หายใจต่ำสิบ อายุยืน


ท่านผู้อ่านหายใจกี่ครั้งต่อนาทีหรือครับ วันนี้มีข่าวดี... มีการศึกษาพบว่า ถ้าหายใจช้าๆ ต่ำกว่า 10 ครั้งต่อนาที ทำให้ได้ทุกวัน มีส่วนช่วยให้อายุยืน และมีสุขภาพดีได้

ท่านผู้อ่านหายใจกี่ครั้งต่อนาทีหรือครับ วันนี้มีข่าวดี... มีการศึกษาพบว่า ถ้าหายใจช้าๆ ต่ำกว่า 10 ครั้งต่อนาที ทำให้ได้ทุกวัน มีส่วนช่วยให้อายุยืน และมีสุขภาพดีได้

ความดันเลือดสูงเป็นโรคที่ชอบมาเงียบๆ ไม่มีอาการ ทว่า... ส่งผลเสียต่ออวัยวะภายอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ทำให้เส้นเลือดเสื่อม เสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน สโตรค(อัมพฤกษ์-อัมพาต) ไตเสื่อม ตาเสื่อม และสมองเสื่อม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ความดันเลือดสูงที่ปรับเปลี่ยนได้(บางส่วน)ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ขาดการออกแรงออกกำลัง และการกินเกลือมากเกิน

ตรงกันข้ามการลดน้ำหนัก ออกกำลัง ใช้แรงในชีวิตประจำวัน และการลดเกลือลงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคความดันเลือดสูง

ปี 2545 คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) อนุญาตให้จำหน่ายเครื่องฝึก หายใจช้าๆ (RESPeRATE)” เพื่อช่วยฝึกการหายใจได้

คนส่วนใหญ่หายใจประมาณ 10-15 ครั้งต่อนาที เครื่องฝึกหายใจช้าจะช่วยฝึกการหายใจให้ช้าลงจนถึง 10 ครั้งต่อนาที หรือต่ำกว่านั้น

อาจารย์ ดร.เดวิด แอนเดอร์สัน จากสถาบันวิจัยชราภาพแห่งชาติอเมริกา (NIA) ได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่า การฝึกหายใจช้าๆ ระดับ 10 ครั้งต่อนาที หรือช้ากว่านั้น นานวันละ 15 นาที เป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน ลดความดันเลือดได้ 10-15 หน่วย

การหายใจช้าๆ มีส่วนช่วยให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น และขยายตัวชั่วคราว อาจารย์แอนเดอร์สันสันนิษฐานว่า คนเรามีแนวโน้มจะหายใจตื้นและเร็วขึ้น

การหายใจตื้นและเร็วคราวเครียดมักจะเป็นไปโดยไม่รู้ตัว ถ้าฝึกหายใจช้าๆ ลึกๆ ได้ทุกวันจะช่วยลดระดับความเครียด และลดความดันเลือดลง

การลดระดับความเครียด และความดันเลือดมีส่วนช่วยป้องกันโรคได้หลายอย่าง โดยเฉพาะโรคเส้นเลือดหัวใจ ไต สมอง และตา

อาจารย์ท่านแนะนำว่า ถ้าลดน้ำหนักที่มากเกินได้สักหน่อย เดินให้มากขึ้น ออกกำลังและใช้แรงในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น กินเกลือให้น้อยลง(น้อยกว่าวันละ 2,300 มิลลิกรัม) กินข้าวกล้อง ผัก และผลไม้ให้มากขึ้น

ถ้าทำอย่างนี้ได้อายุคงจะยืนขึ้นอย่างมีคุณภาพ... ท่านผู้อ่านอ่านเรื่องนี้แล้วอย่าลืมหายใจช้าๆ นะครับ

    แหล่งที่มา:                                      

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙
  • เขียนใน GotoKnow โดย 
     ใน บ้านสุขภาพ
    หมายเลขบันทึก: 44352เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (8)
    • ขอบพระคุณคุณหมอมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน จะนำไปปฎิบัติครับ

              อ่านแล้วได้ความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ เพราะดิฉันได้ฝึกการหายใจแบบการฝึกโยคะ  โดยหายใจเข้าท้องป่องหายใจออกท้องแฟบ  หายใจได้ลึกและช้าลงแต่ยังไม่เคยจับเวลาว่าได้ถึง 10 ครั้งหรือต่ำกว่า10หรือไม่  วันนี้จะลองดูค่ะ   เมื่ออ่านของคุณหมอแล้วจะนำไปเล่าต่อให้คนข้างเคียงและเพื่อน ๆ ค่ะ

           อยากเรียนถามคุณหมอว่า ดิฉันได้ทำโครงการเด็กอ้วนขึ้นในโรงเรียน  โดยทุกวันจันทร์  อังคาร และพฤหัสบดี  จะนำเด็กกลุ่มนี้มาออกกำลังกายไม่ต่ำกว่า 20 นาที โดยการเต็นแอร์โรบิกเป็นเวลา 2 เดือนปรากฏว่าเด็กน้ำหนักไม่ลง  จะมีทีท่าบางคนน้ำหนักจะขึ้น  จึงเปลี่ยนใช้วิธีการวิ่งรอบสนามระยะทาง 150 เมตรคนละ 3 รอบเป็นเวลา 1 อาทิตย์ยังไม่ทราบว่าจะได้ผลหรือไม่

           จึงเรียนถามขอคำแนะนำจากคุณหมอว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร

     

    ขอขอบคุณอาจารย์สิงห์ป่าสัก และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ขอบคุณครับ
    • ถ้าสนใจฝึกสมาธิ > เรียนเสนอเจริญให้เป็นอานาปานสติเลย > จะได้ประโยชน์เต็มที่ทีเดียว...

    ขอขอบอาจารย์คุณครูหนิง และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • การฝึกหายใจแบบโยคะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากครับ > น่าจะลองนับลมหายใจดูว่า กี่ครั้ง/นาที

    เรื่องการลดความอ้วน / ควบคุมน้ำหนัก...                

    • 60 % มีผลจากอาหาร > ควรเน้นอาหารมากกว่าออกกำลัง + ใช้วิธี 2 อย่างร่วมกัน(อาหาร+ออกกำลัง)
    • ประมาณ 10-20 % มีผลจากการออกกำลังกาย / ใช้แรงน้อยเกิน
    • ประมาณ 10 % เป็นผลจากพันธุกรรม
    • (1). เรียนเสนอให้เริ่มที่การควบคุมอาหาร > ต่อไปให้ออกกำลังเน้น 2 เรื่อง...
      (2). การออกกำลังที่ดีกับการควบคุมน้ำหนักได้แก่ ออกกำลังปานกลาง+นานหน่อย เช่น เดินเร็ว  30 นาที/วันสำหรับผู้ใหญ่ 60 นาที/วันสำหรับเด็ก + ใช้แรงในชีวิตประจำวัน เช่น เดินให้มากขึ้น ฯลฯ ถ้าออกแรงหนักมากอาจจะหิว > กินชดเชยมากเกิน
      (3). การออกกำลังเสริมสำหรับการควบคุมน้ำหนักได้แก่ การออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ฯลฯ เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ > กล้ามเนื้อใช้พลังงานได้ดีกว่าไขมัน

    เรียนเสนอให้อ่านหนังสือ "คู่มือลดความอ้วน" ของสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน > เปิดดูที่อยู่ + สอบถามได้จากวารสารหมอชาวบ้าน หรือที่ www.doctor.or.th

         ขอขอบพระคุณ คุณหมอที่ช่วยแนะนำ  ดิฉันจะลองวิธีที่คุณหมอแนะนำ ไปทดลองใช้กับกลุ่มเด็กอ้วน ถ้ามีผลอย่างไรจะนำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

        

    • พยายามฝึกสมาธิครับ
    • บางครั้งสดชื่นมาก ขอบคุณคุณหมอมากครับ

    ขอขอบคุณอาจารย์ครูหนิง และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • เรื่องลดความอ้วนนี่... นับว่า อาจารย์มีส่วนช่วยชาติได้มาก เพราะถ้าลดน้ำหนักได้ 5-10 % โรคภัยไข้เจ็บจะลดลงมาก

    เรียนเสนอให้ค้นจากหนังสือของมูลนิธิหมอชาวบ้านครับ > อาจารย์ท่านแนะนำไว้ดีมากๆ

    • เรื่องจะได้ผลหรือไม่ > คงจะขึ้นกับครอบครัวเด็ก + การควบคุมอาหารของเด็กเป็นสำคัญ
    • อย่างไรก็ตาม... ความปรารถนาดีของอาจารย์ครูหนิงนับว่า เป็นการเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมสำหรับอนาคตของชาติ...

    ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • คนที่เรียนนักธรรมมาอย่างอาจารย์ขจิตนี่... ถ้าฝึกสมาธิเฉยๆ คงจะไม่เหมาะเท่ากับการพิจารณาให้เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน เช่น อานาปานสติ(มีลมหายใจเป็นอารมณ์) ฯลฯ
    • ถ้าพิจารณาเป็นกรรมฐาน โดยเฉพาะถ้าทำตามวิสุทธิมรรคได้ > จะได้บุญด้วย ดีกับสุขภาพด้วย
    • ขอบคุณครับ
    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท