เทคโนโลยีกับจริยธรรม


ใครมีอะไรจะแลกเปลี่ยนก็เชิญเลยนะครับ

ผมหายไปนานด้วนสาเหตนานัปการ ตอนนี้เพิ่งกลับมาจากไปประชุมคณะกรรมการที่เรียกว่า world commision on Ethics in Sciences and Technology มีชื่อเรียกย่อๆว่า COMEST ตั้งโดย ผู้อำนวยการใหญ๋ UNESCO ซึ่งตอนนี้เป็นคนญี่ปุ่น ชื่อ Dr. Matsuda เพื่อให้มาช่วยกันดูว่าควรจะมีการกำหนดการดำเนินงานทางด้านจริยธรรมเกี่ยวกับวิทยาการสมัยใหม่ยังไง

จะว่าคณะกรรมการชุดนี้มุ่งพูดเรื่องจริยธรรมของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก็อาจจะไม่ค่อยถูกต้อง เพราะเทคโนโลยีบางอย่างไม่ใหม่ แต่พอมนุษย์เอาไปใช้แบบใหม่ๆก็ทำให้เห็นแง่มุมทางจริยธรรมได้เหมือนกัน และบางทีมันก็เป็นการพูดถึงจริยธรรม โดยไม่ได้เอาเทคโนโลยีเป็นตัวตั้ง แต่เอาปัญหา หรือเป้าหมายการพัฒนาเป็นตัวตั้ง อย่างที่ผมเพิ่งไปประชุมมาเขาก็พูดถึงจริยธรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม Environmental ethics ซึ่งพอดูเข้าไปจริงๆมันไม่ได้เกี่ยวเฉพาะกับ เรื่องความรู้ และเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เกี่ยวกับการเอาความรู้ไปใช้มากกว่า

มองในมุมของ UNESCO ก็คือว่า ถ้าจะพูดถงึเรื่องจริยธรรม ก็ต้องพูดถึงจริยธรรมของคนหลายกลุ่ม ไม่ใช่แค่จริยธรรมของนักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการเท่านั้น แต่รวมไปถึงจริยธรรมของภาคธุรกิจ และนักการเมือง รวมทั้งของชุมชนที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้วย

ผมเองก็เพิ่งเคนได้ยินคำว่า environmental ethics เป็นครั้งแรกเลยได้รู้ว่ามันครอบคลุม หรือหมายถึงอะไรบ้าง

ปัญหาใหญ่ที่มีการพูดกันมากคือ UNESCO พูดเรืองจริยธรรมทีไรก็พูดแต่มาตรฐานจริยธรรมที่ควรเป็น ซึ่งพูดทีไรก็ไม่ค่อยมีใครเถียงเพราะไม่รู้จะเถียงยังไง ด้วยมันมักจะพูดถึงมาตรฐานที่พึงประสงค์ แต่คนส่วนใหญ่ก็ทำไม่ได้ตามมาตรฐานที่ควรเป็นสักที คราวนี้ UNESCO เลยไม่เสนอแค่มาตรฐานจริยธรรมที่ควรเป็น แต่เสนอด้วยว่าประเทศต่างๆควรทำอะไรบ้าง เป็นตัวอย่างเกี่ยวเนื่องกับมาตรฐานจริยธรรมต่างๆ

ตอนท้ายการประชุม ทางคณะกรรมการช่วยกันเสนอว่ามีเรื่องอะไรที่น่าจะมีการวิเคราะห์ และทำข้อเสนอทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่บ้าง

ปรากฏว่ามีการเสนอเรื่องราวหลายเรื่องที่น่าสนใจ อย่างเช่นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเรื่องของสมอง  เทคโนโลยีการสื่อสาร และโทรคมนาคม ซึ่งนับวันจะเข้าไปรุกลำ้ความเป็นส่วนตัวของผู้คนมากขึ้น แต่ก็เข้าไปช่วยเพิ่มความสะดวกสบายพร้อมๆกันไปด้วย แล้วยังมีการพูดถึงเทคโนโลยีการตรวจส่วนต่างๆของร่างกาย (ที่มีเป้าหมายสำคัญในการรักษาความปลอดภัย) เช่นการตรวจม่านตา หรือ body scan

ที่ญี่ปุ่นเขากำลังฮือฮากับเทคโนโลยสารพัดอย่างที่จะเอามาใช้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน โดยเฉพาะคือการป้องกันการก่อการร้าย แต่ภาคประชาชนก็ไม่แน่ใจว่าบรรดาเทคโนโลยีที่เอามาใช้ักันนั้นมันควรจะมีข้อจำกัดในกาีรใช้ หรือมาตรฐานในการเอามาใช้ยังไง

ไม่รู้ว่าพวกเราที่อ่านเรื่องนี้แล้วหันมามองเมืองไทย เห็นเทคโนโลยีอะไรที่น่าเป็นห่วง และควรต้องมาช่วยกันกระตุ้นให้มีการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมในการใช้ หรือแม้กระทั่งมาตรฐานจริยธรรมของการลงไปวิจัย หรือพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านั้น บ้างไหม

บางทีเราๆท่านๆที่สนใจ หรือมีความเป็นห่วง หรือไม่แน่ใจว่าจะดีหรือเปล่าถ้าเกิดมีการวิจัย หรือพัฒนาเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งเอาเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้ ก็๕วรจะได้แสดงความเห็น ความเป็นห่วงกันบ้าง คนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะได้ไม่คิดจะทำก็มองจากมุมตนเองแต่ฝ่ายเดียว

ใครมีความคิด ความเห็นยังไง จะแลกเปลี่ยนจะเขียนใน post นี้ก็เชิญเลยนะครับ 

หมายเลขบันทึก: 36625เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2006 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (52)
น่าสนใจค่ะ ถ้ารวบรวมคนทำงานด้านเทคโนโลยีเพื่อสังคมมาคุยกันได้ ก็คงจะดีค่ะ

มีใครสนใจไหมครับ อย่างที่ อจ แหววแนะนำ

ในฐานะ กก COMEST คนเดียว (สงสัยจะเป็นคนแรกด้วย) จากเมืองไทย ผมคิดว่าเรื่องแบบนี้น่าจะมีกลุ่มคนในเมืองไทยที่สนใจ และมาช่วยกันดูว่ามีเรื่องอะไรทีน่าจะมาช่วยกันวิเคราะห์ หรืออย่างน้อยก็แลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้เกี่ยวข้อง

ผมเสนอให้ทางกระทรวงวิทย์ เป็นเจ้าภาพ ประสานกับทาง UNESCO เมืองไทยด้วย เผื่ิสิ่งที่คุยกันจะได้มีช่องทางส่งต่อไปยังผู้เกี่ยวข้องได้ด้วย

ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่าครับ หรือว่าน่าจะชวนมาคุยกันอย่างไม่เป็นทางการก่อน แล้วค่อยเชื่อมเข้าไปในระบบ 

ตาม อ.อิทธิพล มาอ่านบันทึกของคุณหมอแล้วค่ะ

งานของอ.โก๋ (อิทธิพล) ที่เรียกว่า Quality Rating Sysytem ก็เป็นการสร้างกลไกทางจริยธรรมสำหรับสังคมมนุษย์บนเทคโนโลยีสื่อสาร

เขากำลังอ่านบันทึกคุณหมอค่ะ

นัดเลยค่ะ ตามคุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ คุณสมา โกมลสิงห์ คุณปรเมศวร มินศิริ  คุณจอห์น นูโว คิดเรื่องประมาณนี้อยู่แน่นอน

อีกท่าน คุณอนุสิษฐ์ คุณากร แห่ง สมช.

ลืมไม่ได้ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผศ.สุรวุธ กิจกุศล

ใช่ค่ะ คนกลุ่มนี้คิดถึงเรื่องนี้มาหลายปี

น่าจะจัดเวทีพูดคุยและแลกเปลี่ยนถึงการสร้างงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมเทคโนโลยีให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้

รวมไปถึงการตรวจอุณหภูมิที่เป็นปัญหาอันเกิดจากเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันและมาร่มกันแสวงหาแนวทางในการแก้ไขอย่างเป็นระบบ

ตอนนี้ประเด็นวัฒนธรรมของการใช้เทคโนโลยีผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่นำพาเอาเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกำลังคืบคลานมาใกล้ตัว และมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้น

เป็นเวลาที่เหมาะที่จะสร้างความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในเชิงสร้างสรรค์

แต่ปัญหาก็คือ จุดเร่มต้นของการทำงาน เราเร่มกันเลยดีมั้ยครับ

 

เสนอให้ อ.โก๋เอา Quality Rating Criteria ไปทดลองกับคุณหมอวิจารณ์ และคุณหมอสมศักดิ์

 

นักวิจัยรุ่นใหม่ ก็จะมีหลายคนนะครับ เช่น

สุดารัตน์ แก้วงาม ที่ศึกษา เรื่องของความมั่นคงของมนุษย์บนโลกอินเทอร์เน็ต

มณฑณา สีตสุวรรณ ศึกษาเรื่อง การกระทำของมนุษย์บนอินเทอร์เน็ต

ปุณสิรีย์ ฉัตรจินดา ศึกษาประเด็น การจัดการเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ

ขวัญใจ ธนพงศ์สุชาติ ศึกษาประเด็น การจัดการปัญหาเกมคอมพิวเตอร์

รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา ศึกษาประเด็น E Learning

ยังมีอีก ๔-๕ คน เดี๋ยวขอค้นก่อนนะครับ

น่าจะร่วมก๊วนคุยกันนะครับ

  • ตื่นเต้นที่เจอบันทึกของคุณหมอ
  • ครั้งก่อนคุยกับคุณหมอประเวศ
  • ทางจดหมายครับ เจ้าหน้าที่คิดว่าผมจะคุยกับอาจารย์หมอสมศักดิ์

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

งานที่ต้องเร่มต้นก็คือ เราจะต้องรู้ให้ได้ว่า เนื้อหาอย่างใดเป็นเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์ หรือ ไม่สร้างสรรค์

หลังจากนั้น กระบวนการในการจัดการเพื่อส่งเสริม ปราบปราม หรือ ควบคุม ก็จะตามมา

หากคุณหมอ คิดว่าน่าจะเร่มต้นจากจุดนี้ ผมจะประสานกับคุณหมอเพื่อสร้างห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเรตติ้ง ได้เลยครับ

อยากรู้เรื่อง quality rating ว่าแปลว่าอะไรเหมือนกันครับ อจ อธิบายคร่าวๆหน่อยสิครับ

เรื่องจับกลุ่มคุยกัน  ดูท่าจะมีแววนะครับ ผมจะลองวางแผนดูนะครับ อาจจะชวนมาเจอกันหน่อยที่ มสช เพื่อดูว่าใครทำอะไรหรือคิดอะไรอย และจะมาทำประสานกันมากขึ้นได้ยังไง

 

ดูท่าเรื่องเทคโนโลยีสื่อสารจะมาแรง  จุดสำคัญคงต้องระวังไม่ให้กลายเป็นการสร้างค่านิยมกลุ่มเฉพาะที่จะกลายเป็นคุณพ่อ(คุณแม่) รู้ดี แบบที่คุณแม่บางคนชอบแสดงออกตอนนีู้่

ถ้าจะรบกวนขอที่อยู่ ที่ติดต่อท่านที่กล่าวนามมาจะได้ลองเชิญมาคุยกันดูดีไหมครับ

เกี่ยวกับ Quality Rating ที่คิดกันนะคะ

http://gotoknow.org/blog/archangoh

ตอนแรก คิดสำหรับอินเทอร์เน็ต ต่อมา เอาไปทำในเรื่องทีวี แล้วก็เกมคอมพิวเตอร์ค่ะ ......

บางจุดก็ยังคิดกันค่ะ ยังไม่ทะลุในหลายจุด เรื่องของจริยธรรม มันเป็นปัญหาคุณภาพ เรทติ้งในเชิงปริมาณ ง่ายกว่า

ต้องทดลองวัดด้วยจริยธรรมของกลุ่มที่มีสัดส่วนที่เหมาะสม ถ้ากลุ่มคุณแม่วัยดึกมาเอง ก็จะไม่ได้ Rating Criteria ที่ยอมรับได้โดยกลุ่มคุณแม่วัยซนค่ะ

อ.โก๋ยังไม่ได้เขียนถึงประสบการณ์ของเราที่มีในการสร้าง Rating Criteria ในแต่ละสังคมย่อยๆ เขียนยาก เพราะตีความยาก

อจ แหวว ผมรบกวนให้ชื่อ และที่ติดต่อขอคนที่น่าเชิญมาคุยกันให้หน่อยสิครับ ผมจะให้เลขาผมลองโทรติดต่อ ถ้าเขาสนใจจะได้มาคุยกันดูสักที ผมก็ไม่แน่ใจว่า quality rating ที่ใช้กับเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำให้มีการใช้เทคโนโลยอย่างเหมาะสม กับหลักการทางจริยธรรมหรือไม่  แต่เป้าหมายใหญ่อาจอยู่ที่การทำให้เกิดการใช้เทคโนโลยอย่างเหมาะสมกับการพัฒนาสังคม ซึ่งอาจมองจากหลายมุมมากว่าแค่ จริยธรรมในความหมายแคบๆ

ได้ค่ะ คุณรุ่งรัตน์ เลขา ของ อ.แหววจะส่งรายชื่อไปให้ในอีเมลล์ของคุณหมอค่ะ

เรียน คุณหมอสมศักดิ์

ดิฉันยินดีที่จะรวบรวมรายชื่อที่อ.แหวว ได้เกรินเอาไว้ และยินดีที่จะเป็นคนช่วยประสานงานให้คะ

 

ขอบคุณครับ ผมได้รับข้อมูลที่ส่งมาแล้ว เราจะจัดกันยังไงดีครับ

ดูท่าเป็นทีมใหญ่ทำงานกันมานาน มีความรูจากงานวิจัย้แยะ

มีใครศึกษามาตรฐานหรือกติกา ต่างประเทศไหมครับ หรือมีใคร review มาตรฐานสากลว่าด้วยเรื่องนี้ (การใช้และการกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีIT หรือแคบลงก็แค่ internet)

ทางทีมทำอะไรไปแล้วบ้างครับ เราจะได้กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์การคุยกันให้ชัด

ผมเองเดิมเข้าใจว่ามีแค่คนสนใจจะคิดและเสนอเรื่องนี้ แต่ถ้าถึงขั้นมีผลการวิจัย และถ้าเรามีตัวอย่างของต่างประเทศ (จะได้ไม่หาว่ากลุ่มที่ทำกันอยู่เป็นพวกก้าวไม่ทันเทคโนยี) เราอาจจะถึงขั้นนำเสนอนโยบายสาธารณะในรูปแบบต่างๆ (ซึ่งผมไม่รู้ว่าคนที่ทำวิจัยไปแล้วเขาไปเคลื่อนไหวในแง่นี้ไปถึงไหนแล้ว

ตอนนี้ คิดอะไรไม่ออกเลยค่ะ

ต้องเอาสมองมาคิดทำให้กรมการปกครองและรัฐบาลเข้าใจปัญหาของอาจารย์อายุ

คุณหมอทราบไหมคะว่า ยังมีนักวิชาการไร้รัฐในประเทศไทย

จะออกนอกเรื่องไหมคะเนี่ยที่จะขอตัวไปคืดเรื่องเทคโนโลยีเพื่อการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

แทนที่จะมาทำงานเรื่องจริยธรรมในเทคโนโลยี ซึ่งดิฉันเดาว่า คุณหมออยากทำเรื่องการสร้างเกณฑ์จริยธรรมในสังคมมนุษย์ที่เกิดบนเทคโนโลยีต่างๆ เดาผิดไหมคะ

ในส่วนที่ทำไปแล้ว ที่น่าจะนำมาตั้งวงคุยกันก็คือเรื่องของเรตติ้งสื่อ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต เพราะว่า เรื่องนี้จะเป็นจุดตั้งต้นถึงการคุยกันถึงเรื่องจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีในสังคมไทยครับ

อาจารย์โก๋

อจ แหวว คงเดาไม่ผิดเท่าไรหรอกครับ สิ่งที่ควรทำคือเกณฑ์บางอย่างที่มองจากมุมทางจริยธรรม ที่จะทำให้สังคมไทย (คนทั่วไป และผู้มีอำนาจ)มาร่วมกันทำให้สังคมได้ประโยชน์ และหลีกเลี่ยงโทษจากเทคโนโลยีใหม่ๆ

เห็นด้วยกับ อจ โก๋ว่าเราเริ่มี่เรื่องใดเรื่องหนึ่งก่อน แต่ที่กำลังสงสัยคือจะมีคนอยากมองมันจากมุมจริยธรรม แค่ไหน หรืออยากมองแค่ มาตรการที่พึงมี หรือไม่ก็แค่นโยบายที่พึงมี ซึ่งเป็นการมองในอีกสองระดับที่แตกต่างจากการมองจากมุม จริยธรรม 

ในวงที่นั่งคุยกันมาหลายๆ ปี มีวันที่เราคุยกันถึง "มาตรฐานของจริยธรรม" ที่เป็นๆ กันในอินเทอร์เน็ตเหมือนกันนะคะ ซึ่งสำหรับใน e-society นั้น สภาวะการณ์มัน "ดิบ" มาก

เคยคุยกันว่า ถ้าไม่ทำอะไรเลย ? ก็อันตรายสำหรับมนุษย์อยู่มาก ในมุมที่คุณหมอไปประชุมก็น่าจะกังวลกันในเรื่องนี้อยู่นะคะ (เดา)

เทคโนโลยีตัวอื่นๆ นั้น อาจ "ป่วน" มาตรฐานทางจริยธรรมได้บ้าง แต่การใช้ social control นั้น ยังพอเอากันอยู่

แต่เรื่องของอินเทอร์เน็ตนะคะ ยากอยู่ ยิ่งอินเทอร์เน็ตไปผสมกับมือถือแล้ว ก็อย่างที่เราเห็นวันนี้ในประเทศไทย

ในส่วนเกี่ยวกับจริยธรรม วงคุยกันนั้น จะว่ากันระดับไหน ก็คงพอไหวนะคะ แต่วงที่จะ "ทำ" นั้น ไม่กล้ารับปากค่ะ

คุณหมอว่า มาแล้วกันค่ะ หรือให้เลขาคุณหมอคุยกับเลขาของดิฉันก็ได้ค่ะ

ปัญหาของเรา คงอยู่ที่แสวงหาเวลาที่ตรงกัน มังคะ

แวะมาคุยเล่น ถือเป็นการรายงานตัวก่อนนะครับ

 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายดีครับ ผมว่าคล้ายๆกับ ไอแซค อาซิมอฟ เขียนกฏ 3 ข้อของหุ่นยนต์เลยครับ

 ซึ่งในกรณีนั้น จริยธรรมที่กำหนดขึ้นไม่ได้ กำหนดสำหรับมนุษย์ แต่กำหนดสำหรับหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ล้ำสมัยมากเลย

 มันก็เลยกลายเป็นเรื่องท้าทายสองชั้น ชั้นแรกคือเราจะทำนายเทคโนโลยีอนาคตได้ไกล้เคียงแค่ไหน และจะทำนายสภาพสังคมและผลกระทบต่อเทคโนโลยีนั้นๆได้ถูกต้องหรือไม่

 และยิ่งเจอตัวอย่างของ กฏ 3 ข้อของหุ่นยนต์เข้าไป จะยิ่งทำให้โจทย์ถูกขยายกว้างออกไปอีก คือจริยธรรม ไม่ได้ถูกกำหนดให้มนุษย์ด้วยกันเองอย่างเดียวอีกแล้ว มันอาจถูกกำหนดเป็นโค๊ดอยู่ในคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ ถูกกำหนดอยู่ในยีนของสัตว์ GMO ที่เราจะสร้างขึ้น อยู่ในสมองโพสิตรอนของหุ่นยนต์อย่างที่อาซิมอฟทำนายไว้ ฯลฯ

แค่คุยเล่นเพลินๆครับ ยังไม่เพี้ยน

 

ดป็นตัวอย่าที่ดีมากเลยครับ ไม่ได้เพี้ยนเลยครับ ที่ผมไปประชุม กก COMEST มาเขาก็พยายามจะให้ได้ข้อสรุปทำนองนี้แหละครับ

กรณีนี้ (เกี่ยวกับ interent IT) ที่พวกเราจะทำ ถ้าได้เป็นแบบกฏ 3 ข้อของหุ่นยนต์ แต่เป็นกฏสำหรับกลุ่มต่างๆ อาจมีกฏ 3 ข้อสำหรับรัฐ  กฏ 2 ข้อสำหรับภาคธุรกิจ ฯลฯ ก็อาจจจะเป็นตัวอย่าง output ที่ดีนะครับ  ไม่รู้คนอื่นคิดไง 

อ.โก๋ มาช่วยให้จัดคุยเรื่อง "จัดการใคร ? จัดการอย่างไร ? เลย

ตัวเองคิดว่า เราน่าจะมีสัก ๒ หรือ ๓ นัด

นัดแรก เป็นการคุยกันแบบ Metaphysical ก่อน ดูว่า "เกณฑ์จริยธรรมนั้น สำหรับแต่ละคน มันประมาณไหนอย่างไร ? ตรรกวิทยาในการคิดญานวิยาและจริยวิทยา เป็นอย่างไร ?"

แล้วก็มอบการบ้านกัน แล้วมาเจอกันในนัดสอง นัดสาม ซึ่ง อ.โก๋ เขายืนคอยแบบกระวนกระวาย เพื่อเสนอให้จัดการใคร ? จัดการอย่างไร ? (หมอพรรณพิมลน่าจะยืนใกล้ๆ โก๋ ส่วน อ.แหวว มัวไปช่วยคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ งานศึกษาจริยธรรมบนเทคโนโลยีเลยสอบตก)

วันฉัตรมาล่ะ แล้วเด็กชายปรเมศวร์ ทำไมไม่รายงานตัว เด็กชายจอน ก็น่าจะยืนใกล้ๆ โก๋กะหมอพรรณสุดสวย

อ.แหวววิ่งตามมาแล้วค่ะ ขออภัยที่วิ่งช้า พรรคพวก รอก่อน.....

อจ โก๋ ส่งชื่อมาอีกรอบก็ได้นะครับ  ลองเอาประเด็นแบบ อจ แหวว ว่าก็ได้นะ ใช้สถานที่ มสช แล้วผมเลี้ยงกาแฟเอง  อจโก๋หาใครมา take note จะได้คุยต่อเนื่องได้ ดีไหมครับ

ถ้า OK ส่งชื่อ และเบอร์ติดต่อมาที่เลขาผม หรือไม่ก็ผมให้เลขาผมโทรไปบอกวันว่างของผม (ซึ่งหายากอยู่แต่จะแคะมาให้) แล้วทีม อจ เป็นคนโทรนัดท่นอื่น แล้วแจ้งวันเวลามาที่เลขาผมเพื่อจัดเตรียมสถานที่ และนำชา กาแฟ 

เรียน คุณหมอสมศักดิ์

     ขอโทษด้วยนะครับ ที่หายตัวไปก่า ๒๔ ชั่วโมง เพราะว่า กำลังยกร่างข้อเสนอเพื่อจัดทำมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับระบบการประเมินคุณภาพเนือ้หารายการโทรทัศน์ที่กระทรวงวัฒนธรรม

      ในส่วนของผู้ร่วมตั้งก๊วนคุยกันนัดแรก ก็น่าจะมี

      หมอพรรณพิมล  อาจารย์แหวว พี่วันฉัตร พี่ปรเมศร์ พี่หนูหริ่ง คุณจอห์น ครูหยุย อ.สมพงษ์ คุณสมา คิดว่า คุณลัดดา (จากกระทรวงวัฒนธรรม) เองก็น่าจะสนใจ

      คุณรุ่งรัตน์ คุณสุดารัตน์ คุณปุณสิรีย์ และน้องๆทีมนักวิจัยด้านกฎหมายเทคโนโลยีกัยสังคมอีกสองสามท่าน

      ผมจะประสานกับทางเลขาคุณหมอ และ ผู้ตั้งก๊วนให้ครับ

     อยากให้ถึงวันนั้นเร็วๆนะครับ

      อ.โก๋

ลืม อาจารย์สุรวุธ อาจารย์อรรยา (ม.กรุงเทพ)คุณอนุสิษฐ (จาก สมช)

แต่ผมมีปัญหาเล็กน้อยก็คือ ผมรบกวนของเบอร์โทรศัพท์ในการติดต่อประสานกับเลขาของคุณหมอครับ

อ.โก๋

เสนอ อ.คัมภีร์ แก้วเจริญด้วย

และครอบครัววายุภาพทั้งสอง กล่าวคือ ท่านไพโรจน์ และคุณสุรางคณา

ผมหายไปนานกว่า ต้องขออภัย  โทรเลขาผมที่ มสช อ้อย (025115855 ต่อ 105)หรือคุณดารัตน์ ที่ พรมอนามัย เบอร์ 025904145 ครับ

ได้ครับ ตกลงตามนี้ ผมจะเร่งประสานและดำเนินการครับ

อ.โก๋

ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ญอง

สวัสดีค่ะ

เพิ่งอ่านเมลค่ะ เลยขอมารายงานตัวก่อน โทรศัพท์ที่ติดต่อได้นะคะ 0-6564-1774 ค่ะ

หมวย (สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย)

ลืมบอกว่า อ.แหววว่างค่ะ

ไม่รู้ว่าคนอื่นที่ตามอ่าน mail นี้อยและเคยเข้ามา comment ู่ได้รับmail แจ้งทุกครั้งที่มีใครมา post เพิ่มหรือเปล่า

เข้าใจว่ายังไม่ได้ ถ้าได้รับ mail แจ้งทุกครั้งก็จะดีเพราัจะได้รู้ความคืบหน้าที่ อจ โก๋ ได้ประวานมา เผื่อจะมาให้ความเห็นเพิ่มเติมได้

ฝาก อจ จันทรวรรณ ผู้ดูแล gotoknow ทำ feature ใหม่ด้วยก็จะขอบประคุัณมากครับ 

ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าดีใจมากที่พี่แอน และพี่อู๊ด เข้ามาร่วมก๊วนวงเสวนา

มีหลายเรื่องที่ผมยังตั้งข้อสงสัยกับตัวเองอยู่ โดยเฉพาะอย่างย่งเรื่องของจริยธรรม ผมค้นข้อมูลจะเจอคำอยู่สองคำ ก็คือ Code of Ethic และ Code of Conduct เร่มสับสนเหมือนกัน

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ วิธีการมองให้ถึงแก่นของคำว่า จริยธรรม จะมีกรอบในการมองอย่างไรบ้างครับ เข้าใจว่า กรอบในการคืดค้นจริยธรรมในต่างประเทศและประเทศไทยน่าจะมีมีวิธีคิดแบบเดียวกัน แต่อาจจะมีรายละเอียดต่างกัน

มองถึง เกณฑ์ด้านความมั่นคงของมนุษย์ เป็นจุดเริ่มต้นดีมั้ยครับ

 

พี่อู๊ดครับ ในอังกฤษมีการพูดถึงเรื่องจริยธรรมกับเทคโนโลยีบ้างรึเปล่าครับ

เรียน ทุกท่าน

รัตน์ขอเสนอความเห็นว่า ในเรื่องจริยธรรมถ้ามองภาพจากตัวบุคคลน่าจะเห็นได้ชัดเจนกว่า

ลองคิดเล่น ๆ ว่าควรจะมี

๑.จริยธรรมสำหรับภาครัฐ

๒.จริยธรรมในการประกอบการของเอกชน และ

๓.จริยธรรมของผู้บริโภค

และประเด็นต่อมาคือกฎหมายและนโยบายจะสามารถเข้ามากำหนดจริยธรรมได้หรือไม่

หรืออย่างกรณีที่อ.แหววเคยเสนอสมาคมผู้ดูแลเว็บไทยว่าให้ทางสมาคมจัดทำ Code of Conduct ดู รัตน์ไม่แน่ใจว่าทางสมาคมฯคิดเรื่องนี้ไปถึงไหนแล้วคะ

ในประเทศอังกฤษและสก๊อตแลนด์ จะมีกฎหมายแยกไป เช่น Privacy Law ฯลฯ ส่วนจริยธรรมนั้นไม่มีการกล่าวถึงอาจเป็นเพราะว่าคนที่นี่จะให้ความสำคัญกับเรื่องจริยธรรมตั้งแต่แรกเริ่มและการให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิเป็นสำคัญ
ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

สวัสดีครับ

ผมได้รับ email  เรื่องนี้ และยินดีเข้ามาแวะร่วมสนทนาด้วยครับ แต่สิ่งแระที่ต้องการขอให้ท่านผู้ดูแล blog ช่่วยทำ ก็คือ กรุณาลบ email address ของทุกๆคนที่ปรากฏอยู่ใน email ฉบับที่มีการคัดลอกลงใน blog ออกไปโดยเร็วครับ เพราะว่า โลกของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน มีมิจฉาชัีพ เขียนโปรแกรมสกัด email address จาก web ต่างๆ (รวมทั้ง gotoknow) แล้วนำไปขายให้พวกขายของส่ง spam ออกมากวนพวกเรา  ในแต่ละวัน ผมโดน spam ลง mailbox วันละสองสามร้อยฉบับ เพราะเคยมี email address ปรากฏอยู่ใน website และ usenet newsgroup มาเป็นเวลาเกือบสิบห้าปี  หาก blog ต่างๆ ลง email ไป เราทุกคน ก็จะได้ spam mail เพิ่มขึ้นทุกวัน จึงขอความกรุณาให้ลบ email address ออกไปครับ

 

ที่พูดมายืดยาว ก็เพียงเพื่อเข้าสู่หัวข้อสนทนาว่าบางครั้ง เทคโนโลยีำไม่ได้เปลี่ยนเลย  แต่คนที่ใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนไปมาก  ในอินเทอร์เน็ตสมัยแรกๆ ต้องรับว่าประกอบด้วยคนที่ตั้งใจทำงาน เป็นพวกแก่เรียน และไม่ได้ "เล่น" หรือหาทางนำไปใช้ทำมาหากิน  แต่ต่อมา เครื่องมือชนิดเดิม ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง  คนทั่วไป ตามความชั่ว ความโลภไม่ทัน จึงมีผู้ฉวยโอกาส สร้างรายรับให้กับตนเองหรือแธุรกิจตนเอง โดยไม่แคร์กับความเดือดร้อนของผู้อื่น  ใช้อำนาจที่เราได้มาจากอินเทอร์เน็ต ส่ง email ขายภาพโป้ ขายยา ขายซอฟต์แวร์เถือ่น ขายปริญญา ไปทั่ว  

 

ผมเองก็ได้เข้าไปร่วมงาน COMEST ที่ประเทศไทย (โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ) เป็นเจ้าภาพเมื่อปีก่อน ก็ได้รับความรู้ถึงมิติต่างๆของเรื่องจริยธรรม ซึ่งถึงเวลาแล้ว ที่นักกฎหมาย นักสังคมฯ และนีักวิทยาศาสตร์ ต้องมาคิดสร้างขึ้นมา  แต่มองดูแล้ว เห็นว่าคงยังไม่พอครับ หาก public at large ไม่สามารถเอาผิดคนที่โลภ เห็นแก่ตัว ทำร้ายสังคม ได้  จึงเชื่อว่าเราควรทำสามแนวไปพร้อมกัน คือ

1. การกำหนดสิ่งที่ผิด ให้เป็นฐานความผิดในกฎหมายเอาไว้เลย

2. การให้ความรู้เป็นภูมิคุ้มกัน เช่น เว็บไซต์ เว็บบอร์ดทั้งหลาย ห้ามแสดง email address หรือหากต้องแสดง ต้องเขียนแบบบรรยาย เช่้น ติดต่อผมได้ที่ htk999 (at) gmail.com หรือแสดง email address เป็น ภาพของตัวอักษร คล้ายๆกับที่เราต้องอ่านตัวหนังสือกราฟิกแล้วคีย์เข้าไปตอนที่เขียนลงใน blog นี้ 

3. การสอนธรรมะ ว่าด้วย การไม่โลภ ไม่ลักขโมย  ไม่โกง และไม่เบียดเบียน/ทำร้ายผู้อื่น แค่นี้ สังคมก็น่าอยู่กว่าเดิมมากแล้วครับ  ส่วนท่านผู้ใด จะลงรายละเอีย บอกชือธรรมะที่เหมาะสมมาใช้เป็นหลัก ก็จะดีครับ เราจะได้แบ่งปันกันต่อไป

 

สำหรับเรื่องจริยธรรมของเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือบางอย่างอาจไม่สิ่งใหม่แต่มนุษย์เรากลับนำไปใช้และก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น มันไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศในกลุ่มของอียู เช่น ในประเทศอังกฤษ ซึ่งกลุ่มประเทศของอียูก็จะออกกฎหมายตามEU Directive ฉบับต่างๆๆ ที่ออกมา ซึ่งในกฎหมายแต่ละฉบับแล้วจะไม่อ้างถึงคำว่า ethics ออกมาโดยตรง แต่จะไปใช้ในอ้างในคำพิพากษาของศาลมากกว่า นอกจากนั้นแล้วการกระทำต่างๆที่เป็นการละเมิดต่อethics โดยกระทำผ่านทางเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้น อาจดูสิ่งที่กฎหมายกำหนดที่เป็นเหตุผลเบื้องหลังของมาตราต่างๆมากกว่าว่า การกระทำเหล่านั้นเป็นการละเมิดethics ของมนุษย์หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น

Directive 2002/58/EC on Processing of Personal Data and the Protection of Privacy in the Electronic Communications Sector จะพูดถึงการส่งสแปมเมล์ใน Article 13 is to protect infringement on the privacy rights. ดังนั้น ประเทศไทยควรจะศึกษากฎหมายฉบับต่างๆเหล่านี้ เพื่อนำไปเป็นแนวทางพื้นฐานในการสร้างจริยธรรมบนเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วย 

เรียน อ.ทวีศักดิ์ และ อ.จันทรวรรณ

คนที่เอาที่อยู่อีเมลล์ลงก็คือ อ.แหววเจ้าเก่าล่ะค่ะ อ.ทวีศักดิ์ที่รัก พออ่านข้อติของ อ.ทวีศักดิ์ แล้วรู้สึกว่า ตนเองเป็นพวกสอนไม่จำ รับว่า จริงค่ะ ตอนนี้ ในเว็บก็เจอขยะ จนปวดหัว ริจะให้กระบวนการตำรวจมาช่วยจัดการ แต่ก็ดูว่า มันปลายเหตุและกระทบคนจน (ทั้งเงินและปัญญา) ตอนที่เอาอีเมลล์ทั้งฉบับลงประกาศ ก็แค่อยากให้คนที่สนใจเรื่องนี้ เห็นช่องทางที่จะติดต่อกัน

ขอแรงคุณหมอสมศักดิ์เจ้าของบล็อกจัดการดังที่ อ.ทวีศักดิ์ร้องขอ หรือ อ.จันทรวรรณจะช่วยจัดการ

วันที่ ๒๘ อยากให้ อ.จันทรวรรณมาด้วย ไม่ทราบคุณหมอสมศักดิ์จะเอื้อเฟื้อตั๋วเครื่องบินได้ไหมคะ

ขอโทษ อ.ทวีศักดิ์ และขอบคุณทุกท่านที่ร่วมสร้างสรรค์วงการวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อสังคม

เรียน archanwell

ดิฉันขออนุญาตลบ email addresses ในข้อคิดเห็นที่อยู่ในบันทึกนี้แทนเจ้าของบล็อกนะค่ะ เพื่อป้องกัน spam crawler เข้ามาดึงข้อมูลไปค่ะ โดยข้อความเดิมอยู่ด้านล่างนี้ค่ะ

-----------------------

archanwell เมื่อ ศ. 04 ส.ค. 2549 @ 00:25

เรียน อาจารย์ทุกท่าน (ขออนุญาตเรียกว่า ปะชาคมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนา หรือ ICT4D นะครับ)
 
           หลังจากที่ได้หารือกับคุณหมอสมศักดิ์ผ่านทางเว็บไซต์  http://gotoknow.org/blog/learningsociety/36625 เพื่อจัดวงคุยกันเกี่ยวกับจริยธรรมกับเทคโนโลยี ผมจึงได้ประสานงานกับคุณอ้อย (เลขาของคุณหมอสมศักดิ์) ในที่สุดจึงได้วันนัดที่จะคุยกันก็คือ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙ เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ครับ ห้องประชุม ๑ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
 
          ตอนนี้ผมกำลังยกร่างโครงการสำหรับการตั้งวงคุยกันอยู่ครับ ในระหว่างที่ยกร่างโครงการก็นึกถึงประเด็นของการคุยกันในวง (เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่พอสมควร ยังไม่ค่อยมีการนึกถึงกันมากนักในประเทศไทย ก็เลยขอหารือมายังประชาคมดีกว่า)
       
          ผมจึงมีเรื่องหารือและชวนคุยเล็กๆอยู่เรื่องหนึ่งก็คือ ตอนนี้ผมคิดว่าประเด็นที่น่าจะตั้งวงคุยกันรอบแรกก่อนก็คือ จริยธรรมบนเทคโนโลยีสารสนเทศ ว่าควรมีหรือไม่ มีอย่างไร มีเพียงใด ที่อยากหารือกับทุกท่านก็คือ ใครมีประเด็นอะไรที่อยากเพิ่มเติมในการหารือหรือไม่ครับ
 
        ทางประชาคมเรามีอะไรแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยครับ
 
        อ.โก๋

archanwell เมื่อ พ. 09 ส.ค. 2549 @ 23:08
 
 
> เรียน อาจารย์โก๋ และทุกท่าน

ประเด็นที่อยากเสนอเพิ่มเติม คือ ความหมายของคำว่า จริยธรรมและการทำความเข้าใจในเชิงรูปธรรมแบบง่ายๆ ของคนรุ่นใหม่ ค่อนข้างน่าห่วง
เพราะเท่าที่สัมผัส คนรุ่นใหม่ เริ่มห่างจากความเข้าใจคำนี้มากขึ้นและอาจมองเป็นเรื่องเชยๆ ใกล้เคียงกับศาสนา น่าตกใจ


น่าจะคุยเพิ่มในประเด็นนี้นะคะ
กับทำอย่างไรจะทำให้ความเข้าใจในเรื่องนี้ถึงเขาโดยแท้จริง

  เสนอเท่านี้ก่อนนะคะ

   สุรางคณา วายุภาพ

 

archanwell เมื่อ พ. 09 ส.ค. 2549 @ 23:18

เรียน ทุกท่าน

ผมใคร่ขอเสนอความเห็น (ที่อาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด) ว่า เราควรที่จะยกร่างการเสวนาว่า "จริยธรรมบนเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรกำหนดไปในทิศทางใด" เพราะเห็นว่าทุกท่านในที่นี้ ต่างเห็นตรงกันว่าจริยธรรมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพราะสังคมเราถูกละเลยเรื่องเหล่านี้มานาน และอย่างที่พี่แอน (อ.สุรางคณา) เรียนไว้ข้างต้น ควรต้องหามาตรการ หรืออาจต้องเปลี่ยนคำเรียกเฉพาะหรือไม่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ของสังคมและการยอมรับของคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนั้นๆ ต่อไป คงต้องเรียนเชิญนักหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่มีเว็ปไซต์ของตนด้วย นอกเหนือจาก Web Master ต่างๆ รวมทั้งคนรุ่นใหม่ที่อาจถือได้ว่าเป็นตัวแทนของสมาชิกบนอินเตอร์เน็ต เช่น นักเรียน นักศึกษา แต่หากต้องการได้ในสิ่งที่ประสงค์จริงๆ คงต้องเป็นนักเรียนนักศึกษาที่อาจไม่ใช่กลุ่มที่เคร่งครัด หรือสนใจเรียนสักเท่าไหร่ เพราะมิฉะนั้นผลคงไม่ต่างจากนักวิชาการทั้งหลายที่คิดกันและก็จะทำให้มาตรการต่างๆ เข้าไม่ถึงกลุ่มที่เรามุ่งประสงค์อย่างแท้จรอง

ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ล่วงหน้า หากข้อความเห็นบางประการอาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดต่อการจัดเสวนาในครั้งนี้

ขอบคุณครับ
Asst.Prof.Sirichai Mongkolkiatsri
School of Law
Bangkok University

 

http://portal.unesco.org/shs/en/ev.php-URL_ID=1373&URL_DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201.html

เว็บของ UNESCO เกี่ยวกับเรื่องนี้

มาอ่านกันก่อนที่จะมาตั้งวงคุยกันนะคะ

คุณรุ่งรัตน์ และ อ.อิทธิพล

ในการประชุมในวันที่ ๒๘ นะคะ เราน่าจะเอา "เกณฑ์จริยธรรม" ที่มีการคิดมาใช้แล้วมาแจกเพื่อพิจารณากันนะคะ

อ.แหววกลับไปดูในเอกสารแนบท้ายวิทยานิพนธ์ของคุณสุนทราพร มีที่น่าเอามาแจกกันดู ก็อ (๑) จริยธรรมแห่งวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทย (๒) มาตรฐานการดูแลกระดานข่าวของผู้ดูแลเว็บไซค์ของสภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทย

อาจยังมีอื่นๆ ลองหารือกันดูนะคะ

        เพื่อสำรวจสถานการณ์และแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผม รุ่งรัตน์ สุดารัตน์ (หน่อย) ปุณย์สิรีย์ (จ๋า) ปุ้ม และ  อาจารย์แหวว หารือกันว่าน่าจะทำบบสอบถามเพื่อเห็บข้อมูลเบื้องต้น จึงได้ยกร่างแบบสอบถามนี้ขึ้นมา จึงขออนุญาตส่งให้ทุกท่านได้ลองนึกกันเล่นๆก่อนครับ ใครมีประเด็นอะไรอยากเติม แนะนำได้เลยครับ แล้ว วันที่ ๒๘ สิงหาคมนี้ ผมจะนำแบบสอบถามมาให้ทุกคนได้เติมกันแบบครบถ้วยสมบูรณ์นะครับ
             อ.โก๋

พี่ปรเมศร์ส่งข่าวมาบอกว่า

เรียน อ.โก๋

     สภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทย ซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งของงานด้าน ICT ได้มีการจัดทำจริยธรรมวิชาชีพเว็บมาสเตอร์ไว้ด้วยครับ

http://www.webmaster.or.th/council/index.php?option=content&task=view&id=3&Itemid=

เผื่อจะใช้เป็นแนวทางในการเดินงานในภาพใหญ่ได้ครับ

ขอแสดงความนับถือ ปรเมศวร์

หลังจากเวทีเสวนา เริ่มเห็นภาพของวิธีการมองเรื่องของจริยธรรมชัดเจนมากขึ้น

จริยธรรมอาจมีกรอบของวิธีการคิดได้ ๒ แบบ คือ คิดจากการกระทำของมนุษย์ที่เป็นปัญหา เช่น จริยธรรมสำหรับกระดานข่าว จริยธรรมสำหรับแช็ต หรือ คิดจาก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น จริยธรรมของไอเอสพี จริยธรรมของอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ จริยธรรมของผู้บังคับใช้กฎหมาย รวมทั้ง จริยธรรมของสื่อมวลชน เป็นต้น

นอกจากนั้นแล้ว ประเด็นเรื่องของ การก่อตัวของจริยธรรม ก็น่าสนใจ ว่าเกิดจากใคร และจะแปรรูปเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรได้อย่างไร

ปัญหาที่สำคัญก็คือ การบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพ ตรงนี้เองที่ทำให้ต้องขบคิดอย่างหนักว่า ใครจะเข้ามาเป็นเจ้าภาพ หรือจะมีเจ้าภาพในแต่ละจริยธรรมดี อีกทั้ง ค่าบังคับของจริยธรรมควรเป็นอย่างไร มีบทลงโทษดีหรือไม่

ถ้าลองตั้งต้น ว่าจริยธรรมคิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละกลุ่ม ก็จะทำให้จริยธรรมในกลุ่มต่างๆมีความชัดเจนมากขึ้น

เข้าใจว่าตอนนี้พี่วันฉัตร(ผู้ประกอบการเว็บไซต์ประเภทเว็บบอร์ด )มีจริยธรรมในการใช้กระดานข่าวแล้ว

ในส่วนของโทรศัพท์มือถือ รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร วานคุณจอห์นมาช่วยคิด

ส่วนผมก็เสนอตัวลองยกร่างข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การจัดทำจริยธรรมที่ชัดเจน

คิดะไรออกเพ่มเติมจะมาส่งข่าวอีกครับ

ลืมพูดไปประเด็นหนึ่ง คือ สิ่งที่เรียกว่า จริยธรรมมันเป็นยังไง โดยเฉพาะเมื่อมาประยุกต์กับเรื่องหนึ่งๆ (อย่างกรณ๊นี้คือเรื่อง IT หรือเรื่อง internet หรือเรื่องการสื่อสาธารณะโดยใช้ platform ต่างๆ) บางทีมาบอกกันแต่แรกมันไม่ง่าย  แต่มักจะเริ่มอย่างที่พวกเราเห็น คือมีคนมากำหนดกติกา หรือแนวปฏิบัติ ที่ควรเป็น แล้วค่อยๆกลั่นมาเป็นหลักการ หรือแนวทางด้านจริยธรรมอีกทีครับ

 

เรื่องยากๆจะให้บอกคำจำกัดความแต่แรกมันไม่ได้ ต้องทำๆไปเดี๋ยวก็ให้คำจำกัดความได้เอง 

ตั้งต้นอย่างนี้ดีมั้ยครับ

1.เริ่มจากการทำรายงานเพื่อสำรวจสถานการณ์ปัญหา (ผลจากเวทีครั้งที่ ๑ ดำเนินการยกร่างได้เลย)

2. ทำข้อเสนอแนะเชิงเนื้อหาและเชิงวิธีการเพื่อสร้างกรอบของการจัดการปัญหา (เริ่มมีเค้าลางจากเวทีครั้งที่ ๑ เร่มต้นยกร่างไว้ก่อน)

3. ระดมแนวคิดในกลุ่มประชาคมเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความเห็นและความเป็นไปได้เกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานของจริยธรรมและแนวทางในการจัดการ (เวทีครั้งที่ ๒)

4. ลองยกร่างประมวลจริยธรรม ??? และผลักดันข้อเสนอแนะไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง (เวที่ครั้งที่ ๓)

น่าจะทำให้เราได้อะไรพอสมควร แต่ไม่รู้ว่าจะใจร้อนเกินไปหรือเปล่า ถ้าเราจะกระโดดมาที่การจัดการ

อ.โก๋จะเป็นคนยกร่าง "กำหนดการเสวนาครั้งที่ ๒" ได้ไหมคะ ? ว่าตามที่ตกลงกันในวงเสวนาครั้งที่ ๑

แล้วการถอดเทปเสวนาครั้งที่ ๑ นั้น เริ่มต้นทำเร็วๆ นะคะ อยากอ่านอีกครั้งหนึ่ง

ผมส่งโครงการเสวนาครั้งที่ ๒ มาให้ดูครับ 

โครงการเสวนาวิชาการครั้งที่ ๒ เรื่อง แนวคิดในการสร้างจริยธรรมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร๑.      ชื่อโครงการโครงการเสวนาวิชาการเรื่อง การจัดการปัญหาจริยธรรมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร๒.     ผู้รับผิดชอบโครงการ        ๒.๑     อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบคัรว ม.มหิดล          ๒.๒     นางสาวรุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา กองทุน ศ.คนึง ฦๅไชย คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์๓.      ที่ปรึกษาโครงการ        รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร๔.      หน่วยงานสนับสนุนงบประมาณ        มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท