ตามแม่ไปเก็บข้าว


ท้องทุ่ง

,      เมื่อสงกรานต์ หยุดหลายวันผมมีโอกาสได้กลับไปเยี่ยมญาติพี่น้องที่ จังหวัดนครศรีธรรมราชและได้ไปเยี่ยมบ้านเกิด ซึ่งปัจุบันไม่มีใตรอยู่ เนื่องจากพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้ว พี่ๆน้องๆก็ย้ายออกไปหมด ผมเลยนั่งนึกย้อนอดีดไปเมือ 40 ปีที่แล้ว  บ้านเราเป็นครอบครัวใหญ่ มีพีน้องสิบกว่าคน มีอาชีพทำสวนยางพารา ยางพาราสมัยก่อนเป็นยางพื้นเมือง ต้นโต ให้น้ำยางน้อย  พ่อแม่ต้องออกไปรับจ้าง พี่ๆที่โตแล้วก็มีหน้าที่ทำงาน(ตัดยาง)หาเลี้ยงครอบคร้ว ทุกชีวิตอยู่กินกับยาง  เมื่อถึงหน้าฝน ประมาณ เดือน 8,9,10 ฝนตกหนักยางไม่ได้ตัด ไม่มีเงินซื้อข้าวสาร ต้องไปยืมจากเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง แม้ข้าวสารยังไม่พอกินอย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง (เของเล่น เสื้อผ้า อารหารอื่นๆ)

      ทางทิศตะวันออกของบ้านผม ข้ามคลองไปบริเวณเชิงเขาเหมน(เทือกเขานครศรีธรรมราช)ห่างไปประมาณ 2 กม.มีที่นาของเพื่อนบ้านในละแลกนั้นประมาณ 1,000 ไร่     แม่เป็นนักวางแผนที่ดี เพื่อเตรียมข้าวสารไว้กินในช่วงหน้าฝนในปีต่อ  พอถึงเดือน4,5 เป็นหน้าเกี่ยวข้าว แม่ขวนพี่ๆที่โตแล้ว 2-3 คนออกไปรับจ้างเก็บข้าว(เกี่ยว) ซึ่งเป็นช่วงโรงเรียนปิดเทอมผมจึงตามเขาไปด้วย

     การทำนาในภาคใต้ เป็นนาปี ข้าวต้นสูง การเก็บเกี่ยวต้องใช้แกะ(แกละ)เก็บ เก็บทีละรวง โดยใช้นิ้วนางกับนิ้วกลางหนีบแกะไว้แล้วเก็บข้าวมาหนีบไว้กับนิ้วชี้ประมาณ 4-5 รวงจึงย้ายมาเก็บไว้อีกมือหนึ่ง เก็บได้เต็มกำจึงวางและเก็บต่อไปอีกได้อีกกำจึงเอารวมกันแล้วมัด เรียกว่า"  เลียง"การเก็บข้าวจ้าง เจ้าของนาจะแบ่งให้ ร้อยละสิบ และต้องเก็บเกี่ยวให้เสร็จก่อนที่ข้าวจะยับ(คอรวงเหี่ยวเก็บยาก) ในขณะที่คนอื่นเก็บข้าวกัน ผมก็เล่นน้ำใน"เหมือง" คูส่งน้ำหรือคลองไส้ไก่ กับเด็กคนอื่นๆอย่างสนุกสนาน น้ำใสเย็น มีตันจิกดอกห้อยเป็นระย้า สวยงามมาก  พอใกล้เที่ยงจะมีแม่ค้าหาบขนมจีนกับลอดช่องมาขาย บ้างก็อุดหนุนโดยเฉพาะเด็กๆจะได้กินก่อน ส่วนแม่และคนอื่นๆจะกินข้าวห่อ หาทำเลดีๆใต้ตันไม้นั่งล้อมวง(ทำKM)ในวงอาหารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นต่างๆแล้วนอนสักงีบอากาศร้อนมาก ส่วนผมก็นอนเช่นกัน ช่วงเย็นจะไปช่วยเขาขนข้าวที่เก็บไว้มากองรวมกันเพื่อความสะดวกในการขนย้าย เด็กๆก็จะขอให้ผู้ใหญ่ทำปี่ให้เพื่อเอามาเป่าเล่นแข่งขันกันว่าของใครจะดังกว่ากัน การทำปี่ใช้ต้นข้าวที่เกี่ยวแล้วตัดให้ติดข้อและตัดส่วนปลายออกให้เหลือ2-3นิ้ว แล้วปาดที่ใกล้ข้อให้เป็นปากเป็ดยาวประมาณ 1 นิ้ว ตกเย็นประมาณ 4 โมงเขาเรียกว่าแดดร่มลมตก เด็กๆรวมทั้งผู้ใหญ่จะเอาว่าวมาชักเล่นสนุกสนานทั้งว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา บ้างก็ใส่อกเสียงดังแอ็กๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ทั่วทั้งท้องทุ่ง ก่อนกลับจะรับส่วนแบ่งแม่จะเอาข้าวใส่กระสอบแล้วทูน(เอาบันหัวแล้วเดิน)กลับบ้านส่วนผู้ชายจะใช้สาแหรกหาบกลับบ้าน วัฒนธรรมในการทำนาของคนที่นี้ยังมีอีกมากมาย ตอนนี้ยังมีหรือเปล่าผมไม่รู้

       นึก ถึงตอนนั้นแล้วช่างมีความสุข ธรรมขาติ สิ่งแวดล้อม สังคม เพื่อนบ้าน มิตรภาพ ซึ่งต่างกับตอนนี้อย่างสิ้นเชิง ความเจริญทางวัตถุ ค่านิยมที่ผิดๆ มาพรากสิ่งดีๆไปจากคนไทยจนหมด  ผมเรียกรัองขอน้ำใจคืนมา  บ้างสักนิดก็ยังดี

คำสำคัญ (Tags): #ขอน้ำใจคืนมา
หมายเลขบันทึก: 107090เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2007 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • นึกภาพปี๋ ที่ทำจากต้นข้าวขึ้มมาได้ทันที
  • นึกถึงแกะ (แกละ) ที่เคยบาดนิ้ว เหลือดไหล
  • ขอบคุณครับที่ชวนกันย้อนอดีต ถึงจะเป็นเพียง ความคิดถึง รู้สึกถึง ก็ยังดีครับ

    หนุ่มร้อยเกาะ............

   ขอบคุณมากที่แวะมาเยี่ยม

สวัสดีครับ
P
ขออนุญาตินำข้อความบางตอนไปรวมในตะกอนครับ ขอบคุณมากครับ  http://gotoknow.org/blog/mitree-suk2/107090

    ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม

    ด้วยความยินดี

                                        ไมตรี

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาอ่านด้วยคนนะพี่ชาย

เกษตรเราหลายท่านเป็นคน จ.นครศรีธรรมราช

น่าชื่นชมยินดีแทนบรรพบุรุษของชาว จ.นครศรีธรรมราชนะคะ

ที่ลูกหลานของท่านมาสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับดินแดน 3 จังหวัดชายแดนใต้ของเรา

ทั้งๆที่ไม่ใช่บ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง

ขอขอบคุณทุกท่านจริงๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท