ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... KM กับภาคีเครือข่าย (36) ตอนที่ 3 KM กับเทศบาล (2)


เทศบาลเขาเก่ง เขาคิดได้เลยว่า กรมอนามัยทำงานสำเร็จได้ อย่ามองมิติเมืองน่าอยู่เพียงแค่มิติด้านสุขภาพ คุณต้องมองทุกอย่าง มีการเชื่อมโยงกันหมดว่า เมืองน่าอยู่น่ะ น่าอยู่ยังไงก็ได้ ในแต่ละบริบทของพื้นที่ของเขา

 

ตอนต่อมาของประสบการณ์ของคุณอ้วน เรื่อง การใช้ KM ในการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคี และเครือข่าย

... เมื่อกี้ลืมท้าวความนิดหนึ่ง ตัวกรมอนามัยที่ประเมินเกณฑ์ของ เทศบาลน่าอยู่ คือมา Focus อีกนะคะ เรื่อง เทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพ ดิฉันเข้าใจว่า กรมก็คงตั้ง hypothesis เหมือนกันว่า เทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพได้ ต้องมีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ 5 กระบวนการก็คือ ถ้าเทศบาลมีนโยบาย หรือแผนงานโครงการเกี่ยวกับสุขภาพบรรจุอยู่ในแผนของเขาก็จะถือว่าค่อนข้างดี สองก็คือ ถ้าเจ้าหน้าที่ของเทศบาลได้พัฒนาด้านสุขภาพ องค์ความรู้ หรือประสบการณ์ต่างๆ ด้านสุขภาพ ก็ถือว่าเขาเหมือนกับคนได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กับนโยบาย หรือหลักปฏิบัติของเขา สามก็คือ มีการทำงานแบบ ลปรร. หรือภาคีเครือข่าย มันก็เข้าทางของเราอีก ถ้าตรงนี้ กระบวนการตรงนี้ มันก็น่าจะสอดคล้องกันกับวิธีคิดนี้ สี่ก็คือ ต้องมีการ ลปรร. เพื่อจะศึกษาข้ามกันระหว่าง ในเทศบาลเอง หรือองค์กรอื่นๆ ของเขา ส่วนข้อที่ห้า คือ มีฐานข้อมูลด้านสุขภาพ นี่คือตัวกระบวนการ ถ้าเทศบาลใช้ 5 กระบวนการนี้แล้ว ก็น่าจะมีผลลัพธ์ออกมาดี ผลลัพธ์เรื่องสุขภาพตัวไหนก็ช่าง เช่น เรื่องตลาดสดน่าซื้อ เรื่องศูนย์เด็กเล็ก เรื่องอะไรก็แล้วแต่ นี่ก็คือ Hypothesis

แต่สิ่งที่เป็นความไม่ชัดเจนที่มาจากกรม เพราะว่า ปีแรกๆ จะมาทั้ง 5 กระบวนการ + ผลผลิต 17-18 ตัวให้เทศบาลทำ เยอะมาก พอปีที่สองมาบวกมิติเมืองไทยแข็งแรงอีก 4 มิติเข้าไปอีก ดิฉันก็เข้าไปคุยกับเทศบาลแบบเบลอๆ ว่า คุณจะต้องเข้าไปดูนะ ว่าเขามีจิตสาธารณะนะ ประชาชนมีรักใคร่ด้วยนะ มีอะไรที่เขาช่วยเหลือกันมั๊ย ยาเสพติดในพื้นที่ ผู้มีบารมี อำนาจ เข้าไปดูเขาหมดเลย ทีมเริ่มมานั่งมอง มันใช่ไหมนี่ ตั้งหลัก ตั้งสติกันใหม่แล้ว แล้วก็มามองภาพที่ใหญ่กว่าคำว่า ด้านสุขภาพก็คือ เพราะเทศบาลเขาเก่ง เขาคิดได้เลยว่า กรมอนามัยทำงานสำเร็จได้ อย่ามองมิติเมืองน่าอยู่เพียงแค่มิติด้านสุขภาพ คุณต้องมองทุกอย่าง มีการเชื่อมโยงกันหมดว่า เมืองน่าอยู่น่ะ น่าอยู่ยังไงก็ได้ ในแต่ละบริบทของพื้นที่ของเขา และก็ความสำคัญก่อนหลังของความน่าอยู่ ขึ้นกับคนในพื้นที่ ที่จะมอง น่าอยู่ของพื้นที่นี้ กับอีกพื้นที่อาจจะไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น คุณต้องทำ และให้มองถึงความเชื่อมโยงของพื้นที่ให้ได้ ตรงนี้เขาเก่งมากเลยนะคะ

ดิฉันคิดย้อนกลับมาที่ KM ก็เลยคิดว่า กระบวนการเหล่านี้ ถ้าเราจะให้เทศบาลขับเคลื่อนตรงนี้ได้ด้วยตัวของเขาเอง เราเอา KM มาใช้ดู และลองหยั่งดู ฟังความคิดเห็นของเขาดู ตัวประสบการณ์เดิมของเขา อะไรต่างๆ พลังความสามารถในตัวของเทศบาลเอามาดู ดิฉันสารภาพว่า แรกๆ ที่ลงเทศบาล อย่างที่บอก รู้สึกว่า เขาไปดูงานต่างประเทศ เขามีเงินเยอะ คือ เราไปด้วยจิตที่ไม่ดี ก็ขอสารภาพ แต่พอดิฉันทำ KM พอเราฟังเขาเล่า และเห็นศักยภาพของเทศบาล เราก็มีความรู้สึกทัศนะเราเปลี่ยนไปแล้ว ดิฉันเปลี่ยนไปตั้งแต่วันนั้นเลยนะคะ ว่า เอ๊ะ จริงๆ คนของเขามีที่มาที่ไปนะ เขามีวิธีคิด มีความเป็นมาของตรงนั้นมันต่างกัน เขาเป็นคนที่มีศักยภาพ และความจริงเขามีความต้องการพัฒนาประเทศนะ ทำให้ดิฉันรู้สึกว่า KM อย่างน้อยมันก็ช่วยเราแล้ว ยังไม่ต้องคิดถึงเทศบาลนะคะ ดิฉันก็มีความรู้สึกที่มองเขาได้ลุ่มลึกมากขึ้น และเข้าใจเขา และตอนนี้สีหน้า หน้าตาท่าทีของเราก็จะดีแล้วละค่ะ ก็คือ ใจมันมาแล้ว เหมือนกับว่าเขาก็เป็นผู้ร่วมของการพัฒนาประเทศร่วมกับเรา เพราะว่าตอนแรกเรามองเขามา เขาใช้เงินกันแบบ เงินเยอะ สร้างถนนหนทาง อะไรประมาณนี้

ขณะเดียวกันพอ KM ลงมา ตัวเทศบาลเอง ตอนแรกเขาก็ไม่คุ้นค่ะ วิธีการที่จะมาคุยอะไรกัน เขาจะมีปฏิกิริยาเหมือนกันว่า ไม่อยากคุย ไม่อยากเล่าหรอก พี่มีอะไร จะให้ทำอะไร บอกมาเลย เดี๋ยวผมจะทำให้ ผลงานพี่จะเอากี่เปอร์เซ็นต์ ว่ามา ก็บอกว่า ตอนนี้เราไม่พูดกันแล้ว เรื่องเปอร์เซ็นต์ ตอนนี้เราถือว่าคุณเป็นเจ้าของพื้นที่ เป็นผู้ที่ประชาชนอยู่ในพื้นที่ของคุณ คุณจะต้องมีบทบาทในการดูแล ขณะเดียวกันศูนย์ฯ เป็นศูนย์ที่จะสนับสนุนทางด้านวิชาการ เพราะเราถนัดเรื่องสุขภาพ เราอาจจะต้องเข้าไปในเรื่องที่เราถนัด เพราะว่าเราคงต้อง focus เรื่องสุขภาพเป็นหลัก ด้านอื่นๆ กระทรวงอื่นเขาถนัด เราถนัดด้านนี้เราก็คงทำงานในเรื่องส่งเสริมสุขภาพ เราก็ต้องพยายามว่าเราถนัดเรื่องนี้ แต่ขณะเดียวกันเรื่องอื่นๆ เราก็ต้องมีความสามารถในการเชื่อมโยงได้เหมือนกัน

กระบวนการจึงเริ่มที่ตรงนี้ ... ดิฉัน และคุณฐิฎา ลุยลงไปเลย ทำ Facilitator คุณเพ็ชรัตน์ก็เยี่ยมมาก Notetaker ก็หากันเอาแถวนั้น ก็ทำไปเรียนรู้ไป มันก็เกิดการเรียนรู้จริงๆ

... และสิ่งที่ดิฉันได้คิดต่อว่า เวลาเราทำ KM ในศูนย์ฯ ทำกันกี่ทีกี่ที มันก็ได้ขุมความรู้มาเพียบเลย และก็จด จด จด และใส่แฟ้ม ใส่แฟ้ม ไว้ว่า คนนี้เขามีความรู้แบบนี้ และถอดออกมากี่ครั้งก็ได้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ มันก็เวียนกันอยู่ ซ้ำกันอยู่ตรงนั้นแหล่ะ เรื่องของการประสานงาน เรื่องของการสื่อสาร การมีจิตสาธารณะ อดทน ซื่อสัตย์ มันออกมาไม่ต่างเลย ก็เลยมาตั้งสติคิด มันออกมาแบบนี้ แล้วจะไปยังไงต่อ เมื่อออกมาแล้วก็พิมพ์ใส่กระดาษ ขุมความรู้ในเทศบาลของแต่ละคนมันก็จะออกมาประมาณนี้ละค่ะ มันจะเอามาใช้ประโยชน์อะไรต่อได้ล่ะ เราทำงานกับเครือข่ายให้มันเกิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ต่อยังไง ก็ตั้งคำถาม

เผอิญโชคดี พอดีได้ไปรู้จักกับ ดร.นิรัตน์ ที่ ม.มหิดล ท่านใช้ศาสตร์ในการถอดบทเรียน ใช้เทคนิคยังไงไปล้วง tacit ของคนออกมาได้ ก็คือ การนำ tacit มาใช้ในการปฏิบัติงานต่อ จากตรงนั้นก็ปิ๊งแว่บออกมาตรงนั้น ... แล้วจะยังไงต่อ ก็ได้ว่า ผลจากการทำ KM ณ วันนั้น พอได้ปัจจัยแห่งความสำเร็จแล้ว เราก็จับตรงนั้น และให้เขาแลกเปลี่ยนกันเลยว่า สิ่งที่ทุกคนปิ๊ง เขาจะทำอะไรต่อ จะพัฒนาสิ่งที่เขาเห็น และทำ AAR ต่อเลย ทำเป็นแผนขึ้นมาเลย ไม่ต้อง serious ว่าคุณต้องทำแผนส่งชั้น แต่หมายความว่าคุณตั้งเกณฑ์ขึ้นมาเลย ทำยังไง ร่วมกับใคร กะจะทำยังไง ให้ศูนย์ฯ เข้าไปสนับสนุนเป็นพี่เลี้ยงของคุณด้านไหนบ้าง วันนั้นได้ผลดีมาก คือ เทศบาลเขามีธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่งว่า คนที่มาอยู่กองสาธารณสุข บางคนไม่ได้มีความรู้เรื่องสาธารณสุข เขาก็มีข้อจำกัด บางที่เอาช่างประปาไปอยู่ บางที่เอาโยธาไปอยู่ บางที่เอาธุรการมาทำ เพราะฉะนั้นมันไม่ได้ตรงอย่างที่เราคิดแล้วละ เวลาเราไปเจอประสบการณ์ตรงกับพื้นที่มันก็ต้องผลักดัน พอทำ KM ลปรร. กัน คนที่เป็นช่างประปาที่ทำงานกองสาธารณสุข ก็จะบอกว่า พี่ผมหามานานแล้ว ว่าถ้าผมอยากจะทำ เรื่องการไปทำเครือข่าย อสม. ผมจะไปทำเรื่องลูกน้ำยุงลาย เรื่องตลาดสด ผมไม่รู้สักอย่าง ตอนนี้ผมรู้ละ ว่ามาขอดูงานที่พี่เลยนะ หรือที่อื่นๆ ก็เกิดการแลกเปลี่ยน และตื่นเต้นมาก ขณะเดียวกันเขาก็บอกว่า พูดถึงศูนย์ฯ ทำงานแบบนี้ เขาว่า มันน่าจะใช่แล้วละ (นี่เป็นคำพูดสะท้อนจากเขา) คือ เป็นผู้ร่วม ร่วมทำงาน ร่วมทางกัน ไม่ใช่มาคอยบอกว่า คุณทำนี่ให้ได้เป้านะ เทศบาลให้ผ่าน 5 กระบวนการนะ ปีนี้ขอ 20% แต่ถ้าทำแบบนี้ มันเหมือนกับเป็นผู้ร่วมทาง ร่วมทำงาน เราเอา สสจ. มาด้วย เอาหมดเครือข่ายทั้งหมด เราไม่ได้แยก เพราะว่าเราแยกแล้วเรางง ก็เอา สสจ. มาด้วย ก็เกิดการร่วมทำงานที่ดี

สิ่งที่ดิฉันเห็นว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงก็คือ พอเขากลับไป เขาทำภาคีเครือข่าย ยกตัวอย่างเช่น เทศบาลนครอยุธยาเขาบอกว่า แต่เดิมกองสาธารณสุขเขาทำงานคนเดียว กองอื่นไม่สนใจ ขณะเดียวกัน แม้นายกเทศมนตรีเกษียณมา งานสาธารณสุขไม่ได้ให้กองสาธารณสุขทำ ไปแทงให้กองอื่น เขาก็จะไม่รู้หมดละค่ะ บางทีกระจัดกระจายมาก เขาก็บอกว่า ถ้าเขากลับไปเขาก็จะทำให้กองต่างๆ มารู้กันในเรื่องเมืองน่าอยู่ มีเป้าเดียวกัน และมาช่วยกันทำงาน เราจะใช้วิธีการ KM ของอาจารย์นี่ แต่ยังไม่มั่นใจก็ขอให้ไปช่วยหน่อยได้ไหม เพราะว่าเขาต้องการให้เกิดการประสานระหว่างกองของเขา เราก็บอกว่า ดี ดี เลย ส่วนหนึ่งก็บอกว่า จะกลับไปทำฐานข้อมูลด้านสุขภาพ เพราะว่าฐานข้อมูลเรื่องสุขภาพยังกระจัดกระจายอยู่ที่ สอ. บ้าง สสอ. บ้าง อยู่ที่หน่วยงานต่างๆ เทศบาลเอง เจ้าของพื้นที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในมือเลย เวลาจะเอาข้อมูลทีต้องไปบอก เอ้า สอ. มาหน่อย เอาข้อมูลเข้ามาด้วยนะ เพราะถ้าเราบอกว่า ตรงนี้ไม่ใช่ละคุณ เราในฐานะเจ้าของพื้นที่ ใครมาเยี่ยมมาชม คุณก็จะต้องฉายภาพของคนในพื้นที่ สถานะอะไรของคุณทั้งหลายได้ มันถึงจะภาคภูมิ อะไรอย่างนั้น เขาก็เลยบอกว่า พี่ ผมจะทำเรื่องฐานข้อมูล ผมจะพัฒนาเรื่องผลผลิต เพราะว่าบางตัวมันยังไม่ได้ น้ำในตลาดยังสกปรกมาก มันก็จะเกิดกระบวนการที่จะพัฒนาตรงนี้ นี่ก็เป็นการเกิดในระยะเริ่มอยู่นะคะ แต่ที่เห็นกับตัวเองชัดเจนก็คือตรงนี้

สรุปประเด็นทั้ง 2 ตอนนี้ โดย อ.หมอสมศักดิ์นะคะ

คุณฉัตรลดาเล่าให้ฟังตั้งแต่ว่า ... ทำไม จึงเห็นคุณค่าของการสร้างภาคีเครือข่าย ที่สำคัญ ... ก็บอกว่า เวลาสร้างภาคีเครือข่ายภายใต้สถานการณ์ใหม่ที่พ่อตาย บ้านแตก สตังค์หมด มันก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิด และก็เป็นพวกไฮเทค ... แต่ถ้าฟังดีดี ก็จะบอกว่า เพราะรู้จัก KM นี้แล้ว ทำให้มีมุมมองต่อภาคีเปลี่ยนไป แต่ว่ามุมมองไม่ได้เกิดปุ๊บปั๊บ เพราะว่าเอา KM ไปใช้กับเพื่อนร่วมงาน ก็เลยไปเห็น และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เห็นคุณค่าของคนอื่น ว่าเดิมความรู้เยอะ คนอื่นก็รู้น้อย พอรู้แล้วเอา KM มาใช้ก็เห็นว่า เรื่องนั้นคนนั้นก็เก่งเหมือนกันนะ ก็เป็นจุดพลิกผัน และทำได้ถึงขั้น พอเอา KM ไปใช้แล้ว ทำให้เทศบาลก็เห็นว่า KM น่าจะดี จนจะเอาไปใช้กับคนของตัวเองด้วย จะเห็นว่าพอคนเขาเห็นประโยชน์ ก็จะเห็นเลยว่า KM นี่ก็จะสร้างสิ่งที่เรียกว่า มิตรภาพ Team work คือ เราไปทำกับเขา แต่เขากลับเห็นว่า ไปทำกับคนของเขาเองก็น่าจะดี ก็จะเอา trainer ไปทำต่อ

ผมพูดส่วนตัวว่า ผมคิดว่า ถ้าทุกข่ายงานของกรมอนามัยปรับตัว มีงานอะไรใหม่มา ให้ทำเถอะ ทำได้หมด จะพยายามศึกษาหมด พูดง่ายๆ คือ Content ของพวกเราใส่ได้หลายเรื่อง เมื่อวานนี้ที่คุณฐิฎา ไม่รู้เลยเรื่องงานวิเทศสัมพันธ์ เมื่อวานเราก็คุยกันเรื่อง Note taker ว่า เราจะทำเรื่อง Note taking ได้ ก็ต้องมี Conceptual framework เกี่ยวกับการทำ Note taking มันไม่ใช่ indepth knowledge และข้อดีที่ผมพบคือ นักวิชาการส่วนใหญ่ทีผมรู้จักมีความสามารถมากในการที่จะเรียนรู้ content ที่ dynamic มาก คุณฉัตรลดา ก็เป็นคนหนึ่ง

มีตอนที่ อ.หมอสมศักดิ์ได้เล่าก่อนหน้านี้ "จากบ้าเทคนิค สู่บ้า ลปรร." ที่ GotoKnow สนใจลองเข้าไปอ่านสิคะ

 

หมายเลขบันทึก: 43058เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2006 06:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท