R2R : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP...R2R <1>: เป้าหมาย...กระบวนการ


"ให้เห็นแก่ตัวน้อยลง และรักคนอื่นมากขึ้น"

       วันนี้เป็นวันแรกของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนนักปฏิบัติการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย..(Routine to Research) ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล...มีผู้เข้าร่วมประมาณ 30-40 ท่าน (ดิฉันไม่ทราบตัวเลขที่แน่ชัด)...มีพี่ใหญ่ศิริราช สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน โรงพยาบาลยโสธร โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักงานศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ตามรายชื่อก็ทั้งหมด 38 ท่าน...ที่เป็นนักปฏิบัติ R2R ในองค์กรของตนเอง...

       ช่วงแรกท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฏร์อาวุโส ท่านได้กล่าวต้อนรับ และเล่าถึงแนวคิดของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพ โดยเน้นการมีบริการสุขภาพที่ดีราคาถูก และที่มาของการมารวมกันของนักปฏิบัติ R2R อยากให้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยที่ไม่มีถูก-ผิด มาเล่าสู่กันฟังอย่างมีความสุข ไม่ต้องมีการเรียบเรียงใดใด ด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ ภายใต้ความเชื่อที่ว่าทุกคนมีเกียรติเท่าเทียมกัน เชื่อในความรู้ และที่สำคัญท่านเน้นว่าต้องอยู่ภายใต้ความมีศีลธรรมร่วมด้วย

       ท่านราษฎร์อาวุโส ยังให้แนวคิดอีกว่า ความงามของการทำงานนั้นให้ทำเพื่อมนุษย์ และให้ทำอย่างมีความสุข ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาในการทำงานก็ขอให้มีความสุขภายใต้ทุกข์ในการทำงานนั้น (หาสุขให้เจอจากทุกข์) ที่สำคัญท่านเน้นย้ำมากว่า "ให้เห็นแก่ตัวน้อยลง และรักคนอื่นมากขึ้น"

       จากนั้นท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้พูดถึงวัตถุประสงค์การประชุมและกระบวนการในการประชุมครั้งนี้ ท่านเน้นย้ำมากของการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ ที่สำคัญท่านบอกว่าไม่ต้องเน้นการนิยามตายตัวเกี่ยวกับคำว่า R2R หรือ Routine to Research ไม่มีกติการตายตัว ขอเพียงเน้นว่า "หลักการต้องทำงานประจำให้ดีขึ้น" การที่จัดเวทีให้เกิดขึ้นในวันนี้ เพื่ออยากให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในนักปฏิบัติ R2R  เล่าถึงความสำเร็จให้กันฟัง ว่ามีความสำเร็จอย่างไร เน้นประสบการณ์มาเล่า ซึ่งท่านบอกว่าการเล่าเรื่องความสำเร็จทำให้จิตใจเราเปิดกว้างและที่สำคัญก่อให้เกิดความคุ้นเคยกัน เป็นการนำ Best Practice มาต่อยอดกัน

       โดยในการพูดคุยกันนั้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้จัดการโครงการ และกลุ่มนักปฏิบัติวิจัย ในการ ลปรร.นี้เน้น พยายามสร้างความเป็นอิสระในการพูด โดยมีคุณอำนวยและคุณลิขิตประจำกลุ่ม การเล่าเรื่องผ่านประสบการณ์ที่เป็นความสำเร็จไม่ว่าจะเพียงเล็กน้อยก็สามารถเล่าได้ คนที่ฟังก็จะได้ความรู้จากเรื่องที่เล่า การเล่าเรื่องแบบนี้ยิ่งกลุ่มเล็กได้ยิ่งดี (ประมาณ 8-15 คน) ซึ่งในกลุ่มต้องมีคุณอำนวยคอยตั้งคำถามเชิงบวกกระตุ้นให้เกิดการเล่าเรื่องอย่างอิสระ ผลที่ตามมาจะทำให้เกิดบรรยากาศที่มีอิสระยิ่งขึ้น

       จากนั้นท่านได้เล่าถึงเป้าหมายของการจัดประชุมครั้งนี้ว่า จุดเริ่มต้นอยากให้มีเครือข่าย R2R เกิดการติดต่อกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมี มสช. หรือ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติเป็นผู้ขับเคลื่อน และต้องการให้เกิด CoP เกิดขึ้น

ในตอนท้าย..ท่านยังเน้นย้ำอีกว่า
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้เน้นการใช้เทคนิคการเล่าเรื่องความสำเร็จ (Story telling) การฟังแบบ Deep listening การคิดเชิงบวก (Positive Thinking) การถามเพื่อค้นหาข้อมูล

หมายเลขบันทึก: 47690เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
     รออ่านตอนต่อไปอยู่นะครับ

คุณชายขอบ...

ตอนต่อไป..กำลังจะคลอดคะ...อย่าเพิ่งนอนก่อนนะคะ..มีเรื่องเล่ามากมายเลยคะ...

....

เสียดายที่ทางทีมพัทลุง...ไม่ได้มาร่วมด้วย...

พี่ๆจาก รพ.ยโสธรก็ถามถึงท่านอยู่นะคะ....ว่า"เสียดายไม่ได้เจออาจารย์ชายขอบ"

และที่สำคัญแว่วๆ ...มาว่า ท่าน อ.หมอ ปารมี จะส่งเทียบเชิญท่านไปร่วม ลปรร.ที่พยาธิ มอ. นะคะ...

  • เห็นแล้วอยากเข้าไปร่วมกิจกรรมบ้างจังเลยครับ
  • กะปุ๋มโชคดีมากนะครับที่ได้สัมผัสและทำงานร่วมกับท่านทั้งสองครับ
  • ถ้ามีอะไรดี ๆ ก็อย่าลืมมาเล่ากันอีกนะครับ ตอนนี้ต้องขอตัวกลับหอก่อนนะครับ

ท่าน Panda

บันทึกกะปุ๋มอ่านอะไรตอนไหน..ก็สามารถต่อติดได้คะ (555...)ปกติกะปุ๋มก็ชอบอ่านถอยหลังเช่นกัน...บางทีในหนังสือก็ชอบไปอ่านหน้าท้ายๆ ก่อนคะ...อิสระคะ...ยิ้มๆๆ

...

ขอบคุณนะคะ

กะปุ๋ม

คุณปภังกรคะ

คือโอกาสที่ได้ไปร่วมรับฟังข้อคิดดีดีจากกูรูหลายท่านคะ...กะปุ๋มเชื่อในสิ่งที่เราศรัทธา...ซึ่งศรัทธานั้นไม่ได้เพื่อตัวเราเป็นตัวตั้ง หากแต่ตัวเราเพียงได้รับผลแห่งศรัทธานั้นโดยทางอ้อม...เท่านั้น

....

การที่เรายึดมั่นและทำตามศรัทธาเท่าที่มีโอกาสทุกครั้ง...สิ่งสุดท้ายที่ตามมาสำหรับเรา คือ ความปิติที่เกิดขึ้นในใจ

...

คุณปภังกรเองก็เคยเกิดความรู้สึกนี้ด้วยเช่นกันไม่ไช่เหรอคะ...

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท