นี่คือหนึ่งฝันที่รอวันพิสูจน์ ในภาคเรียน 1-2550


แล้วเวลาจะพิสูจน์ว่าฝันสลาย หรือกลายเป็นจริง .. โปรดคอยติดตามครับ.

    ระยะนี้พวกเราที่คณะศึกษาศาสตร์กำลังวุ่นอยู่กับการเตรียมการจัดประชุมทำแผนกลยุทธ์ครับ หลังจากพูดคุยกันมาเป็นลำดับ ทีมงานเห็นด้วยที่จะเรียนเชิญท่าน ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด มา ชวนคิดชวนคุย  โชคดีว่าท่านพอจะมีเวลาว่างให้ในช่วงบ่าย 23 พค. 50 และเหตุการณ์ก็ผ่านไปแล้วด้วยดี ทุกคนประทับใจ เอ่ยชมวิทยากร และพลอยชมผมด้วยว่ารู้จักเลือกคน .. ช่วงนี้ก็เตรียมข้อมูลเพื่อประชุมปฏิบัติการระหว่าง 28-30 พค. ต่อครับ  เราจะพยายามให้ได้ถึงระดับโครงการให้ได้ เพราะท่านวิทยากรได้ฝากแง่คิดว่า Manage Faculty นั้นดูจะยาก แต่หากไปสนใจ Manage Project ล่ะก็จะชัดและง่ายขึ้นครับ
    ผมได้รับมอบหมายจากท่านคณบดีให้ไป Brief สิ่งที่ท่าน ดร.ประพนธ์ ฝากไว้ ให้พรรคพวกได้ฟังอีกครั้งก่อนเริ่มงานในวันที่ 28 พค. ส่วนท่านคณบดีจะนำเสนอสิ่งที่รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนฯ และผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการประจำคณะได้ฝากไว้
   พูดถึงเรื่องโครงการ ผมฝันไว้ร่วม 10 โครงการ คงได้มีโอกาสนำเสนอให้สหายชาวศึกษาศาสตร์ของเราได้พิจารณาด้วยในโอกาสนี้ หนึ่งในนั้นคือโครงการที่ผมฝันเรื่องการใช้ Blog มาส่งเสริมและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ของทั้งนักศึกษาและอาจารย์ครับ
    ผมฝันไว้มาก และจะทำให้จริงให้ได้ .. จึงต้องมีกลยุทธ์ที่หลากหลายไว้เตรียมสู้ศึกครับ  สิ่งที่ผมตั้งใจและประกาศไปแล้วคือ ในภาคเรียน 1/2550 นี้

  • นักศึกษาสายครู ชั้นปีที่ 1 ทุกคน ต้องมี Blog ของตนเองที่ learners.in.th
  • นักศึกษาสายครูชั้นปีที่ 2-3-4-5 ทุกคน ที่สนใจ สามารถมี Blog ของตัวเองได้ ทั้งที่ learners.in.th  และ/หรือ gotoknow.org
  • อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ม.ราชภัฏจันทรเกษม ทุกคนที่สนใจ สามารถเปิด Blog ได้ทั้งที่ learners.in.th  และ/หรือ gotoknow.org
  • อาจารย์ที่ปรึกษา เป็น หนึ่ง ในกลไกสำคัญที่จะทำให้ Blog ของนักศึกษามีชีวิต และคุณค่า ทั้งต่อสาธารณชน และ ตัวนักศึกษาเอง
  • Website ของคณะจะต้องได้รับการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง ทั้ง นักศึกษา  อาจารย์ ศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไป
  • ฯลฯ

         แล้วเวลาจะพิสูจน์ว่าฝันสลาย หรือกลายเป็นจริง .. โปรดคอยติดตามครับ.
หมายเลขบันทึก: 98497เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2007 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อาจารย์พินิจครับ

ในบรรดาเว็บโปรแกรมที่สามารถนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้นั้น ผมสนใจและเห็นว่าบล็อกนั้นได้เปรียบโปรแกรมประเภทอื่นอยู่หลายประการ ที่สำคัญและเห็นชัดคือสามารถแสดงถึงพัฒนาการของผู้เรียนได้ดี ต่างจากกระดานถามตอบ ที่จะเน้นประเด็นต่างๆ ก็จะเห็นพัฒนาการของหัวข้อแทน 

ความสำคัญของหัวข้อ หรือ ผู้เรียนนี้น่าสนใจครับ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าเหมือนกัน คือผู้ดูแลการเรียนนั้นต้องมีทักษะในการช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดต่อยอด เมื่อมีประเด็น ก็ต้องซักต่อเพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้คิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง

ผมยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเช่น ผมเคยทำโครงการเรื่อง Internet Security ด้าน database ผมก็ศึกษาหาข้อมูลมาเขียนในบล็อกของผมอย่างดี เขียนว่ามันมีกี่ประเภท มีอันตรายอย่างไร ก็คิดว่าสมบูรณ์แล้ว ปรากฎว่าอาจารย์ท่านถามต่อว่า ที่เขียนมานี้ คิดว่าจะมาประยุกต์กับความสนใจพื้นฐานของผม เกี่ยวกับการเรียนออนไลน์อย่างไร ? มีประโยชน์ในการพัฒนา Learning Management System ไหม? อันนี้ผมไม่ได้คิดเลย มัวแต่จะหาข้อมูลพื้นฐาน สรุปก็ต้องมาคิดต่อว่าเออ ที่เรารู้มานั้น จะมาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมได้ไหม อย่างไร

สุดท้าย วิชานี้ผมก็ถกกับอาจารย์ท่าน เพราะผมเห็นว่าผู้สอนมีส่วนสำคัญในการกระตุ้น ส่วนท่านอาจารย์เองเห็นว่าทุกคนต้องช่วยกัน พูดไปพูดมาก็ถูกทั้งคู่ครับ เพราะสุดท้ายแล้ว ชุมชนการเรียนรู้นั้น สามารถขับเคลื่อนไปได้เอง ถ้ามีความรุ้เดิมที่หลากหลายและแลกเปลี่ยนกันอย่างเหมาะสม แต่ถ้าไม่พอ ผู้สอนก็ต้องคอยดูแล ให้มีการแลกเปลี่ยนต่อยอดความรู้กันไป

เขียนมาแบบนี้ ผมว่าคงมีหลายประการที่อาจารย์ทราบ แต่พอดีช่วงนี้ผมสนใจความสัมพันธ์ของประสบการณ์ และการสร้างความรู้ของชุมชนออนไลน์เป็นพิเศษ เลยขอแลกเปลี่ยนตรงนี้นะครับ

ขอบคุณครับ

  • รอดูด้วยใจระทึก
  • มั่นใจว่าทำได้ทั้งหมดครับ
  • นักศึกษาสายครู ชั้นปีที่ 1 ทุกคน ต้องมี Blog ของตนเองที่ learners.in.th
  • นักศึกษาสายครูชั้นปีที่ 2-3-4-5 ทุกคน ที่สนใจ สามารถมี Blog ของตัวเองได้ ทั้งที่ learners.in.th  และ/หรือ gotoknow.org
  • อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ม.ราชภัฏจันทรเกษม ทุกคนที่สนใจ สามารถเปิด Blog ได้ทั้งที่ learners.in.th  และ/หรือ gotoknow.org
  • อาจารย์ที่ปรึกษา เป็น หนึ่ง ในกลไกสำคัญที่จะทำให้ Blog ของนักศึกษามีชีวิต และคุณค่า ทั้งต่อสาธารณชน และ ตัวนักศึกษาเอง
    ขอบคุณครับผม

ขอบคุณครับ

  • คุณแว้บ ... เป็นการต่อยอดที่ได้ประโยชน์มากครับ .. อะไรเกิดขึ้นแล้วใช่ว่าจะจบแค่นั้น  ยังต้องมาดูกันต่อว่าจะเติบโตก้าวหน้าไปทางไหน และอย่างไร ทั้งหมดคือการเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบสิ้น  และมันคือชีวิตครับ
  • คุณน้องบ่าว ขจิต ฝอยทอง ... ผมก็มั่นใจครับ แต่ก็เตรียมตัวพอใจ เท่าที่มันได้  หากทำดีที่สุดแล้ว .. จะได้ระดับไหน ..  Expect to see ... Like to see หรือ  Love to see .. ก็จะเอา อุเบกขาธรรม มาช่วยครับ จะไม่หวั่นไหวเกินจำเป็น.

อีกนิดครับ
   ผมตาม คุณแว้บ ไป อ่านอะไรๆที่เขียนไว้ ชอบใจครับ  คงได้ติดตามกันต่อไปเรื่อยๆ .. อยากให้ท่านอื่นๆลองไปอ่านดูสักตัวอย่างก็ได้ .. ที่นี่ ครับ

  .... ความรู้คืออำนาจ... ว่าแต่ว่าอำนาจใครละครับ? และอำนาจนั้นเอาไว้ทำอะไร? ผมว่าสองคำถามนี้สำคัญ เพราะอำนาจนั้นถ้าขาดความรับผิดชอบ ความเข้าใจและจริยธรรม ก็มีแต่ผลเสีย ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในครัวเรือน (บังคับลูกอย่างไร้เหตุผล) อำนาจในหน้าที่การงาน (ไม่รับฟังความคิดลูกน้อง สั่งงานไม่คิด) หรืออำนาจในการกำหนดทิศทาง นโยบายของชาติ (เห็นๆ กันอยู่) การพูดแค่ความรู้คืออำนาจนั้น เท่ากับเป็นการเชิญชวนให้คนกระโดดเขามาแย่งชิงอำนาจกัน จ่ายมากก็มีอำนาจมาก (เพราะได้ดูรายการหลายช่องกว่า) มองเห็นรำไรหรือยังครับ ว่าอำนาจจะตกอยู่ที่มือใคร? ... 

 

สวัสดีค่ะอาจารย์Handy ขอให้อาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อำนวยพรให้อาจารย์มีสุขภาพดี จะได้มีพลังมากๆในสิ่งที่กำลังทำ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาการผลิต"ครู"ที่มีคุณภาพ ทันโลก ให้กับสังคม ด้วยการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ หวังว่านักศึกษาของอาจารย์คงจะเคี่ยวเข็ญไม่ยากนะคะ และการมีตัวอย่างที่ดีให้เห็น(คือตัวอาจารย์)คงจะทำให้ลูกศิษย์เห็นคุณค่าของสิ่งที่ส่งเสริมให้ทำโดยไม่ต้องออกกำลังมาก

ขอบคุณมากครับท่าน คุณนายดอกเตอร์
   ข้อความ 3 บรรทัดครึ่งข้างบน ทำให้เกิดกำลังใจมากครับ  กำลังจะ Upload ข้อมูลแจ้งนักศึกษาที่ออกฝึกประสบการณ์ ผ่าน Blog เฉพาะกิจ อยู่พอดีครับ
   ถูกขอร้องให้ช่วยเป็นอาจารย์นิเทศก์แบบกระทันหัน เลยเสริมวิธีธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีครับ

ขอบคุณอาจารย์ Handy ครับที่ Add URL ให้ผมทางskype จึงได้มีโอกาสมาร่วมเรียนรู้สิ่งที่ดี ๆ ใน g2k แห่งนี้

สวัสดีค่ะอาจารย์Handy 
  
               การให้นักศึกษาเขียนบันทึกเป็นแนวทางพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยการเขียน การอ่าน  และศิลปะการนำเสนอที่น่าสนใจมากค่ะ    เทอมหน้าดิฉันก็ต้องไปสื่อสารกับเด็กที่ Learners.in.th มากขึ้น  ไม่ทราบว่าพวกเด็กๆจะยอมสื่อสารกับดิฉันไหม   คงเหมือนอาจารย์วสะ(คุณแว้บ)บอกไว้มังคะ  ว่าต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดต่อยอด  ดิฉันก็ชวนคุยไม่ใคร่เป็น   ทำเป็นแต่พูดคนเดียวยาวๆ   สงสัยต้องไปหัดเอาที่โน่น   เด็กๆเขามักจะคุยกันด้วยประโยคสั้นๆ แบบแซวๆกัน  

               เคยแว่บๆอ่านอาจารย์ป้าเจี๊ยบ สื่อสารไว้สนุกดีเหมือนกันค่ะ

              ดิฉันเคยนั่งอ่านกระทู้แนะนำใน pantip ได้เห็นกระบวนการสื่อสารแบบโต้ตอบด้วยเหตุด้วยผลอย่างฉลาดลึกซึ้ง  ต้องคิดตามทุกไดอะล็อกบ็อกซ์  สนุกสนานมาก  ดิฉันเคยให้เด็กอ่านและวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารแบบชิงไหวชิงพริบ  น่าสนใจทีเดียวค่ะ  อันนี้เล่าสู่กันฟังนะคะ   

             อนึ่ง เพื่อนบอกว่าขอร้องให้เปลี่ยนภาพที่   Learners ให้ดูเร้าใจน่าคบหา   ตามหลักการสื่อสารให้ถูกใจกลุ่มเป้าหมาย     เพราะภาพปัจจุบันดูเป็นคุณป้าสูงอายุ
              อย่างไรก็ตาม  ดิฉันเชื่อว่าอาจารย์คงไม่เห็นด้วยกับเพื่อนดิฉันอะค่ะ

                ขอให้อาจารย์ทำงานอย่างมีความสุขนะคะ         ด้วยความเคารพและระลึกถึงอย่างสูงค่ะ  : )
                

    สวัสดีครับท่านอาจารย์ Handy

      ผมพบท่านอาจารย์ที่คณะที่ผมไปเรียน  ป.บัณฑิตบริหารการศึกษารุ่น 4  วันนี้ดีใจครับ  หลังจากหยุดเรียนมานาน   อาจารย์ครับในฐานะสมาชิกชาว Blog คนหนึ่ง  ขอบคุณที่ท่านอาจารย์ชมว่าผมยังมีความเคลื่อนไหวอยู่(คือยังเขียนอยู่)  แต่อาจารย์ครับ บางทีก็คิดอะไรไม่ค่อยออกครับ  เพราะเมื่อได้อ่านเพื่อนท่านสมาชิกแต่ละท่านที่ท่านแสดงภูมิความรู้ออกมาดูเราจะด้อยไป จึงได้แต่อ่าน ๆ งานของแต่ละท่านครับก็สนุกดี   และขอบพระคุณที่ท่านอาจารย์ให้เปิด Blog  เพื่อได้ใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ซึ่งผมเปิดไว้ทั้งสองที่คือ Learners.in.th  และ  gotoknow.org    มีประโยชน์มากจริง ๆ ครับอาจารย์เป็นการเปิดโลกการศึกษาและการเรียนรู้อย่างแท้จริงครับ

  • แวะมาชื่นชมท่านอาจารย์ Handy
    P
  • และขอให้เกิดผลตามที่คาดหวังครับ

สวัสดีครับ
   เพิ่งกลับจากพัทยา และร่วมลุ้นคดี ยุบพรรค จนผลตัดสินออกมาแล้วครับ

  • คุณน้อง 9tonAtit ... จากเมืองดอกบัว  ขอบคุณครับและว่างๆก็ขอเชิญเข้ามาทักทาย แลกเปลี่ยน แบ่งปันสิ่งที่รู้ให้กันและกันได้เสมอครับ
  • อ. ดอกไม้ทะเล ... คิดอยู่เหมือนกันครับว่าคงต้องมีเรื่องทำอีกมากเพื่อให้การเริ่มต้นที่ดีแล้ว มีความต่อเนื่อง  มีสิ่งที่เป็นคุณค่าเกิดขึ้น เพิ่มขึ้นจากการเริ่มต้นนั้น
        เรื่องรูปไม่ต้องกังวลใจครับ .. ผมเฉยๆเสียแล้ว  เพราะไม่ว่าจะเอารูปไหนขึ้น .. พอเจอตัวจริง  ใครๆต่างบอกเหมือนกันทุกคนว่า ดูหนุ่ม  ดูดีกว่าในรูปทุกครั้งไป .. แล้วผมก็ยิ้ม พร้อมกับหัวเราะในใจ ว่า โลภ และ โกรธ นั้นพอละได้ แต่เรื่อง หลง นี่ ผมคงยังอยู่กับมันอีกนานครับ อิ อิ อิ ..
  • อ.โสภณ คำสวาสดิ์ ... " เพราะเมื่อได้อ่านเพื่อนท่านสมาชิกแต่ละท่านที่ท่านแสดงภูมิความรู้ออกมาดูเราจะด้อยไป จึงได้แต่อ่าน ๆ " อาจารย์ครับ .. วันนั้นที่พัทยา ผมบอกเพื่อนอาจารย์ศึกษาศาสตร์ว่า .. ผมเชื่อว่าในห้องนี้ ทุกคนเป็นคนเก่งที่สุด (ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง) .. และผมก็เชื่อสนิทใจว่า ไม่มีใครเก่งทุกเรื่อง .. น่าเสียดายที่พวกเรามองข้ามและไม่ได้นำความเก่ง หรือความรู้จริง (Tacit K.) เหล่านั้นมาชื่นชม ส่งเสริม ให้กำลังใจและใช้ประโยชน์ครับ .. ผมคิดเสมอว่า ผมเก่ง ผมจึงกล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ แต่ผมระวังที่จะไม่เผลอคิดว่าเก่งที่สุดแล้ว  หรือเที่ยวหาตัวเทียบว่าผมเก่งกว่าใครครับ ... อยากให้อาจารย์ลองคิดแบบนั้นดูบ้างครับ
  • ท่าน รศ.ดร. Panda .. ขอบพระคุณมากครับ .. ผมค่อนข้างเชื่อมั่นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นครับ .. แต่ก็เห็น หลุมดำ และ ปรากฏการณ์อันชวนให้น่าหนักใจอยู่พอประมาณครับ .. หนักใจแต่ไม่ท้อครับ ยังคิดต่อและรีบสร้างเครือข่ายให้เกิดพลังทีละน้อย อย่างเร่งด่วนอยู่แล้วครับ
  • บันทึกตอบตอนหัวค่ำ แต่มากด Upload ตอนเช้าวันใหม่  เพราะเผลอหลับไปด้วยความเหนื่อยล้าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท