จะ KM รูปแบบใหน ก็มุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน


สองวิธี ของสองจังหวัดนี้ น่าจะได้มีการแลกเปลี่ยนกันบ่อย ๆ และน่าจะมาถอดบทเรียนร่วมกัน เพื่อที่จะศึกษาจุดเด่น จุดด้อยของแต่ละรูปแบบ

         เมื่อวันที่  29  สิงหาคม  2549  กศน. จังหวัดตรัง จัดให้มีการประชุมอบรม หลักสูตรการจัดการความรู้ โดยใช้กลุ่มเป้าหมายบุคลากรในหน่วยงาน กศน. คือ ผู้บริหาร ข้าราชการครู บรรณารักษ์ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง  งานนี้จังหวัดตรังได้เชิญ ครูนงเมืองคอน (อ.จำนง  หนูนิล) ไปเล่าประสบการณ์ ส่วนผมนั้นมีรายชื่อห้อยท้ายไปด้วย ในฐานะศิษย์ก้นกุฏิ  ก็ไปเล่าประสบการณ์การเป็นวิทยากรกระบวนการ ในฐานะคุณอำนวยที่ทำงานในพื้นที่
          กศน. เมืองตรัง เป็นหนึ่งใน  36  จังหวัดนำร่อง ที่ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรการจัดการความรุ้ของสำนักบริหารงาน การศึกษานอกโรงเรียนที่มอบหมายให้สถาบันการศึกษาและพัฒนา ต่อเนื่องสิรินธรเป็นเจ้าภาพจัด ณ สถาบันพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (วัดไร่ขิง) อำเภอสามพรานจังหวัดนครปฐม  ซึ่งอาจารย์จำนง หนูนิล  กับผมเคยไปเล่าประสบการณ์มาครั้งหนึ่งแล้ว และการอบรมของ กศน.จังหวัดตรัง ครั้งนี้มีเป้าหมายการทำ KM  ในหน่วยงาน/องค์กร ให้เป็นองค์กรการเรียนรู้
              กศน. จังหวัดตรัง เริ่มการจัดการความรู้ที่หน่วยงาน/องค์กร เพื่อที่จะขยายออกสู่การจัดการความรู้กับกลุ่มเป้าหมายนอกหน่วยงาน หรือประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่  จากการแลกเปลี่ยนใน ที่ประชุมเสวนา พบว่า  กศน.จังหวัดตรัง  มีเป้าหมายที่จะทำให้ หน่วยงาน/องค์กร เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อที่จะนำไปขยายสู่การ ปฏิบัติงานในพื้นที่โดยใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อ ที่จะนำชุมชนไปสุ่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ กับกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ได้ง่ายขึ้นเพราะมีบุคลากรของ กศน. ที่มีประสบการณ์จากในหน่วยงาน อยู่แล้วเป็นทุน      ผมคิดว่าเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งเหมือนกัน ดูเหมือนมันจะเป็น วิธีที่เป็นลำดับขั้นตอน  โดยเริ่มจากการ จัดการความรู้ ในหน่วยงาน/องค์กร  ขยายออกสู่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งต่างกับการจัดการความรูุ้แก้จนเมืองนครที่เริ่มจากการจัดการ ความรู้ในภาคประชาชน(กลุ่มเป้าหมาย) โดยการใช้เจ้าหน้าที่จาก ทุกหน่วยงานเป็นคนคอย เอื้ออำนวยความสะดวกในการ จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีแนวคิดว่าเมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ในพื้นที่(คุณอำนวย) ได้ความรู้และประสบการณ์จากการทำเวที และนำความรู้ประสบการมาเล่า รวมถึงการถอดบทเรียนร่วมกัน ก็จะทำให้หน่วยงานหรือองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้เช่นเดียวกัน
           คิดว่า สองวิธี  ของสองจังหวัดนี้ น่าจะได้มีการแลกเปลี่ยน กันบ่อย ๆ และน่าจะมาถอด บทเรียนร่วมกัน เพื่อที่จะศึกษา จุดเด่น  จุดด้อยของแต่ละรูปแบบ เพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนางานการ ศึกษานอกโรงเรียนให้บรรลุตามวิสัยทัศน์  และยุทธศาสตร์ ของหน่วยงาน และสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน

หมายเลขบันทึก: 47449เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท