นายกรัฐมนตรีกับค่าแรงขั้นต่ำ


ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
                                        นายกรัฐมนตรีกับค่าแรงขั้นต่ำ 

 


          เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2548  พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นในเวลา 6 เดือน  และได้แถลงต่อสื่อมวลชนในงานกาล่าดินเนอร์ 72 ปี มงฟอร์ด ในคืนวันเดียวกัน โดยมีสาระสำคัญดังนี้

 

1.ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 5% โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548                                   

 

2.ปรับขึ้นเงินบำนาญ 5%                                                                                        

 

3.ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ  โดยให้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้าง                              

 

4.เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ                                                                                 

 

5.เร่งรัดการจ้างงานระยะสั้น                                                                                      

 

6.ยกเลิกการชดเชยน้ำมันดีเซล  ในส่วนที่กองทุนน้ำมันแบกรับที่ลิตรละ 1.36 บาท  ซึ่งจะทำให้   น้ำมันดีเซลขึ้นราคาอีก 90 สตางค์ต่อลิตร  มีผลตั้งแต่เวลา 06.00 น. ของวันที่ 13 ก.ค. 48            ในส่วนของการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้น อาจปรับเพิ่มอีกวันละ 6 บาท ในขณะที่ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้เพิ่มจาก 175 บาท เป็น 233 บาท (เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล) ซึ่งนายกรัฐมนตรีขอให้รอการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้าง  ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2548  อย่างไรก็ตาม    นายกรัฐมนตรีได้ขอให้ประชาชนอย่าตกใจต่อภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน  โดยอ้างว่ายังไม่ถึงขั้นวิกฤต  เพราะการส่งออกโตถึง 18%

 

การว่างงานลดลงเหลือ 2.29%  หนี้เสียในสถาบันการเงินลดลงเหลือ 10.9%  การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพียง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ    รัฐบาลจึงต้องเติมเงินในกระเป๋าให้ประชาชน   และขอให้ประชาชนลด รายจ่ายที่ไม่จำเป็นในภาวะน้ำมันแพง โดยจะเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำภายในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ และจูงใจให้ภาคธุรกิจเพิ่มเบี้ยยังชีพแก่ลูกจ้างที่เงินเดือนน้อย โดยใช้หลักเดียวกับภาครัฐ ใครเงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท ให้เพิ่ม 1,000 บาททุกคน เพิ่มแล้วยังไม่ถึง 7,000 บาท ก็ให้ปรับเป็น 7,000 บาทขั้นต่ำ  เงินส่วนที่เพิ่มให้นายจ้างนำไปลดหย่อนภาษีได้ในอัตรา 150

 

                                                  ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีแม้จะมุ่งนำเม็ดเงินออกสู่ตลาดให้มากที่สุดแต่ในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำนี้ ท่านจะมีบารมีโน้มน้าวให้นายจ้างเห็นด้วยและปฎิบัติตามได้แค่ไหนนั้น ยังไม่มีใครทราบ เพราะธุรกิจของนายจ้างมีหลากหลายประเภทและหลายระดับ ความสามารถในการจ่ายของนายจ้างจึงแตกต่างกัน รวมทั้งการขึ้นค่าจ้าแต่ละครั้งหากมีอัตราเร่งมากและเร็วเกินไป จะมีผลกระทบต่อโครงสร้างค่าจ้างโดยรวม รวมถึงเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้นด้วย

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2664เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2005 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท