเข้าเองเพราะเป็นเรื่องของเขา      ไม่เน้นเอกสารมาก 

เน้นเรื่องเวชระเบียนในกลุ่มคนที่เสียชีวิตโดยดูคุณภาพของบันทึกการพยาบาลเช่น      ตีห้าญาติมาบอกว่าคนไข้ตายแล้ว

เน้นการใช้ภาษาไพเราะ

หนูเล็กให้ประธานองค์กรแพทย์ไปแก้ที่คนไข้ผ่าตัดแล้วแต่หมอยังไม่เซ็นชื่อ

คุณอนงค์จากงานเวชระเบีนยเน้นความสำคัญของเวชระเบียนให้เก็บทุกอย่างเพื่อสืบค้นได้   ที่เน้นมากคืออยากให้สถาบันดูแลเรื่องสวัสดิการมากขึ้น   และบอกว่าเราต้องระวังในการพูดในคนที่เราคิดว่าคนไข้หนักไม่รู้เรื่อง   แต่หูคนไข้ได้ยินต้องระวังปากในการพูดด้วย

น้องวันเพ็ญจากห้องบัตรภูมิใจมากที่มีโอกาสไปงานนี้ที่พี่ปิ่งให้ไป   ให้แนวคิดว่าหมอควรดูแลครอบครัวตัวเองก่อนมาดูผู้ป่วย  อยากให้คนไข้เห็นรอยยิ้มของเรา  และอยากให้มีมุมธรรมะ

คุณโสพิศจากห้องฝากครรภ์ไปดูเรื่องการดูแลคนตั้งครรภ์ที่มีความดันสูงและป้องกันการชักตั้งแต่แรกทุกระดับ

เน้นความจริงใจในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ทำให้ผู้ป่วยมาตามนัดเพิ่มมากขึ้นมากๆ ความจริงใจทำให้เกิดความร่วมมือ ผู้ป่วยที่ไม่มาตามนัดก็โทรมาบอกเอง(คงเกรงใจเจ้าหน้าที่พยาบาล )  ลดการโทรตามและค่าโทรศัพท์ลงมาก       คนไข้ลืมก็ไม่ดุโดยยกตัวอย่างที่คนไข้นึกได้ว่าลืมกินยาในที่สาธารณะทำให้ไม่กล้าหยิบยามากิน   คนไข้กล้าที่จะเล่าให้ฟัง

คุณนงเยาว์จากห้องดมยาเล่าว่าเมื่อก่อนเราจะมัดตัวเด็กและนำไปดมยาแต่เดี๋ยวนี้ให้แม่อุ้มไป

แนะให้กำจัดจุดอ่อนของทุกขบวนการดมยาสลบโดยหมั่นทบทวน

เล่าถึงการติดวัณโรคจากการดมยา

ดิฉันต้องมาคิดการกำหนดคนไปฟังไม่ควรให้เฉพาะพยาบาล น่าจะมีทุกระดับเพื่อความหลากหลาย

คุณชนกพรรณจากTUCเล่าว่างานคุณภาพเมื่อมีมาตรฐานแล้วต้องมีBench markด้วยเพื่อมาทำCQIต่อไป   และเล่าถึงการแบ่งคนออกเป็น6กลุ่มทั้งดี พัฒนาได้และทำอะไรไม่ได้   เราต้องเลือกว่าจะอยู่กลุ่มใหน

หมอปรีชาตบท้ายด้วยslideที่เตรียมมาอย่างดีโดยเล่าถึงการประเมินครั้งที่สองที่จะเน้น Patient care process และpatient safetyโดยดูจากAdverse event  Clinical tracer  การคัดกรองและการประเมินที่ER  ดูระบบยา  การส่งต่อ กลุ่มวิกฤติ ระบบการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ

แนะให้แพทย์ดูadverse event ทุกวัน

แพทย์ที่ไม่เขียนอะไร มีอะไรก็เก็บไว้ในใจทำให้ไม่ยุติธรรมกับพยาบาลร่วมงาน

การเขียนProgress ต้องให้พยาบาลใช้ประโยชน์ได้

เน้นว่าเวชระเบียนเป็นขุมทรัพย์ที่สำคัญ 

ดิฉันภูมิใจกับงานนี้มากเพราะคนเข้ามาด้วยตัวเอง  ดูทุกคนสนใจและอยากพูด   ไม่ต้องชี้ตัวเหมือนบางการประชุมที่เราเกี่ยงกันพูด

สุดท้ายหมอหน่อยให้ดิฉันกล่าวเล็กน้อยก่อนปิดงานโดยที่ดิฉันต้องขอโทษที่ขอ  BARก่อนไป และ AARหลังจากกลับมา    ทำให้คนไปฟังเครียด       แต่วัตถุประสงค์อยากให้คนไปฟังการประชุมรู้จักคิดและเตรียมการเพื่อให้การไปได้ประโยชน์โดยอยากให้การเขียนAARเป็นเรื่องที่ทำให้เราหัดนิสัยการบันทึกโดยที่ดิฉันไม่จำเป็นต้องอ่านค่ะAARของคนไปก็ได้ค่ะ     การบันทึกทำให่ไม่ลืมและตั้งใจฟัง  

คุณลิขิตในครั้งนี้คือคุณปัทมาวดีที่จะมาเล่าละเอียดในblogของเธอค่ะ

ขอบคุณทุกๆคนที่มีส่วนร่วมรวมทั้งQMRทีเป็นคนดูแลการประชุมครั้งนี้ค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ha ks aar#การประชุม
หมายเลขบันทึก: 98986เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

      ขอบคุณครับ ที่เล่ารูปแบบการถ่ายทอดการเรียนรู้ให้ทราบ เพราะเวที HA มีเรื่องเล่าความรู้ปฏิบัติ ประสบการณ์มากมาย แต่คนที่ได้ไปมีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

ผมย้อนกลับมาที่ รพ.ผมเอง ทำไมเราไม่ได้จัดเวทีเล่าเรื่องแบบนี้บ้าง ในกรณีไปประชุม หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพราะนอกจากคนที่ไม่ได้ไปจะได้เรียนรู้แล้ว  คนที่ไปก็จะได้ใช้ทักษะการเรียนรู้อยางเติมที่ด้วย

ลองไปทำดูถ้าได้ผลดีกลับมาเล่าให้ชาวบำราศบ้างก็ดีนะคะ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

ที่คุณหมอเขียนว่า

แพทย์ที่ไม่เขียนอะไร มีอะไรก็เก็บไว้ในใจทำให้ไม่ยุติธรรมกับพยาบาลร่วมงาน

การเขียนProgress ต้องให้พยาบาลใช้ประโยชน์ได้

สงสัยนิดหน่อยว่า ปกติแล้ว ไม่มี ข้อกำหนดสำหรับแพทย์ ว่าต้องบันทึก เมื่อไร แบบไหน ใช่ไหมคะ แล้วแต่ วินิจฉัยของแพทย์  ใช่ไหมคะ

AAR ในนครั้งนี้เล็กว่ามีประโยชน์มากค่ะสิ่งที่เล็กได้จากการทำ AAR คือ

  • ได้รับความรู้และสิ่งต่าง ๆ ที่ทุกคนเก็บเกี่ยวจากการเข้าประชุม
  • ได้เห็นกิจกรรมที่เกิดจากการต่อยอดหลังการเข้าประชุม HA
  • ได้เห็นพลังความคิดของทุกคน
  • ภูมิใจแทนสถาบันมาก ๆ ค่ะ

เรียนอาจารย์ศศินันดา

แพทย์บางครั้งก็ต้องรีบตรวจและรีบผ่าตัดก็ลืมที่จะแจ้งพยาบาลให้เตรียมหรือพูดแต่ลืมเขียนเพราะต่างคนต่างยุ่งทำให้ใม่สื่อสารค่ะ

ระบบดีหมดแล้วเหลือแต่เวลาปฏิบัติที่จะพลาดเป็นระยะๆทำให้ต้องพัฒนาไม่สิ้นสุดค่ะ     ปัญหาจะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของสังคมและเทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนไปทำให้การคุยกันบ่อยๆจำเป็นมากในสาขาของสาธารณสุขค่ะ

ขอบคุณที่สนใจค่ะ   อาจารย์แนะนำมาบ้างก็ดีนะคะ

 

ดีใจที่ได้มาอ่านในวันนี้

ทำให้รู้ว่ามุมมอง และ วิธีคิด ไม่เหมือนกัน

ถ้าเอามาแชร์กันแล้วจะเกิดประโยชน์มากมาย

อย่างไม่น่าเชื่อ

อีกนิดค่ะ อาจารย์

มีระเบียบไหมคะ ที่ว่า แพทย์จะต้องเขียนให้ละเอียดหรืเอาแค่สรุป

เพราะเขียนยาวๆ ก็อาจจะแย่งเวลาการตรวจคนไข้ ทำให้ตรวจคนได้น้อยลง ถ้าเขียนสั้นไป  คนทำงานต่อก็ลำบาก

เห็นที่คุณหมอระวิวรรณไปอบรมอยู่ตอนนี้ เขาเขียนเวชระเบียนกันหลายเล่ม /คนไข้ 1 คนค่ะ

ขออนุญาติใช้สิทธิถูก อ Sasinanda

P
พาดพิงค่ะ

 

ที่นี่ ไมอามี่ อเมริกา คนไข้มี 15 คน ต่อวัน มาบ้าง ไม่มาบ้าง ก็เหลือ ประมาณ  10- 12  คนมีวันศุกร์ที่ผ่านมา  ผู้คนล้นหลาม (หมอกับพยาบาลล้นหลาม)แต่คนไข้มี 3 คน

เขาเลยทิ้งร่องรอยการตรวจ รักษา อย่างดี คุณหมอ เขียน 1-2 หน้า    พยาบาล1 ใน 4 หน้า นักสังคม  1-2 หน้า นักโภชนาการ 1 หน้า ต่อ การดู 1 ครั้ง

ไม่นับการตรวจ การให้ข้อมูลประมาณ รายละ 20-40 นาที

ซึ่งทำแล้วต้องกรอกเอกสารเป็นลำดับขั้น ไม่ให้ลืม

วันที่ไม่มีคนไข้ พยาบาล เจ้าหน้าที่ และหมอจะวุ่นวายกับการทำเอกสาร การเตรียมการ การสรุปความ การทำวิจัยและ เตรียมรับการประเมิน เพื่อทำงานวิจัยทั้งใหม่และเก่า 

เงินค่าจ้างเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มาจากการวิจัย

น่าสนใจนะคะ

คนละสไตล์กับบ้านเรา

อยากให้เรามีคนไข้น้อย หมอ และพยาบาลเยอะ และมีเวลามากขึ้นจัง

มากราบสวัสดี อาจารย์ อัจฉราด้วยค่ะ

ขออนุญาติสมัคร สมาชิก และขอ นำบล็อกนี้ ส่งให้ผู้จัดการคุณ ภาพ โรงพยาบาลเชียงราย

เพื่อนำไปเลียนแบบ และต่อยอดต่อไป

 อาจารย์สรุปดีจริงๆ  ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดีมากเลยค่ะ จะเลียนแบบนำไปใช้กับที่ทำงานบ้างนะคะ 

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณหมอรวีวรรณ  อาจารย์ศศินันดาและป้าแดงที่มาเยี่ยมทำให้มีกำลังใจมากขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท