...
ภาวะนอนกรนมีทั้งชนิดไม่อันตรายและชนิดอันตราย ภาวะนอนกรนชนิดไม่อันตรายพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง(ร้อยละ 25 และ 15 ตามลำดับ) คนสูงอายุจะนอนกรนมากขึ้น(ผู้ชายร้อยละ 50 ผู้หญิงร้อยละ 40)
ภาวะนอนกรนชนิดอันตรายจะมีการหยุดหายใจ (sleep apnea) เป็นพักๆ ในระหว่างการนอนหลับ ภาวะนี้พบได้ร้อยละ 1 ในคนที่นอนกรน และพบเพิ่มขึ้นในผู้ชายสูงอายุที่อ้วน(ร้อยละ 10) ช่วงที่หยุดหายใจจะมีปัญหาในการขาดออกซิเจน ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ความดันในปอดสูงขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจขาดเลือด หรือสมองขาดเลือดได้ คนที่มีภาวะนอนกรนชนิดอันตรายควรปรึกษาแพทย์
สาเหตุของการนอนกรนที่เราแก้ไขไม่ได้คือ
q อายุ
อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อนยาน ทางเดินหายใจส่วนคอแคบลง ลิ้นไก่และลิ้นตกไปบังทางเดินหายใจได้ง่าย
q เพศ
ฮอร์โมนเพศหญิงมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อที่ขยายช่องทางเดินหายใจมีความตึงตัวดีขึ้น ผู้หญิงจึงกรนน้อยกว่าผู้ชาย
q กรรมพันธุ์
q โครงสร้างใบหน้า
คนที่มีคางสั้นมาก หรือกระดูกใบหน้าแบนทำให้ช่องทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าปกติมีแนวโน้มที่จะกรนได้ง่าย
วิธีลดปัญหาภาวะนอนกรนได้แก่
1) นอนตะแคง
ท่านอนตะแคงและท่านอนคว่ำมีอัตราการนอนกรนน้อยกว่าท่านอนหงาย
2) ควบคุมน้ำหนัก
คนอ้วนจะมีการสะสมไขมันบริเวณลำคอและทรวงอกเพิ่มขึ้น ทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง และการเคลื่อนไหวของหน้าอกแย่ลง ถ้าควบคุมน้ำหนักได้ ภาวะนอนกรนจะทุเลาลง คนที่ลดน้ำหนักได้ร้อยละ 7.8 จะมีอัตราการนอนกรนลดลงร้อยละ 30
3) งดเหล้า เบียร์
เหล้า เบียร์ ยานอนหลับ และยาคลายเครียดมีส่วนทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง
4) งดบุหรี่
บุหรี่ทำให้ทางเดินหายใจมีประสิทธิภาพโดยรวมลดลง
-
ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ รศ.นพ.วีระชัย คีรีกาญจนะรงค์, อาจารย์ รศ.นพ.ภาคภูมิ สุปิยพันธุ์. นอนกรนรักษาได้. ใน: หมอชาวบ้าน. ปี 27 ฉบับ 318 (ตุลาคม 2548) หน้า 17-24.
สาระสุขภาพ...
q โปรดปรึกษาแพทย์ หรือบุคลากรสุขภาพที่ดูแลท่าน ก่อนนำคำแนะนำไปใช้ โดยเฉพาะท่านที่มีโรคประจำตัว หรืออยู่ในกลุ่มมีความเสี่ยงต่อโรคสูง // ขอขอบคุณ //
q นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปางq ยินดีให้นำไปใช้ได้เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า //
๑๑ ตุลาคม ๔๘