ร่วมด้วยช่วยกัน กับเครือข่ายเภสัชฯ (1)


คุยกันไว้ว่า เราจะพัฒนาหลักสูตรที่กระชับ ให้ผู้เรียนรู้ได้ตัวอย่าง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้

 

สืบเนื่องจาก ร่วมด้วยช่วยกัน กับเครือข่ายเภสัชศาสตร์  เมื่อครั้งที่แล้วนะคะ

วันนี้ ดิฉัน คุณศรี คุณอ้วน คุณอุ้ย แห่งกรมอนามัย ก็ได้ร่วมทีมเดินทางสู่ รร.ทวาราวดีรีสอร์ท ปราจีนบุรี โดยคุณตุ๋ย โชเฟอร์หนุ่มน้อยหน้าตาดี๊ดี (คำพูดจาก คุณอุ้ย เจ้าเก่าละค่ะ) คอยดูแลวิทยากรสาวน้อยๆ ทั้งหลาย

ตามที่เล่าไว้แล้วนะคะ เราวางแผนกันไว้แล้วอย่างเลิศหรู กระชับ พร้อมได้เนื้อหาสาระ ... คุยกันไว้ว่า เราจะพัฒนาหลักสูตรที่กระชับ ให้ผู้เรียนรู้ได้ตัวอย่าง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้ ภายในเวลาประมาณ 4 ชม.

และตามคาด คือ ผิดคาด เพราะว่าเราเริ่มต้นที่ 10.30 น. ตอนเช้า กินกลางวันกันตอน 12.30 น. โดยที่ไม่มีผู้เข้าประชุมท่านใดดูนาฬิกาเลย เพราะกำลังเล่ากันอย่างเข้าด้ายเข้าเข็ม (ใช้ Tool ตัวที่ 1 ของ KM คือ Story Telling

13.30 น. เริ่มเข้ากลุ่มนำเสนอผลการคุยกลุ่มทุกกลุ่ม ถึงขั้นตอนของการสรุปปัจจัยความสำเร็จ ... อ้อ หัวปลาของเราก็คือ "ความภูมิใจ / ประทับใจ ของการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนคณะเภสัชศาสตร์" ค่ะ แบ่ง 3 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10 คน ...

หลังจากนั้น คุณอ้วน กับคุณศรี บรรยาย sample ถึงตารางอิสรภาพ (Tool ตัวที่ 2) และธารปัญญา (Tool ตัวที่ 3) โดยยกตัวอย่าง ตารางที่อิสรภาพของกรมอนามัยที่ทำกันขึ้นมา

ตามด้วย เล่าประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงานกับ อบต. ของคุณอ้วน และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ของคุณอุ้ย และดิฉันเล่าเรื่องการสร้างขุมความรู้

ตบท้ายด้วย Tool ตัวที่ 4 คือ AAR ... แสดงความรู้สึกของคุณ FA คุณ Note และ สมาชิกกลุ่มทั้งหลาย จบกระบวนการก็ประมาณ 16.30 น. ค่ะ

สรุปว่า

  1. ผิดแผนฯ
  2. ระหว่างการประชุมกลุ่ม คุณศรียังสังเกตพบว่า ผู้เข้าประชุมยังหน้านิ่ว คิ้วขมวดเข้าหากัน
  3. เรายืนยันกับที่ประชุมว่า KM ไม่ลอง ไม่รู้ค่ะ 
  4. เราเอา อ.วิจารณ์ไปด้วย โดยฝาก ข้อความของอาจารย์วิจารณ์ไว้ด้วยค่ะ นำมาจาก KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 209. การเรียนรู้โดยใช้ความสำเร็จเป็นฐาน

สนใจรายละเอียด โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 62949เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อาจารย์คะ

 

เสียดายเวลาน้อยไปมาก

จริง ๆ เรามีเวลา ถ้านับเต็ม ๆ 2 วัน

แต่อาจารย์ติดภาระกิจอื่น

อย่างไรก็จุดประกายได้มากมายค่ะ

สำหรับสายสนับสนุนคงต้องใช้กระบวนการ KM ในการขับเคลื่อนไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพใน

ปีต่อไป  คงต้องรบกวนอาจารย์อีกครั้งมาทำช่วยสอนกระบวนการทำ KM ให้สายสนับสนุน  (ถ้าปีหน้าคณะกรรมการได้อนุมัติงบประมาณ)

KM ไม่ลองไม่รู้จริง ๆ

 

ขอบพระคุณอาจารย์และทีมงานอีกครั้งค่ะ

อาจารย์สมพรคะ

กรมอนามัยก็ได้ถ่ายทอดแบบหมดไส้หมดพุงแล้วละค่ะ ... ตอนนี้คิดว่าทีมอาจารย์เริ่มลงมือทำได้เลย เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์จริงไงคะ อย่างที่ว่าไว้ ... KM ไม่ทำ ไม่รู้ ... ทดลองทำ แล้ว อ.จะรู้ ... ดีไม่ดี อนาคต กรมอนามัยอาจจะต้องไปรบกวนอาจารย์เป็นต้นแบบให้เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้างละค่ะ

อาจารย์ค่ะ

วันนี้มีทีมของโครงการ SHE มาแชร์ประสบการณ์ วิธีการที่ได้ทำไว้  ทำให้เราเห็นภาพมากขึ้น  แต่จริง ๆ แล้ว KM มันมีหลายวิธี  เราจึงต้องตามไปศึกษาต่อให้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตามเสียดายค่ะ ที่เราน่าจะได้จากการเรียนรู้ที่ลุ่มลึก จากทีมของกรมอนามัย....จะติดตามนะคะ

               เห็นแนวการเดินเรื่องได้อย่างดีเลยครับว่าทีมคุณอำนวยเตรียมอะไรไป(เครืองมือ และกิจกรรม) และเมื่อใช้เครื่องมือและทำกิจกรรมแล้วได้ผลตามคาดคือผิดคาด ก็ลุ้นอยู่ว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อเป็นดังนี้ก็ดีใจครับ ...

               แต่ที่สรุปท้ายว่าผิดแผน..ทำให้งงนิดๆว่าผิดแผนด้วยเหตุใดครับ เพราะมันได้อะไรตามคาด(เกินคาด)แล้วนี่ หรือจะประมาณว่ากลุ่มผู้เข้าร่วมเกิดความรู้สึกอยากจะกลับไปทำงานของตัวอย่างตั้งอกตั้งใจช้าไม่ได้แล้ว หรือประมาณไหนกันครับ

              ขอบคุณสำหรับกิจกรรมดีๆที่นำมาฝาก

ครูนงคะ

ผิดแผนฯ คือ ตอนเตรียมการเราคุยกันไว้ว่า เราจะทำกิจกรรมกลุ่ม train Fa & Note โดยใช้เวลาที่กระชับ (ประมาณ 4 ชม.) แต่ทว่า เมื่อลงมือทำจริง ไม่ทันค่ะ ต้องขยายเวลาเป็น 6 ชม. และก็ได้จริงจังที่ขั้นตอน Story telling ส่วนของตารางอิสรภาพ และธารปัญญา เป็นการแสดงตัวอย่างที่กรมอนามัยได้เคยทำไว้

เป็นผลให้ผู้เรียนรู้ยังงงๆ อยู่ค่ะ ก็เลยสรุปไปว่า ผิดแผนฯ

กรมอนามัยช่วงหลังๆ นี้ (ตั้งแต่ปีงบ 49 แล้วละค่ะ) ก็มีปัญหาตรงการรับ job train Fa & Note นี่อยู่มากตรงที่ ภารกิจของเราเป็นภารกิจ KM ที่กรมอนามัย การข้ามหน่วยงานเพื่อทำกิจกรรมกลุ่มนี้ ถ้ามีน้อยก็ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้ามีเข้ามามาก จะเริ่มเป็นปัญหากับทีม KM กรม เนื่องจาก ทีมวิทยากรของเรายังมีไม่มาก และต้องรับอีกหลาย job ต้องจัดสรรเวลาเยอะรับงานเหล่านี้ บางครั้งก็ต้องเลื่อนเวลากันออกไป เพื่อให้สามารถรับได้ กรณีของ อ.จิ (เครือข่ายเภสัชฯ) เราไม่ได้เลื่อนเวลาค่ะ เราก็เลยจัดสรรเวลาที่เรามี รับงานนี้ภายใน 1 วัน

ปกติคุณศรี เธอบอกว่าต้องใช้เวลาในการ train Fa & Note 2 วันเต็มๆ จึงจะได้เรื่องราวทั้งหมดที่มาจากกลุ่ม ... เราก็คิดกันใหม่ว่า จะทำหลักสูตรที่กระชับได้หรือไม่ หลังจากทำกันเสร็จแล้ว ก็เป็นข้อสรุปละค่ะ ว่า พอทำได้ในเวลา 1 วัน แต่ว่า ได้เต็มที่ในเรื่อง Story telling ... ได้ทักษะในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ... ได้รู้จักเครื่องมือตัวอื่นๆ ... ส่วนประสบการณ์นั้น เราก็จะได้ว่า เราต้องไปเรียนรู้กันต่อค่ะ ... ซึ่งกรมอนามัยก็เติบโตกันมาเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน

ไม่ทราบว่า ยิ่งเล่ายิ่งงงหรือเปล่านะคะ ... ครูนงโปรดติดตามตอนต่อไปก่อนก็แล้วกันนะคะ 

 

อ.สมพรคะ

ที่จริงกรมอนามัยก็อยากฟังของ SHE เหมือนกัน ถ้ามีโอกาส อ.สมพร เก็บมาเล่าให้ฟังในบล็อคของอาจารย์ด้วยสิคะ

คุณหมอนนทลี

ทีมเภสัชศาสตร์ขอขอบคุณมากค่ะ ที่มาถ่ายทอด km ให้กับเครือข่ายเภสัชฯ

ต้องขอโทษด้วยค่ะที่เข้ามาช้ากลับจาก km ที่ปราจีนฯ ก็มีโปรแกรมต่อไปเรื่อยๆ ค่ะ

 อาจารย์จากหลายสถาบันชอบมากและสนใจและบอกว่าถ่ายทอดได้ดีมาก น่าเสียดายที่มีเวลาน้อย โอกาสหน้าหวังว่าจะได้รับความกรุณาอีกน่ะค่ะ

ได้ไปร่วมประชุมกับ เภสัชฯ ม. มหาสารคาม (มมส.)  เมื่อวันที่ 2-3 ธ.ค. มมส. ได้นำความรู้ที่ได้จาก km ไปใช้ด้วย  มมส. เคยทำ story telling มาก่อน (เพิ่งมาทราบว่าเป็นส่วนหนึ่งของ km)  แต่เพิ่มการถามแบบ how to  

ได้ฟังเรื่องหนึ่งซึ่งประทับใจมาก อยากเล่าสู่ท่านอื่นได้ฟัง   นักศึกษา มมส. เล่าเรื่องจากภาพวาด เกี่ยวกับโครงการสุขภาพดี เริ่มที่บ้าน เป็นงานที่สอดแทรกในรายวิชา (จำวิชาไม่ได้)  จากงานนี้ทำให้ได้พูดคุยกับพ่อแม่มากขึ้น  ตอนแรกที่สอบถามเรื่องสุขภาพ พ่อแม่ก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ แต่พอบอกว่าเดี๋ยวไม่ได้คะแนน   พ่อแม่ก็ให้ความร่วมมือตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ "กลัวลูกไม่ได้คะแนน" จากลูกที่ไม่ค่อยโทรกลับบ้าน ก็โทรไปคุยบ่อยมากขึ้น ได้รับรู้ปัญหาสุขภาพแล้วนำมาปรึกษากับอาจารย์ แล้วนำไปถ่ายทอด  ญาติคนอื่นที่อยู่ด้วยก็บอกให้มาทำให้ด้วย 

นักศึกษาบอกว่าตอนที่ยังไม่เรียนวิชานี้ ลุงมาบอกว่าวิงเวียนหัว  ก็คิดไปว่าลุงแก่แล้ว  แต่พอมาเรียนจึงรู้ว่าเกิดจากยาชนิดหนึ่งที่ลุงกิน  นักศึกษาภูมิใจกับความรู้วิชาชีพที่ตนเองเรียนและได้นำไปใช้กับคนในครอบครัว

อาจารย์ มมส. บอกว่าการที่ให้นักศึกษาทำกับครอบครัวก่อน จะเป็นความรู้ที่ไม่ลืมเพราะใช้กับคนที่ตัวเองรักค่ะ

คุณมณีวรรณคะ

ยินดีค่ะ และดีใจด้วยค่ะ ที่สามารถจุดประกายการเรียนรู้จากเรื่องเล่า และ How to ได้ ... ต่อไปเครือข่ายต้องมีการต่อยอดการเรียนรู้ได้แน่นอนค่ะ เพราะกลุ่มครู อาจารย์ นักศึกษา มีทักษะในด้านนี้เพียบพร้อมอยู่แล้วละค่ะ

คงจะได้เจอกันในงาน KM งานใดงานหนึ่งนะคะ ช่วงนี้ทราบว่า สคส. จะจัดภาคีราชการ ที่กรมสุขภาพจิต น่าสนใจที่จะสมัครเข้าร่วมประชุมนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท