ลูกนาง..น้องลูกเนียง


ลูกเนียงนกออกผลเป็นฝักพบมากแถวป่าเขาที่มีความชื้นสูง แถวชายแดนมาเลเซียจะมีมาก เรื่องกลิ่นไม่ต้องห่วง สุดยอดความเหม็นฉุน ต่างจากลูกเนียงบ้านหรือลูกเนียงใหญ่ และลูกนางโดยสิ้นเชิง คนที่ไม่ชอบอาจจะเป็นลมสลบไปเลยก็เป็นไปได้ แต่คนที่ชอบ จะหลงใหลในรสชาติ ความกรอบ มัน อร่อยยิ่งได้กินคู่กับผัดเผ็ด บูดู แกงพุงปลาหรือขนมจีน

ลูกเนียงใหญ่ ลูกเนียงนก ลูกนาง

ลักษณะลูกเนียงใหญ่ : เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง ๑๐-๑๕ ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่แน่นทึบ คลุมลำต้นไว้เป็นส่วนใหญ่ เปลือก เรียบสีเทา หรือน้ำตาลอ่อนปนเทา เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือน้ำตาลอมม่วง เมล็ดมีลักษณะ คล้ายเมล็ดถั่ว ๒ ฝา  

ลูกเนียงใหญ่

       ลูกเนียงนก : ลูกเนียงนกออกผลเป็นฝักในฝักจะมีเมล็ด ประมาณ ๖-๑๐ เมล็ด พบมากแถวป่าเขาที่มีความชื้นสูง แถวชายแดนมาเลเซียจะมีมาก เรื่องกลิ่นไม่ต้องห่วง สุดยอดความเหม็นฉุน ต่างจากลูกเนียงบ้านหรือลูกเนียงใหญ่ และลูกนางโดยสิ้นเชิง คนที่ไม่ชอบอาจจะเป็นลมสลบไปเลยก็เป็นไปได้ แต่คนที่ชอบ จะหลงใหลในรสชาติ ความกรอบ  มัน อร่อยยิ่งได้กินคู่กับผัดเผ็ด บูดู แกงพุงปลาหรือขนมจีน และสนนราคาไม่ใช่ถูกๆนะครับ กก.ละ ๘๐-๑๐๐ บาท(แถวสงขลา) ซื้อมากินสดไม่หมด  เอาไปเพาะในทรายเก็บไว้กิน หรือแช่น้ำให้พองอกหน่อเก็บใส่กล่องปิดฝาให้แน่นเก็บไว้ในตู้เย็นได้อีกต่างหาก           

ลูกเนียงนก

     ลูกนาง : มีลักษณะต้นทรงพุ่มเหมือนต้นเนียงทุกประการ โดยทั่วไปหากไม่สังเกตให้ดีจะดูไม่ออกว่าเป็นต้นเนียง หรือต้นนาง ออกฝักก็เหมือนเนียง แต่หากชิมรสชาติจะรู้ว่าไม่ใช่เนียง(สำหรับคนที่เคยกินลูกเนียงอยู่บ่อยๆ) ลูกนางเพาะจะมีรสชาติดี มัน กรอบดี กลิ่นฉุนน้อยกว่าเนียงนก และเนียงใหญ่       

  

ลูกนาง                                     ลูกนางเพาะ                                       ลูกนางงอก

ถิ่นที่อยู่อาศัย : ทั้งเนียง เนียงนก และนาง ชอบขึ้นตามชายป่าดิบชื้นทางภาคใต้ พบมากแถวป่าเขาที่มีความชื้นสูง แถวชายแดนมาเลเซียจะมีมาก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ยะลา นราธิวาส  และยังพบขึ้นห่างๆตามชายป่าดิบบนพื้นที่ที่ค่อนข้างชุ่มชื้นใกล้ลำธารบนเทือกเขาตะนาวศรีทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ กระบี่ ตรัง สตูล                       

การใช้ประโยชน์ : จริงๆแล้วลูกเนียง หรือเมล็ดเนียง เป็นผักที่ นิยมรับประทานกันโดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทยเรา ซึ่งนิยมรับประทานเป็นผักสดหรือผักเหนาะ ใช้ลูกอ่อนปอกเปลือกหรือเพาะจนงอกหน่อหรือต้นอ่อน จิ้มน้ำชุบ(น้ำพริก) หรือรับประทานร่วมกับอาหารรสเผ็ด หรือบูดู หรือแกงพุงปลา หรือเป็นผักเหนาะขนมจีน                       

คุณค่าอาหาร: ลูกเนียงนับเป็นผักที่มีคุณค่าทาง อาหาร คือ ลูกเนียง ๑๐๐ กรัม ให้พลังงาน ๑๕๖ กิโลแคลอรี มีโปรตีน ๗.๙ กรัม% คาร์โบไฮเดรท ๓๖.๒ กรัม% ไขมัน ๐.๒ กรัม% เส้นใย ๑.๓ กรัม แคลเซียม ๒๕ มิลลิกรัม  ฟอสฟอรัส ๕๒ มิลลิกรัม เหล็ก ๐.๗ มิลลิกรัม วิตามินบี ๑ บี ๒ วิตามินซี กรดโฟลิค และแร่ธาตุ มีกรดอะมิโน ๑๘ ชนิด และเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทั้ง ๘ ชนิด โดยทั่วไปคนส่วนมากรับประทานลูกเนียงแล้วมักไม่เกิดอาการผิดปกติใดๆ แต่มีบางคนเท่านั้นที่รับประทานลูกเนียงแล้วเกิดอาการพิษ แม้แต่ในสัตว์ทดลองก็ให้ผลแตกต่างกัน เช่น ในรายงานการวิจัยของ มงคล โมกขะสมิต ให้สุนัขกินลูกเนียงดิบ ๘-๙ ลูก/วันพบว่าสุนัขมีปริมาณปัสสาวะ ๒๔ ชม.ลดลงเล็กน้อย และไม่มีความเป็นพิษต่อไตของสุนัขเลย                 

สรรพคุณทางยา : ลูกเนียงถ้ากินมากเกินไปจะทำให้ขัดปัสสาวะ เนื่องจากลูกเนียงมีกรดเจงโคลิก (djenkolic acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกรดกำมะถันสูงมาก และเป็นพิษต่อร่างกาย กรดเจงโคลิกจะทำลายระบบประสาทของไตให้เลื่อมลง ถ้ากินลูกเนียงดิบเป็นจำนวนมาก จะทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะไม่สะดวก ปัสสาวะขุ่นขาวเป็นสีน้ำนม อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียนอย่างรุนแรง ถ้าเกิดอาการมากระบบไตจะล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เปลือกหุ้มเมล็ด ช่วยแก้โรคเบาหวาน ใบ นำมาพอแก้โรคผิวหนัง 

สารที่ก่อให้เกิดอาการพิษ สารที่ก่อให้เกิดอาการพิษในลูกเนียง คือ djenkolic acid (กรดเจ็งโคลิค) ในลูกเนียง ๑ กรัม จะมีกรดเจ็งโคลิค ๑๕.๘๖ ….? ๖.๖ มก. ประมาณ ๙๓ % ของกรดอยู่ในสภาพอิสระ และมีเพียง ๗ % เท่านั้นที่รวมตัวกับโปรตีน สุวิทย์ อารีกุล และคณะ ได้กรอกหรือฉีดกรดเจ็งโคลิคในหนูถีบจักร พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของปัสสาวะ และพยาธิสภาพของไตเหมือนหนูถีบจักรที่ถูกกรอก ด้วย สารสกัดจากลูกเนียง

การลดพิษของลูกเนียง  

๑. การลดพิษแบบชาวบ้าน ทำง่ายๆ ๒ วิธี คือ                                                 

        ๑.๑ เอาลูกเนียงมาผ่าแล้วแผ่เป็นแผ่นบางๆ ตากแดดก่อนรับประทาน                   

        ๑.๒ เอาลูกเนียงฝังทรายจนกระทั่งมีหน่อ ตัดหน่อทิ้งแล้วจึงรับประทาน                  

๒. จากการศึกษาของ สุวิทย์ อารีกุล และคณะ พบว่า ต้มลูกเนียงในน้ำ หรือ ๕ % HCl หรือ ๕ % NaHCO3 (โซเดียมไบคาร์บอเนต) นาน ๑๐ นาที กรดเจ็งโคลิคในลูกเนียงจะเหลือ ๓๐ - ๓๒ % ถ้าต้มต่อไปใน ๕ % NaHCO3 อีก ๑๐ นาที กรดเจ็งโคลิคในลูกเนียงจะเหลือ ๑๔ %

      ดังนั้น ผู้ที่จะรับประทานลูกเนียง ถึงแม้ว่าจะไม่เคยมีอาการพิษมาก่อนก็ตาม ถ้าจะให้ปลอดภัยก็น่าจะทำการลดพิษของลูกเนียงลงก่อนที่จะรับประทาน

     ลูกนางนับเป็นพืชพันธุ์พื้นถิ่น หรือผักเหนาะของชาวใต้ ที่หายากอีกชนิดหนึ่ง และนับวันใกล้จะสูญพันธุ์เข้าไปทุกที หากไม่มีการอนุรักษ์โดยการช่วยกันศึกษาถึงคุณค่า-ประโยชน์ทางโภชนาการและเวชการ และโดยการหันมาบริโภคเพื่อมีการอนุรักษ์ไว้ซึ่งสายพันธุ์ของ "ลูกนาง" พืชพันธุ์ไม้ป่าที่มีอยู่ในแถบถิ่นภาคใต้ของไทยเพียงแหล่งเดียว

 

การเพาะลูกนางเพื่อเป็นการขยาย และอนุรักษ์สายพันธุ์

ข้อมูลจาก 

www.medplant.mahidol.ac.th/ 

www.marclp.com/lab/ 

www.dnp.go.th/Pattani_botany/.

 

หมายเลขบันทึก: 431391เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2011 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

เพิ่งจะทราบเป็นครั้งแรกเลยครับว่า ลูกเนียงมีน้องด้วย


สวัสดีค่ะครู

มีภาพลูกเนียงใหญ่มาฝากค่ะ

Large_p8010021

แต่ที่สวนไม่มีลูกนาง ยังไม่เคยเห็น ขอบคุณน่ะค่ะ

ขอบคุณที่เข้าชมและเอาภาพฝักลูกเนียงมาฝาก วันนี้ไปกินข้าวงานศพ..ที่ทะเลน้อยพบลูกนางกินแล้วติดใจ..รสชาติมัน..กรอบ..ไม่หมินเหมือนลูกเนียง..เห็นเขาเพาะหน่องอกกำลังพอดี..เลยขอมาเพาะ..เก้าเม็ด..ยีบเม็ด..ถ้างอกแล้วจะพาไปฝากหนูรีสักต้นเพื่อช่วยกันขยายพันธุ์...และสืบทอดพันธุ์ไม้ป่าดั้งเดิม

สวัสดีครับครู เพิ่งเข้ามาอ่านครั้งแรก ไม่เคยทราบว่าลูกเนียงมีทั้งประโยชน์และโทษเพราะฉะนั้นควรกินแต่พอดี ขอเป็นกำลังใจให้ครูนำเสนอบทความสาระที่่เป็นประโยน์ต่อไปครับ

ขอบคุณที่เข้าเยี่ยมชม หากมีโอกาสมีที่ทางเหมาะๆต้นลูกนางน่าหาลูกนางเพาะเพื่อไว้กิน..ไว้แจก..และเป็นการอนุรักษ์พื้นบ้านภาคใต้ไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก .ได้มีกินผักปลอดสาร..หรือปลูกไว้เผื่อขายเป็นรายได้..เพราะลูกนางเป็นผักเหนาะอนาคตดี..เนื่องจากมีรสชาติที่คนกรุงเทพรับได้

สวัสดีครับครู ฑูรย์ รู้แจ้งเห็นจริงเรื่องลูกเนียง หากไม่ใช่มืออาชีพ มองไม่ออกระหว่างเนียงกับนาง  ในความแตกต่าง เหมือนปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลาคันหลาว มองเห็นเป็นปลาแบบเดียวกัน

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันเรียนรู้

ขอบคุณผู้เฒ่าที่เข้ามาเยี่ยม ตอนนี้ลูกนางเป็นผักเหนาะที่น่าสนใจสนับสนุนให้ชาวสวนปลูกแซมปลูกเสริม ตามชายบ้าน..ชายดม..ตอนนี้  ครู'ฑูรย์ไว้ ๒๐ กว่าถุงขึ้นวันไหน..ครู'ฑูรย์..จะส่งข่าว..ให้ผู้เฒ่า..ผลื้อ.มาสักเดียว..พลางมาเที่ยว..มาเอาต้นลูกนางกัน...เป็นการขยายพันธุ์พืชพื้นบ้าน..แบบคบเพื่อน...

เรียนคุณครูฑูรย์

  • ขอบคุณที่แบ่งปันนะคะ คุณยายไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยค่ะ
  • ขอบคุณที่เป็นกำลังใจให้คุณยายด้วยค่ะ
  • ขอให้มีความสุขทุกวันนะคะ

ชอบอ่านแนวคิดและวิธีเขียนแบบคุณยาย ขอให้กำลังใจในการทำงานต่อไป...

เพิ่งรู้ว่า..เขามีกัน 3 พี่น้อง

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • เป็นความรู้ใหม่จริง ๆ  เรื่องลูกนาง เพราะรู้จักแต่ลูกเนียงค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

                                          

ขอบคุณที่แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชม..ลูกนางค่อนข้างหายาก..แต่รสชาติอร่อยสำหรับคอคนใต้..คนภาคอื่นไม่แน่ใจ..แต่ถ้าชอบลูกเนียง หรือสะตอ..หากได้ชิมลิ้มรสลูกนางแล้วจะติดใจ..

ฝักลูกเนียง  ฝั้กลูกเนียงนกเคยเห็น  ฝักลูกนางไม่หอนเห็นหมันเป็นพันพรือ สงสัยจัง  ครูฑูรย์คิดได้พรือถึงนับญาติให้ลูกเนียง..........ครูวัลย์

เอาแล้ว..เป็นคนเท่ไน่กัน..ไม่หอนเห็นฝักลูกนาง..เดี๋ยวจะเอาต้นเท่เพาะไว้ไปให้..จะได้เฝ้าแลฝักลูกนาง...

ที่ยะลามีลูกนางที่บ้านหลักห้า

ขอบคุณ..ชานหมากที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมและให้ข้อมูลเพิ่มเติม..หากมีการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์เผยแพร่พืชพันธุ์พื้นบ้านภาคใต้ไม่ให้สูญพันธุ์ต่อไป

สวัสดีค่ะครู

 หนูรี มาบอกว่ากล่าวว่า ... ได้ลิงค์บันทึกของครูบันทึกนี้ไว้ที่นี่ค่ะ

  "อาหารการกินแบบบ้านบ้าน ... ย่านตลาดกิมหยง "

ลูกเนียงต้มค่ะ

ขอบคุณหนูรีที่จัดฉาก "ลูกเนียงต้มจุ้ม'พร้าว" มาให้ถ่ายทำได้

  • สวยงาม
  • ชัดเจน
  • แบบมืออาชีพ
  • ชื่นชมๆ

สวัสดีครับครับครู

แวะมาแจ้งข่าวว่า อาร์มคัมแบ๊คแล้วครับ

ความไวเรื่องนี้..ครูฑูรย์ไม่ทันผู้เฒ่าอีกแล้ว..ที่ติดตามน้องอาร์มอย่างเกาะติดโดยตลอด..ขอบคุณที่แจ้งข่าว..

สวัสดีค่ะครู

แวะมาแซวผู้เฒ่าวอฯ ..."ความไวเรื่องเด็กๆ" ^__^ ครูน่ะตามไม่ทัน อิอิ

ขออภัย แซวด้วยความเคารพค่ะครู

    ขอบคุณที่ยังรำลึกถึง..ช่วงนี้ไม่ได้มีเวลาเขียนเลย..คนใช้ได้เลยงานเยอะ

  • สอนนักศึกษา/ต้องทำการบ้าน เตรียมสื่อ  ค้นเนื้อหา  พาลงชุมชน
  • จัดการรายการวิทยุ-โทรทัศน์
  • บันทึกเทปรายการ
  • วิทยากรชุมชน
  • ประชุม
  • จัดการศูนย์การเรียนรู้
  • ฯลฯ

ต้องขออภัยที่ไม่ค่อยได้เขียนได้อ่าน วันนี้ก็เดนทางเพิ่งมาบ้านที่ขึ้นไปบันทึกเทปโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กรุงเทพฯ

น้องลูกเนียง(ลูกนาง)หมานทรายแล้วน่ากินมาก ๆ ส่วนลูกเนียงนกตอนอยู่สงขลาไปซื้อทุกวันจันทร์ที่ตลาดเก้าเส้ง ทั้งเม็ดกลม ๆ และเม็ดแช่น้ำ รสชาติดี แต่โทษทีเหม็นไปทั้งประเทศ ฮ่า...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท