การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในแผนล่าสุดนี้ เสมือนสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ที่นับวันจะเจริญเพียงด้านวัตถุอย่างเดียว หากแต่ด้านจิตใจนั้นขาดการขัดเกลาจนกลายเป็นปัญหาสังคมหากยิ่งสั่งสมมากขึ้นก็ยิ่งกลายเป็นปัญหาเรื้อรังและยากต่อการรักษา
วันนี้นั่งฟังนายอำเภอเกริ่นๆถึงเรื่อง “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐” ว่าเน้นในเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ประเทศไทยต้อง เติบโตอย่างยั่งยืน ...เลยสนใจอยากหารายละเอียดเพิ่มเติม ว่าเนื้อหา แผนฯ ๑๐ มีรายละเอียดที่ว่า...อย่างไรบ้าง???
มีหลายส่วนที่น่าสนใจ ตั้งแต่
- การพัฒนาคน
- คนคุณภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจโต
- จัดสมดุลสามทุนหนุนเศรษฐกิจโตแบบคุณภาพ หลายคนอาจสงสัยว่าสามทุน คือ ทุนอะไรบ้าง
ทุนแรกคือทุนทางเศรษฐกิจ
ทุนตัวที่สองได้แก่ทุนทางสังคม
ทุนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- รัฐเอกชนต้องมีธรรมภิบาล
- รัฐไม่ใช่แกนนำ ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วม
- ความสุขวัดได้
ส่วนเรื่องของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่ผ่านมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะเน้นความสำคัญที่ทุนเศรษฐกิจ ดังนั้นเงินงบประมาณส่วนใหญ่จึงกระจายไปสู่กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่นกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เป็นต้น แต่ในแผน ๑๐ ที่จะเกิดขึ้นและเริ่มใช้ในวันที่ ๑ ต.ค. ๔๙ นี้ ถูกปรับเปลี่ยนให้เน้นความสำคัญทางด้านสังคม รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบแนวคิดในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในแผนล่าสุดนี้ เสมือนสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ที่นับวันจะเจริญเพียงด้านวัตถุอย่างเดียว หากแต่ด้านจิตใจนั้นขาดการขัดเกลาจนกลายเป็นปัญหาสังคมหากยิ่งสั่งสมมากขึ้นก็ยิ่งกลายเป็นปัญหาเรื้อรังและยากต่อการรักษา
ดังนั้น ปรัชญาแห่งแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นแผนการพัฒนาชาติที่นำไปสู่ความยั่งยืน และเข้มแข็งทางสังคมด้วยปัจจัยหลักที่เกิดจาก การมีแต่พอประมาณ มีเหตุผล ภายใต้การสร้างความรู้ คู่คุณธรรม รวมถึงความเพียรพยายาม ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนในวิถีการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงการเมือง ในที่สุดอย่างมีความ สมดุล มั่นคง และ ยั่งยืน...
...มีหลายท่านสนใจกันมาก เกี่ยวกับ...
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-10
สามารถ download จากตรงนี้ครับ
ในมุมมองของผมแล้ว แผนพัฒนาฯ ต้องเป็นกรอบให้กับนโยบายของรัฐบาลในแต่ละยุคสมัย แต่ที่ผ่านมาระดับนโยบายไม่เอาตามแผนพัฒนาฯ แต่ก็มองกลับไปอีกเช่นกันว่า การมีส่วนร่วมมากพอแล้วหรือยังในการยกร่างแผนพัฒนาฯในแต่ละฉบับ มากไปกว่านั้น ให้เขา(ทุกภาคส่วน)มีส่วนร่วมอย่างจริงใจ คือ แผนได้ตกผลึกจากกระบวนการมีส่วนร่วมนั้นจริง ๆ ไหม หรือเพียงเอา "กรอบมาบอกว่านี้นะคุณว่ากันอย่างไร" จากนั้นเมื่อว่ากันเสร็จแล้วก็ไม่ได้เอาจากที่ตกผลึกได้ไปปรับจากร่างฯอะไรเลย
ผมพยายามจะนำเสนอว่า กระบวนการยกร่างแผนพัฒนาฯ กับ กระบวนการมีส่วนร่วม ภาพสวยแต่แยกส่วนกัน ใช่ไหม (เป็นข้อสังเกตแบบไม่ค่อยมีกึ่นของผม)
ผมเชื่อว่าหากทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการยกร่างจริง ๆ เขาจะนำไปใช้มากกว่าที่ผ่านมา อันนี้(ร่าง)แผนฯ 10 ผมเห็นกระบวนการมีส่วนร่วมมาก และผลลัพธ์ยังไม่แน่ใจ
เชื่อมั่นว่าเราจะเอาจริงเอาจังกับแนวคิด "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" มากขึ้นในแผนฯ 10 นี้ และอยากเห็นแผนฯ 10 ชี้ชัดเลยว่าจะวัดการพัฒนาประเทศกันด้วยความสุข ไม่ใช่ เศรษฐกิจอย่างเดียว