GotoKnow

รักวลัยลักษณ์ (3)

นาย ภีม ภคเมธาวี
เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2548 14:58 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 13:56 น. ()

ผมเพิ่งกลับจากประชุมทีมคุณอำนวยโครงการ"รักวลัยลักษณ์" ที่ประชุมมอบหมายให้ผมหารือกับคุณธวัชแนวทางในการจัดกระบวนการในวันที่5-6ก.ย.นี้
ที่ประชุมมีข้อเสนอหลายแบบ คุณธวัชช่วยให้ความเห็นด้วยครับ

เราจะแบ่งวงเรียนรู้เป็น 2 วงคือวงคุณกิจ 5 กลุ่มย่อย ๆละประมาณ 8 คน วงคุณเอื้อ 2 วง
1)กำหนดเป้าหมายหลักที่แคบลงในหัวข้อเดียว ให้กลุ่มย่อยเล่าประสบการณ์ ถอดเป็นขุมความรู้และแก่นความรู้ หรือ
2)ให้กลุ่มย่อยร่วมกันกำหนดเป้าหมายของตนเอง เล่าประสบการณ์ ถอดเป็นขุมความรู้ และแก่นความรู้
ผมมีความเห็นเขียนไว้ใน"รักวลัยลักษณ์ (2)แล้ว"อยากให้ทีมคุณอำนวยร่วมแลกเปลี่ยนด้วย     ขอหารือเท่านี้ก่อนครับ


ความเห็น

ไม่ระบุ
เขียนเมื่อ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ กับการแยกวงกลุ่มย่อย เป็น 2 กลุ่มใหญ่ (วงคุณกิจ และวงคุณเอื้อ)  เพราะความรู้เชิงปฏิบัติงานของทั้งสองกลุ่มจะแตกต่างกันอยู่ในรายละเอียด

เล่าความหลังนิดหนึ่งก่อนนะครับ   หลังสุดที่ได้คุยกับคุณบรรจงวิทย์ ยิ่งยงค์ ผู้ประสานงาน  ได้คุยหารือกันถึงเรื่อง "หัวปลา" ของ "ตลาดนัดความรู้เพื่อการพัฒนางานสาย ค."   ตอนนั้นทางคุณบรรจงวิทย์ ได้ยกประเด็น "แนวทางการปฏิบัติงานที่ดีเพื่อวลัยลักษณ์"    ตรงจุดนี้  ทางทีมงาน สคส. เห็นว่า  หัวปลาอย่างนี้ไม่ดี  เพราะ scope กว้างมาก   หากยึดหัวปลาลักษณะนี้  Knowledge Assets ที่ได้จะมีลักษณะเป็นความรู้กว้างๆ  ไม่ค่อยมีพลังในการนำไปปรับใช้สำหรับคนหน้างานจริงๆ   ตอนนั้นเลยเสนอว่า  ทางทีมประสานงานน่าจะกลับไปพิจารณาดูว่า  มีประเด็นอะไรบ้าง  ที่พอจะยกมาเป็น focal point สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในตลาดนัดครั้งนี้  และกำหนดเป็นหัวปลาที่คมชัดมากขึ้น

เนื่องจาก สคส. ไม่ทราบรายละเอียดของงานสาย ค.  ทางวลัยลักษณ์น่าจะวิเคราะห์ว่างานสาย ค. มีอะไรบ้าง  หรือจะคลี่ออกมาเป็น  knowledge mapping ให้เห็นก่อนมีอะไรบ้าง  แล้วเลือกประเด็นที่  หยิบเป็นประเด็นร่วมได้ (ทุกคนที่มาเกี่ยวข้องในเรื่องนั้น ตรงนี้ต้องระวังนะครับ หากยกประเด็นที่ส่วนงานใดไม่เกี่ยวข้อง  บรรยากาศการแลกเปลี่ยนจะเซ็งไปเลยนะครับ) 

ประเด็นร่วมที่ว่านั้น  อาจเป็นเพียงขั้นตอน หรือภารกิจเล็กๆ แต่มีผลต่อเป้าใหญ่ของวลัยลักษณ์   แน่นอนครับ  ตลาดนัดความรู้ครั้งนี้  เป็นเพียงแค่ exercise ของการใช้เครื่องมือ KM เข้าไป install ในเนื้องานประจำ   เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของความรู้ของคนหน้างานดีขึ้น  มีผลต่อการพัฒนางานประจำมากขึ้น   ดังนั้น  ตัวกิจกรรมตลาดนัดครั้งนี้  ยังไม่ใช่  KM ของคนทำงานสาย ค. จริง  แต่เป็นแบบฝึกหัดเรียนรู้การ install เข้าไปในเนื้องาน  หากจบแล้วคนทำงานสาย ค. ไม่ได้มีการขับเคลื่อนในทางปฏิบัติจริง หรือแยก KM เป็นภาระงานอีกอย่างหนึ่ง  สคส. ถือว่า KM แบบนี้ไม่สำเร็จ   แต่หากทำให้เข้าไปอยู่ในเนื้องานประจำได้  คนทำงานมีวัฒนธรรมการ share กันมากขึ้น  อย่างนี้ถือว่าดีครับ

ฝอยเยอะไปหน่อย  ขอโทษด้วยครับ   กลับมาเรื่อง ตลาดนัดอีกครั้ง   ผมเห็นว่า  "หัวปลา"ควรต้องกำหนดให้ชัดก่อน  และแจ้งให้ผู้เข้าร่วมทราบก่อนเข้าร่วม  เพราะว่าทุกคนต้องเตรียมเรื่องเล่าจากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา  (ต้องเป็นเรื่องจริงที่ทำมาแล้ว)   ผู้เข้าร่วมทุกคนจะต้องทราบก่อนล่วงหน้า  หรือหากเขียนเรื่องเล่าย่อๆ (1 หน้า A4) ส่งมาก่อนก็จะทำให้ขั้นตอนในการรวบรวมเรื่องเล่าลงใน ICT tool ก็จะทำได้ง่ายยิ่งขึ้น     และที่ทำสำคัญ  ทีมวิทยากรจะได้เตรียมรายละเอียดให้ตรงกับงานมากยิ่งขึ้น  เพราะตอนนี้ยังเตรียมรายละเอียดไม่ได้เลยครับ  รอหัวปลาอยู่ครับ    รบกวนคุณภีมชวนทีมประสานงานหรือคณะทำงานสาย ค. มาคุยและหาข้อสรุปให้ด้วยนะครับว่าครั้งนี้นั้น  จะยกประเด็นอะไรเป็นหัวปลา   และแจ้งให้ทุกคนทราบก่อนวันงานจริงด้วยนะครับ    จุดนี้ทาง  สคส.  เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้แล้วนะครับ  เราเรียนว่าขั้นตอน  learning before (doing somethings) 

คุณภีมเอาผลการคุยขึ้น blog ไว้ก็ได้นะครับ เพราะต้องอ่านอยู่แล้ว  แต่อาทิตย์หน้า (22-27 สค.) ผมไม่อยู่นะครับ ไปอินโดนีเซีย  ไม่แน่ใจว่าที่ไปจะใช้ internet ได้หรือเปล่า  อย่างไรก็ตามจะติดต่อกันอีกครั้งหนึ่งแน่นอนครับ  

ขอบคุณจริงๆ นะครับ  ผมถือว่าครั้งนี้คุณภีมเป็นแม่งานสำคัญอีกคน  และเกาะติด KM มานาน  ถือว่าวลัยลักษณ์โชคดีนะครับ

ไม่ระบุ
เขียนเมื่อ

สวัสดีครับคุณธวัชและคณะทำงานทุกท่าน

ที่ประชุมได้มอบให้หน่อง(ส่วนการเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ทราบภาระงานของจนท.ดีที่สุด)เป็นผู้รวบรวมข้อมูล หน่องบอกว่าได้ส่งเรื่องให้หน่วยงานต่าง ๆส่งชื่อผู้เข้าร่วมโครงการมาให้ ตอนนี้ยังได้รับไม่ครบเลยครับ
<p>ที่เสนอให้แบ่งกลุ่มทำหัวปลาย่อยเพราะห่วงว่าหัวปลารวมจะกว้างไป(เพื่อให้ครอบคนเข้าร่วมได้ทั้งหมด)ทำให้ได้เรื่องที่ไม่ได้มาจากประสบการณ์ลงลึกจริงๆ ตามที่คุณธวัชห่วงนั่นแหละครับ ผมจะหารือกับทีมงานเพื่อหา  หัวปลาร่วมเล็ก ๆตามที่คุณธวัชแนะนำ และจะเสนอให้เตรียมมาก่อน ซึ่งผมเห็นด้วยเป็นอย่างมากครับ เพราะหากไปเรียนรู้กันในวันสัมมนาก็เป็นการแยกโครงการสัมมนาออกจากงานปกติ ต้องให้เจ้าของงานคือ ผู้เข้าร่วม ทำงานปกตินั่นแหละ โดยเขียนเล่าเรื่อง กระบวนการทำงาน ทั้งการคิด วิธีการ และเทคนิคต่างๆ ไม่ใช่เขียนรายงานสรุปตามแบบฟอร์ม </p><p>ผมคิดว่าน่าจะใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการกับคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจก่อนซึ่งผมจะเสนอให้รวมแกนคุณเอื้อ(หัวหน้าส่วนงาน) มาลองทำดูด้วย  ผมเคยใช้กับคณะทำงานหน่วยงานสนับสนุนและแกนนำชุมชนองค์กรการเงินชุมชนในการประชุมทำความเข้าใจในครั้งแรก ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ได้ผลกว่าพูดคุยกันโดยไม่เห็นกระบวนการมาก </p>การประชุมที่ผ่านมาของคณะทำงานเป็นการประชุมเป็นทางการ คือ รองบริหารฯเป็นประธานที่ประชุม ทำให้การหารือติดกรอบตามfunction ซึ่งที่จริงควรเป็นวงพัฒนาคุณอำนวย(ก่อนเรียนรู้)ที่ผมต้องactionเลย
<p>กลับจากกรุงเทพ ผมจะหารือกับNM เตรียมการให้เข้มข้นยิ่งขึ้นครับ</p>ขอบคุณคุณธวัชที่ให้ความเห็นมา ทันใจดีครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย