Gotoknow กับ “การรักษาดุลยภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง”


แนวโน้มการปลี่ยนแปลงจะเร็วขึ้นเรื่อยๆการเรียนรู้ของปัจเจกหรือองค์กรควรที่จะเท่าทันความเปลี่ยนแปลง นำไปสู่ดุลยภาพของตนเองท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง หนทางไปสู่ “ความยั่งยืน”

สิ่งต่างๆล้วนเปลี่ยน นาทีนี้ กับอีกนาทีข้างหน้าก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มการปลี่ยนแปลงจะเร็วขึ้นเรื่อยๆการเรียนรู้ของปัจเจกหรือองค์กรควรที่จะเท่าทันความเปลี่ยนแปลง นำไปสู่ดุลยภาพของตนเองท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง หนทางไปสู่ ความยั่งยืน

การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง(Continuous Learning) เป็นวิธีที่เป็นหนทางสู่การ "พัฒนาแบบบูรณาการและยั่งยืน" 

Gotoknow มีองค์ประกอบ ประการ ที่ครบถ้วนสำหรับการเรียนรู้ กล่าวคือ

๑.           ความรู้(Knowledge)  และ ข้อมูลข่าวสาร (Information)

๒.           การสื่อสาร (Communication)

๓.           การเรียนรู้ที่ดี

ที่ Gotoknow มีความรู้ และ ข้อมูลที่หลากหลาย จากผู้ปฏิบัติการโดยตรง ที่นำ tacit knowledge เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ต่อยอดในบริบทที่ต่างกัน และบางส่วนนำ Explicit Knowledge มาเขียนบันทึก เผยแพร่ก็นับว่าได้ประโยชน์ต่อการนำไปใช้ต่อมากขึ้น การสื่อสารที่เข้าถึงง่าย และไม่มีเงื่อนไข  อยู่ที่ไหนก็เข้าถึงข่าวสารได้ ในโลกของการสื่อสารไร้พรมแดน วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใน Gotoknow ถือว่าเป็น การเรียนรู้ที่ดี มีการให้กำลังใจกัน ให้ความเห็นเพื่อต่อยอดความรู้จากบันทึก ทัศนคติเชิงบวกต่อกัน ตลอดจนการสร้างชุมชนย่อยๆลักษณะเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ กระบวนการ B2B จนถึง F2F ในที่สุด     

สิ่งดีที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ผ่าน Gotoknow เหล่านี้นับว่าเป็นคุณูปการในการขับเคลื่อนสังคม ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ พัฒนาแบบบูรณาการและยั่งยืน สอดคล้องกับกระแสฟ้ามิอาจกั้นในปัจจุบัน 

ที่เขียนเพราะผมเองได้ประโยชน์อย่างมากจากการเข้ามาเขียนบันทึกเป็นประจำ และมีเพื่อนๆมาต่อยอดองค์ความรู้ของผม และผมไปต่อยอดคนอื่นบ้างที่สำคัญที่สุดคือผมมีพันธมิตร กัลยาณมิตรทางปัญญาใหม่ เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในทุกวัน

 

โดยปกติผมเองอยู่ที่แม่ฮ่องสอน อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ค่อนข้างห่างไกลจากสื่อต่างๆ และโอกาสน้อยนักที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนข้างนอก   หากไม่มี Gotoknow ผมคงต้องเดินทางไกลแสนไกลสำหรับ การจัดการความรู้ เพื่อ สังคม และ ตนเอง

 

ขอบคุณ Gotoknow ครับ


 

เสียงขอบคุณจากชุมชนรากหญ้า(Grass root Communities) แม่ฮ่องสอ

หมายเลขบันทึก: 40189เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 02:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
     GotoKnow.Org ทำให้การเดินทางของความรู้สั้นลง สดและเร็วมาก ทั้ง ๆ ที่แหล่งความรู้นั้นกว้างขวางเหลือคณานับ

เช่นเดียวกันผมครับ

ผมก็ได้ความรู้จากการเข้ามาอ่าน Gotoknow เป็นประจำครับ แต่ตอนนี้ยังไม่ค่อยได้รับความเห็นชอบจากหลักสูตรเท่าไหร่ครับ

ทางหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน อยากจะให้เข้าไปอ่านหนังสือที่เขียนไว้ตามห้องสมุดมากกว่า

แต่อย่างไรผมก็จะให้เวลาทั้งสองอย่างเท่า ๆ กันครับ

พี่ชายขอบ และ อาจารย์ปภังกร ทั้งสองท่านเป็นปิยะมิตรที่ผมพบเจอในGotoknow.org เป็นสิ่งที่วิเศษสุดสำหรับผมครับ

"วิสสาสา ปรมาญาติ ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างหนึ่ง"

คำคมของ ท่านวิษณุ เครืองาม เก็บมาจาก  หนุ่มเมืองจันทร์ ฉะ แฉ ฉาว มติชนสุดสัปดาห์
ดุลยภาพ ทางความคิดคือ มิติอีกหนึ่งช่องทางของการสอดแทรกเกร็ดความรู้ เพื่อเป้าหมายที่เท่าเทียมแห่งการเรียนรู้..............

ท่าน น.เมืองสรวง

ผมเห็นว่าอยู่กาฬสินธิ์ไม่แน่ใจว่าท่านได้มากับกลุ่ม sanuk  ที่แม่ฮ่องสอนหรือไม่?

ในวันนั้นผมคุยและแนะนำเรื่อง Gotoknow ในระหว่างที่ผมเป็นวิทยากร เรื่อง การท่องเที่ยวด้วย 

เพราะเห็นว่า Sanuk ได้พาประช่าสัมพันธ์ จว. ๔ จว. มาด้วยครับ 

ก็ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ ทางอีสานมีของดี พื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่า หลากหลายมาก

ผมได้ติดตามบันทึกท่าน มาโดยตลอด

ได้ประโยชน์จากgotoknow เช่นกันค่ะ ตั้งแต่เจอที่นี่ รู้สึกว่าตัวเองคิดอะไรทางบวกขึ้นมาก และเริ่มหัดคิดรอบด้าน ให้รอบคอบขึ้น เข้ามาอ่านบันทึกของคุณจตุพรเรื่อยๆ ก็ได้ความรู้ที่ไม่เคยรู้ ขอบคุณนะคะ

 

ท่านอาจารย์จันทรัตน์

ผมยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ...ในโลกของGotoknow เรามีเพื่อนมากมาย

และเพื่อนๆที่นี่น่ารักทุกคนครับ

ขอบคุณครับ

เรียนคุณจตุพร ...ที่เคารพ ขอบคุณสำหรับน้ำใจนะครับ ผมไม่ได้ไปประชุมกับกลุ่ม sanukครับ ตอนนี้ผมทำงานอยู่ที่ชลบุรี มีอะไรก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ครับ ผมเดินทางอยู่บ่อย ๆ กลับบ้านทุก ๆ เดือนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท