ไม่ลองไม่รู้ ปลาบู่จะกู้วิกฤตได้จริงอ๊ะเปล่า? (2)


หลังจากที่พี่น้องชาวตำบลโคกเพชร 

ผู้มีความสนใจที่จะแก้วิกฤตทางเศรษฐกิจของครอบครัว  จำนวนกว่า 20 คน

ได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนเลี้ยงปลา

และเกษตรผสมผสานตำบลโคกเพชร

ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการทางด้านเอกสาร

เพื่อประกอบการขอจดทะเทียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

พร้อมๆกับการตระเตรียมบ่อเลี้ยงปลาบู่ไปด้วย

และในขณะที่เรายังเป็นแค่เด็กกำลังจะหัดเดินแค่นี้

.....ก็ปรากฏว่า...........

ได้มีคณะพี่น้องผู้นำชุมชนชาวตำบลหัวเสือ  ซึ่งเป็นตำบลใกล้เคียง 

มาขอทราบข้อมูลและคำปรึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาบู่

เนื่องจากได้ยินได้ฟังคำบอกเล่าจากคุณครูท่านหนึ่งของโรงเรียน

ซึ่งในการนี้  โรงเรียนบ้านโคกเพชร  ก็ได้ให้การอนุเคราะห์องค์ความรู้และข้อมูลดังกล่าวอย่างเต็มที่ตามปณิธานของโรงเรียน

และในจังหวะเดียวกันนี้  ก็ได้ถือโอกาสเสริมองค์ความรู้อื่นๆที่เห็นว่าเหมาะสมและเป็นประโยชน์ เป็นของแถมให้อีกมากมายหลายอย่าง 

อาทิเช่น

"การปลูกไผ่เสริมรายได้และประหยัดรายจ่ายในครัวเรือน"

"การปลูกไม้ใหญ่เป็นมรดกให้ลูกหลาน และบำนาญแก่ตนเอง"

เป็นต้น

ซึ่งข้อมูล ข่าวสาร องค์ความรู้ที่ให้บริการ  จะประกอบไปด้วยสื่อความรู้  ทั้งในส่วนที่เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์ตรง การดูรูปภาพ เอกสาร หนังสือ ทั้งผ่านคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ต

และจากการประเมินผลโดยการใช้โสตสัมผัสสามัญ

จับอาการและความรู้สึกของคณะที่มาทุกคนแล้ว 

พอจะสรุปและประเมินได้ว่า 

ทุกคนมีกำลังใจและความมุ่งมั่นในอันที่จะต้องลองลุยแบบเกิน 100

เช่นเดียวกับโคกเพชร

และต่อไปนี้....

ขอเชิญชมภาพบรรยากาศและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องครับ

Dsc01544 
Dsc01547 Dsc01533 Dsc01526

การดูภาพผ่านคอมพิวเตอร์และการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

Dsc01559 

การบริการเอกสาร หนังสือ ตำรา (ในภาพเป็นหนังสือเกี่ยวกับการปลูกไผ่)

Dsc01564 
Dsc01569 

การดูพื้นที่และชิ้นงานจริง
Dsc01577 
บ่อที่เตรียมการเลี้ยงปลาบู่ของกลุ่มฯโคกเพชร

Dsc01601 Dsc01608

การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสอบถามจากผู้มีประสบการณ์จริงในพื้นที่จริง

Dsc01614 
Dsc01612 

ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจในลักษณะของความพออยู่พอกินและพอเพียง

ที่มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ความอบอุ่นและเข้มแข็งสังคมในระดับครอบครัวและชุมชน

คือปณิธานเล็กๆในห้วงสำนึกของโคกเพชร 

ส่วนจะมีความเป็นไปได้แค่ไหนอย่างไร 

คำตอบสุดท้ายอยู่ที่ความมุ่งมั่นและสามัญสำนึกของผู้เกี่ยวข้องเองเป็นสำคัญ

สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 166635เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2008 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ผมมาตามเรื่องครับ เพราะสนใจ

ประเด็นของผมก็คือ

  • จุดอ่อนของการเลี้ยงปลาบู่คืออะไรบ้าง ผู้ส่งเสริมอาจจะบอกได้บ้าง แต่จะพูดในแง่ดีมากๆ ตามหลักการตลาด พยายามปิดจุดอ่อนว่ามีทางแก้มากมาย พร้อมยกตัวอย่าง
  • ทางหนึ่งคือ ใครที่เลี้ยงมาก่อนแล้วไปคุยกับเขา เพื่อเรียนรู้แบบต่อยอดจากการลองผิดลองถูกกับเขา ผมว่าน่าจะมีข้อพึงระมัดระวังอยู่บ้าง
  • เพื่อลดอัตราการเสี่ยง ต้องค้นหาจุดอ่อนให้ได้แล้วอุดจุดอ่อนให้ได้ ตามหลัก Risk Management หากเรารู้จัดอ่อน สิ่งแวดล้อมบ้านเราสามารถปิดจุดอ่อนนั้นได้ไหม ได้กี่เปอร์เซนต์ การลองผิดลองถูกนั้นทำได้ แต่หากเรียนลัดได้ ก็ลดความเสี่ยงครับ
  • ฯลฯ
  • ผมกราบขออภัยที่เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนครับอาจารย์ครับ  ผมก็สนใจมากอยู่  อยากเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์และในกลุ่มครับ

2. bangsai
เมื่อ ศ. 22 ก.พ. 2551 @ 00:38

  • สวัสดีครับท่านบางทราย
  • ขอบคุณที่ติดตาม  พร้อมความคิดเห็นและประเด็นคิดที่เป็นประโยชน์ครับ
  • จากการสนทนาพูดคุยกับท่านอาจารย์ปลาบู่แบบเจาะลึกแล้ว  ผมเข้าใจว่า จุดอ่อนของการเลี้ยงปลาบู่ที่สำคัญก็น่าจะอยู่ที่ "การไม่เข้าใจ เข้าถึงธรรมชาติของปลาบู่" ส่วนจุดแข็งที่สำคัญ  ก็คือสิ่งที่ตรงกันข้ามครับ
  • และจุดแข็งที่สำคัญที่สุดของกระบวนเลี้ยงที่นำเสนอโดย อ.ชิติพัฒนฉัตร  ก็คือ "อุดมการณ์นำวิชาชีพและการตลาด" ซึ่งในส่วนนี้กระผมสรุปเอง 
  • เพราะจากการพบปะพูดคุยในทุกประเด็นแบบคลุกคลีตีโมง และร่วมเดินทางศึกษาดูของจริงในหลายเครือข่ายปราชญ์ที่ร่วมโครงการแล้ว  เชื่อว่า "เป็นแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงและการตลาด มีประสบการณ์ที่เข้าถึงธรรมชาติของปลาบู่(คล้ายๆเคล็ดลับ) และมีอุดมการณ์เป็นตัวนำทาง" ส่วนเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ "การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบและด้อยโอกาส  ให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรมของหนี้สินและการล่มสลายของครอบครัว" โดยมีอุดมการณ์เป็นตัวกำกับให้ต้องทำอย่างนี้ ครับ
  • ยังไงๆ วิธีการเลี้ยงแบบนี้ก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีต้นทุนที่สูง  เพราะอิงธรรมชาติของปลาเกือบ 100 % หากแม้นไม่ประสบความสำเร็จ  ก็ไม่น่าจะเจ็บตัวกันมากนัก (ถือว่าซื้อประสบการณ์) แต่หากประสบความสำเร็จ (เลี้ยงรอดและโตได้ขนาด) เพียงแค่สัก 10-20% ของจำนวนที่ลงเลี้ยง  ก็ถือว่าสุดยอดแล้วครับ  เพราะราคาของปลาเกินกว่า 400 บาท / กก. จริง  และไม่น่าจะล้นตลาดในระยะ 4-5 ปีนี้ ครับ (เป็นความเชื่อส่วนตัว)
  • ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับคำแนะนำ รวมทั้งประเด็นคิดเพิ่มเติมครับ
  • สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะท่าน ผอ.

  • ครูอ้อย  มาอ่าน  มาขื่นชม
  • และชื่นชอบคำว่า...ไม่ลองไม่รู้
  • ต้องเลือกลองนะคะ ลองบางอย่าง...ฮึ่ม...มีเรื่องแน่  เอิ๊กเอิ๊ก

รักษาสุขภาพนะคะ

  • เห็นไหมพี่ทำดีใครๆๆก็สนใจ
  • แต่เราต้องมีความรู้ที่ชัดเจน
  • จะได้ถ่ายทอดและต่อยอดได้
  • ดีใจๆๆ
  • ดินที่ปลูกกล้วยและต้นไผ่
  • เอาหญ้าคลุมโคนต้นกล้วยเพิ่มอีกดีไหมครับ
  • ขอบคุณครับ
  • แวะมาให้กำลังใจครุวุฒิและทีมงานนะคะ
  • ช่วงนี้เดี้ยงค่ะ ป่วย
  • ฮือๆ ขอลาป่วยสักเดือนนะคะ
  • ปวดท้องค่ะ ปวดท้อง
  • หาหมอแล้วค่ะ ได้ของแถมเป็นซีส 3 เซนต์
  • ฮือๆ เจอค่าตรวจเข้าไปต้องรีบหายเลยค่ะ
  • หมอบอกรอดุสักเดือนว่าจะเก็บไว้ไหม
  • แต่หมอแนะนำให้มีแฟนค่ะ มันเกี่ยวกันตรงไหน่ะ
  •  ฮือๆ ท่าจะทำตามที่หมอบอกไม่ได้ค่ะ

สวัสดีครับคุณครูอ้อย

  • ขอบคุณคุณครูอ้อยมากครับที่ให้ความชื่นชม
  • ครูวุฒิก็เพียงตีความเข้าข้างตัวเองว่า ลักษณะของงานที่ทำอยู่ในขณะนี้  ก็น่าจะเป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญของโรงเรียน  โดยโรงเรียนทำหน้าที่เพียงเป็นผู้ประสานงาน  อำนวยความสะดวก แหล่งศึกษาและสืบค้นข้อมูล รวมทั้งเป็นที่ปรึกษา/ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ  อะไรๆประมาณนี้เท่านั้น  ส่วนการตัดสินใจ  ก็เป็นเรื่องของกลุ่มพี่น้องเองครับ
  • ปกตินิสัยของครูวุฒิเป็นคนชอบลอง(ลุย)สิ่งใหม่ๆ  แต่..... เรื่องบางเรื่อง....มิบังอาจบังหาญหรอกครับ...กลัวเป็ดน่ะ...แหะ..ๆ..ๆ..คนที่บ้านดุไม่แพ้คุณครูอ้อยครับ....เอิ๊กๆๆๆๆๆ...
  • สวัสดีครับ

สวัสดีครับน้อง อ.ขจิต

  • ครับ
  • แต่เรื่องนี้พี่ครูวุฒิก็มีความรู้และประสบการณ์พอๆกับพี่น้องนั้นแหละ  เพราะเราเพิ่งรับความรู้มาพร้อมๆกันเมื่อไม่นานมานี้เอง
  • ส่วนที่คิดว่ามันน่าลอง  เพราะเชื่อมั่นในองค์ความรู้แบบอิงธรรมชาติ  อุดมการณ์  รวมทั้งการอุทิศตนเป็นพี่เลี้ยงที่เปี่ยมพลังของท่านอาจารย์ปลาบู่ ครับ
  • ก็ได้แต่วาดหวังว่าประสบการณ์ในภายหน้านี้  จะเป็นประโยชน์กับพี่น้องชุมชนโดยตรง  และแพร่ขยายกระจายไปตามสมควร
  • ส่วนพี่ครูวุฒิ  ก็หวังว่าจะได้สอนเด็กที่มีพลังตามธรรมชาติปกติของเด็ก  อันเป็นผลมาจากการที่ครอบครัวอบอุ่นเพราะพ่อแม่ลูกอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาเท่านั้น  ไม่ใช่จำใจต้องสอน(แบบซ่อม)เด็ก(บางส่วน)ที่ขาดไปซะทุกเรื่อง(แม้แต่สารอาหารธรรมดาๆ) อันเกิดจากความไม่พร้อมในทุกด้านของพ่อแม่ อย่างทุกวันนี้และที่ผ่านๆมาน่ะครับ
  • ชอบคุณที่แนะนำในเรื่องไผ่และกล้วย  จะได้หาใส่เพิ่มเติมในจังหวะต่อไปครับ
  • สวัสดีครับ

สวัสดีครับน้องอ๊อต

  • ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจจากคนสวยห้าวเจ้าเดิม
  • ไหงเป็นงั้นหละ  เป็นห่วงและกังวลแล้วนะเนี่ย  พี่ครูวุฒิหวังว่าคงไม่ใช่ซีสต์ที่เป็นอันตรายนะครับ
  • ถ้าเจอแค่ค่าตรวจแล้วรีบหาย  พี่ก็ว่าน่าใช้บริการนะครับ  โรงบาลไหนล่ะ  ดีจัง (เออ..เน๊าะ...คนเขากะลังไม่สบาย ยังมีอารมณ์แซวอีก)
  • เรื่องที่หมอแนะนำ  พี่ก็ว่าเป็นสิ่งที่น่าทำตามนะ นอกจากจะเป็นผลดีต่อสุขภาพเราเองแล้ว (นั่นสิ...เกี่ยวกันไหมเนี่ย..)ท่านพ่อครูแม่ครูที่นครนายกท่านจะได้ปลื้มแบบคูณ 2 คูณ 3 ด้วยเลยไง...
  • อย่าลืมนะ ท่านผู้ ส.ว. ชอบเห่อตุ๊กตาตัวน้อยๆของลูกๆของท่านนะ  รีบๆหาให้ท่านกอดซะ เดี๋ยวในอีก 20 ปีข้างหน้า สังคมไทยก็จะเป็นสังคมผู้สูงวัย(ส.ว.) เต็มขั้น (ก็รุ่นเราเกษียณพอดีนั่นแหละ) เราจะได้ไม่ต้องเที่ยวคนเดียวไง(ถึงตอนนั้นกลัวน้องอ๊อตเปลี่ยวใจน่ะ)
  • อิ อิ อิ.... ให้เป็นการบ้าน  เอาไปคิด ๆ ๆ ๆ..... (เป็นครูก็ต้องไม่ลืมให้การบ้านสิ)
  • ขอให้บุญรักษานะครับ
  • มีจังหวะจะไปให้กำลังใจทั้งครอบครัวครับ
  • สวัสดีครับ
  • สรุปว่า  จุดอ่อนของปลาบู่ก็คือ กลัวเป็ด
  • ฉะนั้น  Risk Management  ก็คือ อย่าปล่อยให้เป็ดกินปลาบู่

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท