7 วิธีป้องกันโรคหัวใจ


อาหารนอกบ้านมักจะมีปริมาณมากเกินเป็น 2 เท่าของอาหารสุขภาพ

Hiker

โรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ของโรงพยาบาลพลานเทชั่น เจเนอรัล (www.myhealthpublisher.com) ได้รวบรวมคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจอเมริกา และสมาคมแพทย์สตรีอเมริกาในการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

คำแนะนำนี้นอกจากจะช่วยป้องกันโรคห้วใจ-เส้นเลือดแล้ว ยังมีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนัก(ลดความอ้วน) และส่งเสริมสุขภาพทั่วไปอีกด้วย

    คำแนะนำ:     

  1. ลดไขมันสัตว์                                                                           
    ไขมันสัตว์มีไขมันอิ่มตัวสูง ถ้ากินเนื้อสัตว์ให้เลือกกินเฉพาะเนื้อไม่ติดมัน (lean meat) ไม่กินมันสัตว์ สัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ฯลฯ จะมีไขมันมาในส่วนหนัง ควรเอาหนังออกก่อนกิน (poultry without skin)
  2. ลดไข่แดง                                                                              
    ไข่แดงเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง รสชาติดี แต่มีโคเลสเตอรอลสูง ส่วนไข่ขาวมีโปรตีนสูง และไม่มีโคเลสเตอรอลเลย

    ถ้าต้องการทำอาหารที่มีไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ไข่เจียว ฯลฯ ให้ลดสัดส่วนไข่แดงลง เช่น ผสมไข่แดง 1 ฟองกับไข่ขาว 2-3 ฟอง แทนการใช้ไข่ทั้งฟอง 2 ฟอง ฯลฯ
  3. ผัดสเปรย์                                                                              
    ถ้าชอบอาหารผัดให้ลองนำน้ำมันใส่ในขวดสเปรย์ (cooking spray) ฉีดน้ำมันลงบนกะทะเทฟลอน วิธีนี้จะทำอาหารผัดไขมันต่ำได้
  4. กินพืชผัก                                                                               
    กินพืชผักหลัก 4 กลุ่มได้แก่ ข้าวกล้อง ถั่ว ผัก และผลไม้เป็นอาหารจานหลัก (main dish) ลดการกินเนื้อลง และควรใส่ในจานขนาดเล็ก (side dish)

    ควรพยายามกินโปรตีนจากพืช เช่น โปรตีนถั่วเหลือง เต้าหู้ ฯลฯ ถ้าไปกินอาหารนอกบ้านควรสั่งผักต้มหรือผักลวกมาเสริม
  5. กินนมไขมันต่ำ                                                                          
    ให้กินนมที่ไม่มีไขมัน (nonfat milk) หรือนมไขมันต่ำ (low fat milk) แทนการกินนมเต็มส่วน (whole milk) เนื่องจากนมเต็มส่วนมีไขมัน และโคเลสเตอรอลค่อนข้างสูง

    ถ้ากินเนยเทียม...ให้เลือกชนิดไขมันต่ำ และเกลือต่ำ โดยดูจากฉลากอาหาร (food label) ที่ผลิตภัณฑ์
  6. กินปลา                                                                                  
    กินปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะปลาทูน่า และปลาแซลมอน ซึ่งเป็นปลาที่มีไขมันชนิดดีมาก (โอเมก้า-3) สูง และมีระดับสารพิษ(ปรอท)ซึ่งพบในปลาทะเลค่อนข้างต่ำ
  7. กินนอกบ้านน้อยหน่อย                                                      
    อาหารนอกบ้านมักจะมีปริมาณมากเกินเป็น 2 เท่าของอาหารสุขภาพ จึงควรกินประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณที่จำหน่าย

    การทำกับข้าวกินเอง โดยเฉพาะอาหารสุขภาพที่หวาน-เค็ม-มันน้อยหน่อย ผัก-ถั่ว-งา-เห็ดมากหน่อยมีส่วนช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้

    รวมเรื่อง "ปลา"...        

  • กินปลา สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • [ Click - Click ]
  • 7 ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • [ Click - Click ]
  • 7 วิธีป้องกันโรคหัวใจ
  • [ Click - Click ]

    แหล่งที่มา:     

  • ขอขอบพระคุณ > eNewsletter Heart Health (www.myhealthpublisher.com from Plantation General Hospital) > Eating to keep your heart beating. > October 2005.
  • ขอขอบพระคุณ > คุณรังสรรค์ พรเรืองวงศ์ (วิศวกร). Smart JIG. แนะนำให้ทำหัวข้อเชื่อมโยง (related articles).
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 7 พฤศจิกายน 2548 > ปรับปรุงแก้ไข > 24 เมษายน 2550 > 27 เมษายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 6561เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2005 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีครับสำหรับการบอกความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจคับ

ขอขอบคุณอาจารย์สมชาย และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ป้องกันดีกว่ารักษาครับ...

(1). คนรุ่นต่อไปมีโอกาสจะอายุยืนขึ้น มีชีวิตหลังเกษียณนานขึ้น...
(2). คุณภาพชีวิตระยะยาวขึ้นกับสุขภาพมากทีเดียว

ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพหัวใจดีไปนานๆ ครับ

ขอบพระคุณ คุณหมอมากครับ ตอนนี้ผมกินข้าวกล้อง พืชผัก และปลาเป็นอาหารหลัก ส่วนเนื้อสัตว์ลดลงให้เหลือน้อยที่สุดครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์บวร และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • ขอขอบพระคุณที่กรุณาแวะมาเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจ
  • การกินข้าวกล้อง พืชผัก และปลาดูจะเป็นกลุ่มอาหารสุขภาพที่ช่วยป้องกันโรคได้มาก

เนื้อ...

  • ส่วนเนื้อสัตว์บกนั้น... น้อยไว้ละดีครับ
  • ที่กล่าวมานี้ไม่ได้ส่งเสริมให้กินมังสวิรัติ

ไขมันแฝง...

  • ทว่า... เนื้อสัตว์(แม้จะเป็นเนื้อแดง)มีไขมันแฝงเร้นอยู่มาก และมีไขมันอิ่มตัวที่ไม่ดีกับสุขภาพหัวใจมากทีเดียว
  • ถ้ากินเนื้อสัตว์ใหญ่ไม่เกินสัปดาห์ละ 3 ส่วนบริโภค หรือ 3 ฝ่ามือ(ไม่รวมนิ้วมือ)ได้น่าจะดี

สัตว์ปีก...

  • สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ห่าน ฯลฯ มีไขมันมากที่หนัง
  • ถ้านำหนังออกได้น่าจะดี

ขอขอบพระคุณ และขอให้ครูบาอาจารย์ทุกท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ...

ถ้ามีออะไรน่าสนใจติดต่อมาด้วยที่ e mail นะคะ

ขอขอบคุณ... คุณมอส

  • ตอนนี้วิธีที่ดีคือ ติดตามอ่านตอนต่อไปครับ
  • ยังไม่สามารถทำ e-Newsletter ได้ (ผมยังเชี่ยวชาญด้านการส่ง feed ไม่มากพอ)

ทาง gotoknow มีบริการ feed > คลิกด้านล่างบล็อก แล้วอ่านทาง e-mail ได้

  • เชียร์ให้ใส่ใจสุขภาพต่อไปครับ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท