กราฟ 7 อันนี้ สื่อถึงความหมายใดให้กับผมบ้าง?


หันมาเล่นแร่แปลธาตุกับข้อมูลที่มีอยู่

ก้าวต่อไปที่จะเน้นหนักของศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ มมส. โดยการนำทีมโดยท่านอาจารย์จิตเจริญ รักษาการผู้อำนวยการของเราชาวศูนย์ฯ คือการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านประกันคุณภาพฯ ในลู่ต่างๆ <คลิ๊กดู model> ทั้งภายในและภายนอก บนกรอบของการประกันคุณภาพ เครื่องการจัดการความรู้ที่เราจะนำมาใช้ เพื่อเฟ้นหา ผู้ให้” ”ผู้ใฝ่รู้ในแต่ละเครือข่ายที่เราจะสร้างขึ้นมา คือ ชุดธารปัญญา ตามแบบของ สคศ.

ผมลองศึกษาจากรายงาน สรุป ตัวอย่างหลายๆที่จากอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะในส่วนของโรงพยาบาล ก็พยายามมาลองทำเองดู ในส่วนที่มีข้อมูลอยู่แล้ว คือ ผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ 2 ของ 8 กลุ่มสาขาวิชา ซึ่งจะเป็นเครือข่ายประกันคุณภาพ ลู่ในส่วนของคณะวิชาก่อนในอันดับแรกนี้

หัวปลาใหญ่ คือ การประกันคุณภาพ แต่ละมาตรฐานก็เป็นหัวปลาย่อย มีตัวบ่งชี้เป็นขีดความสามารถหลัก (ตารางแห่งอิสรภาพ แบบได้มาฟรี ไม่ต้องระดมสมองทำขึ้นใหม่ พร้อมมีคนประเมินมาให้แล้ว คือ สมศ. ในขั้นตอนนี้เลยลดเวลาได้มากครับ เพียงแต่มาเล่นแร่แปลธาตุกับข้อมูลที่มีอยู่)

ในขั้นแรกนี้มาลองทำกราฟจากคะแนนการประเมิน และทำกราฟ ธารปัญญาเพื่อดูภาพรวมของทั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งก็พอบอกอะไรได้ในระดับหนึ่ง

สำหรับขั้นตอนต่อไปคงเป็นเรื่องของการจัดทำ บันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยแห่งแต่ละกลุ่มสาขาวิชา ตั้งเป้าหมายเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถหลักเพื่อการพัฒนา และจัดคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดเวที นำเครื่องมือของการจัดการความรู้เข้ามาช่วย KM เติมเต็ม QA และสุดท้ายก็จัดเก็บความรู้ เพื่อเป็นคลังสำหรับหยิบไปใช้พัฒนา มมส. ต่อไปครับ

7 กราฟ 7 หัวปลาย่อย 7 ธารปัญญานี้ บอกอะไรเบื้องต้นให้ผมได้บ้าง ?

เช่น

  • ในกราฟที่ 1 หัวปลาด้านคุณภาพบัณฑิต ควรนำขีดความสามารถหลักที่ ตัวบ่งชี้ 1.6 เรื่องของวิทยานิพนธ์และงานวิชาการของนิสิตที่ได้รับรางวัลฯ มาเร่งดำเนินการก่อนเป็นอันดับแรก
  • ในกราฟที่ 2 หัวปลาด้านการวิจัย สิ่งที่น่าห่วงที่สุด คือ ขีดความสามารถหลักที่ ตัวบ่งชี้ 2.6 เรื่องของบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงของอาจารย์ โดยเฉพาะกลุ่มวิชาที่อยู่ระดับการดำเนินการ ที่ 0
  • ในกราฟที่ 3 หัวปลาด้านการบริการวิชาการ ควรนำขีดความสามารถหลักที่ ตัวบ่งชี้ 3.2 เรื่องของการเป็นกรรมการวิชาชีพ วิชาการ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ภายนอก มมส. มาพิจารณาดำเนินการก่อนเป็นอันดับแรก
  • ในกราฟที่ 4 เรื่องของการทำนุบำรุงศิลปฯ ไม่มีอะไรน่าห่วง
  • ในกราฟที่ 5 เรื่องของการพัฒนาสถาบันฯ มีหลายขีดความสามารถหลักที่ต้องพิจารณา เพราะความสม่ำเสมอ ความกว้างของธารปัญญานี้ ไม่แน่นอน สำหรับในหลักที่ตัวบ่งชี้ที่ 5.7 GAP ระหว่างผู้สูงสุด และผู้ต่ำสุดในกลุ่ม ไม่แตกต่างกันมาก การ ลปรร. คงจะยังไม่สนุกเท่าที่ควร

เป็นต้น

<table border="0" align="center"><tbody>

             

</tbody></table></span>

หมายเลขบันทึก: 120007เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2007 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

  • เคยนะเครื่องมือชุดธารปัญญาไปใช้ในกลุ่มโรงพยาบาล โดยให้เขาประเมินตนเองค่ะ
  • ก็เห็นภาพนำมาสู่การ ลปรร.ได้ดีค่ะ
  • แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคครั้งนั้นคือ การให้น้ำหนักในการประเมินตนเองของรพ.แต่ละแห่งยังมีมาตรฐานต่างกันค่ะ

สวัสดีครับคุณน้อง

  • คงต้องทำความเข้าใจ ตกลงร่วมกันก่อน
  • ขอยกวรรคหนึ่งในเอกสารของ สคส. "เอกสารประกอบการประชุมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 1 23 กค 47" ที่ว่า....
  • การรประเมินตนเอง นี่คือที่มาของชื่อ "ตารางแห่งอิสรภาพ" เพราะการที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ของกลุ่ม ไม่ใช่เพื่อเอาไว้อวดผู้อื่น ไม่ใช่เอาไว้ให้ผู้ประเมินภายนอกดู ความคิดและความเชื่อเช่นนี้ คือ ที่มาของคำว่า "อิสรภาพ" ซึ่งหมายความว่า ปลดปล่อยจากอำนาจครอบงำ

ขอบคุณครับ คงต้องขอคำปรึกษาจากผู้มีประสบการณ์อย่างคุณน้องในโอกาสต่อๆไปครับ

เรียน ท่าน Jack ผู้ร่วมพัฒนา

  • คราวต่อไปนัด วันศุกร์ ที่ ๗ กันยายน ครับ
  • KM เติม เต็ม QA
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท