มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างทีมนักพัฒนาใน Patho Otop แล้ว


สมาชิกของทั้งสองทีม นำวิธีการจัดการความรู้มาใช้พัฒนางาน อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด

   วันนี้ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการปรึกษาหารือระหว่างกลุ่มพัฒนางานสองกลุ่ม คือ ทีมจากหน่วยเคมีคลินิก "Labด่วน" และทีมจากงานรับสิ่งส่งตรวจ "ทำกล่องใส่สิ่งส่งตรวจจากแกนกระดาษทิชชู" ในฐานะที่ปรึกษาของทั้งสองทีม  ได้เห็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปปรับปรุงงานหลายประการ ซึ่งพอจะสรุปหัวข้อได้ดังนี้

   1. ทีม Labด่วน มีปัญหาเรื่องไม่สามารถติดสติ๊กเกอร์ที่ specimen จากห้องตรวจฉุกเฉินได้ทุกราย เนื่องจาก specimen ไปปะปนกับของวอร์ด จึงขอความร่วมมือให้ทีม ทำกล่องฯจากแกนทิชชู ช่วยจัดทำกล่องสำหรับห้องตรวจฉุกเฉินโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถแยกได้จากวอร์ดอื่นๆ และฝากให้ช่วยประสานงานกับทางห้องตรวจฉุกเฉินด้วย อืมม์..ท่าทางจะแก้ปัญหาได้ดี ต้องรอดูผลการดำเนินงานต่อไป

   2. ในระหว่างพูดคุย พี่เลี้ยงคนเก่งของทีม Labด่วน (คุณปนัดดา) ก็ปิ๊งไอเดียว่า น่าจะเก็บข้อมูลระยะเวลาการส่งสิ่งส่งตรวจ โดยแนะนำให้สุ่ม HN ของผู้ป่วยที่มารับบริการ ประมาณวันละ 10-20 ราย แล้วติดตามบันทึกเวลาตั้งแต่รับ specimen จนกระทั่งเดินทางไปถึงแต่ละแล็บ ว่าใช้เวลาประมาณกี่นาที (เหมือนรายการ..กบนอกกะลาเลยนะ..) เพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยเป็นการประกันเวลาการส่งสิ่งส่งตรวจได้อีกด้วย

   3. แล้วก็มีของแถมอีกอย่าง คือสมาชิกจากหน่วย hemato (คุณสุนทร) เสนอว่าสติ๊กเกอร์สีแดงที่ใช้อยู่คุณภาพไม่ค่อยดี  ควรหาชนิดใหม่ที่ติดแน่นกว่าเดิม  ... นี่คือการปรับปรุงงานโดยแท้

   สมาชิกของทั้งสองทีม มุ่งมั่นพัฒนางานอย่างจริงจัง และนำวิธีการจัดการความรู้มาใช้พัฒนางานอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ยินดีด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 2665เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2005 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
.....ชื่นชมชาว Hemato จริงๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท