การจัดการความรู้ มุมมองจากปรัชญา (2)


การจัดการความรู้ มุมมองจากปรัชญา (2)

ในผลงานเรื่อง Meditations on First Philosophy (1640) Descartes ได้ทำการสืบค้นเข้าไปสู่ธรรมชาติของความรู้ ในที่นี้ Descartes พยายามที่จะค้นหาหลักการที่เป็นรากฐานซึ่งความรู้ของเราพักพิงอยู่ โดยการพยายามที่จะพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงบางชนิด ซึ่งเราสามารถแน่ใจได้เกี่ยวกับมันจริงๆ ด้วยเหตุนี้เขาจึงให้การสนับสนุนสิ่งที่เราต้องการที่รื้อถอนทุกสิ่งลงมาอย่างสมบูรณ์ และเริ่มต้นใหม่อีกครั้งจากรากฐานต่างๆ (Descartes1996:12)

สำหรับ Descartes ความท้าทายที่แท้จริงในที่นี้คือ"วิมตินิยม"(ความสงสัย) - ถ้าหากว่ามันมีความเป็นไปได้ใดๆในข้อสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า"ความรู้"ว่ามันเป็นจริงหรือไม่ นั่นย่อมแสดงว่ามันไม่สามารถเป็นความรู้ที่แท้จริงได้. การสืบค้นของ Descartes พยายามที่จะเสาะหาสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงต่างๆเกี่ยวกับโลกภายนอก ซึ่งพ้นไปจาก"วิมตินิยม"หรือความสงสัย เพื่อที่จะค้นให้พบพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้ของเราทั้งหมด

การดำเนินรอยตามระเบียบวิธีเช่นว่านี้ Descartes ได้มาถึงข้อเสนออันมีชื่อเสียงของเขา คือ "cogito ergo sum" - I think therefore I exist - (ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่) ซึ่งเขาอ้างข้อเสนอดังกล่าว"ฉันจึงมีอยู่"ซึ่งพ้นไปจากข้อสงสัย

ญานวิทยาร่วมสมัยได้ดำเนินรอยตามขนบจารีต Cartesian นี้อย่างแข็งขัน, มีการโฟกัสเกี่ยวกับคำถามการให้เหตุผลเกี่ยวกับความรู้ในการเผชิญหน้ากับความสงสัย. เนื่องจากว่าคำถามอันนี้เกี่ยวกับการให้กำเนิดของความรู้ที่เป็นจริง และเกี่ยวกับการใช้และบริบทต่างๆของความรู้ ซึ่งไปผูกโยงรายรอบกับทฤษฎีต่างๆส่วนใหญ่ในญานวิทยา

ในทางที่ตรงข้ามกันอย่างชัดเจนกับอันนี้ KM ได้ถูกนำไปผูกโยงกับชนิดของคำถามต่างๆในเชิงปฏิบัติข้างต้น สำหรับความรู้ของ KM เป็นสิ่งที่ไกลห่างมากจากความแน่นอนส่วนตัวเกี่ยวกับโลก - มันเป็นเรื่องซึ่งไปเกี่ยวข้องกับความสามารถในทางปฏิบัติ เช่นเดียวกับความเข้าใจในเชิงแนวคิด และสิ่งสำคัญมากไปกว่านั้น KM ได้ถูกนำไปเกี่ยวโยงกับผลผลิต, การเก็บรักษา, และกระบวนการเกี่ยวกับความรู้ในกลุ่ม หรือในความหมายของการแบ่งปัน. ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่สอดคล้องตรงประเด็นเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องความรู้สำหรับ KM จึงแตกต่างไปมากทีเดียวจากความสอดคล้องตรงประเด็นของมันกับบรราดนักปรัชญาทั้งหลาย

ประเด็นที่ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะเน้นในที่นี้คือว่า ตราบเท่าที่ KM ยังถูกนำมาเกี่ยวข้อง มันมีข้อจำกัดต่างๆที่สำคัญในการศึกษาตามจารีตในทางญานวิทยา ญานวิทยาตามขนบจารีตจะเพ่งความสนใจลงไปที่คำถามต่างๆเกี่ยวกับความรู้ที่เป็นส่วนตัวหรือปัจเจก ด้วยประเด็นหลักที่ว่า เรารู้ถึงบางสิ่งบางอย่างได้อย่างไรในฐานะปัจเจก - ความไว้วางใจต่อข้อมูลประสาทสัมผัส, ประสบการณ์, และพยานหลักฐาน ฯลฯ เป็นอย่างไร

ฐานะดังที่กล่าว บรรดานักปรัชญาทั้งหลายได้กระทำภารกิจที่ดีเลิศอันหนึ่งเกี่ยวกับการให้นิยาม"ความรู้"ในความหมายนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ญานวิทยาแบบจารีตไม่ได้ถูกนำให้ไปเกี่ยวโยงกับผลิตผลและกระบวนการของความรู้ในกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง หรือในความหมายของการแบ่งปันความรู้ - จริงๆแล้ว มันไม่ได้ผูกพันกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับผลผลิตทางความรู้และการใช้งาน

ประเด็นปัญหาหลักในญานวิทยาคือ สถานภาพของผลผลิตในขั้นสุดท้าย มากกว่ากระบวนการได้มาซึ่งความรู้ และสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากความรู้ได้ถูกได้มา แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยต่างๆที่ชัดเจน ซึ่งเกี่ยวข้องกับประโยชน์หรือความสนใจของ KM

ผลสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้คือว่า พ้นไปจากการวิเคราะห์มาแต่แรกเกี่ยวกับว่า ความรู้คืออะไร? การศึกษาตามขนบจารีตของญานวิทยา จริงๆแล้ว สามารถนำเสนอหนทางอันเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจเล็กน้อยมากสำหรับ KM. ด้วยเหตุนี้ เราจะต้องมองไปยังที่อื่นๆเพื่อค้นหาการช่วยเหลือหรือข้อสนับสนุนต่างๆอันเป็นประโยชน์จากปรัชญา

เราจะต้องอ่อนไหวต่อความหมายที่ต่างไปเกี่ยวกับคำว่า"ความรู้" ดังที่มันถูกใช้โดยบรรดานักปรัชญาทั้งหลาย และเข้าใจว่า KM ได้ประยุกต์ใช้แนวความคิดเกี่ยวกับความรู้ที่มีลักษณะเฉพาะเอามากๆ จริงๆแล้ว อันนี้ไม่ควรเป็นเรื่องที่ต้องรู้สึกประหลาดใจสำหรับผู้คนที่ทำงานกับ KM

ในส่วนตัวข้าพเจ้าคิดว่า อันที่จริง นี้คือประเด็นหนึ่งซึ่งบรรดานักทฤษฎี KM ส่วนใหญ่ต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้ว กระนั้นก็ตามทั้งๆที่ทราบกันอยู่แล้ว แต่มันเป็นประเด็นหนึ่งที่ว่า บ่อยครั้งเรื่องนี้ได้รับการมองข้ามเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานแนะนำเบื้องต้น และสิ่งนี้สามารถที่จะก่อให้เกิดความสับสนที่รุนแรงขึ้นมาได้ สำหรับใครบางคนที่ทำความเข้าใจเรื่องของ KM เป็นครั้งแรก

อย่างไรก็ตาม มันคือบทเรียนที่สำคัญมากอันหนึ่งสำหรับ KM ที่ควรได้รับการพูดถึงสำหรับการสนทนากันนี้: KM ไม่ควรที่จะละเลยความสำคัญเกี่ยวกับความเข้าใจอย่างถ่องแท้ทางปรัชญาในเรื่องธรรมชาติของความรู้. แม้ว่าสาขาวิชาที่ต่างกัน จะมีความสนใจโดยพื้นฐานที่แตกต่างกันในแนวความคิดเกี่ยวกับความรู้ก็ตาม แต่แนวความคิดทั้งหลายในแต่ละสาขาวิชา ยังคงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันมาก. วิธีการศึกษาที่ได้มาตรฐานในญานวิทยาอาจมีข้อจำกัดมากเกินไป และอาจคับแคบเกินไปสำหรับเรื่อง KM แต่มันไม่ถึงกับเป็นเรื่องที่ไม่ตรงประเด็นกันเลยทีเดียว

สำหรับรากฐานของมัน แนวความคิด KM เกี่ยวกับความรู้ อย่างน้อยที่สุด ควรที่จะเข้ากันได้กับการนิยามความหมายในทางญานวิทยา เพราะแม้ว่าความคิดในแต่ละสาขาวิชาจะสนใจแตกต่างกันในแนวคิดพื้นฐานของมันก็ตาม แต่มันก็ยังคงมีไอเดียหรือความคิดเดียวกันโดยสาระ

ประเด็นนี้ได้หวนกลับมาสู่การเน้นของข้าพเจ้า ในเรื่องขนบจารีตการวิเคราะห์แบบตะวันตก(Western Analytic tradition) มากกว่าขนบจารีตแบบภาคพื้นทวีป(Continental tradition). ในที่นี้ ความรู้สึกของข้าพเจ้าคือ แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ของ KM ได้แยกออกห่างจากรากเหง้าต่างๆทางญานวิทยาไปแล้วเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องความรู้ และต้องได้รับการนำกลับมา มันเป็นประเด็นนี้ที่บทเรียนต่างๆควรได้รับการนำมาจากขนบจารีตปรัชญาวิเคราะห์: นั่นคือ ญานวิทยาในแบบจารีตเน้นว่า ความรู้ที่แท้จะต้องเป็นจริง

แม้ว่าการนิยามความหมายทางปรัชญาเกี่ยวกับความรู้ จะยืนยันถึงฐานะที่เป็นจริง, ความเชื่อที่พิสูจน์ได้หรือมีเหตุผล ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่เป็นที่ถกเถียงกันอีกต่อไปแล้ว แต่ก็เป็นที่ชัดเจนตรงไปตรงมาว่า บางสิ่งบางอย่างไม่สามารถที่จะเป็นความรู้ได้ หากปราศจากสิ่งที่มันมีความเชื่อมโยงอย่างแข็งขันบางประการกับข้อเท็จจริงต่างๆที่เป็นจริงของโลก

คุณสามารถรู้อย่างแท้จริงถึงบางสิ่งบางอย่างได้อย่างไร โดยที่ความรู้นั้นไม่ได้เป็นจริงและถูกต้อง? คุณไม่สามารถรู้ได้ว่า คนที่แปลกแยกนั้นดำรงอยู่ท่ามกลางหมู่พวกเรา เพราะในข้อเท็จจริงแล้ว ไม่มีคนที่แปลกแยก แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการที่"ความรู้"ได้ถูกนิยามโดย KM ปรากฏว่ามันได้สูญเสียความเชื่อมโยงโดยเฉพาะกับความคิดเกี่ยวกับความจริง ปัญหาคือว่า ตามการนิยามของ KM มันคล้ายกันมากกับแนวคิดเกี่ยวกับ"ความเชื่อ" - นิยามความหมายต่างๆเหล่านี้ ดูเหมือนว่าได้สูญเสียความความสำคัญของความมีเหตุมีผลและความจริงไป ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความรู้

ตัวอย่างการนิยามความหมาย"ความรู้"ของ Rumizen: ความรู้คือ - "ข้อมูลในบริบทที่ผลิตความเข้าใจที่สามารถปฏิบัติการได้" - [Information in context to produce actionable understanding] (2002: 6, 288) มาถึงตรงนี้ ถ้าบางสิ่งบางอย่างไม่สามารถได้รับการเรียกว่า"ข้อมูล"(information) มันก็ไม่เป็นจริง

นิยามความหมายนี้ดูเหมือนว่าเป็นที่ยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมา อย่างน้อยที่สุดจากแง่คิดหรือทัศนะที่ว่า ความรู้จะต้องมีความเชื่อมโยงกันบางอย่างกับความจริง แต่บ่อยครั้ง เราใช้คำว่า"ข้อมูล"ในหนทางที่หลวมๆมาก ซึ่งรับรองความเป็นไปได้ที่ว่า ข้อมูลนั้นอาจผิดพลาดก็ได้ ดังนั้น มันจึงมีเหตุผลหรือเข้าใจได้ในการกล่าวว่า ใครบางคนอาจมีพื้นฐานความเชื่อ(ที่ผิดพลาด)อันหนึ่งเกี่ยวกับข้อมูลที่ผิดพลาด อย่างไรก็ตาม เรามีแนวโน้มที่จะคิดว่า ใครบางคนไม่สามารถมีความรู้ที่ผิดพลาดได้ - ในกรณีนี้ เราอาจจะกล่าวว่า ใครบางคนไม่สามารถรู้อะไรได้เลย ถ้าหากว่าสิ่งที่เขาคิดว่าเขารู้นั้นเป็นสิ่งที่ผิดพลาด

สำคัญยิ่งไปกว่านั้น มันดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้สำหรับบางสิ่งจะพบกับนิยามความหมายนี้ โดยไม่เป็นความรู้ที่แท้จริง เมื่อมันอาจมีความเป็นไปได้สำหรับข้อมูลที่ผิดพลาด"ที่จะผลิตความเข้าใจที่สามารถปฏิบัติได้" - สิ่งที่คุณทำอาจเข้าท่า แต่นั่นอาจเป็นเรื่องๆหนึ่งของความโชคดีจริงๆเท่านั้น

ความกังวลใจต่างๆในชนิดเดียวกันกับการนิยามความหมายของ Davenport & Prusak ในเรื่องความรู้: นั่นคือ "ความรู้เป็นส่วนผสมที่เลื่อนไหลของกรอบประสบการณ์ คุณค่า ข้อมูลเชิงบริบท และความเข้าใจชำนิชำนาญที่ได้นำเสนอโครงร่างหรือเค้าโครงอันหนึ่งขึ้นมา สำหรับการประเมินผลและการรวบรวมประสบการณ์และข้อมูลใหม่ (1985: 5)

ดูเหมือนว่า นิยามความหมายอันนี้มันมีปัญหามากกว่าของ Rumizen เพราะการให้นิยามความรู้ในฐานะที่เป็น"กรอบประสบการณ์" ยินยอมให้ความเชื่อของมนุษย์เกือบทั้งหมดกลายเป็นรูปแบบอันหนึ่งของความรู้ได้ ไม่ว่ามันจะถูกต้องหรือเป็นความเชื่อที่เป็นจริงก็ตาม การดำเนินรอยตามนิยามความหมายนี้ ข้าพเจ้ารู้ว่า คนที่แปลกแยกที่ดำรงอยู่ท่ามกลางหมู่พวกเรา, Elvis ยังคงมีชีวิตอยู่, และโรคเอดส์ได้รับการส่งมาโดยพระผู้เป็นเจ้าเพื่อลงโทษคนนอกศาสนา หรือที่ว่า DNA ของมนุษย์ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์ต่างดาวด้วยการโคลนนิ่ง

จริงๆแล้ว บางที KM อาจสนใจในแนวคิดอันหนึ่งของ"ความรู้"ที่ยอมให้คำอ้างที่ไม่แท้(เก๊)หรือไม่ต้องพิสูจน์เช่นสิ่งเหล่านี้เป็นความรู้ที่แท้จริง บางที KM ควรได้รับการนำไปเชื่อมโยงกับการจัดการรูปแบบของความเชื่อทั้งหมดในระบบความเชื่อทั้งมวล และไม่เพียงเชื่อมกับความเชื่อที่แท้จริงต่างๆเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง บางที การจัดการความรู้(Knowledge management) ที่จริงแล้ว ควรได้รับการเรียกขานว่า "การจัดการความเชื่อ"(Belief Management)ใช่หรือไม่?

อย่างไรก็ตาม การกระทำเช่นนั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดพลาด. จุดสำคัญในที่นี้คือว่า KM ควรได้รับการนำไปผูกโยงกับความรู้ที่สัมพันธ์กันและใช้ประโยชน์ได้ ข้าพเจ้าเรียกร้องว่า แนวความคิดเกี่ยวกับความรู้ทั้งมวลอันนั้น จะต้องธำรงรักษาความเชื่อมโยงอันหนึ่งกับความจริง อันนี้เพราะว่าโดยพื้นฐานของมัน ความรู้จะต้องถูกวางอยู่บนคุณสมบัติและกระบวนการต่างๆบนโลกที่เป็นจริง แม้ว่าแนวความคิดของเราเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ อาจได้รับการสร้างขึ้นในบางความหมายทางสังคม

สำหรับบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนเหล่านั้นที่มีพื้นฐานอยู่ในวิธีการศึกษาแบบภาคพื้นทวีปและการตีความเชิงวิพากษ์(hermeneutic approach)ในเรื่องความรู้ ความคิดต่างๆเหล่านี้ ดูเหมือนว่าจะชอบการโต้เถียงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเน้นของข้าพเจ้าบนเรื่องความจริง อาจดูเหมือนจะผิดที่ผิดทางไป โดยเฉพาะถ้าใครคนหนึ่งต้องการที่จะเน้นเรื่องความคิดเกี่ยวกับความรู้ในฐานะที่เป็นปฏิบัติการอันหนึ่งทางสังคม

ต่อคนเหล่านั้น ด้วยสถาบันต่างๆเหล่านี้ การโต้ตอบของข้าพเจ้าคือว่า แนวคิดทางสังคมเกี่ยวกับความรู้ ไม่เพียงเข้ากันได้กับไอเดียความรู้ในฐานะที่เป็นความจริงเท่านั้น แต่ยังเรียกร้องต้องการการวิเคราะห์โดยตลอดเกี่ยวกับผลิตผลของความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ อันนี้คือประเด็นหนึ่ง ซึ่งถูกเน้นโดยบรรดานักปรัชญาทั้งหลายจำนวนมากเมื่อไม่นานมานี้ อย่างเช่น Hacking (1999) และ Kitcher (1993, 2001), ผู้ซึ่งได้ทำการสำรวจถึงความคิดต่างๆข้างต้น ที่ได้แสดงให้เห็นว่า มันสามารถประนีประนอมความคิดเกี่ยวกับความรู้ในฐานะที่เป็นปฏิบัติการทางสังคม กับ แนวความคิดเรื่องความรู้ในฐานะที่เป็นความจริง หรือความเชื่อที่มีเหตุผลพิสูจน์ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Hacking ได้ให้เหตุผลว่า ลัทธิประกอบสร้างทางสังคม(social constructivism) ไม่ได้ขัดแย้งกับการอิงอาศัยความจริง และนั่น เราสามารถมีความเข้าใจทางสังคมอย่างอุดมสมบูรณ์เกี่ยวกับแนวคิดจำนวนมาก ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และทางด้านสังคม โดยมิได้สูญเสียแนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับคุณสมบัติและกระบวนการบนโลกที่เป็นจริงไปแต่อย่างใด

เหตุผลการอิงอาศัยต่อลัทธิสัจนิยมและความจริงนั้น เป็นสิ่งซึ่งเข้ากันได้กับแนวความคิดทางสังคมเกี่ยวกับความรู้ ที่ว่ามันไม่ได้ปฏิเสธข้อเท็จจริงที่ว่า ปัจจัยต่างๆทางสังคมมีความเป็นจริง ตัวอย่างซึ่งดีที่สุดอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นประเด็นนี้ได้อย่างสมบูรณ์ก็คือ การที่เราทั้งหลายพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงิน มันมีความหมายหรือนัยหนึ่งซึ่ง เงินเป็นสิ่งสร้างทางสังคมอย่างแน่นอน - แนวความคิดได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของมัน โดยผ่านขนบธรรมเนียมทางสังคมและความตกลงร่วมกัน แม้มันไม่ได้มีเงินอยู่ในธรรมชาติ กระนั้นก็ตาม เงินก็เป็นความจริงด้วย และรวมทั้งการพูดถึงของพวกเราทั้งหมดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย, งบประมาณ, ตลาดการเงิน, ฯลฯ ก็เป็นจริงด้วยเช่นกัน

อันนี้ชัดเจนเกี่ยวกับแก่นแท้ที่เป็นจริง กับ แก่นแท้ของเรื่องที่เสกสรรค์ขึ้นมาอย่างบริสุทธิ์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราพูดถึงอัตราของการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเหรียญออสเตรเลีย กับเหรียญอเมริกัน เท่ากับ 0.67 ข้าพเจ้ากำลังสร้างข้ออ้างความเป็นจริงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของโลก แม้ว่าอันนี้จะเป็นการสร้างข้อเท็จจริงขึ้นมาทางสังคมก็ตาม

สิ่งสำคัญคือ ข้ออ้างอันนี้อาจถูกหรือผิด และคุณค่าที่แท้จริงของข้ออ้างนี้สามารถทำให้เกิดความแตกต่างในทางปฏิบัติที่มีนัยสำคัญขึ้นมาได้ - ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าข้าพเจ้าเป็นพนักงานธนาคารที่ทำหน้าที่รับจ่ายเงิน มันเป็นเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับความจริงในความหมายนี้ที่ข้าพเจ้าปรารถนาจะเน้นย้ำ เพื่อความเข้าใจทางปรัชญาเกี่ยวกับความรู้สำหรับเรื่อง KM

การอิงอาศัยความจริงมิได้ปฏิเสธความสำคัญของวัฒนธรรม หรือการตีความ หรือความเข้าใจ ทั้งหมดที่มันเกี่ยวข้องเป็นการอิงอาศัยในระดับพื้นฐานต่อข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นความจริงบางอย่างเกี่ยวกับโลก ประเด็นทั้งหมดในที่นี้คือว่า มันไม่ต้องการมีข้อขัดแย้งใดๆระหว่างลัทธิการประกอบสร้างทางสังคม กับ ความรู้ในฐานะที่เป็นจริง - อันที่จริงแล้ว ความเชื่อมโยงอันหนึ่งกับความจริง ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของคำอธิบายทางสังคมเกี่ยวกับความรู้ ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงแก้ต่างเรื่อง KM โดยการธำรงรักษาความเชื่อมโยงกันอันหนึ่งกับความรู้ที่แท้ และไม่เป็นเพียงแค่ความเชื่อเท่านั้น

3. ปรัชญาที่สอดคล้อง - ปรัชญาของวิทยาศาสตร์และญานวิทยาทางสังคม
RELEVANT PHILOSOPHY - PHILOSOPHY OF SCIENCE AND SOCIAL EPISTEMOLOGY

ข้าพเจ้าได้กล่าวไปแล้วว่า ญานวิทยาแบบขนบจารีตอาจมีข้อจำกัดในการนำไปใช้กับเรื่องของ KM เนื่องจากว่า มันได้ไปโฟกัสลงตรงที่ต้นตอกำเนิด และการแสดงเหตุผลข้อพิสูจน์เกี่ยวกับความรู้ส่วนบุคคล มากกว่าปฏิบัติการที่เป็นจริงของการใช้ความรู้, การแบ่งปันความรู้ และการแพร่กระจายความรู้

การที่ KM แรกทีเดียวเป็นเรื่องที่ผูกพันอยู่กับความรู้ ดังที่มันได้รับการก่อเกิด, แบ่งปัน, เก็บรักษา และใช้ประโยชน์ภายในสภาพแวดล้อมร่วมกันอันหนึ่งขึ้นมา ถ้าหากว่าเราจะมองไปที่ทฤษฎีทางปรัชญา เพื่อตระเตรียมรากฐานอันหนึ่งขึ้นสำหรับภารกิจต่างๆของ KM เราจะต้องค้นหาพื้นที่เหล่านั้นที่สามารถจะเกี่ยวโยงกับประเด็นปัญหาในเชิงปฏิบัติเหล่านี้ให้ได้ เช่นเดียวกับการตระเตรียมความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในรูปแบบที่แตกต่างของความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างพวกมัน. ทฤษฎีทางปรัชญาอันนั้น จะต้องช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ข้างใต้กระบวนการที่ตรงประเด็นกับเรื่องของ KM ด้วย

ในที่นี้ ข้อเสนอแนะของข้าพเจ้าคือว่า สถานที่ให้ผลอย่างอุดมสมบูรณ์มากที่สุด เพื่อค้นหาความเข้าใจทางปรัชญาอย่างถ่องแท้และตรงประเด็นสำหรับ KM ก็คือ ในผลงานเมื่อไม่นานมานี้ ทั้งในด้านปรัชญาวิทยาศาสตร์ และการปรากฏตัวขึ้นมาของสาขาวิชาความรู้เกี่ยวกับญานวิทยาทางสังคม แม้ว่ามันยังคงมีข้อจำกัดอยู่ที่จะไปเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับทฤษฎีทางปรัชญาพวกนี้ก็ตาม

แต่พื้นที่ทั้งหลายเหล่านี้ ก็ได้ถูกนำมาผูกพันกับคำถามที่ตรงไปตรงมาทำนองเดียวกัน กับคำถามเหล่านั้น ซึ่งสนใจต่อเรื่องการจัดการความรู้ และด้วยเหตุนี้ มันจึงสามารถที่จะจัดหาความเข้าใจอย่างถ่องแท้ให้กับประเด็นปัญหาต่างๆข้างต้น ดังนั้น พวกมันจึงควรสามารถที่จะจัดหาเครื่องมือต่างๆในทางทฤษฎีบางอย่าง ซึ่งสามารถที่จะได้รับการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างคำอธิบายในทางทฤษฎีอันหนึ่งเกี่ยวกับงานความรู้ได้

มันเป็นขนบจารีตที่เข้มแข็งไปแล้วภายใน KM เกี่ยวกับการประยุกตใช้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่างๆจากปรัชญาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานต่างๆของ Kuhn(1970) และ Popper (1959, 1972) ซึ่งเป็นที่น่าสนใจมากที่สุดต่อบรรดานักทฤษฎี KM จำนวนหนึ่ง. แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องกระบวนทัศน์(paradigm) โลกทัศน์อันหนึ่งโดยเฉพาะ ได้แสดงบทบาทที่สำคัญยิ่งในความเข้าใจที่ว่า ทำไมชุมชนหนึ่งของบรรดานักคิดทั้งหลาย -หรือคนงานความรู้(knowledge worker)- จึงต้องการแบ่งปันความเชื่อพื้นฐานบางอย่าง เพื่อที่จะทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ไอเดียต่างๆของ Kuhn เกี่ยวกับ การไม่มีมาตรฐานร่วมกัน(incommensurability - ไม่สามารถตัดสินหรือวัดได้โดยมาตรฐานเดียวกัน) กลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อบรรดานักทฤษฎี KM เป็นจำนวนมาก. ความเข้าใจที่ลึกซึ้งของ Popper ในพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ยังช่วยทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง KM ให้สมบูรณ์มากขึ้นด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม KM ได้ให้ความสนใจน้อยมากต่อพัฒนาการเมื่อไม่นานมานี้ ในเรื่องปรัชญาวิทยาศาสตร์ ซึ่งยึดถือวิธีการศึกษาที่แตกต่างไปมากทีเดียว ในเรื่องของการสำรวจค้นคว้าต่างๆ. แนวโน้มทางด้านปรัชญาวิทยาศาสตร์ไม่กี่ปีมานี้ได้เปลี่ยนแปลงจาก การพยายามพัฒนาคำอธิบายทั่วๆไปอันหนึ่งเกี่ยวกับว่า วิทยาศาสตร์คืออะไร (เช่นดังหลักฐานที่ปรากฎอยู่ในงานของ Popper และ Kuhn) ไปสู่การมองเข้าไปที่รายละเอียดอันประณีตของวิทยาศาสตร์อย่างใกล้มากๆ

รายละเอียดต่างๆอันประณีตเหล่านี้เกี่ยวโยงกับวิธีการที่สลับซับซ้อน ซึ่งบรรดานักทฤษฎีวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้พัฒนาขึ้นมา ในเทอมต่างๆที่เกี่ยวกับว่า ผลงานวิทยาศาสตร์, เหตุผล, การทดลอง, การทำงานร่วมกับผู้อื่น ฯลฯ เป็นอย่างไร

ด้วยเหตุนี้ Cartwright (1989a, 1989b) จึงเน้นถึงความสำคัญของสมรรถภาพเกี่ยวกับมูลเหตุในทางวิทยาศาสตร์ และ Dupre(1993) ได้สำรวจถึงความเกี่ยวพันทางด้านเมตตาฟิสิกส์(อภิปรัชญา)ของการแตกแยกเกี่ยวกับทัศนียภาพต่างๆ ซึ่งมีร่วมกันที่ข้ามขบวนแถวต่างๆของวิทยาศาสตร์

ผลงานในเชิงรายละเอียดของ Galison (1996, 1997) ได้มองไปที่บทบาททางด้านพลวัตของสังคมและการเมืองในชีวิตทางทฤษฎีของบรรดานักนิวเคลียรพิสิกส์. Hacking (1999) ก็ได้ทำการสำรวจประเด็นปัญหาต่างๆเหล่านี้ด้วยในรายละเอียดบางประการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การประกอบสร้างทางสังคมเกี่ยวกับโลก มิได้นำมาซึ่งการสูญเสียความเชื่อมโยงกับอุดมคติต่างๆในทางญานวิทยาแบบจารีต อย่างเช่น ความถูกต้องและความจริง

ท้ายที่สุด Kitcher (1993) ได้พัฒนาแบบจำลองที่สลับซับซ้อนอันหนึ่ง เกี่ยวกับเหตุผลทางด้านวิทยาศาสตร์ในสภาพแวดล้อมร่วมกัน ที่ซึ่งปัจจัยๆทั้งหลายในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยที่ต่างกัน ในการสร้างภาพรายละเอียดเกี่ยวกับผลผลิตทางความรู้ในบริบทของกลุ่ม

วิธีการศึกษาอันนี้ค่อนข้างที่จะตรงข้ามอย่างแหลมคม กับวิธีการศึกษาในเรื่องการจัดการความรู้. ปัจจุบัน ผลงานจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่อง KM ได้รับข้อมูลและอิทธิพลจากการศึกษาต่างๆทางด้านปรัชญาและสังคมวิทยาวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น ผลงานที่เขียนโดย Latour และ Woolgar (1986) และ Charlesworth et al. เหล่านั้น (1989)

อย่างไรก็ตาม ขณะที่สิ่งเหล่านี้เป็นคำอธิบายที่ดีเยี่ยมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆของงานทางความรู้ที่ทำร่วมกัน แต่พวกมันก็ได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนปัญหาทางด้านอภิปรัชญาเกี่ยวกับลัทธิประกอบสร้างทางสังคม(social constructivism) ซึ่งล้มเหลวที่จะธำรงรักษาความเชื่อมโยงระหว่างความรู้และความจริงเอาไว้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเอาใจใส่ของข้าพเจ้าคือว่า วิธีการศึกษาต่างๆเหล่านี้มันนำเสนอรากฐานอภิปรัชญาที่อ่อนแออันหนึ่งให้กับการวิจัย และไม่ได้ให้คำอธิบายที่ชัดเจนเพียงพอเกี่ยวกับกระบวนการที่ทำงานอยู่ข้างใต้ในการสร้างความรู้ และสภาพแวดล้อมในการใช้ความรู้

ในที่นี้ วิธีการศึกษาทั้งหลายเกี่ยวกับการโฟกัสลงไปที่การทดลองของบรรดานักปรัชญาวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น Gailson และ Kitcher สามารถให้การช่วยเหลือได้ ดังที่พวกเขาได้เน้นที่จะพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับกระบวนการรับรู้ที่ตรงประเด็นทั้งหมด รวมถึงพลวัตทั้งหลายทางสังคมและปัจจัยต่างๆร่วมกัน ในการวิเคราะห์ที่สมบูรณ์เกี่ยวกับการผลิตความรู้

พื้นที่ซึ่งมีอนาคตหรือความหวังอื่นๆเกี่ยวกับการสืบค้นทางปรัชญาคือ การปรากฎตัวขึ้นมาของสาขาวิชาเกี่ยวกับญานวิทยาทางสังคม(social epistemology). อันที่จริง อันนี้ค่อนข้างมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวิธีการศึกษาในทางปรัชญาวิทยาศาสตร์ดังที่เพิ่งพูดถึง และผู้คนพวกเดียวกันเป็นจำนวนมาก ก็กำลังทำงานอยู่ในสาขาวิชาความรู้นี้ ผลงานที่มีนัยสำคัญส่วนใหญ่ในสาขานี้ได้รวมเอาผลงานของ Kitcher (2001), Longino (2001), Solomon (2001), Goldman (1999) and Turner (1994, 2002) เอาไว้ด้วย

ญานวิทยาทางสังคมคือการยืดขยายของญานวิทยาแบบจารีต ซึ่งได้ผนวกเอาความสัมพันธ์ระหว่าง"ปัจจัยทางสังคม"กับ"ปัจจัยทางเหตุผล"เข้าไปในการวิเคราะห์ เกี่ยวกับกระบวนการผลิตความรู้

ขณะที่ยังมีการถกเถียงกันอย่างมาก ภายใน"ญานวิทยาทางสังคม"เกี่ยวกับความสำคัญของความจริง และนัยสำคัญของสัมพัทธนิยม (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่าง Longino and Kitcher) เป็นที่ชัดเจนว่า วิธีการศึกษาเหล่านี้สามารถที่จะช่วยสนับสนุนทฤษฎีความรู้ร่วมกันได้ ซึ่งทำงานอยู่ในกรอบโครงร่างอภิปรัชญาสัจนิยมและพหุนิยม (ดังเค้าโครงในงานของ Cartwright 1999). อันนี้ยอมรับถึงมิติทางสังคมว่ามันมีนัยสำคัญในการผลิตความรู้ ขณะเดียวกันก็สงวนรักษาความคิดเกี่ยวกับความรู้ที่เชื่อมโยงอย่างลึกซึ้ง กับคุณสมบัติต่างๆที่แท้จริงและกระบวนการเอาไว้

ด้วยเหตุดังนั้น การประยุกต์ใช้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งจากญานวิทยาทางสังคม จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ ที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับงานความรู้ซึ่งได้รับการวางอยู่บนพื้นฐานความจริง และยังรวมเข้ากับความสนใจทางสังคม, การปฏิบัติ, และความจริงที่สอดคล้องซึ่งเป็นแกนกลางของภารกิจต่างๆเกี่ยวกับการจัดการความรู้ด้วย

จุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ จะต้องกำหนดแง่มุมต่างๆของความรู้อย่างแม่นยำ ซึ่งตรงประเด็นหรือสอดคล้องกับโครงการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ และการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่อยู่ข้างใต้ส่วนประกอบของความรู้เหล่านี้ อันนี้จะเกี่ยวข้องกับการประเมินกระบวนการรับรู้ที่เข้ากัน ปัจจัยทั้งหลายทางสังคมและปฏิบัติการที่เป็นจริง ซึ่งเกี่ยวพันอยู่ในโครงการต่างๆเกี่ยวกับ KM

สิ่งเหล่านี้จะพัฒนาไปสู่รากฐานทางด้านทฤษฎีสำหรับงานเชิงปฏิบัติที่กระทำในเรื่อง KM ซึ่งธำรงรักษาความเชื่อมโยงอันหนึ่งเอาไว้กับ กระบวนการและคุณสมบัติต่างๆของโลกที่เป็นจริง. รากฐานดังกล่าวจะหลีกเลี่ยงข้อสรุปที่เป็นปัญหาที่ว่า ความรู้ได้รับการประกอบสร้างในทางสังคมขึ้นมาอย่างบริสุทธิ์ และด้วยเหตุดังกล่าว จะเสนอการวิเคราะห์ที่ทรงพลังอันหนึ่งเกี่ยวกับงานด้านความรู้

แต่อย่างไรก็ตาม ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการจัดการความรู้ การศึกษาที่ยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบันในปรัชญาวิทยาศาสตร์และญานวิทยาทางสังคม ยังคงเป็นสิ่งที่ขาดแคลนอยู่บ้าง. ดังที่สาขาวิชาเหล่านี้ยืนอยู่ พวกมันได้นำเสนอคำอธิบายในรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตความรู้ แต่มีคำอธิบายเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยเกี่ยวกับการใช้ความรู้, การแบ่งปันความรู้, และการกระจายความรู้ แง่มุมที่เป็นแก่นแกนเหล่านี้ทั้งหมด เกี่ยวข้องกับโครงการต่างๆของ"การจัดการความรู้"

ส่วนหนึ่งของปัญหาในที่นี้คือ บรรดานักปรัชญาทั้งหลาย ดูเหมือนว่าจะไม่ให้ความสนใจในชนิดต่างๆของคำถามซึ่งเป็นสาระสำคัญของ KM. นักปรัชญาทั้งหลายยังคงยึดติดอยู่กับกระบวนทัศน์แบบ Cartesian และยังคงถูกครอบงำด้วยความเข้าใจในต้นตอและความมีเหตุผลของความรู้ มากกว่าพลวัตต่างๆของความรู้ในฐานะที่เป็นกระบวนการอันหนึ่ง

อันที่จริงแล้วในที่นี้ เราสามารถที่จะเลี้ยวกลับและมองไปที่ KM เพื่อเสนอแรงบันดาลใจบางอย่างให้กับปรัชญา ความท้าทายดังกล่าวที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยโครงการต่างๆเกี่ยวกับ KM สามารถถูกนำมาใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ประเด็นปัญหาเหล่านี้ จริงๆแล้ว มันมีนัยสำคัญอย่างไร ซึ่งต้องการได้รับการสืบสาวค้นคว้าลงไปในรายละเอียด

ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่ได้รับมาจากโครงการ KM ที่แพร่หลายอยู่ สามารถได้รับการย้อนกลับไปยังทฤษฎีทางปรัชญาได้ อันนี้จะเกี่ยวพันกับการขยายคำอธิบายต่างๆเกี่ยวกับการผลิตความรู้ร่วมกัน ดังที่ได้รับการจัดหามาโดยปรัชญา สู่คำอธิบายที่กว้างขวางเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของความรู้ร่วมกัน

อันนี้คือที่ทางซึ่งมิติในเชิงปฏิบัติการของ KM สามารถที่จะช่วยทำให้ความเข้าใจทางปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้ให้รุ่มรวยและสมบูรณ์มากขึ้น และด้วยเหตุนี้ มันจะน้อมนำสู่การศึกษาในเรื่อง KM ซึ่งได้วางอยู่บนรากฐานทฤษฎีทางปรัชญาที่สมบูรณ์และสอดคล้อง ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง
Cartwright, N. 1989a. Nature's Capacities and their Measurement. Oxford: Clarendon Press, .

Cartwright, N. 1989b. "Capacities and Abstractions." From Kitcher, P. and W. C. Salmon (eds.) Scientific Explanation, Minnesota Studies in the Philosophy of Science, Volume 13. pp. 349-356. Minnesota: University of Minnesota Press.

Cartwright, N. 1999. The Dappled World. Chicago: University of Chicago Press.

Charlesworth, M., Lyndsay Farrall, Terry Stokes, David Turnbull. 1989. Life among the scientists : an anthropological study of an Australian scientific community. Melbourne: Oxford University Press CIO.com 2002. "Knowledge Management" (May 2003) http://www.cio.com/summaries/enterprise/knowledge/

Davenport, T and Prusak, L. 1998. Working Knowledge: How organisations manage what they know. Boston, Mass.: Harvard Business School Press

Descartes, Rene. 1996. Meditations on First Philosophy, translated by John Cottingham. (originally published 1640) Cambridge: Cambridge University Press.

Dretske, F. 1981. Knowledge & the Flow of Information. Cambridge, Mass.: MIT Press.

Dupre J. 1993. The Disorder of Things: Metaphysical Foundations of the Disunity of Science. Cambridge, Mass.: Harvard University Press.

Friedman, M. 2001. Dynamics Of Reason. Stanford, Calif.: CSLI Publications

Galison, P. 1996. "Computer Simulations and the Trading Zone." From Galison, P. and D. Stump (eds.) 1996. The Disunity of Science: Boundaries, Contexts, and Power. pp. 118-157. Stanford: Stanford University Press.

Galison, P. 1997. Image and Logic. Chicago: University of Chicago Press.

Goldman, A. I. 1999. Knowledge in a Social World. Oxford: Clarendon Press.

Gordon, J.L. & Smith, C. 1998. "Research: Knowledge Management Guidelines" (May 2003) http://www.akri.org/research/km.htm

Hacking, I. 1983. Representing and Intervening. Cambridge: Cambridge University Press.

Hacking, I. 1999. The Social Construction of What? Cambridge, Mass.: Harvard University Press.

Hume, D. 1888. A Treatise of Human Nature. (1960 facsimile reprint, edited by L. A. Selby-Bigge.) Oxford: Oxford University Press.

Iivari, J. 2000. "Reflections on the Role of Knowledge Management in information Economy" In Burnstein & Linger (eds.) 2001. Knowledge Management for Information Communities. Australian Conference for Knowledge Management and Intelligent Decision Support, Melbourne, Australia, 2000.

Kitcher, P. 1993. The Advancement of Science. Oxford: Oxford University Press.

Kitcher, P. 2001. Science, Truth, and Democracy. Oxford: Oxford University Press.

Kuhn, T. 1970. The Structure of Scientific Revolutions. Chicago: University of Chicago Press.

ที่มา : http://midnightuniv.org/midnigh

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญา_k(m)
หมายเลขบันทึก: 39683เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท