ประกันคุณภาพ


คุณภาพเกี่ยวข้องกับทุกคนในองค์กรไม่ใช่งานของหน่วย QA ทุกคนที่หน้างานต้องประกันว่างานของตนมีคุณภาพในทุกมุมที่มอง

       หลายวันมานี้ดิฉันใช้สมาธิกับการทำข้อมูลเตรียมรับการประเมินรอบสองของ สมศ. 
ดิฉันเองที่อยู่ในส่วนของพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในนามส่วนกลางขององค์กรงานด้านการพัฒนาบุคลากรขององค์กรใหญ่เช่นม.อ.เนื้องานกระจายอยูตามคณะหน่วยงานแต่มหาวิทยาลัยกำหนดเจ้าภาพข้อมูลด้านการพัฒนาบุคลากรให้อยู่ตรงส่วนงานพัฒนาบุคลกรกองการเจ้าหน้าที่ ออกแบบไว้สำหรับการประเมินไม่ว่าจากสำนักไหนส่วนกลางต้องสามารถตอบได้ทุกมิติของข้อมูล "การจัดพัฒนาแยกกันทำกระจายทำอยู่ทุกคณะ หน่วยงาน เราทำหน้าที่จัดพัฒนาส่วนที่เป็นหลักสูตรพื้นฐานและเป็นศูนย์รวมข้อมูล" การเป็นศูนย์ที่ต้องรวบรวมข้อมูลจาก node ที่กระจายอยู่ทั่วมหาวิทยาลัย
สิ่งที่ช่วยให้ดิฉันสะดวกขึ้น คือ 
1.มิตรไมตรีที่ต้องมีอย่างต่อเนื่องกับเครือข่ายของเราที่มีอยู่ทั่วประมาณ 53 หน่วยงาน 
2.ปฎิสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการที่ฝากๆ ไว้จากการยินดีบริการอย่างสม่ำเสมอ
          ว่าไปแล้วความลึกซึ้งเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ ของการประกันคุณภาพ คน QA จะมีมากกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออาการเกี่ยงกันระหว่าง คนที่เป็น node ด้านการพัฒนาบุคลากรกับ QA คณะ  ดังนั้นนอกจากเราต้องชัดเจนเกี่ยวกับ ตัวชี้วัด และหน่วยนับต่างๆเพื่อสื่อสารไปยังเครือข่ายให้เก็บข้อมูลตามแบบ QA (ตัวบ่งชี้ที่ สมศ.) และตามความเป็นจริงอีกประการหนึ่งคือ เราดำเนินการตามรอบปีงบประมาณ (งานที่เกี่ยวข้องกับเงิน) ผู้ปฏิบัติของเราจะเก็บข้อมูลตามปีงบประมาณตามรอบของเงินที่ได้รับ  การทำงานครั้งนี้จึงขัดกับวิธีทำงานแบบเดิมความเคยชินเดิม  สิ่งแรกที่ได้ยินตัดพ้อกันเข้ามา
           "ไม่น่าจะสอดคล้องกับการทำงานของเรา" 
           "รอบปีงบประมาณต่างหากที่เราต้องรายงาน"  
ดิฉัน   "เราต้องทำตามสิ่งที่เขาจะตรวจซิกรรมการจะได้ไม่ยุ่งยาก"  
           "ข้อมูลดิบมีอยู่แล้วก็แค่นับเดือนใหม่เท่านั้นเอง" 

คู่สนทนา  "คนตรวจต้องตรวจตามสิ่งที่เราทำซิ ถึงจะถูก"  "จะทำได้ยังไงในเมื่อฐานข้อมูลออกแบบไว้ตามปีงบประมาณเรารายงานผลได้แบบปีงบประมาณ ทำไมไม่บอกคนตรวจไปหล่ะว่าเรามีข้อมูลแบบนี้"
กับประโยคหลังนี่
ดิฉันเรียนรู้ว่าโดยไม่รู้ตัวเราติดกับดักเครื่องมือเมื่อเราทำงานไปโดยการใช้เทคโนโลยีมาช่วย เราสะดวกกับการให้เครื่องทำงานให้เราจนเคยชิน เมื่อโจทย์พลิกแพลงไป เราจะคิดในเบื้องต้นว่า"ทำไม่ได้"แทนการคิดว่า"ทำได้ซิ"ลืมไปว่าเราเป็นคนสั่งเครื่องให้ทำงานให้เราอีกที" 
ดิฉันเรียนรู้ว่าความละเอียดอ่อนของงานนี้คือการสื่อสารไปยังประชาคมให้เข้าใจว่า"คุณภาพเกี่ยวข้องกับทุกคนในองค์กร การประกันคุณภาพไม่ใช่งานของหน่วย QA ทุกคนที่หน้างานต้องประกันว่างานตนเองมีคุณภาพในทุกมุมที่จะมอง ในขณะที่หน่วQA คอยอธิบายรายละเอียตามตัวบ่งชี้ที่ สมศ.กำหนด
ดิฉันเรียนรู้ว่า ต้องไม่เกี่ยงกันว่าเป็นงานใครจึงจะทำสำเร็จได้

หมายเลขบันทึก: 39684เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตรงนี้แหละค่ะสำคัญที่สุด

 ต้องไม่เกี่ยงกันว่าเป็นงานใครจึงจะทำสำเร็จได้

 

"คุณภาพ" จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความตระหนักของทุกคนในมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็น อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตร่วมมือกันค่ะ (แบบเนียนกับเนื้องาน) หน้าที่ของจนท.QA น่าจะเป็นการส่งเสริม สนับสนุน สร้างความเข้าใจ สร้างเครื่องมือ ประสานงานและคอยติดตามทั้งหน่วยงานภายใน (หน่วยงานย่อยภายในม.) และหน่วยงานภายนอก (ต้นสังกัดและสมศ.) เพื่อติดตามความคืบหน้าและนำมาเผยแพร่ + ทำความเข้าใจกับคนภายในอย่างต่อเนื่องและทันท่วงทีค่ะ ที่สำคัญน่าจะเป็นหน้าที่ในการทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายนะคะ
  • ดูน่าเหนื่อยนะครับพี่เมตตา
  • ขอเป็นกำลังใจให้ครับพี่
นวลจิรา ภัทรรังรอง

ในฐานะเป็นคนสำนักงานQA อ่านแล้วรู้สึกขอบคุณและดีใจที่เพื่อนร่วมงานของเราเข้าใจเป็นอย่างดีว่างานประกันคุณภาพคืองานของทุกๆคนในองค์การ ผู้ที่รับผิดชอบงานนั้นๆก็จะรู้เรื่องงานนั้นดีและมีเครือข่ายงานไปยังผู้รับผิดชอบในเรื่องเดียวกันทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ถูกต้องเที่ยงตรง

ทำใมเราต้องเปลี่ยนกรอบเวลาการจัดเก็บข้อมูลใหม่ตามสมศ.?ทำใมเราต้องเก็บข้อมูลย้อนหลังไปถึงปี๒๕๔๔กับตัวบ่งชี้ใหม่ที่เราไม่เคยเก็บ?

โดยความเห็นส่วนตัว ดิฉันมีมุมมองเกี่ยวกับการประเมินภายนอกรอบสองเหมือนการสอบครั้งสำคัญ ถ้าเทียบกับนักเรียนก็เทียบได้กับระบบadmission โดยสมศเป็นผู้ออกข้อสอบ มหาวิทยาลัยเป็นผู้เข้าสอบ ซึ่งก็คงต้องตอบข้อสอบให้ตรงตามโจทย์หรือข้อสอบที่ออก ถ้าตอบไม่ตรงคณะกรรมการประเมินซึ่งไม่ได้เป็นผู้ออกข้อสอบเองแต่ต้องเป็นผู้ตรวจข้อสอบคงลำบากใจและยุ่งยากในการให้คะแนน และแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีมาตรฐานแตกต่างกันทำให้ไม่สามารถbenchmarkingกันได้ พวกเราจึงจำเป็นต้องปรับตัวเราเพื่อเข้าลู่วิ่งของสมศ.

ก็ขอขอบคุณและรู้สึกมีกำลังใจที่พวกเราเข้าใจ อยากเรียนว่าหลังจากครำเคร่งทำข้อสอบกันอย่างหนักตั้งแต่ปลายเดือนพ.ค.อีกไม่นานก็คงเสร็จ แล้วก็รอวันตรวจข้อสอบและผลการสอบอย่างใจจดใจจ่อ

โทษคะ  เอาใหม่นะคะ 

ใจจริงอยากจะร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อท้าย blog ของคุณเมตตา  แต่ยิ่งเขียน ประเด็นยิ่งออก เนื่องจาก ตัวเองรับผิดชอบงานด้าน QA มาตั้งแต่ ปี 44 มีประเด็นมากมายที่อยากร่วมแชร์ประสบการณ์ ดังนั้น จะขอถือโอกาสทำเป็นการบ้านตามที่พี่เม่ยได้ให้ไว้ โดยจะขอเขียนใน blog ของตัวเอง ไว้สนใจลองไปอ่านและร่วมแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท