ทำไงดี !!! เมื่อต้องไปบรรยาย KM ให้นักศึกษาปริญญาเอก ตอนที่ 3


ตอนที่  1  ตอนที่  2

            และแล้ววันที่รอคอยอย่างตั้งใจและใจจดจ่อก็มาถึง  ผู้เขียนเตรียมตัวพร้อมอย่างเต็มที่  มีการตรวจสอบ  VCD  แต่ละแผ่นว่าใช้งานได้ดีหรือไม่  PowerPoint  ใช้งานได้ดี  ไม่มีข้อผิดพลาดแต่อย่างใด  เอกสาร ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลบ้านตาก  และโครงการ  Patho  OTOP  ของ  มอ. สงขลา   รวมไปถึงการสืบค้นข้อมูลของมหาวิทยาลัยคริสเตียน  ไม่ว่าจะเป็นประวัติการก่อตั้ง  สัญลักษณ์   วิสัยทัศน์  ปรัชญา วัตถุประสงค์  หลักสูตรการเรียนการสอน  และอื่นๆ   เรียกได้ว่า  เป็นการทำความเข้าใจมหาวิทยาลัยคริสเตียนและกลุ่มเป้าหมายในระดับหนึ่ง           

          ก่อนจะออกเดินทางจาก  สคส.  เพื่อนๆ  พี่ๆ  น้องๆ  ที่  สคส.  ต่างส่งเสียงให้กำลังใจกันอย่างเต็มที่  เสมือนว่าผู้เขียนกำลังไปออกสมรภูมิรบอย่างไรอย่างนั้น  แต่ถึงอย่างไรก็ซึ้งในน้ำใจของทุกคนคะ            

         ผู้เขียนเดินทางไปถึงสถานที่นัดหมายก่อนเวลา  30  นาที  เมื่อไปถึงห้องเรียน ผู้เขียนได้พบกับนักศึกษาปริญญาเอก  4-5  คน  กำลังสาละวนกับการทำรายงานกันอยู่  และเงยหน้ามาดูผู้มาใหม่    ซึ่งเป็นคนแปลกหน้าอยู่ชั่วแว้บเดียว  ก็ก้มหน้าก้มตาทำรายงานกันต่อไป  ผู้เขียนไม่พูดพล่ามทำเพลงรีบดำเนินการทดสอบแผ่น  VCD  ทั้ง  2  แผ่น  ว่าใช้งานกับเครื่องที่ติดตั้งอยู่ในห้องเรียนได้หรือไม่  รวมทั้งนำ File  ที่ต้องใช้ลงเครื่องอย่างเรียบร้อย              

           ไม่นานนัก  นักศึกษาคนหนึ่งก็บอกว่า  อาจารย์เริ่มได้เลยครับ  ไม่ต้องรอคนอื่นๆ  เพราะคงจะทยอยกันมาเรื่อยๆและมีนักศึกษาอีกคนหนึ่งก็บอกว่าเริ่มเร็วก็ดีคะ  จะได้เลิกเร็ว
          
!!!

            ผู้เขียนจึงเริ่มด้วยการแนะนำตนเอง  (เฉพาะชื่อ นามสกุล  และตำแหน่งงานที่  สคส.)  และแนะนำ สคส.  ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาพอสมควร   มีการสอบถามพูดคุยถึงการทำงานและรูปแบบการดำเนินงานขับเคลื่อนเครือข่ายการจัดการความรู้ของ  สคส. 

           หลังจากนั้น  ผู้เขียนถามว่า  ไม่ทราบว่า  มีใครได้ทำการบ้าน  (การดู  VCD  2  เรื่อง)  มาก่อนหรือไม่

           นักศึกษาตอบเป็นเสียงเดียวกันว่ายังไม่ได้ดู  เพิ่งได้รับ  VCD  เมื่อสักครู่นี่เอง
          
!!!

           ผู้เขียนตอบกลับไปว่า  งั้น  เราคงต้องใช้เวลากับการเปิด  VCD  ให้ชมก่อนที่จะอภิปรายก็แล้วกันนะค่ะ

           ผู้เขียนจึงเปิด  VCD  ทีละเรื่องให้ดู  เริ่มแรกเปิด  VCD  โรงพยาบาลบ้านตากก่อน  เมื่อดูจบก็ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายว่า  กรณีศึกษาที่นำมาให้ดูนี่  ประสบผลสำเร็จได้อย่างไร   ได้เรียนรู้อะไร  และเห็นภาวะผู้นำในการจัดการความรู้  จาก  VCD  โรงพยาบาลบ้านตากอย่างไรบ้าง
        
ได้ผลคะ  มีนักศึกษา  3-4  คน  ยกมือร่วมอภิปรายด้วย  อาทิ
         
- เห็นความพร้อมเพรียงของบุคลากรโรงพยาบาลบ้านตาก
         
- การเห็นประโยชน์ร่วมกันของบุคลากรและผู้รับบริการ
         
- องค์กรต้องมาพิจารณาว่า  ทำอย่างไร  จึงจะทำให้บุคลากรในองค์กรมีคนเก่งมากกว่า  1  คน
         
- ทุกคนต้องช่วยเหลือและทำหน้าที่แทนกันได้
         
- การจะทำ  KM  ให้ได้ผล  งบประมาณสำคัญมาก  โดยเฉพาะอุปกรณ์สารสนเทศ
        
- ฯลฯ

         ต่อมาผู้เขียน  จึงเปิด  VCD  Patho  OTOP  ของภาควิชาพยา-ธิ  มอ. สงขลา  ให้ดูเป็นอันดับต่อไป  และคำถามเดิมที่ผู้เขียนต้องการให้นักศึกษาร่วมอภิปราย  และมีการอภิปราย ดังนี้
       
- Patho  OTOP  ประสบความสำเร็จที่การให้รางวัลเป็นสิ่งจูงใจ
       
- สิ่งที่แต่ละทีมคิดขึ้นมา  คือ  นวัตกรรมของภาควิชา- การทำงานร่วมกันเป็นทีม
       
- การยอมรับในความสามารถของคนแต่ละคน
       
- ฯลฯ

          เป็นอันว่า  ช่วงแรกของการเรียนรู้จากกรณีศึกษาและการอภิปรายผ่านพ้นไป  แม้ว่าประเด็นหลัก  คือ  ภาวะผู้นำหรือบทบาทของผู้นำในการจัดการความรู้  จะถ่ายทอดหรือสื่อสารออกมาได้ค่อนข้างน้อยมาก 

........................................................

(ติดตามตอนต่อไป)

หมายเลขบันทึก: 69661เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ตามมาแอบอ่านค่ะ
  • ติดตามอ่านตอนต่อมา
  • เล่าเรื่องได้ละเอียดและสนุกครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท