สิ่งที่พบในกระดาษคำตอบเสมอ


ข้อผิดพลาดของนักศึกษาที่สรุปไว้ก็เป็นเรื่องที่อาจารย์ทั้ง หลายต้องช่วยกันดูแล ช่วยสอน ให้นักศึกษาปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านี้

ช่วงนี้เป็นช่วงตรวจข้อสอบปลายภาค ดิํฉันเองก็ได้มีโอกาสตรวจข้อสอบในลักษณะนี้มาเป็น ๑๐ ปีแล้ว ก็เลยมาลองสรุปดูว่าเจออะไรบ่อยๆ บ้างในคำตอบของนักศึกษา

  • ลายมือที่แย่ลง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะยุคนี้เราไ่ม่มีคัดไทย เขียนไทยกันเท่าไหร่แล้ว และนักศึกษาใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น เลยไม่ได้มีโอกาสเขียนลายมือเท่าใดนัก อันนี้ดูได้จากตัวเองด้วยที่ลายมือก็แย่ลงเหมือนกัน เพราะเดี๋ยวนี้พิมพ์มากกว่าเขียน

  • การสะกดคำผิด ปัญหานี้น่าจะเกิดจากเทคโนโลยี IM (instant messaging) และ SMS และการไม่ใส่ใจของนักศึกษาที่ต้องการจะเขียนให้ถูกต้องด้วย

  • นักศึกษา (วิศวฯ) เขียนเรียงความไม่ค่อยเป็น อันนี้เนื่องมาจากการเรียนการสอนในหลักสูตรที่ค่อนข้างจะเน้นเรื่องเทคนิค หรือการคำนวณเป็นขั้นๆ การอธิบายจะเป็นการอธิบายไปในตัวโดยสมการคำนวณต่างๆ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ แทน เลยไม่ค่อยได้มีการเรียงความอธิบาย หรือไม่มีการเขียนอธิบายประกอบ

  • บางทีก็พบว่านักศึกษาทำคำนวณเป็นขั้นๆ เลียนแบบได้ แต่ไม่ได้เข้าใจหลักการหรือทฤษฎีเบื้องหลังเท่าใดนัก คล้ายๆ กับรู้วิธีแก้โจทย์แต่ไม่รู้ว่าทำไมต้องทำแบบนั้น

  • การแก้สมการ ไม่ชอบแก้สมการที่ติดตัวแปร (คณิตศาสตร์ไม่แม่น) เช่น ที่เวลา t1 รถคันหนึ่งมีความเร็วเท่ากับ v1 กม./ชม. ที่เวลา t2 รถมีความเร็วเท่ากับ v2 ม./นาที อยากทราบว่ารถคันนี้มีอัตราเร่งเ่ท่ากับเท่าใด   แต่จะชอบแก้สมการที่มีให้ค่าตัวแปรมาเป็นตัวเลขแล้ว เพราะเอาไปกดเครื่องคิดเลขได้เลย (โดยไม่เขียนหน่วย)

  • ไม่เข้าใจ/ไม่ได้เรียนรู้ เครื่องมือ (เครื่องคำนวณ)ที่ตัวเองใช้ว่าทำอะไรได้บ้าง ไม่ค่อยรู้ฟังก์ชั่นที่ใช้ในเครื่องคำนวณ เ่ช่น ไม่รู้ว่าถ้าจะถอดรากที่ 5 ของค่าๆ หนึ่งจะต้องกดเครื่องคำนวณอย่างไร ทำให้ทำข้อสอบบางข้อไม่ได้

  • กาีรคำนวณมักไม่ค่อยเขียนหน่วยประกอบ ซึ่งเป็นข้อเสียอย่างมาก ทำให้ผลการคำนวณผิดไปได้เยอะ เช่น อาจารย์ให้โจทย์หน่วยเป็น ซม. แต่เวลาเอาไปใช้เอาค่า ซม. ไปคิดเป็น ม. ค่าที่ได้ต่างกันมาก และถ้านำไปใช้จริงก็อาจเกิดโศกนาฎกรรมหรือความเสียหายรุนแรงมากๆ จากการแปลงหน่วยได้ วิธีแก้ปัญหาความผิดพลาดแบบนี้คือการเขียนหน่วยประกอบการคำนวณทุกครั้งในสมการ ถ้าทำได้ถูกต้องหน่วยจะตัดกัน เหลือเป็นหน่วยสุดท้ายที่ถูกต้องเอง เช่น

    • เดินทางด้วยความเร็ว ๖๐ กม./ชม. ถ้าใช้เวลาเดินทาง ๓๐ นาที จะเดินทางได้ระยะทางเท่าใด

    • ๖๐ กม./ชม. x ๑ ชม./๖๐ นาที คือ ๑ กม./นาที

    • ดังนั้น เดินทาง ๓๐ นาที x ๑ กม./นาที จะได้ระยะทาง ๓๐ กม. นั่นเอง จะเห็นได้ว่าใช้หน่วยตัดหน่วยไปแบบนี้ การคำนวณจะไม่ผิดพลาด เพราะมีหน่วยคุมอยู่ตลอด

  • ฯลฯ

จริงๆ แล้วข้อผิดพลาดของนักศึกษาข้างต้นที่สรุปไว้ก็เป็นเรื่องที่อาจารย์ทั้งหลายต้องช่วยกันดูแล ช่วยสอน ให้นักศึกษาปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านี้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับตัวนักศึกษาด้วยว่าเลือกที่จะตั้งใจแก้ไขเปลี่ยนแปลงสักขนาดไหน เช่น เื่รื่องลายมือ หรือเรื่องความขยันในการทำแบบฝึกหัด หรือความขยันในการอ่านเพิ่มเิติมและเรียนรู้ด้วยตัวเองด้วย

ไม่รู้ว่าคนอื่นๆ เจอประสบการณ์แบบเดียวกันบ้างไหมคะ
เล่าสู่กันฟัง เผื่อมีใครมีประสบการณ์แบบต่างๆ มาแลกเปลี่ยนกันค่ะ

หมายเลขบันทึก: 135743เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (67)

สวัสดี คะ อาจารย์
     เห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งเลย คะ  นอกจากจะลายมือแย่ลงๆ แล้ว สะกดคำ เขียนหนังสือไม่ถูก และที่พบบ่อยๆ กับนักเรียนชั้น ม.ปลายด้วยคือ เขียนไม่เป็นประโยค อ่านแล้วไม่ได้ใจความ เหมือนกับนักเรียนไม่สามารถจัดระเบียบความคิดของตนเองออกมาให้เป็นประโยคได้ ตรวจงานนักเรียนแล้ว งง  ไม่รู้เขาเขียนตอบเรื่องอะไร  นักเรียนทุกวันนี้ไม่สามารถแปลโจทย์คำถามให้ตัวเองเข้าใจก่อน แล้วจึงตอบ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

P

เรื่องการไม่เขียนหน่วยนี่ พบเห็นบ่อยมากๆ ที่บริษัท พนักงานบัญชี มาแปลก ไม่ชอบเขียนหน่วยกำกับ เขียนแต่ตัวเลขเฉยๆ

เขียนหนังสือ ก็เอาใจความไม่ค่อยได้ รูปประโยคสับสน

สอนหลายหน ดีขึ้นนิดหน่อยค่ะ

มีความรู้สึกว่า เด็กสมัยนี้ ไม่ค่อยแน่นวิชา

 

สวัสดีครับ...

ผมเองก็ตั้งข้อสังเกตในระยะหลังและนำไปวิพากษ์ในเวทีที่เป็นวิทยากรมาบ้างแล้ว  นั่นคือ

นิสิต  ขาดทักษะในเขียนสะกดคำ (การเขียนคำถูกทำผิด)... และเขียนไปภาษาวัยรุ่นมากกว่าการคำนึงถึงหลักภาษาที่ถูกต้อง  (ทั้ง ๆ ที่ภาษาเป็นวัฒนธรรมหลักของความเป็น "ชาติ" )

แต่ภาพเช่นนี้ก็ไม่แปลกนะครับ   เพราะการฝึกเขียนคำในหลักสูตร หรือในกระบวนการเรียนการสอนก็ไม่ได้เคี่ยวกรำมาเท่าใดนัก ...

และอีกประการ คือ  ลายมืออ่านยากมาก   เคยถามนิสิตมาบ้างเหมือนกันว่า  เคยได้คัดลายมือมาบ้างหรือเปล่า ... ซึ่งเขาก็บอกว่าไม่ค่อยได้ปฏิบัติในเรื่องพรรค์นี้เลย ...

.....

ตอนนี้ผมเคร่งครัดนี้มาก   เวลาเสนอโครงการฉบับพิมพ์  ผมจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากพอสมควร  แต่ก็ไม่ปล่อยวางเรื่อง "แนวคิด"   ยกตัวอย่างเช่นนิสิตมักพิมพ์คำว่า "อาคารพลศึกษา"  เป็น "อาคารพละศึกษา" ...เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ หรือสถานที่เช่นนี้พบเห็นทุกวัน แต่ก็ยังพิมพ์ผิด เขียนผิดอย่างน่าเจ็บใจ ...

.....

ขอบคุณครับ

 

 

สวัสดีค่ะอาจารย์...ตุ๋ย

  • เด็กประถม  บางคนก็ไม่น่ารักเลย  เพื่อนครูไปพบเขียนที่กระดาษทดเลขว่า.....โพสต์ไม่ได้ค่ะ  มีหลายขนาด  หมายถึงตัวหน้งสือ  ตั้งแต่ใหญ่สุด  72 point  และเล็กๆ  มีเอียงไปมา  แบบหนังสือในคอมพิวเตอร์น่ะค่ะ  เขียนเยอะๆ  จนกว่า  เวลาสอบจะหมดน่ะค่ะ

ดีที่ผมไม่ได้เป็นครู อิอิ

ความจริงก็ปวดหัวกับอัยการรุ่นน้องที่เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง คือตัวหนังสือไม่เป็นระเบียบ วิเคราะห์ไม่เป็นวกวน บางเรื่องก็ไม่รู้จะเขียนทำไมในเมื่อไม่เกี่ยวกับคดีที่กำลังสรุป เป็นต้น ผมว่ามันไม่ใช่เฉพาะนักเรียนอย่างเดียวเสียแล้ว พอนักเรียนพวกนี้จบไปทำงาน ก็จะเป็นพนักงานที่ด้อยคุณภาพ ด้อยความฉลาดทางอารมณ์ด้วย เหมือนกันหมดทุกวงการนั่นแหละครับเฮ้อ..ขอคนแก่บ่นหน่อย

สวัสดีค่ะคุณครู P supercat 007

ชื่อคุณครูทำให้นึกถึงเจมส์ บอนด์ กับ ซุปเปอร์แมน กับ แคท วูแมน เลยค่ะ ^ ^ 

ตอนนี้ปัญหาลายมือคงเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่ง แต่ปัญหาสะกดคำผิดน่าจะเป็นปัญหาระดับชาติขึ้นไปอีกค่ะ เพราะเห็นปัญหานี้ได้ในทุกระดับเลยค่ะ จะมีนักศึกษาหลายคนมากที่สะกดคำผิด หรือใช้ภาษาแบบวัยรุ่นเขียน เช่น "อาจารย์คับ ขอคะแนนด้วยนะคับ" หรือ เขียน"น่าจะ" เป็น "หน้าจะ" หรือคำว่า"ผลลัพธ์" ก็อาจะเีขียนเป็น "ผลลับ" ประมาณนี้น่ะค่ะ 

แล้วก็พบแบบที่คุณครูพบเลยค่ะคือเขียนไม่เป็นประโยค เรียบเรียงไม่เป็นน่ะค่ะ 

ก็เป็นส่วนที่เราต้องช่วยกันต่อไปค่ะ ขอบคุณคุณครูที่แวะเข้ามา ลปรร นะคะ

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์ P

เรื่องหน่วยนี่เป็นสิ่งที่คนทำผิดพลาดเยอะมากเลยค่ะ เคยเจอนักศึกษาเขียนค่า 8% เป็น 0.08% ซึ่งมันต่างกันร้อยเท่าก็เจอมาแล้วค่ะ

บางทีเคยให้โจทย์เศรษฐศาสตร์เช่นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ต่อเดือน นักเรียนบางคนเอาค่านี้ไปใช้เป็นต่อปีเลย คือเห็นคำว่า % ปุ๊บก็จะทึกทักไปเองเลยว่าเป็นต่อปี ไม่อ่านดูให้ดีว่าเป็นต่อเดือน  แล้วก็มีบางคนแปลง 0.5% เป็น 0.05 (หรือ 5%) เสียอีกค่ะ สรุปแล้ว ไม่ค่อยใส่ใจในรายละเอียด แล้วก็ยังไม่มี sense ว่ามีอะไรผิดปกติเวลาคำนวณออกมาแล้วค่าใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปน่ะค่ะ ส่วนใหญ่ sense พวกนี้จะเิกิดเมื่อทำเยอะๆ มีประสบการณ์มากๆ เท่านั้น

เวลาสอนต้องคอยพร่ำสอน เหมือนเป็นเทปเลยค่ะ ^ ^ ถ้าเขาฟังคำเตือนเรา ก็จะได้ผลบ้างค่ะ

 

สวัสดีค่ะ น้องแผ่นดิน P

เห็นด้วยเลยค่ะว่าการเขียนเป็นเรื่องของทักษะ ไม่ใช่ความรู้เพียงอย่างเดียว และทักษะเป็นเรื่องของการฝึกบ่อยๆ หัดบ่อยๆ หรือใช้บ่อยๆ จึงจะทำได้ดี และมี"ฝีมือ"ในการทำสิ่งนั้นๆ   ถ้าไม่ค่อยได้ทำ ไม่ค่อยได้ใช้ โอกาสที่จะทำผิดหรือเีขียนผิด สะกดผิดในกรณีนี้มีสูงมากเลยค่ะ 

เรื่องของการสะกดผิดในเอกสารข้อเสนอโครงการต่างๆ นั้น พี่ก็เคร่งครัดเหมือนกันค่ะ บางทีร่างจดหมายมาให้เราลงนาม ถ้าเขียนผิดๆ ถูกๆ มาก็ไม่ลงลายมือชื่อให้ค่ะ บางทีสะกดชื่อภาควิชาผิดก็มีค่ะ นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความละเอียดรอบคอบค่ะ ไม่ค่อยมีการทบทวน (ซึ่งเป็นวิสัยที่ไม่ค่อยดีของวิศวกรเลย) ทำให้เรารู้สึกเหมือนว่าเขาจะรีบทำให้เสร็จๆ ไปเท่านั้น 

ถ้าได้คุมสอบอยู่บ้างจะสังเกตเห็นได้เลยว่า นักศึกษาถ้าทำข้อสอบเสร็จแล้ว เหลือเวลาก็จะไม่ทบทวน แต่ขอออกนอกห้องสอบเลย หรือถ้าทำไม่ได้ก็จะนั่งจ้องข้อสอบไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาที่อนุญาตให้ออกนอกห้องสอบได้... เห็นแล้วก็เห็นเลยว่านักศึกษาเหล่านี้จะออกไปเป็นคนทำงานแบบไหนค่ัะ T_T 

วันก่อนเจอนักศึกษาชายผมยาวเกินบ่า ซอยยาวๆ เหมือนนักร้อง แถมย้อมสีทองด้วย มาเข้าห้องสอบ ก็แซวๆ เขาไปว่าแบบนี้น่าจะเป็นนักร้องมากกว่าเป็นวิศวกรนะ เขาตอบสวนมาเลยค่ะว่ายังไม่ได้เป็นวิศวกรเสียหน่อย.. ก็..ไม่รู้จะทำอย่างไรค่ะ จะไม่ให้สอบก็เหมือนตัดอนาคตเขา ก็ได้แต่เตือนแล้วก็ทนฟังคำตอบแบบไร้เหตุผลแบบนี้  ตอนหลังก็คุยกับเขาอีก บอกว่าไว้ผมแบบนี้ ถ้าอยู่โรงงานหรือหน้างานจะโดนเครื่องมือเครื่องจักรดึงผมได้ง่าย ถ้าอยู่ในห้องปฏิบัติการก็จะทำให้เกิดปัญหาในการทำการทดลองได้ง่าย .. ก็ได้แต่ยกเหตุผลให้ฟัง..หวังว่าเขาจะเห็นความหวังดีค่ะ ^ ^ เล่าให้ฟังนอกเรื่องค่ะ

สวัสดีค่ะครูอ้อย P

น่าสงสัยมุมมองของเด็กๆ บางคนเหมือนกันนะคะ ทำไมถึงเขียน ตัวเล็กตัวใหญ่เอียงไปเอียงมาแบบนั้น เทอมที่ผ่านมามีนักศึกษาคนนึง ลายมือแย่มากๆ อ่านเกือบไม่ออกเลย แม้กระทั่งตัวเลข ดีว่าเป็นคนเก่งพอควร ทำข้อสอบมาได้ขั้นตอน ได้ตัวเลขถูกต้อง เราเลยเดาได้ว่าเขาเขียนอะไร  เรียกได้ว่าถ้าให้คะแนนความเรียบร้อยหรือการอ่านได้ของสิ่งที่เขียนก็คงได้ศูนย์ แต่ถ้าให้คะแนนความถูกต้องของข้อมูลก็ถือว่าเต็มได้   แล้วก็มีบางคนเขียนเลข 3 หรือเลข 5 ไม่ต่างกันนัก บางทีก็เขียนหวัดเีสียจนเลข 6 กลายเป็น 0  มีเยอะเลยค่ะ เวลาตรวจต้องตั้งใจมาก เพื่อให้โอกาสก่อน (benefit of the doubt ค่ะ)  

พูดถึงคำว่า"โอกาส" เคยเจอเด็กคนนึงเขียนขอคะแนนว่า อาจารย์ครับ ผมจะไทร์แล้วครับ ขอ"โอกาศ"ผมด้วยนะครับ เล่นเอาเราขำไม่ออกเลยค่ะ  T_T สุดท้ายก็ตรวจไปตามเกณฑ์ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ P บัณฑูร - ทองตัน

งานเป็นอัยการก็ต้องอยู่กับตัวหนังสือเยอะเลยนะคะ โดยเฉพาะภาษากฎหมายซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าอ่านยาก เข้าใจยากพอควร แต่ถ้าอ่านบ่อยๆ ก็จะคุ้นขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะตีความได้ครบอยู่ดีค่ะ ^ ^

เ็ห็นด้วยนะคะที่สังคมไทยมีบุคคลด้อยคุณภาพ(ในส่วนที่ไม่ควรจะด้อย) เป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นเลยว่าการพัฒนาของบ้านเราจะทำได้ค่อนข้างช้า เพราะมัวแต่สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง แล้วก็มานั่งแก้งานกันอยู่เรื่อยๆ ประสิทธิภาพตก เพราะใช้เวลาทำงานเยอะเกินไป ส่วนประสิทธิผลก็ต่ำ เพราะผลงานส่วนหนึ่งใช้ไม่ได้เพราะมีข้อผิดพลาดในระดับใดระดับหนึ่ง 

เขียนบันทึกที่สมุดนี้ทีไร ก็รู้สึกว่าเป็นครูแก่ๆ ทุกทีเลยค่ะ เพราะเหมือนจะบ่นอย่างเดียวทุกที ^ ^ เวลาเขียนตอนหลังๆ ก็พยายามจะเสนอทางแก้ด้วย โดยเฉพาะในระดับที่เราสามารถทำได้  

ถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง ต้องบอกว่ามีเด็กจำนวนหนึ่งเหมือนกัน ที่ลายมือสวย(ออกแนวคิกขุ หัวกลมๆ ตัวยาวๆ) เขียนหนังสือเป็นระเบียบ และเขียนไม่ผิด เพียงแต่จะจำนวนน้อยกว่ากลุ่มแรกเท่านั้นค่ะ

ขอบคุณที่แวะมา ลปรร นะคะ ทำให้ทราบว่าเป็นกันในหลายวงการจริงๆ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ 

  • ตามมาเห็นด้วยคะทั้งภาษาพูดภาษาเขียน..เป็นคาราโอเกะไปหมดแล้วคะ
  • แล้วเด็กสมัยนี้เตือนไม่ได้คะ..มีสวนกลับอีกต่างหาก
  • เพราะเรามองกันคนละมุมไงคะ...เรามองแบบคนอาบน้ำร้อนมาก่อน...แต่เจอทีไรก็อดไม่ได้ที่จะต้องเตือนเหมือนกันคะ

 

สวัสดีครับ อาจารย์กมลวัลย์

  • อาจารย์ครับ ... ประเด็นเยอะมากครับ ผมกำลังตาลาย ขอทำสมาธิก่อนนะครับ
  • ประเด็นหลักที่ว่า การเขียนผิด เขียนถูก ผมคิดว่า อาจารย์ที่มักจะออกข้อสอบแบบอัตนัยมักจะได้ได้พานพบเสมอ แถมด้วย ลายมือของมนุษย์ต่างดาว เป็นของแถม
  • ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือ ปัญหาระดับชาติจริง ๆ ครับ
  • ครู อาจารย์หลายท่าน เวลาตรวจงาน มักจะมองแค่ Concept หรือ ประเด็นหลัก ๆ ที่สอดคล้องกับวัตถประสงค์ของการเรียนเท่านั้นครับ ส่วนเรื่องการสะกดผิด สะกดถูก พิมพ์ผิด พิมพ์ถูก มักจะมองข้าม ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทำให้เด็กไม่ได้ถูกตักเตือน หรือทักทายในความผิดพลาดของตัวเอง หมายถึง เปิด ๆๆๆๆ แล้วให้คะแนนทันที (เพราะสอนเยอะ)
  • ผมสอนหนังสืออยู่กับลูกชาวบ้าน ในมหาวิทยาลัยชาวบ้าน ... มีลูกศิษย์ทีเป็นเด็กชายขอบเยอะ บางคนมีสัญชาติไทยแล้ว บางคนยังไม่มี (ขาดการละเลยจากรัฐ หรือ ผู้มีอำนาจ) ผมจึงพบปัญหาเช่นเดียวกันกับที่อาจารย์พบครับ
  • ด้วยผมเอง มักจะไม่ค่อยยอมให้ผ่านไปได้ กับการพิมพ์ผิด พิมพ์ถูก ผมจึงได้รับฉายาว่า "ย่อย" (คนเหนือ หมายถึง ละเอียด รอบคอบ หรือ เขี้ยว นั่นเอง) ... รายงานลูกศิษย์ เจอผม วงปากกาแดง เสมอ อิ อิ ผมฮา แต่ลูกศิษย์คงห้อยครับ
  • เรื่องลายมือ จากการตรวจข้อสอบอัตนัย ... ผมมักจะทรมานใจเสมอ ที่ต้องมา Scan ข้อสอบด้วยตา อ่านยากเหลือเกิน เขียนมา หัวตัวอักษรมีบ้าง ไม่มีบ้าง โย้หน้าบ้าง โย้หลังบ้าง บางคนลายมือเป็นวัยรุ่นที่ชอบเขียนบทกวีความรักก็มี (อันนี้อ่านง่าย) อันนี้นี่ ระดับปริญญาตรีนะครับ แต่ไปเจอระดับบัณฑิตศึกษา ป๊าด !!! ไม่ได้ผิดกันเลย บางคน เป็นครูบาอาจารย์สอนเค้านี่แหละ อ่านยากจริง ๆ ตรวจไป น้ำตาไหลพราก ๆ ไป
  • ฮา ๆๆๆ ไม่ทราบ แลกเปลี่ยนได้ไหมครับ อาจารย์ ผมกำลังตาลาย ลายมือตัวเองเหมือนกันครับ
  • ฮา ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะคุณ P naree suwan

ดีจังค่ะที่ช่วยกันเตือน เรื่องโดนสวนกลับก็มีโดนอยู่บ้างค่ะ เหมือนที่เล่าให้คุณแผ่นดิน P ฟังน่ะค่ะ 

เรื่องภาษาวิบัตินี้สำหรับตัวเองคิดว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ มันเป็นเรื่องที่ต้องเป็นไปค่ะ เพียงแต่ว่าเราเรียกว่าวิบัติหรือเพี้ยนมากเพี้ยนน้อยเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นตอนเราแก่ๆ แล้ว ภาษาอาจเปลี่ยนเป็นภาษาโอเกะ หน่อมแน้ม ไทยคำอังกฤษคำจีนคำไปหมดแล้วก็ได้ค่ะ ^ ^

เคยลองกลับไปอ่านวรรณคดี กาพย์ในสมัย ร.๔ ร.๕ ก็จะเห็นเลยว่าภาษาที่เราใช้ทุกวันนี้เราใช้พยัญชนะหรูหราขึ้น มี ฐ มี ฎ ฏ นอกเหนือจาก ต แล้วก็ปัจจุบัน ฃ กับ ฅ ก็แทบไม่ได้ใช้เลย (บอกความลับว่า กว่าจะหาสองตัวนี้เจอบนคีย์บอร์ด ใช้เวลาแป็บนึง คือต้องสแกนหาเลยค่ะ ^ ^)  

ทุกอย่างคงจะเปลี่ยนไป ภาษาก็เป็นอย่างหนึ่งที่ต้องเปลี่ยนด้วย แต่ที่น่าสนใจคือ จะเปลี่ยนเร็วขนาดไหน แล้วเปลี่ยนเนื่องจากความสัพเพร่า ความไม่ใส่ใจ ความไม่รู้ อย่างไรเท่านั้นเองค่ะ

อีก ๒๐ ปี ย้อนกลับมาดูบันทึกเหล่านี้ ภาษาที่เราใช้ อาจจะโบราณเลยนะคะ ^ ^

สวัสดีค่ะอาจารย์ P Wasawat Deemarn

ดิฉันเปิดประเด็นเยอะไปเหรอคะ ^ ^  ขออภัยค่ะ ไม่ได้ตั้งใจ นึกประเด็นอะไรหลักๆ ออก ก็เขียนเลยค่ะ แยกเป็นหัวข้อๆ ไป แต่อาจมีข้อเกี่ยวข้องกันในแต่ละประเด็นบ้างค่ะ

สำหรับเรื่องที่เด็กเขียนผิดแล้วไม่ได้รับการตักเตือนนั้น ดิฉันยอมรับว่าจริงค่ะ เพราะตัวเองก็เป็นค่ะ ตรวจงานให้ไม่ทัน นักศึกษารวมกันเป็นร้อยกว่าคน บางทีต้องดูแต่หลักการ บางทีก็เก็บคะแนนว่าทำส่งเท่านั้น เพราะต้องการให้เขาได้ลองสัมผัสการแก้ปัญหาผ่านโจทย์ที่ให้เป็นการบ้าน แต่ปรากฎว่าท่านนักศึกษาทั้งหลายลอกกันมา แถมบางคนลอกเพื่อนไม่ครบค่ะ ปัญหามีหลากหลาย ทั้งจากอาจารย์และจากลูกศิษย์ค่ะ 

ที่น่าเสียใจคือนักศึกษาเหล่านี้ไม่ใช่คนขาดโอกาส ส่วนใหญ่มีพื้นฐานครอบครัวดีพอควร มีเลข๑๓ หลักประจำตัวแน่ๆ บางคนมีมือถือรุ่นล่าสุด แต่ไม่มีความใส่ใจในผลงานของตัวเองเท่าไหร่ 

ลูกศิษย์ของอาจารย์โชคดีนะคะที่มีอาจารย์ที่"ย่อย" อาจจะรู้สึกห้อยตอนได้รับรายงานแดงเถือกกลับมา แต่ถ้าเขาสนใจกลับไปดูสิ่งที่ผิดพลาด เขาจะได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดของเขาอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับเรื่องลายมือนี่ยอมรับตั้งแต่ต้นเลยค่ะ ว่าด้อยลงไปเยอะ เพราะเดี๋ยวนี้พิมพ์มากกว่าเขียน แล้วเวลาตรวจอะไรมากๆ ก็เขียนหวัดขึ้นๆ ทุกทีเหมือนกันค่ะ ^ ^ โดยรวมแล้วก็คงคล้ายๆ กันค่ะ 55555

น้องรองคะ

  • เรื่องลายมือมีความสำคัญมากๆค่ะ  โดยเฉพาะคำสั่งแพทย์ที่ขึ้นต้นแค่พยัญชนะตัวแรก  ที่เหลือลากๆๆๆๆไป....ทำให้เสียเวลาในการต้องกลับมาถามไถ่กัน...นี่คือความเสี่ยงสูงมากๆทางการรักษาพยาบาลที่ผิดค่ะ...
  • แต่บางงานเค้าไม่ใช้ลายมือกันแล้ว...ใช้วิธีพิมพ์  จึงไม่สนใจเรื่องลายมือ....
  • หากลายมือ  วรรคตอน ทำให้การสื่อความหมายผิดก็น่าจะต้องทบทวนการเรียนการสอนระดับประถมนะคะ...เพราะตอนนี้ไม่มีการหัดคัดลายมือค่ะ  พ่อแม่ต้องซื้อหนังสือมาหัดให้เองค่ะ

                             คิดถึงน้องรองเสมอค่ะ

                                            พี่หญิงใหญ่.

สวัสดีค่ะพี่หญิงใหญ่ P

โอ้...ถ้าเจอกรณีคำสั่งแพทย์อ่านไม่ออกเนี่ย ก็น่าเป็นห่วงมากๆ เลยนะคะ แต่เรื่องนี้เคยได้ยินเสมอว่าลายมือหมอจะขึ้นชื่อมากๆ เลย คงเป็นเพราะไม่่ค่อยมีเวลาเขียนนะคะ ต้องสรุปเร็วๆ จะได้ตรวจคนไข้ได้อีก แต่ก็อันตรายค่ะ ถ้าเขียนแล้วไม่มีใครอ่านออกได้ถูกต้องเลย T_T  

ดีที่เปลี่ยนมาใช้เป็นงานพิมพ์บ้างนะคะ อีกหน่อยถ้าพัฒนาเป็นฐานข้อมูลการสั่งยาหรือการวินิจฉัยได้ คงได้ประโยชน์จากฐานข้อมูลแบบนี้อีกต่อค่ะ

ตอนนี้หลานที่บ้านที่กำลังเรียนอนุบาลก็ต้องคัดลายมือค่ะ แต่พบว่าเด็กๆ สมาธิสั้น และไม่ค่อยอยากเขียน บางทีเขาตอบมาเลยนะคะว่าสวยแล้ว ทั้งๆ ที่มันคดไปคดมาไม่ตรงเส้นประเลย ก็ต้องสอนกันต่อไปค่ะทั้งลูกหลานและลูกศิษย์ค่ะ ^ ^

คิดถึงพี่ติ๋วเช่นกันนะคะ  

สวัสดีอีกครั้งนะครับ อาจารย์กมลวัลย์

  • แหม อาจารย์เขียนตอบได้รวดเร็ว เหมือนโทรศัพท์คุยกันเลยนะครับ เรียกว่า ฟ้าแลบฟ้าร้องกันไปข้าง
  • ปัญหาเรื่องการลอกการบ้านมาส่ง เป็นได้ทุกวิชาชีพสินะครับ ....
  • เด็กมักจะมักง่าย โดยการเลือกวิธีการใดก็ได้ที่จะทำให้ส่งรายงานอาจารย์ให้ทัน
  • ดังนั้น คุณครู GOOGLE จึงแวะมาช่วยเด็ก ๆ พวกนี้
  • เมื่อจบไป นิสัยเอาตัวรอดแบบนี้ก็คงจะติดตัวไป และกลายเป็นคนขี้โกงไปในที่สุด (อันนี้ ผมคงไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายนะครับ ถือเป็น ความกลัวในใจของคนเป็นครูครับ)
  • ผมจับได้ล่ะก้อ ฮึ ฮึ .. เรียกมาสอบ เป็นพนักงานสอบสวนอีกตำแหน่งทีเดียว
  • เอ้า ... ประเด็นฮา ๆๆๆ กันครับ อาจารย์อย่าเคร่งเครียดเกินไปล่ะครับ
  • หัวเราะวันละนิด จิตแจ่มใส (หัวใสนั่นเอง)
เคยรับงานมาจากหมอโรงพยาบาลหนึ่ง อ่านไม่ออกเลย กำลังปวดหัว พอดีมีเพื่อนมาหา เขาช่วยแปลลายมือยึกยักให้กลายเป็นภาษาคนได้ ศิษย์น้องแปลกใจสุดขีด ทำได้ไงเนี่ย เขาก็ขำแล้วบอกว่าก็เขาเป็นเภสัชไง อ่านลายมือหมอเยอะจนชินแล้ว 555 ต้องอ่านให้ออก ไม่ออกก็ทำงานลำบาก
พี่เจอปัญหาในการสอน พวกหนูเจอปัญหากับบัณฑิตไร้คุณภาพที่มหาวิทยาลัยผลิตออกมา

เดี๋ยวนี้หาเด็กเขียนหนังสือเป็นและถูกต้องยากมาก เด็กบางคนลำดับเรื่องราวไม่ได้เลย เล่าได้เป็นประโยคสั้นๆ ยังกล้ามาสมัครเป็น copy writer คลังคำศัพท์ก็น้อยนิด เคยไล่ให้ไปทำหน้าที่เด็กประสานงานระหว่างแผนกด้วย บอกแค่ตำแหน่งนั้นยังกลัวว่าเขาจะไม่มีปัญญาทำเลย เพราะการสื่อสารก็ไม่ดี

เด็กสักแต่จบออกมา บรรดาเจ้าของบริษัทปวดหัว ไม่รู้จะรับใครเพราะเลวร้ายเหมือนกันหมด ไม่อดทน แถมความคาดหวังสูงกว่าความสามารถตัวเองอีกต่างหาก ถ้าระบบยังผลิตเด็กแบบนี้ออกมาเรื่อยๆ ไว้จบปริญญาตรีก็ทำหน้าที่ได้แค่ธุรการนั่นแหล่ะ ระบบการศึกษาเดี๋ยวนี้หวังเงินเยอะเลยปล่อยปะละเลยเรื่องคุณภาพ ชั้นปีนึงในแต่ละภาควิชารับเข้าไป 200-300 อาจารย์จะสอนกันยังไงทั่วถึง

เห็นเด็กแถวบ้านหลายคนก็ปวดหัวแล้ว เรียนปริญญาตรีวันๆ ยังคิดแค่ว่าจะไปลอกงานจากเน็ตส่งอาจารย์ จะได้จบๆ ไป ไม่เคยเห็นซื้อหนังสืออื่นนอกจากหนังสือเรียนมาอ่าน นั่งดูเกมส์โชว์ ดูละคร แล้วก็ไปเดินสยาม ความรู้รอบตัวไม่มีสักนิด คุยด้วยแล้วเซ็ง นึกว่าคุยกับเด็กม.ต้น หรือพวกคนทำงานบ้าน นี่ล่ะอนาคตบัณฑิตที่จะจบออกมาในไม่กี่ปี

ที่ว่าจบตรีจะทำได้แค่ธุรการยังน้อยไป ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อเรื่อยๆ งานระดับโรงงาน พนักงานขายตามห้าง ลูกจ้างรายวันก็สงสัยจะมีวุฒิปริญญาตรีไปแย่งกันทำ เพราะไม่มีความสามารถในวิชาชีพที่เรียนมาจริง พอเจอของจริงก็จอดไม่ต้องแจว คราวนี้ไม่ทำก็ไม่ได้เพราะไม่มีใครเขารับ มาตรฐานก็จะถูกกดลงเรื่อยๆ ปริญญาตรีทำงานระดับปวช. ปริญญาโท เอก มาแย่งงานปริญญาตรี พ่อแม่ส่งเสียแทบตาย ผลกลายเป็นแบบนี้ สงสารคนส่งให้เรียน เข้าตำราขายนาส่งควายเรียนจริงๆ

Hi Ajarn Kamolwan,

The Vietnamise students are growing up but the young Thai going down it's it?

from Hue city Vietnam

I will come back tomorow.

สวัสดีอีกครั้งค่ะอาจารย์ P Wasawat Deemarn

เรื่องเขียนตอบได้รวดเร็วน่ะ ไม่เร็วขนาดนั้นหรอกค่ะ ^ ^  พอดียังออนไลน์อยู่ก็เลยตอบเลย

เรื่องลอกการบ้าน ลอกงานเนี่ย ไม่รู้จะแก้ยังไงเลยค่ะ พยายามบอกเขาว่าถูกผิดไม่สำคัญ ขอใ้ห้ลองทำมาดูก่อนก็เคย ตัดคะแนนก็เคย ลงท้ายอาจารย์หลายคนก็เลิกให้การบ้านเพราะนักศึกษาลอกกันมาส่งก็มี

ส่วนใหญ่ถ้าเจอชัดๆ ว่าลอกงาน สำหรับตัวเองแล้วจะหักคะแนนเก็บค่ะ แล้วเขียนให้เขาเห็นชัดๆ ว่าลอกกันมา เผื่อจะอายตัวเองบ้าง  แต่เรื่องเรียกมาสอบยังไม่เคยค่ะ ^ ^ เพราะเชื่อว่ามีหลายคนที่ลอกแบบแนบเนียน ทำให้ตรวจไม่พบค่ะ

เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาที่แก้ยากจริงๆ ค่ะ เพราะส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับนักศึกษามากกว่าตัวอาจารย์ เราได้แต่เป็นคนแก้ไข เมื่อพบเท่านั้น ป้องกันไม่ให้เขาทำนั้นยากมากถ้าเขาไม่ร่วมมือกับเราค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะเข้ามาให้ข้อคิดเห็นนะคะ ^ ^ 

สวัสดีจ้าศิษย์น้อง P

เรื่องลายมือของหมอนั้นเป็นเรื่องที่ขึ้นชื่อจริงๆ แต่เราก็ได้ค้นพบแล้วใช่ไหมว่ามีผู้ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญสามารถแกะลายมือได้ 5555 ไม่รู้ว่าเขาต้องใส่ในหลักสูตรเภสัชกรหรือเปล่านะ วิชาแกะลายมือน่ะ อิอิ

สำหรับเรื่องคนที่มหาวิทยาลัยผลิตออกไปอย่างไร้คุณภาพนี้ เป็นเรื่องระดับชาติจริงๆ ถ้าจะให้ถกกันคงไม่มีวันจบ T_T เพราะปัญหามันเยอะและหลากหลายจริงๆ

สำหรับพี่แล้วเห็นว่าภาพรวมการศึกษาของประเทศกำลังไปผิดทาง คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ต้องการงานสบาย ก็คงไม่ต่างจากรุ่นเก่าหรอก ใครๆ ก็อยากได้งานดีๆ มีเงินมีทองใช้ แต่ประเด็นคือนิสัยของคนรุ่นหลังกับรุ่นก่อนไม่เหมือนกัน 

คนรุ่นก่อนเป็นคนที่หนักเอาเบาสู้ (พี่ดูจากรุ่นพ่อแม่ น้าๆ อาๆ ทั้งหลาย) คนเหล่านี้มองว่าการเรียนเป็นอภิสิทธิ์ การเรียนคือโอกาสที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าของตนและของสังคม เพราะฉะนั้นถ้าได้เรียนจะตั้งใจ มีความปราณีตกับงานที่ทำระหว่างเรียน อีกอย่างสมัยนั้นคนได้เรียน ป.ตรีมีน้อย การได้เรียน ป.ตรี เลยเป็นอภิสิทธิ์จริงๆ มีค่ามากๆ

สำหรับคนรุ่นใหม่(ในเมืองกรุง)นี้มันค่อนข้างจะเป็นยุคไมโครเวฟ สะดวกซื้อ เป็นคนรุ่น instant คือ..จะกินอะไรก็อุ่นเอาแบบง่ายๆ ต้มมาม่าเพียงใส่น้ำร้อน จะกินอะไรก็โทรสั่งให้คนมาส่ง เขาไม่ค่อยเห็นความปราณีตหรือความพยายามในชีิวิตเท่าไหร่ เพราะชีวิตของเขาประกอบไปด้วยความสะดวกซื้อเป็นส่วนใหญ่ พี่คิดว่าเป็นต้นตอของการขาดความเพียร ความพยายาม เห็นการเรียนป.ตรีเป็นสิทธิที่พึงได้ มากกว่าอภิสิทธิ์

เพราะฉะนั้นกลุ่มคนพวกนี้จะต้องการงานดีแบบไม่ค่อยลงทุนเพราะชีวิตมีความสะดวกซื้อมากเกินไป  เช่นอยากเป็นวิศวกร แต่ไม่อยากเป็นช่างเทคนิคหรือ อยากเป็นผู้จัดการ แต่ไม่อยากเป็นธุรการ เป็นต้น

ประกอบกับค่านิยมวัฒนธรรมตะวันตกที่ดูอย่างผิวเผิืนฉาบฉวยแล้วสวยหรูนั้นมาแรงมาก  คนเหล่านี้ก็จะมุ่งเน้นงานในสาขาที่ดูดี ดูเ่ก่ง ดูมีวิชาชีพ (แต่ต้องนั่งโต๊ะ) ไม่มีคนอยากเรียนช่าง ไม่ค่อยมีคนอยากเป็นครู คนที่อยากออกหน้างาน หน้าสนามนั้นไม่ค่อยมี

ดังนั้นวิทยาลัยช่าง วิทยาลัยครูก็ไม่ค่อยมีคนเรียน หรือได้คนเรียนที่เรียนอย่างอื่นไม่ค่อยได้แล้วไปเรียน ซึ่งน่าเห็นใจอยู่ แต่เป็นความผิดพลาดที่นโยบายการศึกษาไปเปลี่ยนวิทยาลัยเหล่านี้ให้เป็นมหาวิทยาลัยทั้งหมด แทนที่จะเหลือในส่วนที่เขาเข้มแข็งและมีชื่อเสียงในการสร้าง ปวช. ปวส. หรือครู ดีๆ แล้วไปแก้ให้โครงสร้างเงินเดือนหรือการเลี้ยงชีพคนที่จบการศึกษาในระดับนี้ให้ดีขึ้น อยู่ได้ในสังคมอย่างเหมาะสม   

ปัจจุบันเราก็เลยมีมหาวิทยาลัยที่ผลิตนักศึกษาด้อยคุณภาพเป็นจำนวนมาก ตามนโยบายของรัฐ 

เขียนมาชักยาวแล้ว เดี๋ยวต้องไปสอบวิทยานิพนธ์ก่อนจ๊ะ ^ ^

สวัสดีค่ะคุณบางทราย P

ถ้าจะเปรียบเทียบเด็กบ้านเรากับเวียดนามตอนนี้ สภาพคงต่างกันพอสมควร แต่จริงที่แนวโน้มเด็กเมืองกรุงบ้านเราจะด้อยคุณภาพลง (ทั้งๆ ที่มีศักยภาพที่จะทำได้ดี)  สำหรับตัวเองไม่เคยมีประสบการณ์สอนนศ.เวียดนาม มีแต่กับ นศ.ลาว ซึ่งถ้าพูดโดยรวมแล้วนศ.ลาวขยัน แต่อาจยังไม่เก่งเท่านศ.ไทยในเรื่องวิชาการ แต่เรื่องความขยันหมั่นเพียรนั้นแซงลิบๆ แบบไม่เห็นฝุ่นเลยค่ะ

ส่วนตัวแล้วคิดว่าการที่นักศึกษามองเห็นคุณค่าการศึกษาหรือไม่นั้น ส่งผลต่อผลการเรียน และส่งผลถึงคุณภาพของตัวเขาเป็นอย่างมากค่ะ

คนที่สนใจการเรียน ก็จะเป็นคนที่สนใจการงาน เห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ รอบตัว แต่สำหรับคนที่ไม่เคยประสบความยากลำบาก หรือลำบากไม่เอานั้น ความปราณีต ความใส่ใจในการทำอะไรมักไม่ค่อยจะมีค่ะ 

คิดแล้วก็น่ากลุ้มค่ะ ได้แต่แก้ไปเรื่อยๆ ตามที่พบ เพราะไปแก้นโยบายหรือแนวคิดคนส่วนใหญ่ไม่ได้น่ะคุ่ะ

ตอนนี้คงกำลังเดินทางกลับอยู่ ฝนน่าจะหายตกแล้ว แต่ไม่รู้น้ำท่วมเป็นอย่างไรบ้างนะคะ ขอให้เดินทางปลอดภัยค่ะ ^ ^

ผมเห็นด้วยกับหลายอย่าง แต่ว่าติดใจประเด็นนี้ครับ

"#
การสะกดคำผิด ปัญหานี้น่าจะเกิดจากเทคโนโลยี IM (instant messaging) และ SMS และการไม่ใส่ใจของนักศึกษาที่ต้องการจะเขียนให้ถูกต้องด้วย"

ถ้าหากว่าการใช้ IM และ SMS ทำให้การสะกดคำผิดมากขึ้นจริง. แสดงว่าแต่ก่อนนักเรียนต้องทำกิจกรรมบางอย่างที่สนับสนุนการสะกดคำให้ถูกต้อง? ผมยังมองไม่ออกว่าเป็นกิจกรรมอะไร? เขียนเพลงยาวจีบสาว? เขียนจดหมาย? 

ถ้าเขียนข้อความใน IM ผิดได้ ทำไมถึงเขียนจดหมายผิดไม่ได้? อาจจะเพราะมีการโต้ตอบกันเร็วกว่า?

P
P
หลายคนบ่นว่าเด็ก ป.ตรี จบมาทำงานได้เท่าระดับ ปวช. หรือว่าน้อยกว่านั้น. แต่สมมุติว่ามีเด็กปวช.ทำงานได้แบบเด็กปวช.จริงๆ ก็จะไม่ได้รับเข้าทำงานอยู่ดี หรือเปล่า? เพราะเวลารับสมัครงานก็รับป.ตรีอยู่ดี. สมมุติว่ามีนักเรียนม.ต้นที่จะเลือกไปทางสายช่าง ผมเห็นว่าชีวิตเขาก็คงมีขวากหนามอยู่พอสมควร. เป็นไปได้หรือเปล่ามีเจ้าของกิจการที่นอกจากบ่นแล้ว จะช่วยทำโรงเรียนช่างให้ดีขึ้น และให้โอกาสคนที่จบสายอาชีพมากขึ้น?
P ส่วนตัวผมแล้ว มองว่าชีวิตคนกรุงเทพฯดูน่าสงสารมากกว่ามีศักยภาพนะครับ. คงไม่น่าแปลกใจอะไรที่คนจะทำอะไรรีบๆเผิน ถ้าเวลาทั้งวันเอาไปนั่งอยู่ในรถ -_-'.

วิชาคำนวณชนิดที่ชั้นเรียนใหญ่ๆ 100 - 200 คน. ถึงครูจะบอกว่าสงสัยก็ถามได้เลยนะ ก็คงไม่มีใครกล้ายกเว้นคนที่นั่งข้างหน้า 3 - 4 คน.  แล้วแต่ละปีอาจารย์แต่ละท่านก็คงไม่ได้บรรยายายต่างกันสักกี่มากน้อย เป็นไปได้หรือเปล่า ที่จะทำเป็น DVD แทนแล้วให้นักเรียนกลับไปดูที่บ้าน หรือห้องสมุด อย่างน้อยๆไม่เข้าใจก็ pause ได้.

เวลาที่เหลือของอาจารย์ขอไว้เป็นเวลาตอบคำถามนักเรียนแบบตัวต่อตัวสัปดาห์ละไม่เกิน 10 นาที ได้หรือเปล่า? แต่มีข้อแม้ว่าห้ามด่า ไม่ว่าจะเป็นคำถามที่โง่ขนาดไหนก็ตาม.  ถ้ายังมีเวลาเหลืออีกก็ช่วยเอามาตรวจแบบฝึกหัดอย่างละเอียดได้หรือเปล่า?

สวัสดีค่ะคุณ वीर P

ตอบประเด็นแรกนะคะ "#
การสะกดคำผิด ปัญหานี้น่าจะเกิดจากเทคโนโลยี IM (instant messaging) และ SMS และการไม่ใส่ใจของนักศึกษาที่ต้องการจะเขียนให้ถูกต้องด้วย"

เรื่องการสะกดคำผิดนั้น อาจเป็นไปได้ว่าเขียนสาเหตุไว้ไม่ครบแหละค่ะ แต่ในหัวตอนนั้นคิดถึงเรื่อง IM กับ SMS ขึ้นมาพอดี เพราะเห็นคำผิดใน IM กับ SMS บ่อยๆ ค่ะ

คิดว่าเป็นเพราะการสะกดคำโดยใช้แป้นกดในมือถือทำได้ยาก และข้อความต้องกระชับ สั้น ทำให้ต้องใช้ทำแทน คำใหม่ หรือบางครั้งก็เขียนผิดไปเลยน่ะค่ะ 

ในภาษาอังกฤษเขาก็ใช้ตัวย่อกันเยอะเลย เกือบจะเป็นชวเลข หรือ short hand อยู่แล้ว ทำให้ภาษาของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปเยอะทีเดียว

แล้วเวลาตอบ IM เร็วๆ โอกาสที่จะเรียบเรียงไม่ค่อยมีค่ะ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขียนรูปประโยคไม่ค่อยเป็นด้วยล่ะค่ะ

จริงๆ แล้วทางแก้คือ นักเรียน นักศึกษาจะต้องมีเวทีหรือต้องได้รับการสนับสนุนให้เขียนให้อ่านเป็นประจำทุกวันค่ะ เด็กฝรั่ง (บางประเทศ) จะถูกสอนให้ทำ Journal หรือเขียน Diary ซึ่งจะมีการเขียนอยู่บ่อยๆ เป็นการฝึกฝนการเรียงความ แต่เดี๋ยวนี้การเรียงความนักเรียนบางคนจะมักง่ายโดยใช้การตัดแปะเอกสารที่ค้นได้จาก google แทน ก็เลยไม่ค่อยได้ฝึกคิด ฝึกเขียนน่ะค่ะ 

สำหรับตัวเองแล้ว การเขียนจดหมาย ต่างจาก IM มากเลยค่ะ เพราะจดหมายต้องมีขึ้นต้น ลงท้าย ต้องคิดต้องลำดับเรื่องบ้าง ไม่ได้เป็นการโต้ตอบเร็วๆ แบบ IM น่่ะค่ะ  อันนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนตัวนะคะ ^ ^ 

ตอบคุณวีร์ในประเด็นที่สองนะคะ

หลายคนบ่นว่าเด็ก ป.ตรี จบมาทำงานได้เท่าระดับ ปวช. หรือว่าน้อยกว่านั้น. แต่สมมุติว่ามีเด็กปวช.ทำงานได้แบบเด็กปวช.จริงๆ ก็จะไม่ได้รับเข้าทำงานอยู่ดี หรือเปล่า?

จริงๆ แล้ว ถ้ามีเด็กจบ ปวช. มา แล้วทำงานได้ในระดับ ปวช. ซึ่งตรงกับความต้องการขององค์กร ก็จะรับค่ะ เพราะต้องการแค่นั้นจริงๆ เท่าทีทราบมาอุตสาหกรรมเขาต้องการ ปวช. ปวส. ที่ทำงานได้จริงๆ มากเลยค่ะ เขาก็อยากจะสนับสนุนให้มีโรงเรียนดีๆ นะคะ แต่ปัญหาตอนนี้กลายเป็นว่าผู้เรียนก็ไม่อยากเรียนสายอาชีพไปเสียแล้ว เพราะค่านิยมเปลี่ยนไปเยอะ แล้วคนมักมองว่าจบสายอาชีพ ทำงานหน้างานเป็นงานหนัก ไม่คุ้ม ดังนั้นถ้าเลือกได้ก็ไม่เรียน สรุปแล้วคือ โรงเรียนที่จะผลิตคนทางด้านนี้ ก็ไม่ได้นักเรียนที่มีคุณภาพเป็นตัวป้อนสักเท่าไหร่ค่ะ

ปัญหามันเป็นงูกินหางค่ะ อุตสาหกรรมอยากได้ แต่ไม่รู้จะเข้าไปช่วยเปลี่ยนใจคนรุ่นใหม่อย่างไร การเปลี่ยนในลักษณะนี้ต้องเปลี่ยนพร้อมๆ กัน ค่อยๆ ทำทั้งในส่วนของภาครัฐ เอกชน ถึงจะเปลี่ยนค่านิยมของคนรุ่นใหม่ได้ค่ะ อาจต้องมีโครงการนำร่องร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับอุตสาหกรรมให้เด็กไปทำงานฝึกในโรงงานจริงได้ ซึ่งปัจจุบันทำแล้วในระดับ ป.ตรี

เป็นโครงการสหกิจศึิกษา นักศึกษาต้องเรียนนานกว่าปกติ 1 ปี เป็น 5 ปี แต่ผลสุดท้ายก็พบว่า นักศึกษาไม่อยากเรียนในโครงการสหกิจ เพราะต้องใช้เวลามากกว่าเพื่อน 1 ปีเสียอีก   ทั้งๆ ที่ 1 ปีที่เพิ่มนั้นได้เงินเดือนและประสบการณ์ด้วย แถมยังมีงานรอเมื่อจบด้วย แต่ก็ยังมีคนมอง 1 ปีเป็นแง่ลบ และไม่เลือกเรียนแบบนี้ด้วยซ้ำค่ะ

ตอบคุณวีร์ในประเด็นที่สามนะคะ

ส่วนตัวผมแล้ว มองว่าชีวิตคนกรุงเทพฯดูน่าสงสารมากกว่ามีศักยภาพนะครับ. คงไม่น่าแปลกใจอะไรที่คนจะทำอะไรรีบๆเผิน ถ้าเวลาทั้งวันเอาไปนั่งอยู่ในรถ -_-'.

เห็นด้วยค่ะว่าคนอยู่กรุงเทพนั้นมีความเครียดสูงกว่าอยู่ต่างจังหวัดแน่นอนค่ะ มลภาวะก็เยอะด้วยค่ะ

แต่ถ้าเป็นเรื่องงานหรือเรื่องการศึกษาต้องยอมรับว่าโอกาสในเรื่องเหล่านี้มารวมอยู่ในกรุงเทพฯ มากกว่าที่อื่นๆ ค่ะ  ก็คงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเครียดด้วยแหละค่ะ คนเยอะ ก็มีบริการตามมาเยอะ แต่บริการไม่พอ ไม่เหมาะสม(กับความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของคน) ก็เลยกลายเป็นความเครียดค่ะ ^ ^

ตอบคุณวีร์ในประเด็นที่สี่นะคะ

วิชาคำนวณชนิดที่ชั้นเรียนใหญ่ๆ 100 - 200 คน. ถึงครูจะบอกว่าสงสัยก็ถามได้เลยนะ ก็คงไม่มีใครกล้ายกเว้นคนที่นั่งข้างหน้า 3 - 4 คน.  แล้วแต่ละปีอาจารย์แต่ละท่านก็คงไม่ได้บรรยายายต่างกันสักกี่มากน้อย เป็นไปได้หรือเปล่า ที่จะทำเป็น DVD แทนแล้วให้นักเรียนกลับไปดูที่บ้าน หรือห้องสมุด อย่างน้อยๆไม่เข้าใจก็ pause ได้.

ส่ีวนตัวแล้วไม่เคยสอนทีละ 100-200 คนค่ะ สูงที่สุดคือประมาณ 75 คนตอนต้นเทอม  จากประสบการณ์พบได้อย่างชัดเจนว่าถ้านักเรียนในห้องน้อยลง จะได้ประสิทธิผลของการสอนมากขึ้น เพราะนักศึกษาจะมี accessibility ถึงอาจารย์ได้มากกว่า และอาจารย์ก็ไล่ถามนักเรียนบางคนได้เลย เป็นการกระตุ้นการเรียนการสอนไปในตัว

ปัญหาห้องเรียนใหญ่เกินไปในปัจจุบันเพราะ มีมาตรการให้มหาวิทยาลัยรับนักศึกษาเยอะขึ้นตลอด โดยอ้างว่าเป็นการขยายการศึกษา ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ตอนนี้ถ้าเป็นส่วนที่ตนเองควบคุมได้ก็จะลดจำนวนลง แต่ถ้าลดลง ก็เคยถูกผู้ปกครองหรือเด็กโทรมาถามว่าทำไมลดลง หรือทำไมตั้งเกณฑ์สูงขึ้น ฯลฯ  ความสมดุลทำได้ยากจริงๆ ค่ะ

เรื่องนักศึกษาไม่กล้าถามอาจารย์นั้น จะขึ้นกับนักศึกษาค่ะ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน ตอนสอนดิฉันจะเห็นนศ.หันไปถามกันเองบ้าง แต่พอดิฉันเรียกให้ถามดิฉันดีกว่า เขาก็บอกว่าไม่มีอะไร..  แต่บางคนก็ยกมือถามเลย แม้ว่าจะเป็นคำถามที่เพื่อนโห่ฮา หรือหัวเราะขำ เขาก็ถาม สรุปแล้ว คนที่ชอบถาม กล้าถามก็จะถาม ถ้าเขาไม่กล้าถาม ไม่อยากถาม เขาก็จะไม่ถามอยู่ดี ไม่ว่าดิฉันจะถามเขาหรือไม่ก็ตาม 

เวลาเรียนก็จะ lecture บ่นๆ ให้เด็กๆ ฟังบ้างเหมือนกันว่าพวกคุณทำไมไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนเลย ให้นโยบาย ถามได้ ยกมือขัดจังหวะได้ไปแล้ว ก็มีน้อยคนที่จะถามเราค่ะ ทำให้อาจารย์เองก็ไม่มี feedback ที่จะประเมินได้ว่าตัวเองสอนได้ดีขนาดไหนด้วย

สำหรับเรื่องการบรรยายเป็นเทปนั้น ข้อดีก็คงมีค่ะ คือหยุดฟังได้เวลาที่ไม่ทัน แต่ข้อเสียก็คือ ตัวอย่างที่ยก หรือเรื่องใหม่ๆ เข้ากับสภาวะปัจจุบันหรือเทคโนโลยีที่จะถูกสอดแทรกไปก็จะมีน้อยค่ะ

สำหรับตัวเอง การสอนแต่ละเทอมจะไม่ค่อยเหมือนกัน แต่ละห้องก็จะไม่เหมือนกันด้วยค่ะ แล้วแต่ขนาดของห้อง และ pariticipation ของนักศึกษา.. บางห้องไปเร็ว บางห้องต้องไปช้า ดังนั้น ถ้าจะสอนเป็นเทปต้องสอนแบบช้าไว้ก่อน เพื่อใช้เป็น one-size fits all ซึ่งอาจทำให้ผู้เรียนบางคนเบื่อได้ (แต่ก็คงกรอเทป forward ได้ค่ะ ^ ^)

ปัญหาอีกอย่างของนักศึกษาคือการวินัยในการเรียนค่ะ ซึ่งถ้าทำเป็นเทปเอาไว้ ก็ไม่รู้จะเอามาดูเมื่อไหร่ คือบางคนให้มาเรียนบางครั้งยังแทบจะไม่มา ถ้ามาแล้วก็จะมาถามว่าวันนี้เช็คชื่อไหม T_T   ถ้าเอาเทปไปดูเอง สงสัยจะดู 3 วันก่อนสอบ ต้องเก่งจริงๆ ถึงจะย่อยได้ และทำได้หมดในเวลาอันสั้นค่ะ

P วินัยในการเรียน แบบฝึกหัดที่มีอาจารย์ตรวจให้เป็นระยะๆก็น่าจะช่วยได้หรือเปล่าครับ?
 
DVD ก็อาจจะทำเป็นหลายๆชุดก็ได้หรือเปล่าครับ? หลายสถาบันก็สอนวิชาซ้ำๆกัน ก็อาจจะเอามาแลกเปลี่ยนกันได้? 
 
"เรื่องนักศึกษาไม่กล้าถามอาจารย์นั้น จะขึ้นกับนักศึกษาค่ะ" เรื่องนี้ผมเชื่อว่าจริงครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการเปลี่ยนตัวแปรอื่นๆจะมีมีผลต่อการถามของนักเรียน.   ตัวแปรอื่นๆ อย่างอาจารย์ บรรยายกาศ ในการถาม ผมก็เชื่อว่ามีผลเหมือนกัน. ถ้าสิ่งแวดล้อมในการพูดคุยเหมาะสมกับวัฒนธรรมประเพณีของนักเรียนมากขึ้น คนถามก็อาจจะเพิ่มขึ้นด้วย.
 
ตอนนี้การถามเป็นการขัดจังหวะคนอื่น. การถามนอกเวลาเป็นเรื่องเสริม ที่ต้องเกรงอกเกรงใจอาจารย์. ถ้าหากว่าการสอบถามของนักเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับแรก เป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่จะต้องตอบคำถามแม้จะเป็นคำถามโง่ๆในเวลาที่แน่นอน  ไม่ใช่การขอความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ผมเชื่อว่าสถานการณ์น่าจะเปลี่ยนไป.

"แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการเปลี่ยนตัวแปรอื่นๆจะมีมีผลต่อการถามของนักเรียน" แก้เป็น "แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการเปลี่ยนตัวแปรอื่นๆจะไม่มีผลต่อการถามของนักเรียน"

 

P #30:  ทางออกของนักเรียนไทย อาจจะเป็นรถไฟฟ้า และการกระจายมหาวิทยาลัยออกนอกกรุงเทพฯหรือเปล่าครับ? 
 
P #29: เรื่องสมัครงานผมก็ไม่ได้เชี่ยวชาญนัก. อาศัยสังเกตจากหน้าโฆษณา. ยกตัวอย่างนี้นะครับ http://www.blognone.com/node/5844 เป็น web master ซึ่งผมเชื่อว่าหลักสูตรอนุปริญญาถ้าเรียนอย่างได้ผล ก็น่าจะทำงานเป็น web master ได้. แต่ดูจากโฆษณาแล้วเท่าที่เห็นก็รับปริญญาตรีขึ้นไป.
 
ถ้าหากมีคนสมัคร 10 คน. มี 1 คนที่ไม่ผ่านเงื่อนไขไม่จบป.ตรี. คนนั้นจะถูกกรองออกไปในชั้นแรกเลยหรือเปล่า?  หรือต่อให้ไม่ถูกกรองคุณสมบัติคล้ายๆกันรับเงินเดือนเท่ากัน นายจ้างจะจ้างคนที่จบอนุปริญญา หรือสายอาชีพ? ในสถานการณ์แบบนี้ต่อให้ไม่กลัวลำบาก ผมก็นึกไม่ออกว่าใครอยากจะเรียนสายอาชีพ.
 
สหกิจศึกษาเป็นของ ป.ตรี หรือ อนุปริญญา ครับ? ถ้าจบอนุปริญญา + ผ่านสหกิจศึกษา แล้วโอกาสได้งานจะเท่า ใกล้เคียง หรือมากกว่า จบปริญญาตรี ตรงความต้องการของตลาดมากกว่า ใช้เวลาเรียนน้อยกว่าหรือเปล่าครับ?

สวัสดีอีกครั้งค่ะ P

วินัยในการเรียน แบบฝึกหัดที่มีอาจารย์ตรวจให้เป็นระยะๆก็น่าจะช่วยได้หรือเปล่าครับ?

คิดว่าช่วยได้ค่ะ เพราะทุกวันนี้จะเลิกให้การบ้าน แต่ให้ทำ exercise ในห้องเรียนแทน ซึ่งจะใช้เวลามากๆ  นักศึกษาบางคนทำเสร็จเร็ว บางคนก็เสร็จช้า ต้องรอกัน และเสียงจะดังข้ามห้องไปรบกวนห้องอื่นมากเลยค่ะ แต่ก็ได้ผลบ้าง และต้องบอกว่าเก็บคะแนน หรือเป็นการ Quiz จะตั้งใจมากขึ้นค่ะ 

วิธีข้างต้นนี้ดีค่ะ แต่ต้องใช้เวลามากกว่าปกติค่ะ

เรื่องบรรยากาศเปลี่ยน นักศึกษาจะถามมากขึ้นนั้นจริงค่ะ เคยลองแบบเป็นเพื่อนให้เฮฮา ถามได้ แล้วก็เคยลองแบบโหดก็มี ได้ผลแตกต่างกันค่ะ เคยคิดจะทำบรรยากาศให้เฮฮาตลอด แต่ก็ต้องเบรคด้วยการดุบ้างเป็นระยะค่ะ เพราะบางทีก็เหลิงเล่นสนุกไปหน่อย สรุปแล้วต้องเปลี่ยนสลับไปมา สร้างความสนใจ แต่ที่สำคัญต้องเปิดโอกาสให้เขาถามค่ะ

เรื่องเปิดโอกาสให้ถามนอกเวลานั้นก็เปิดอยู่ค่ะ แต่มีคนมาน้อย เพราะอาจไม่กล้าและไม่คุ้นเคย แต่ก็มีขาประจำที่มาถามตลอดบ้างค่ะ ตัวเองจะบอกเวลา office hour ให้เด็กเช่น จันทร์เช้า ฯลฯ ค่ะ แล้วต้องเป็นเวลาที่เด็กกลุ่มนี้ไม่มีตารางเรียนค่ะ

สำหรับคำถาม(ไม่รู้โง่ๆ หรือเปล่า) ก็ตอบเสมอค่ะ ตอบไปเพื่อนเด็กทั้งห้องก็เฮไปด้วย ถ้าเป็นคำถามที่คนอื่นเขารู้กันทั้งห้องอยู่แล้ว แล้วก็มีเหมือนกันที่เราสอนผิด แล้วเด็กทักว่าผิด ก็ขอบคุณเด็กแล้วก็แก้ค่ะ  (บางทีสอนเขียนกระดานใหญ่ๆ แล้วจะตกหล่นน่ะค่ะ ไม่เหมือนเขียนบนกระดาษใบเดียว ^ ^)

โดยรวมแล้วคิดว่าผลการเรียนหรือพฤติกรรมส่วนใหญ่ของนักศึกษานั้นขึ้นกับครูผู้สอนด้วยแน่นอนค่ะ ต้องเปิดใจกว้าง และต้องปรับตัวกับเด็กๆ ได้ โดยไม่ผ่อนตามเด็กจนเสีย และก็ไม่ตึงเกินไปจนเด็กเข้าไม่ถึง... เท่าที่ดู อาจารย์หลายคนก็พยายามอยู่ค่ะ

เล่าให้ฟังนอกเรื่อง.(แต่เกี่ยวเหมือนกัน) ..  มีอาจารย์คนหนึ่งเอาข้อสอบที่นักศึกษาปี 4 ตอบมาติดที่หน้าประตูภาควิชาฯ (ไม่ระบุชื่อ)   นักศึกษาคนนี้ลายมือแย่ เขียนผิดเป็ํนจำนวนมาก และตอบเนื้อหาผิดด้วย    ดิฉันเดินผ่านประตูนี้เห็นนักศึกษาทุกคนที่เดินผ่านมา มาอ่านตัวอย่างนี้พร้อมกับหัวเราะขบขันแบบว่า โอ้โห..ทำไมปี 4 (บางคนและเป็นส่วนน้อย) เป็นได้ถึงขนาดนี้ ... คิดว่าก็เป็น lesson-learned และเป็นแนวทางหนึ่ง สำหรับนักศึกษารุ่นต่อๆ ไป ให้ปรับตัวค่ะ

#29 อ่านดูอีกที ทำกับสหกิจศึกษาทำกับป.ตรีนี่เอง ในกรณีนี้ผมก็นึกไม่ออกว่าจะมีแรงจูงใจอะไร เพราะว่าป.ตรี มีตำแหน่งงานในตลาดมากอยู่แล้ว.

#28 ผมสังเกตจากตัวผมเอง ซึ่งพิมพ์ผิดบ่อยมาก และเด็กๆน้องหลายคนที่พิมพ์ผิดไปจากการสะกดมาตรฐาน. ถ้าการพิมพ์ผิดเกิดจาก SMS พิมพ์ยาก คำที่สะกดผิดต้องมีจำนวนอักระน้อยกว่าแบบที่เป็นมาตรฐานหรือเปล่าครับ? หลายครั้งผมก็พบว่าแบบที่แปลกออกไปหรือสะกดผิดยาวกว่าแบบมาตรฐาน. แต่ว่าผมก็ไม่เคยมาลองนับดูสักทีว่าสัดส่วนของคำผิดที่สั้นลงกับยาวขึ้นเป็นเท่าไหร่. 

"แล้วเวลาตอบ IM เร็วๆ โอกาสที่จะเรียบเรียงไม่ค่อยมีค่ะ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขียนรูปประโยคไม่ค่อยเป็นด้วยล่ะค่ะ" --- อันนี้เห็นด้วยครับ. 

เดี๋ยวนี้นักเรียนไทยก็เขียน blog และ diary กันมากขึ้น. หลายครั้งเขาเขียนแล้วก็อ่านกันในกลุ่มรู้เรื่อง แต่ผมอ่านแล้วก็อาจจะไม่รู้เรื่อง. ถ้าบันทึกไหนอ่านรู้เรื่องก็มีโอกาสที่จะมาจาก copy & paste.

ถ้าเขียนแล้วไม่มีคนอ่านนักเรียนก็อาจจะไม่ค่อยอยากเขียน? แต่ถ้ามีอาจารย์คอยอ่าน และให้คำแนะนำบ่อยๆ อะไรๆก็อาจจะดีขึ้น. เดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้เขียนเก่งอะไร แต่ว่าแต่ก่อนเขียนแย่กว่านี้มาก. ผมสังเกตว่าการเขียนของผมพัฒนาขึ้น หนังจากที่อาจารย์คอยตรวจให้แล้วชี้ว่าจุดไหนมีปัญหาอะไร. (ไม่ใช่ชี้หน้าด่าว่าผมปัญญาอ่อน หรือนั่งด่าระบบการศึกษาตั้งแต่อนุบาลนะครับ).

จะมีเวลาตรวจงานของนักเรียนได้ ครูก็มีน้อย ก็คงต้องพยายามตัดกิจกรรมอื่นที่มีประโยชน์น้อยกว่าออกไป.  ก็คงแล้วแต่จะคิดกันว่ามีงานอะไรบ้าง ที่ไม่ค่อยมีประโยชน์.

สุดท้ายเรื่อง copy & paste. ถ้ามีโปรแกรมช่วยตรวจหาส่วนที่ copy & paste อัตโนมัติ อาจารย์คิดว่าจะช่วยอะไรได้หรือเปล่าครับ?

ขอตอบข้อนี้ของน้องบ่าววีร์ด้วยอีกคน

หลายคนบ่นว่าเด็ก ป.ตรี จบมาทำงานได้เท่าระดับ ปวช. หรือว่าน้อยกว่านั้น. แต่สมมุติว่ามีเด็กปวช.ทำงานได้แบบเด็กปวช.จริงๆ ก็จะไม่ได้รับเข้าทำงานอยู่ดี หรือเปล่า? เพราะเวลารับสมัครงานก็รับป.ตรีอยู่ดี. สมมุติว่ามีนักเรียนม.ต้นที่จะเลือกไปทางสายช่าง ผมเห็นว่าชีวิตเขาก็คงมีขวากหนามอยู่พอสมควร. เป็นไปได้หรือเปล่ามีเจ้าของกิจการที่นอกจากบ่นแล้ว จะช่วยทำโรงเรียนช่างให้ดีขึ้น และให้โอกาสคนที่จบสายอาชีพมากขึ้น?

จริงๆ แล้วบริษัทต่างๆ ถ้ารับปวช.ก็หมายถึงสายวิชาชีพจริงๆ นะ ไม่ได้ต้องการมากกว่านั้น เพราะหน้าที่มีให้เท่าที่เขาต้องการระดับปวช. และเงินเดือนก็จ่ายได้แค่ตามตำแหน่งนั้น แต่เดี๋ยวนี้เวลารับสมัครงานเช่น ฝ่ายบัญชี มีแต่เด็กปริญญาตรีมาสมัคร หาเด็กปวช. ปวส.ยากมาก พอไม่มีนานๆ เข้าก็ต้องรับเพราะขาดคน พอรับเด็กป.ตรีเข้ามาแต่เป็นพวกไม่ใช่สายตรง แต่เคยเรียนบัญชีมาบ้าง ปรากฏว่าทำงานได้ห่วยกว่าเด็กปวช.ที่มีอยู่ในแผนกเดิมซะอีก เพราะไม่เคยจับงานจริง แล้วอย่างนี้บริษัทจะทำยังไง ในเมื่อมีแต่บัณฑิตไร้คุณภาพเกลื่อนเมือง ถือเป็นแต่ใบปริญญา แต่ทำงานจริงไม่ได้เรื่อง

เพื่อนที่เป็นเจ้าของบริษัทบ่นกันทุกคนเลยเรื่องเด็กที่จบมาใหม่เนี่ย เดี๋ยวนี้ถึงขนาดต้องเลื่อนโปรจาก 3 เดือนเป็น 4 เดือนเพื่อป้องกันตัวเอง จบโปรแล้วยังขอต่อโปรไปอีกสักสองเดือนเพราะยังไม่แน่ใจ หลังจากนั้นก็ทำสัญญาเป็นรายปีเพราะจะได้ไม่มีปัญหา ซึ่งแต่ก่อนไม่ค่อยต้องทำเพราะคนมันมีคุณภาพไง

ตอนนี้ในภาคอุตสาหกรรมขาดแรงงานสายอาชีพเกือบสองล้านคนแล้ว ได้แต่เด็กปริญญาตรีที่คิดว่าตัวเองแน่ แต่ไร้ฝีมือมาเดินโต๋เต๋อยู่ในโรงงานแทน สั่งเป็นแต่ทำไม่เป็น
P "แล้วอย่างนี้บริษัทจะทำยังไง"
 
เป็นคำถามที่ดีครับ. ผมคงไม่มีคำตอบที่ดีให้  แต่ก็คิดว่านี่เป็นโจทย์ที่ดี ที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนอาจจะทำให้เราก้าวข้ามการบ่นปรับทุกข์ ไปสู่การแก้ปัญหาได้. (การบ่นปรับทุกข์ ผมก็คิดว่ามีประโยชน์ แต่คงมีประโยชน์กว่าถ้ามีทางออกด้วย).
 
ด้วยความจัดเจนของเจ้าของกิจการและอาจารย์อาจจะทำให้มีทางออกอะไรดีขึ้นมาบ้างก็ได้.  อย่างไรก็ตามถึงผมจะไม่ได้จัดเจนก็ขอร่วมลปรร.ด้วย.  ในเมื่อขาดแคลนแรงงานสายอาชีพ. ผมจึงคิดว่านายจ้างและสถาบันการศึกษาควรสร้างแรงจูงใจ ให้นักเรียนเรียนสายอาชีพ ในได้ต่างๆ เช่น เงินเดือน โอกาสเข้าทำงาน ทุนการศึกษา การสอบวัดมาตรฐาน เป็นต้น
 
ถ้านักเรียนจบสายอาชีพมาตรงสาย ก็ควรจะได้เงินเดือน และโอกาสทำงาน มากกว่าคนที่จบปริญญาตรีมาแบบไม่ตรงสาย เป็นต้น. (จริงๆก็อาจจะเป็นแบบนี้อยู่แล้ว?) 
 
ยกระดับมาตรฐานโดยการสอบวัดมาตรฐานกลาง ทั้งทฤษฎีและปฎิบัติ ที่นายจ้างให้การยอมรับ.  
 
นายจ้างให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนสายอาชีพ โดยมีข้อแม้ว่าต้องสอบผ่านมาตรฐานกลางที่นายจ้างกำหนด.  และมีสัญญาว่าต้องทำงานกับนายจ้างกี่ปีกี่ปีก็ว่ากันไป.
 
สหกิจศึกษาที่อ.กมลวัลย์กรุณาเล่าให้ฟังก็น่าสนใจ แต่น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า ถ้าทำกับการศึกษาสายอาชีพ? สหกิจศึกษาก็ควรจะสัมพันธ์กับการจ้างงานด้วย. ก็คงต้องดูแลให้ สหกิจศึกษา ยกระดับนักเรียนได้จริง  การผ่านสหกิจศึกษาต้องทำให้โอกาสได้งานมากขึ้นหรือได้เงินเดือนมากขึ้น จึงจะมีแรงจูงใจ.
 
คำตอบของผมอาจจะไม่ได้เรื่องเลยในทางปฎิบัติ. ผมก็รออ่านทางออกจากท่านที่จัดเจนอยู่เหมือนกัน :-).

ตอบคุณวีร์อีกครั้งค่ะ ^ ^

DVD ก็อาจจะทำเป็นหลายๆชุดก็ได้หรือเปล่าครับ? หลายสถาบันก็สอนวิชาซ้ำๆกัน ก็อาจจะเอามาแลกเปลี่ยนกันได้?

เรื่องการบันทึกเทปการสอนเนี่ย น่าจะทำไ้ด้ถ้ามีอุปกรณ์พร้อม เพราะถ้าจะส่องกล้องไปที่กระดานอย่างเดียว หรือส่องไปที่มืออาจารย์อย่างเดียวก็คงเป็นเทปที่น่าเบื่อมากๆ เลยค่ะ (สำหรับตัวเอง) อีกอย่างหนึ่งก็คือ คนสอนเขินค่ะ ส่วนตัวแล้วคิดว่ายากมากถ้าจะบันทึกเทปการสอนดีๆ สักครั้ง  เพราะต้องใ้ช้ทรัพยากรเยอะ แต่สมมติว่าทำได้ก็คงดีไม่น้อย ที่เด็กเอาไปเรียนเองได้ 

สำหรับเืรื่องการแลกเปลี่ยนกันระหว่างสถาบันนั้น อาจทำได้ยากค่ะ ขึ้นกับเจ้าตัวผู้ที่จะแลกเปลี่ยนจริงๆ เพราะบางทีแนวคิด(ทั้งวิชาการและไม่วิชาการ) ของผู้สอนแต่ละคนค่อนข้างจะต่างกันมาก บางคนมองเป็นลิขสิทธิ์ บางคนมองเป็นการให้ฟรี.. ยากค่ะที่จะตกลงกันได้ แล้วบางทีก็อาจจะมีคนมา exploit ทำธุรกิจต่อเนื่อง (บนการให้บริการฟรี) อีกก็ได้ค่ะ

ส่วนตัวแล้วยังคิดว่าการเรียนสดจะให้อะไรดีๆ กับผู้เรียนได้มากกว่าเรียนเองจากเทปค่ะ.. (เป็นความรู้สึก)

ตอบคุณวีร์ 

#30:  ทางออกของนักเรียนไทย อาจจะเป็นรถไฟฟ้า และการกระจายมหาวิทยาลัยออกนอกกรุงเทพฯหรือเปล่าครับ?

เอ..อันนี้ไม่แน่ใจนะคะว่ารถไฟฟ้าจะเป็นทางออกหรือไม่น่ะค่ะ ถ้าบอกว่ารถไฟฟ้าทำให้คนไปถึงเร็วขึ้น สะดวกขึ้น ลดความเครียดลง ก็คงใช่นะคะ ... คงเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ชีวิตในเืมืองสะดวกขึ้นน่ะค่ะ  แต่ความสะดวกอย่างหนึ่งมักจะนำมาซึ่งผลอะไรบางอย่างเสมอน่ะค่ะ  คล้ายๆ กับมือถือ mobile นี้แหละค่ะ สะดวก มีประสิทธิภาพ แต่ทำให้แยกเวลาส่วนตัว/ครอบครัว กับเวลางานไม่ออกค่ะ

สำหรับการมีมหาวิทยาลัยนอกกรุงเทพฯ เป็นคำตอบหรือไม่นั้น คิดว่าน่าจะเป็นคำตอบค่ะ เพราะสถานศึกษาหรือสถานบริการอะไรก็ตาม ไม่ควรจะมาอยู่กระจุกกันอยู่แล้ว ควรมีมาก/น้อย ตามจำนวนคนที่อยู่แถวนั้นหรือบริเวณใกล้เคียง  ซึ่งอันนี้ก็เป็นนโยบายหนึ่งที่รัฐทำอยู่แล้ว โดยการปรับเปลี่ยนยกระดับวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยค่ะ (แต่ก็มีข้อเสียด้านอื่นๆ ตามมา ถ้าวางแผนหรือไม่คำนึงถึงความต้องการในท้องถิ่นจริงๆ)  

P #38 ผมเชื่อว่าถ้าชั้นเรียนเล็กๆ เรียนสดๆน่าจะได้ผลดีกว่าดู DVD แต่ถ้าชั้นเรียนใหญ่ๆใช้ DVD ก็อาจจะดีกว่า (จริงๆหรือเปล่าก็ไม่ทราบ). 
 
คณะศึกษาศาสตร์ เขาอาจจะวิจัยเรื่องพวกนี้กัน?  จากความรู้สึกของผมเหมือนกันนะครับ เรียนสดถ้าผู้เรียนเกิน 30 คน ต่ออาจารย์ 1 ท่าน ใช้ DVD ดีกว่า. เวลาของอาจารย์ที่เหลือขอไว้ถามคำถามแทนดีกว่า.

สวัสดีอีกครั้งครับ อาจารย์กมลวัลย์

  • แหม ผมหายไป 24 ชั่วโมง ... กลับมาอีกครั้ง ประเด็นของอาจารย์แตกยอดแตกกอแล้วนะครับ
  • ผมว่า ... เปิดสัมมนากันได้เลยนะครับ ... เพราะมีตัวแทนจากคนหลายฝ่ายเข้ามาให้ความเห็นกัน
  • ช่วงนี้ กำลังปั่นข้อสอบอยู่ครับ แต่ก็เผลอตามาเขียนทุกทีสิน่า ....
  • ขอบคุณครับ ประเด็นน่าสนใจมาก ๆ ครับ

ตอบคุณวีร์ต่อค่ะ 

ถ้าหากมีคนสมัคร 10 คน. มี 1 คนที่ไม่ผ่านเงื่อนไขไม่จบป.ตรี. คนนั้นจะถูกกรองออกไปในชั้นแรกเลยหรือเปล่า?  หรือต่อให้ไม่ถูกกรองคุณสมบัติคล้ายๆกันรับเงินเดือนเท่ากัน นายจ้างจะจ้างคนที่จบอนุปริญญา หรือสายอาชีพ? ในสถานการณ์แบบนี้ต่อให้ไม่กลัวลำบาก ผมก็นึกไม่ออกว่าใครอยากจะเรียนสายอาชีพ.

ถ้าเขาเขียนเกณฑ์อย่างนั้นว่ารับ ป.ตรี โดยไม่พิจารณาประสบการณ์เลย ก็คิดว่าใบสมัครของคนจบ ปวช. ปวส.มา จะต้องถูกกรองออกโดยอัติโนมัติแน่ ถ้าคนสมัครเยอะ แ่ต่ถ้าคนสมัครน้อยและไม่ใช่อัตราราชการ(ที่เปลี่ยนเงื่อนไขไม่ค่อยได้) ทางบริษัทอาจจะพิจารณาก็ได้นะคะ  แล้วแต่ความจำเป็นของเขาน่ะค่ะ

แต่ปัจจุบันนี้คิดว่านายจ้างเขียนว่าต้องจบป.ตรี เป็นส่วนใหญ่เพราะไม่ค่อยมี ปวช. ปวส. มาสมัครด้วยแหละค่ะ แล้ววุฒิ ปวช. ปวส. ก็ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักทั่วไป เช่นนายจ้าง ไม่รู้ว่ามีวุฒิ ปวส.คอมพิวเตอร์.... หรือไม่รู้ว่า ปวส.คอมพิวเตอร์นั้นเรียนอะไรบ้าง  เวลาเขียนใบประกาศก็เลยเอา วิศวคอมพ์ไว้ก่อนประมาณนี้

P #38 ประเด็นเรื่องการแบ่งปันกัน ผมก็เห็นด้วยว่ามันยากนะครับ. อาจจะทำไม่ได้เลยหรืออาจจะทำได้. ผลิตภัฑณ์ต่างๆที่ผลพวงจาก free culture ไม่ว่าจะเป็น Wikipedia Linux Firefox ฯลฯ ก็มี free rider ทั้งนั้น แต่ว่าโครงการโดยรวมก็ไปได้ ถ้ากลัว free rider มากเกินไป ผลิตภัณฑ์พวกนี้ก็คงไม่มีตัวตนไปแล้ว. หรือจะแลกเปลี่ยนกันแบบธุรกิจธรรมดา ที่มีกำหนดชัดเจนเลยว่าจะจัดการกับผลประโยชน์อย่างไร อาจจะร่วมมือกัน 2-3 สถาบันก่อน ก็ทำได้อีกเหมือนกัน. ในโกลธุรกิจก็ทำแบบนี้กันอยู่แล้ว?
 
 
P #39: อาจจะเป็นไปได้หรือเปล่าครับ ว่าพอมีรถไฟฟ้ามากๆ คนเดินทางสะดวกแล้ว คนก็จะเอาแต่ขึ้นรถไฟฟ้าเล่นสนุกสนาน.
 
แบบนี้เวลาประกาศรับสมัครงาน เพิ่มปวช. ปวส.เข้าไปด้วย(ถ้าหากว่าต้องการแรงงานสายอาชีพ)  ก็น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นไม่มากก็น้อยหรือเปล่าครับ? เพราะอย่างน้อยๆก็ทำให้สายอาชีพมีโอกาสมากขึ้น. ถึงจะไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่โต แต่ว่านายจ้างก็อาจจะช่วยทำให้ได้โดยไม่ยากเย็นนัก (หรือเปล่า?). 
ปัญหานี้มันอยู่ที่ค่านิยมของตัวเด็กเองด้วย เมื่อสัก 18-20 ปีที่แล้ว เด็กเรียนจบม.ต้นปุ๊บ ถ้ารู้ตัวเองว่าหัวไม่ดีขนาดเรียนได้เกรดสามขึ้นไป ก็จะผันตัวเองไปเรียนสายอาชีพ เพราะจบมาแล้วมีงานทำแน่นอน ส่วนพวกหัวดีก็จะเรียนม.ปลายแล้วไปต่อมหาวิทยาลัย รุ่นที่เราเรียนม.ต้น ห้องหนึ่งประมาณสามสิบคน มีไปเรียนต่อม.ปลายแค่สามสี่คน และมันเป็นแบบนั้นแทบทุกโรงเรียนจริงๆ

แต่ปัจจุบันเด็กกับผู้ปกครองมีค่านิยมให้เด็กจบปริญญาตรีถึงจะดี และมีสารพัดสถาบันเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียน บางที่รับจำนวนมากๆ ด้วยเหตุผลทางการเงินเป็นหลัก เปิดเป็นศูนย์การเรียนตามอาคารต่างๆ ห้าง หรือหลักสูตรพิเศษเต็มไปหมด แต่ควบคุมคุณภาพไม่ได้ บางที่เรียนจากเทปด้วยซ้ำ

สมัยก่อนมันมีมหาวิทยาลัยปิดไม่กี่ที่ รับคนจำกัด มีวิทยาลัยครู มหาวิทยาลัยเอกชนไม่กี่แห่ง และมหาวิทยาลัยเปิดอีกสองที่ คือมันแน่นอนว่าถ้าเอ็นท์ไม่ติด ก็สอบวิทยาลัยครู หรือไปเรียนเอกชน และมหาวิทยาลัยเปิด มันทำให้เป็นตัวกรองบัณฑิตที่ผลิตออกมาว่าต้องมีคุณภาพ และแบ่งเกรดในการรับคนเข้าทำงาน แต่เดี๋ยวนี้สถาบันสายอาชีพก็ถีบตัวเองขึ้นมาเปิดหลักสูตรปริญญาตามกระแสสังคม แต่ความพร้อมมีหรือเปล่านั่นพูดยาก

เด็กสมัยนี้รู้ทั้งรู้ว่าตัวเองเรียนไม่ไหว ก็ยังฝืนเรียนต่อม.ปลายแล้วก็ต่อระดับปริญญาตรี โดยเลือกเรียนหลักสูตรประเภทกลางๆ การตลาด บริหาร การจัดการ และอื่นๆ ซึ่งจบออกมาเกลื่อนเมือง เดินไปไหนก็เจอแต่คนจบการตลาด บริหาร การจัดการ ซึ่งกลายไปทำอาชีพเซลล์ซะส่วนใหญ่ คนที่อยู่ในวงธุรกิจจะรู้กันเลยว่าเด็กที่เรียนมหาวิทยาลัยบางที่แล้วจบคณะนี้มานี่แทบไม่ต้องรับ รับมาก็ทำงานไม่เป็น ให้ไปเป็นเซลล์แล้วกินคอมมิชชั่นแล้วกัน ขายได้ก็อยู่ได้ ขายไม่ได้ทนไม่ได้ก็ออกไป ไม่สนอยู่แล้วเพราะมีคนรอทำงานตำแหน่งนี้เหลือเฟือ ซึ่งแต่ก่อนเซลล์เก่งๆ นี่บริษัทหวงแหนจะตาย ไม่ยอมให้ไปไหนง่ายๆ

ถ้าสถาบันต่างๆ ไม่เปิดหลักสูตรสะเปะสะปะ พร่ำเพรื่อ เน้นว่าคนที่จบออกมาต้องมีคุณภาพ ปัญหาเหล่านี้ก็จะลดลง เงินนั่นแหล่ะเป็นตัวแปรที่ทำให้หลายสถาบันมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป คนที่อยู่ในวงการศึกษาน่าจะรู้แก่ใจดี

ต้องบอกย้ำอีกทีว่ารับสมัครงานมามาก หลายครั้งตำแหน่งที่ลงว่าปวช. เปิดรับนานตั้งสองเดือน ไม่มีปวช. โผล่มาสักคน มีแต่ปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล และเอกชน ขออภัยที่ต้องเอ่ยชื่อ แต่ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างนี้จริงๆ และยอมมารับเงินเดือนระดับปวช. พอเราไม่มีคนทำงานก็ต้องรับ จนใจเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าอยากได้เด็กปริญญาตรีแต่จ่ายเงินเขาเท่าปวช.หรอกนะ พูดแทนเจ้าของกิจการหลายคนที่เจอปัญหาแบบนี้ค่ะ เด็กก็เสียโอกาสที่อุตส่าห์เรียนปริญญาตรีแต่กลับต้องมาทำงานอีกระดับหนึ่ง ซึ่งถ้ายอมเรียนสายอาชีพมาตั้งแต่ต้นแล้วทำงาน ป่านนี้ประสบการณ์มากกว่าตั้ง 4 ปี ก็จะทำให้เงินเดือนเพิ่มขึ้นกว่าจบป.ตรีแล้วค่อยมาทำงานในตำแหน่งปวช. มากพอสมควร
P ระหว่างจบปวช.แล้วทำงานเลย กับรอ 4 ปีให้จบป.ตรี โอกาสเจริญเติบโตในสายงานพอๆกันหรือเปล่าครับ?
 
ถ้าจบปวช.แล้วโอกาสได้งานดีกว่าจริง ก็น่าจะ promote เรื่องนี้เยอะๆ หรือเปล่าครับ? นายจ้างก็อาจจะประกาศอย่างออกนอกหน้าเลยว่าอยากรับ ปวช.  จะดีหรือเปล่าครับ?  ถ้าหากแรงงานอยากศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี  ก็อาจจะใช้บริการ มสธ. หรือสถาบันอื่นๆ ที่เรียนตอนเย็น หรือเสาร์-อาทิตย์ก็ได้. ทางบ้านก็มีความสุขที่ลูกหลานจบป.ตรี พร้อมกับมีรายได้ไปด้วย?

อีกอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนสายอาชีพ อาจจะเป็นข่าวที่ไม่ค่อยจะดีที่ออกมาจากโรงเรียนด้วย เช่น เรื่องรับน้องแรง ทะเลาะวิวาทต่อยตี ต่างๆนานา. 

ถ้านักเรียนไปเรียนช่างได้มากกว่านี้ ชั้นเรียนของอาจารย์กมลวัลย์อาจจะเหลือขนาดแค่ 30 คนก็ได้?

กรณีของคุณ  Little Jazz ไม่น่าจะหมายถึงโรงเรียนช่างต่างๆใช่หรือเปล่าครับ? อาจจะหมายถึงโรงเรียนพาณิชย์? เท่าที่ฟังมาโรงเรียนพาณิชย์ก็ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องรับน้องแรง หรือว่าทะเลาะวิวาทหรือเปล่า? จบปวช.แล้วก็ต่อปวส. แล้วก็มีหลักสูตรต่อเนื่องจนจบป.ตรีได้? แต่นักเรียนก็ไม่ค่อยเลือกเรียนอยู่ดี? ... น่าสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น?

 

สวัสดีค่ะ อ.ตุ๋ย

กำลังตั้งหน้าตั้งตาตรวจข้อข้อสอบอยู่ค่ะ แต่เห็นเรื่องนี้อดเข้ามาไม่ได้

สิ่งหนึ่งที่พี่พบเสมอ ก็คล้ายกับอาจารย์คือ นศ.เขียนอ่านยากมาก เขียนอธิบายไม่ตรงประเด็น ถามอย่างตอบอย่าง  อธิบายไม่ครอบคลุม ไม่สรุปประเด็น ลายมือไม่ดี เขียนวกไปวนมา ฯลฯ

แต่อย่างหนึ่งที่รู้สึกเสมอค่ะ ... อยากพบ นศ.พวกนี้ เพื่อชี้แจง อธิบายว่าคำตอบที่ถูกคืออะไร เขาควรจะตอบอะไร และอะไรที่เขายังไม่เข้าใจ ฯลฯ เพื่อเข้าจะได้ไม่เข้าใจผิดๆ หรือไม่รู้เรื่องไปเรื่อยๆๆ ... แต่โอกาสที่จะพบ นศ. อีก ก็น้อยค่ะ .. จึงคิดว่า เราควรจะทำเฉลยหรือไม่? อาจารย์คิดว่าอย่างไรค่ะ

ตอบคุณวีร์อีกครั้งนะคะ

#28 ผมสังเกตจากตัวผมเอง ซึ่งพิมพ์ผิดบ่อยมาก และเด็กๆน้องหลายคนที่พิมพ์ผิดไปจากการสะกดมาตรฐาน. ถ้าการพิมพ์ผิดเกิดจาก SMS พิมพ์ยาก คำที่สะกดผิดต้องมีจำนวนอักระน้อยกว่าแบบที่เป็นมาตรฐานหรือเปล่าครับ? หลายครั้งผมก็พบว่าแบบที่แปลกออกไปหรือสะกดผิดยาวกว่าแบบมาตรฐาน. แต่ว่าผมก็ไม่เคยมาลองนับดูสักทีว่าสัดส่วนของคำผิดที่สั้นลงกับยาวขึ้น เป็นเท่าไหร่.

ประเด็นนี้น่าสนใจมากเลยนะคะ เคยเห็นเหมือนกันค่ะว่าเด็กเขียนคำว่า"ไม่"เป็น"ม่าย" ซึ่งยาวขึ้น แต่อันนี้เขาคงตั้งใจเลียนเสียงยาวๆ ของคำว่าไม่ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำแบบนี้แล้วจะน่ารักแอ๊บแบ๊วเหมือนที่เขาว่ากันหรือไม่ แ่ต่คิดว่าการเขียนแบบนี้เป็นเทรนด์ที่บ่งบอกว่าทันสมัยของเด็กๆ กระมังคะ  แบบนี้จะเป็นการตั้งใจสะกดผิด ไม่ใช่เป็นการสะกดผิดแบบไม่รู้น่ะค่ะ สะกดผิดแบบไม่รู้เช่นเขียนคำว่าโอกาส เป็น โอกาศ แบบนี้น่ะค่ะ 

สำหรับตัวเอง การสะกดผิดไม่จำเป็นต้องมีจำนวนอักขระน้อยกว่ามาตรฐานค่ะ สะกดผิดน่าจะเป็นไม่ตรงกับมาตรฐาน"ปัจจุบัน" หรือที่ใช้อยู่ปัจจุบันค่ะ

ตอบคุณวีร์ค่ะ

ถ้าเขียนแล้วไม่มีคนอ่านนักเรียนก็อาจจะไม่ค่อยอยากเขียน? แต่ถ้ามีอาจารย์คอยอ่าน และให้คำแนะนำบ่อยๆ อะไรๆก็อาจจะดีขึ้น. เดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้เขียนเก่งอะไร แต่ว่าแต่ก่อนเขียนแย่กว่านี้มาก. ผมสังเกตว่าการเขียนของผมพัฒนาขึ้น หนังจากที่อาจารย์คอยตรวจให้แล้วชี้ว่าจุดไหนมีปัญหาอะไร. (ไม่ใช่ชี้หน้าด่าว่าผมปัญญาอ่อน หรือนั่งด่าระบบการศึกษาตั้งแต่อนุบาลนะครับ).

เห็นด้วยค่ะว่าการมีคนช่วยชี้แนะ และรับคำแนะนำไปปฏิบัิติตาม จะต้องทำให้การเขียนดีขึ้นค่ะ ต้องอาศัยทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งผู้ให้และผู้รับ

สุดท้าย เรื่อง copy & paste. ถ้ามีโปรแกรมช่วยตรวจหาส่วนที่ copy & paste อัตโนมัติ อาจารย์คิดว่าจะช่วยอะไรได้หรือเปล่าครับ?

ก็อาจจะช่วยได้ ถ้าอาจารย์คนนั้นมีความสามารถในการใช้โปรแกรม 5555  แต่ปรกติตอนนี้ถ้าตรวจงานมากๆ เราจะพอเดาได้ค่ะว่าเด็กทำมาเองหรือคัดลอกมาค่ะ เพียงแต่ว่าการที่เราตรวจจับได้ว่าเด็กลอกมาได้ มันไม่ได้ช่วยให้เด็กไม่ลอกค่ะ ต้องหาวิธีเปลี่ยนให้เขาเลิก copy&paste แต่เป็น search, research, analyze, conclude, and write by themselves ค่ะ ^ ^  ซึ่งมันต้องใช้ความพยายามมากกว่า copy&paste มหาศาลค่ะ 

 

สำหรับประเด็นสหกิจศึกษา

สหกิจศึกษาที่อ.กมลวัลย์กรุณาเล่าให้ฟังก็น่าสนใจ แต่น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า ถ้าทำกับการศึกษาสายอาชีพ? สหกิจศึกษาก็ควรจะสัมพันธ์กับการจ้างงานด้วย. ก็คงต้องดูแลให้ สหกิจศึกษา ยกระดับนักเรียนได้จริง  การผ่านสหกิจศึกษาต้องทำให้โอกาสได้งานมากขึ้นหรือได้เงินเดือนมากขึ้น จึงจะมีแรงจูงใจ.

ไม่แน่ใจว่าในสายอาชีพเขามีข้อกำหนดให้ฝึกงานนานเท่าใด แต่เข้าใจว่าเขามีกันบ้างอยู่แล้วค่ะ เคยเห็นนักเรียนพาณิชย์มาฝึกงานเป็นธุรการตอนปิดเทอม  อันนี้คงต้องรอให้ผู้รู้ในสายอาชีพ มาช่วยให้ข้อมูลว่าเขามีฝึกงานในหลักสูตรนานแค่ไหนอย่างไรค่ะ

สำหรับสหกิจศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจพ. นักศึกษาจะไปทำงาน ๑ ปี ในบริษัทที่ทางคณะฯ ไปติดต่อไว้ ว่าตกลงจะรับเด็กเข้าทำงาน ให้เงินเดือนระดับหนึ่ง และส่วนใหญ่จะต้องการเด็กคนนี้หลังจากเรียนจบเพื่อไปทำงานที่บริษัทนั้นๆ เลย (ส่วนใหญ่บริษัทเหล่านี้จะเป็นบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมค่ะ)

#49  เห็นด้วยกับอาจารย์ครับว่า จะเขียนสั้นกว่า ยาวกว่า ยาวเท่ากัน แต่ไม่เหมือนมาตรฐาน ก็น่าจะเรียกว่าสะกดผิดอยู่ดี. อย่างไรก็ตามผมพยายามจะหาว่าสะกดผิดแบบไหนที่น่าจะเกิดจากการส่ง SMS. จากตัวอย่างสะกด "โอกาศ" ก็ไม่น่าจะเกิดจาก SMS เพราะว่าไม่ได้พิมพ์ง่ายลงเลย. 

#48 ส่วนตัวแล้วผมอยากได้ comment จากอาจารย์นะครับว่าทำไมได้คะแนนน้อย ทำไมบางทีได้คะแนนมาก ฯลฯ ไม่มีเวลาพบจะส่งจดหมายแทนก็ได้นะครับ. ทำแบบนี้นักศึกษาน่าจะพัฒนาตัวเองได้รวดเร็วขึ้น?   (แต่ไม่รู้ว่าอาจารย์จะทำให้ไหวหรือเปล่า?)

ถ้าเวลาสอบพิมพ์คำตอบในคอมฯ ใช้ stylus วาดรูปบน touch screen ได้  สงสัยผมจะทำข้อสอบเร็วขึ้นนะครับ ลบง่ายด้วย. ไม่รู้คนอื่นจะถนัดหรือเปล่า. ... แต่ก็คงได้แค่ฝันๆ.  ผมแอบคิดว่าเราจะเน้นดินสอปากกาไปก็ไม่น่าจะเป็นไรมาก. คนยุคก่อนๆก็อาจจะบ่นว่า เด็กสมัยเขาใช้เป็นแต่ปากกาลูกลื่น เขียนกระดาน ใช้ปากกาขนนก ก็ไม่เป็น :-P.
P #51, สหกิจที่สจพ.อาจจะไม่ค่อยจูงใจ เพราะนักศึกษาที่จบจากสจพ.ก็มีโอกาสได้งานเยอะอยู่แล้วหรือเปล่าครับ?  เลยไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง?

ตอบคุณวีร์ค่ะ 

#38 ผมเชื่อว่าถ้าชั้นเรียนเล็กๆ เรียนสดๆน่าจะได้ผลดีกว่าดู DVD แต่ถ้าชั้นเรียนใหญ่ๆใช้ DVD ก็อาจจะดีกว่า (จริงๆหรือเปล่าก็ไม่ทราบ).

อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะเรื่องนี้ แต่ความเห็นส่วนตัวคิดว่าถ้าห้องเรียนใหญ่เกินไป การเรียนอาจจะ็ไม่ค่อยได้ผลน่ะค่ะ เพราะจะมีปัญหาเรื่องอุปกรณ์ที่ต้องมีเพิ่มขึ้น และเสียงของนักเรียนที่คุยกันเองน่ะค่ะ 

สวัสดีค่ะอีกครั้งค่ะ P อ.Wasawat Deemarn

ตอนเขียนเรื่องนี้ก็คิดว่าจะสรุปความเห็นจากประสบการณ์ของตัวเองไว้เท่านั้นค่ะ ไม่คิดว่าจะได้รับความสนใจมากเท่าไหร่ค่ะ

แต่ดีค่ะที่มีตัวแทนจากหลายๆ มุมมองมาร่วมให้ความคิดเห็นกันค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่ติดตามอ่านนะคะ ^ ^ 

ตอบคุณวีร์ต่อค่ะ

ผลิตภัฑณ์ต่างๆที่ผลพวงจาก free culture ไม่ว่าจะเป็น Wikipedia Linux Firefox ฯลฯ ก็มี free rider ทั้งนั้น แต่ว่าโครงการโดยรวมก็ไปได้ ถ้ากลัว free rider มากเกินไป ผลิตภัณฑ์พวกนี้ก็คงไม่มีตัวตนไปแล้ว. หรือจะแลกเปลี่ยนกันแบบธุรกิจธรรมดา ที่มีกำหนดชัดเจนเลยว่าจะจัดการกับผลประโยชน์อย่างไร อาจจะร่วมมือกัน 2-3 สถาบันก่อน ก็ทำได้อีกเหมือนกัน. ในโกลธุรกิจก็ทำแบบนี้กันอยู่แล้ว?

การร่วมมือกันทำได้เสมอค่ะ ถ้าทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้หรือเห็นตรงกัน และไม่ขัดต่อระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายลิขสิทธิ์ต่างๆ น่ะค่ะ

 #39: อาจจะเป็นไปได้หรือเปล่าครับ ว่าพอมีรถไฟฟ้ามากๆ คนเดินทางสะดวกแล้ว คนก็จะเอาแต่ขึ้นรถไฟฟ้าเล่นสนุกสนาน. 

เอ...สำหรับตัวเองแล้ว การมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น แต่ถ้าไม่มีธุรกิจที่จะเดินทางไป หรือมีจุดมุ่งหมายอื่นๆ ก็คงไม่ได้ไปขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อความสนุกสนานน่ะค่ะ อาจจะหาทางพักผ่อนด้วยวิธีอื่นๆ แต่คิดว่าอันนี้แล้วแต่ความชอบของบุคคลค่ะ
 
แบบ นี้เวลาประกาศรับสมัครงาน เพิ่มปวช. ปวส.เข้าไปด้วย(ถ้าหากว่าต้องการแรงงานสายอาชีพ)  ก็น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นไม่มากก็น้อยหรือเปล่าครับ? เพราะอย่างน้อยๆก็ทำให้สายอาชีพมีโอกาสมากขึ้น. ถึงจะไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่โต แต่ว่านายจ้างก็อาจจะช่วยทำให้ได้โดยไม่ยากเย็นนัก (หรือเปล่า?). 

ส่วนตัวแล้วเห็นว่า การมีประกาศรับสมัครงานที่ต้องการ ปวช. ปวส. มากขึ้นน่าจะช่วยนะคะ  

สวัสดีค่ะพี่แป๋ว P

ทำงานดึกจังนะคะ ไม่รู้ว่าได้หนังสือที่ส่งไปให้หรือยัง ^ ^  

เรื่องการทำเฉลยก็น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยได้ค่ะ ที่สจพ. ข้อสอบปลายภาคจะถูกนำไปเก็บไว้ที่ห้องสมุดที่นักศึกษาสามารถมาค้นดูได้ว่าปีก่อนๆ ออกอะไรไว้บ้าง แต่ก็ยังไม่มีเฉลยค่ะ แต่เด็กๆ (ที่สนใจหน่อย) จะเอาข้อสอบปีที่ผ่านๆ มา มาถามค่ะ หรือทำมาให้ดู ก็จะดูให้ค่ะ

การเฉลยก็น่าจะดีนะคะ แต่น้อยคนที่เรียนอยู่ปัจจุบันจะได้ย้อนกลับมาดู คงต้องสำหรับรุ่นต่อไปค่ะ

แต่สำหรับข้อสอบอัตนัยแบบเขียนอธิบายตอบ ถ้าจะเฉลยทิ้งไว้คงยากเหมือนกันนะคะ เราอาจจะเขียนแนวของเราไว้ได้ แต่เด็กบางคนมีนิสัยท่อง copy เลย บางทีเราอาจได้คำตอบออกมาเป็นประโยคเดียวกับที่เราเฉลยไว้เหมือนกันหมดน่ะค่ะ 5555 อันนี้เดานะคะ

แต่สำหรับข้อสอบอัตนัย แบบแก้สมการหรือคำนวณ เฉลยไม่ยากค่ะ แล้วก็คงลอกคำต่อคำไม่ได้เหมือนกับอัตนัยแบบอธิบายเรียงความค่ะ 

พักผ่อนบ้างนะคะ ทำงานหนักมากเลยค่ะ เห็นเดินทางบ่อยด้วย ^ ^ 

ตอบคุณวีร์อีกครั้งค่ะ

#49  เห็นด้วยกับอาจารย์ครับว่า จะเขียนสั้นกว่า ยาวกว่า ยาวเท่ากัน แต่ไม่เหมือนมาตรฐาน ก็น่าจะเรียกว่าสะกดผิดอยู่ดี. อย่างไรก็ตามผมพยายามจะหาว่าสะกดผิดแบบไหนที่น่าจะเกิดจากการส่ง SMS. จากตัวอย่างสะกด "โอกาศ" ก็ไม่น่าจะเกิดจาก SMS เพราะว่าไม่ได้พิมพ์ง่ายลงเลย.

อาจจะสื่อผิดไปนิดหนึ่งค่ะ ตัวอย่างที่ยกคำว่า"โอกาศ"นั้น เป็นการเขียนของนักศึกษาลงในกระดาษคำตอบ ไม่ได้เขียนส่งโดย SMS ค่ะ

#48 ส่วนตัวแล้วผมอยากได้ comment จากอาจารย์นะครับว่าทำไมได้คะแนนน้อย ทำไมบางทีได้คะแนนมาก ฯลฯ ไม่มีเวลาพบจะส่งจดหมายแทนก็ได้นะครับ. ทำแบบนี้นักศึกษาน่าจะพัฒนาตัวเองได้รวดเร็วขึ้น?   (แต่ไม่รู้ว่าอาจารย์จะทำให้ไหวหรือเปล่า?)

ถ้าเป็นตัวต่อตัว ส่งจดหมายแต่ละคนคงทำได้ยากค่ะ ทั้งวันคงต้องนั่งตอบของแต่ละคนซึ่ง Subjective พอสมควร  สำหรับตัวเองแล้วมีเกณฑ์ในการให้คะแนนค่ะ

ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ประมาณว่าผิดหลักเกณฑ์ที่ดี หรือนักศึกษาไม่ได้แสดงความเข้าใจในเนื้อหาเลย ก็จะให้ศูนย์ค่ะ เช่น ควรจะได้ค่าบวก แต่ตอบค่าลบกลับกันคนละทิศ แบบนี้เป็นศูนย์ค่ะ  (พวกนี้ควรเรียนซ้ำเพราะยังไม่ได้หลักการพื้นฐานเลย)

ถ้าเป็นเรื่องกดเครื่องคิดเลขผิดบ้าง ลืมโน่นนิดนี่หน่อยบ้าง ไม่สลักสำคัญมาก ก็จะหักคะแนนนิดๆ หน่อยๆ ค่ะ เวลา grade จะมี system ในการให้คะแนนค่ะ เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เป็นธรรมกับนักศึกษาแต่ละคน  เช่น เวลาตรวจก็จะตรวจข้อเดียวกันของนักศึกษาทุกคน ตรวจข้อ ๑ ของนักศึกษา ก ถึง นักศึกษา ฮ แล้วก็มาตรวจข้อ ๒ ของ ก ถึง ฮ ใหม่แบบนี้ไปเรื่อยๆ ค่ะ 

เวลาตรวจก็จะไม่ดูชื่อนักศึกษา ว่าเป็นใคร จะได้ไม่มีอคติด้วยค่ะ 

ที่เล่ามานี้วิธีการส่วนตัวนะคะ ^ ^

ตอบคุณวีร์ต่อค่ะ

เรื่องอุปกรณ์การเขียนนั้น สำหรับตัวเองเห็นว่าดินสอเป็นอุปกรณ์ที่คล่องตัวที่สุดค่ะ สำหรับผู้เขียนและผู้ตรวจด้วยค่ะ 

#51, สหกิจที่สจพ.อาจจะไม่ค่อยจูงใจ เพราะนักศึกษาที่จบจากสจพ.ก็มีโอกาสได้งานเยอะอยู่แล้วหรือเปล่าครับ?  เลยไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง?

ก็เป็นไปได้นะคะ แต่เท่าที่พวกเราประเมินกันดู ก็เพราะเรื่องเวลาที่ต้องเรียนนานกว่าคนอื่น ๑ ปี แล้วก็คงไม่จูงใจเพราะยังไงก็ได้งานอยู่แล้วอย่างที่ว่า  แต่พอเป็นอย่างนี้แล้ว โอกาสที่นักศึกษาจะทำงานเป็นจริงๆ ตามที่อุตสาหกรรมต้องการได้ก็ลดลงไปเรื่อยๆ ค่ะ เพราะคนส่วนใหญ่ยังเลือกหนทางที่ง่ายไว้ก่อนเป็นหลัก ซึ่งก็คงเป็นปกติธรรมชาติของคนทั่วไปค่ะ

สวัสดีครั้งที่เท่าไหร่ จำไม่ได้แล้วครับ (เพราะไม่ได้พลิกกลับไปดู)

  • แวะมาอ่านครับว่า ประเด็นของอาจารย์หยุดหรือยังน่ะครับ

Have a nice day ครับ :)

สวัสดีครั้งที่ ๓ (ถ้าจำไม่ผิด) ค่ะ อ.Wasawat Deemarn

ประเด็นในบันทึกมีเท่าที่เห็นค่ะ 

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นเสมอนะคะ อาจจะตอบเร็วบ้าง ช้าบ้าง ตามโอกาสค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะมาติดตามนะคะ ^ ^ 

ขอขอบคุณทุกท่านใน P  กลุ่มที่ 1 กลุ่มภูไทห้วยหีบ ศูนย์เรียนรู้อำเภอโคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ที่เป็นกำลังใจให้นะคะ 

ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ทุกๆ ท่านเช่นกันค่ะ ^ ^

แวะมาอ่านประเด็นนี้ครับ ไม่ได้เข้ามานานแล้ว ช่วงนี้ผมเดินทางบ่อยมากเลย ก็สวัสดีพี่ๆน้องๆทุกคนก่อนเลยครับ

ประเด็นเรื่องการตรวจข้อสอบนี่เป็นปัญหามากเลยครับ สำหรับวิชาพื้นฐานอย่างฟิสิกส์ ผมตรวจได้วันละไม่กี่ซองเอง เครียดแล้วก็หยุดตรวจ เครียดแล้วก็หยุดตรวจ โดยเฉพาะเรื่องหน่วยที่พยายามสอนให้ติดตัวตั้งแต่เรียนเตรียมวิศวกันแล้ว แต่ตอนไปเรียนวิศวะ ลูกศิษย์ผมก็ทำเหมือนๆเดิม สุดท้ายตัดคะแนนมากไปไม่มีคะแนนตัดเกรดอีก เฮ่อ

สวัสดีค่ะ อ.innoPhys

เดินทางบ่อยๆ ต้องรักษาสุขภาพนะคะ  การเดินทางเยอะๆ ก็เป็นการสะสมความเครียดได้เหมือนกันค่ะ

เรื่องการตรวจข้อสอบแล้วเจอปัญหานั้น พี่ก็เป็นเหมือนกันค่ะ เป็นที่มาของบันทึกนี้แหละค่ะ ^ ^

พี่คิดว่าที่เขาไม่เคยเขียนหน่วยกันนั้น เป็นเพราะหลายๆ อย่างค่ะ

  • ไม่เคยทำ (ติดเป็นนิสัย)
  • ไม่สนใจที่จะฝึกทำ (เหมือนกับการเรียนมันจบในห้องเรียนไปแล้ว นอกห้องเรียนไม่ต้องเรียน ไม่ต้องทำ)
  • ไม่เห็นความสำคัญ
  • รีบทำข้อสอบเกินไป
  • ไม่มีความรู้พื้นฐาน ทำให้ไม่รู้เรื่องหน่วยที่ชัดเจน เช่น บางคนอาจยังไม่รู้ว่า หน่วยความเร็วคืออะไร แตกต่างจากความเร่งอย่างไร เป็นต้น
  • ฯลฯ

หลายอย่างแก้ได้โดยอาจารย์ช่วยย้ำ แต่บางข้อข้างบนต่อให้เป็นคุณพ่อ คุณแม่ มาบังคับ ถ้าตัวนักศึกษาไม่เลือกปฏิบัติ เราก็คงต้องเจอสภาพแบบนี้กันต่อไปค่ะ

ถ้าพี่เจอประเภทไม่มีคะแนนให้ตัดอีกแล้วในวิชาพื้นฐานปีแรกๆ พี่(มักโหด) เลือกให้เขาไม่ผ่านค่ะ เพราะรู้ว่าเขาจะต้องขึ้นไปเสียเวลาชีวิตในปีต่อๆ ไปอีกเป็นแน่ โดยเฉพาะในสาขาวิศวฯ ที่ต้องใช้การคำนวณและต้องใช้ความรู้วิชาพื้นฐานตลอด ไม่อยากให้เสียเวลาเขา และทรัพยากรของประเทศชาติค่ะ

ขอบคุณที่แวะเข้ามา ลปรร นะคะ 

ตามมาจากบันทึกของผู้ป่วยโรคไตที่ดอกแก้วบันทึกไว้ และมีผู้คุยถึงหนังสือของคุณหยดน้ำ ทำให้อยากอ่านมากๆ

ดิฉันเป็นอาจารย์พยาบาล คิดว่าสาระที่คุณหยดน้ำเขียนจะเป็นประโยชน์สำหรับการสอนลูกศิษย์แน่ๆ

อาจารย์กมลวัลย์ช่วยกรุณาแนะนำหน่อยนะคะว่าจะหามาอ่านได้อย่างไร

เมื่อตามมาถึงก็พบความรู้มากมายเกี่ยวกับการทำโครงการ ดีใจเป็นที่สุด ดิฉันไม่ได้เรียนเรื่องการทำโครงการ แต่ต้องทำโครงการ ทุกปีต้องทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการมากมายเพื่อจะพัฒนาอาจารย์

ปีนี้ต้องทำโครงการผลิตบัณฑิตเพิ่ม จะต้องเกี่ยวข้องทั้งแผนการจัดการเรียนการสอน การเตรียมระบบสนับสนุนเช่น ห้องเรียน หอพัก และอยากทำระบบอีเลินนิงเพื่อให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาเสริมความรู้จากห้องเรียน และแหล่งฝึก และเพื่อเปิดช่องทางให้นักศึกษาติดต่อกับอาจารย์ 

ช่วยกรุณาแนะนำด้วยเถิดค่ะ  โครงการทำนองนี้มีแนวทางการเขียนอย่างไร ขอบคุณมาล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.รุจิเรศ rujires - thanooruk

เรื่องหนังสือของพี่หยดน้ำนั้นดิฉันจะส่งไปให้อาจารย์ที่ภาควิชานะคะ แล้วถ้าอาจารย์อยากได้เพิ่มเติม อาจารย์สามารถสั่งซื้อได้โดยตรงโดยการโทรไปที่เบอร์โทรศัพท์ในเล่มนะคะ ^ ^ คุยกับพี่หยดน้ำโดยตรงค่ะ แต่จะส่งเล่มแรกไปให้อาจารย์อ่านดูก่อน

สำหรับเรื่องแนวทางการเขียนและการดำเนินการโครงการต่างๆ นั้น ตอบค่อนข้างยากค่ะ เพราะมีรายละเอียดที่ตัวเองไม่ทราบเยอะ ^ ^  แต่เท่าที่ดูคืออาจารย์กำลังวางแผนในระดับกลาง ยังไม่ลงรายละเอียดในแต่ละโครงการ แต่เป็นการวางแผนเพื่อให้หลายๆ โครงการลงตัว มุ่งไปสู่เป้าประสงค์เดียวกันคือรองรับการผลิตบัณฑิตเพิ่ม

ขอเวลาหาแนวทางการเขียนโครงการ มาเป็นตัวอย่างให้ดููก่อนนะคะ คงไม่เร็วนัก แต่จะลองหาดูค่ะ อาจารย์ลองติดตามดูที่สมุดการบริหารโครงการ นะคะ ถ้าได้เมื่อไหร่จะเอาไป post ที่สมุดค่ะ

แล้วจะส่งหนังสือ"พยาบาลไร้หมวก"ให้นะคะ ^ ^

ขอบคุณที่แวะเข้ามา ลปรร ค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท