ฝึกตั้งคำถามต่อแนวคิด และค่านิยมเดิมที่มีอยู่รอบตัวเรา...


ข้อคิดจาก อาจารย์ ดร. กำชัย ลายสมิต

มน & นิ ลูกรัก

         มีหนังสือเล่มหนึ่งที่พ่อชอบมาก ชื่อ วิชั่นหนึ่งนักเศรษฐศาสตร์ เขียนโดย อาจารย์ ดร. กำชัย ลายสมิต

         หนังสือเล่มนี้เปิดประเด็นที่น่าสนใจไว้อย่างเฉียบคมหลายประเด็น และถึงแม้พ่ออาจจะไม่เห็นด้วยในบางเรื่อง แต่โดยภาพรวมแล้ว อ่านสนุกจริงๆ

         มีอยู่ข้อความหนึ่งที่พ่ออยากให้หนูได้ลองคิดดูด้วย...

         "เยาวชนรุ่นใหม่...ควรฝึกตั้งคำถามต่อแนวคิด และค่านิยมเดิมที่มีอยู่รอบตัวเขา การรู้จักคิดเองและตั้งข้อสงสัยเอง เป็นจุดเริ่มต้นของการมีภูมิคุ้มกันโรงหลงอวิชชาและความงมงายที่กำลังระบาดครองเมือง

          การมีสามัญสำนึกที่ถูกต้อง และวิจารณญาณที่สามารถแยกถูกแยกผิดได้ด้วยตัวเอง เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของเยาวชนรุ่นใหม่"

        หากวันใด พ่อบอกหรือสั่งให้หนูทำอะไรที่ไม่เข้าท่า...ก็อย่าลืมถามพ่อกลับด้วยว่า "พ่อจ้ะ...ทำไมหนูต้องทำอย่างนั้นด้วย?"

คำสำคัญ (Tags): #ข้อคิด#เยาวชน
หมายเลขบันทึก: 77342เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

กราบสวัสดีครับอาจารย์ อ่านบทความอาจารย์แล้วนึกถึงเรื่องคนญี่ปุ่นเกี่ยวกับ Just in Time เลยครับ เขาบอกว่า อยากรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ถาม Why 5 ครั้ง ก็คงจะเหมือนกันนะครับอาจารย์

สวัสดีครับ คุณไปอ่านหนังสือ

        ขอทราบว่าหนังสือเล่มไหนครับ จะได้หามาอ่านบ้าง น่าสนใจจัง :-)

 

ดีครับ...เด็กไทยรุ่นใหม่ต้องเป็นอย่างนี้ครับ...

ไม่เฉพาะเด็กไทยนะครับ ผู้ใหญ่ก็ด้วย...

ขอบคุณสำหรับข้อคิดดี ๆ ครับ...

 

ดิฉันอ่านบันทึกนี้ของอาจารย์บัญชาด้วยความอิ่มใจเหลือเกินค่ะ  อยากเข้ามาเสริมต่อนานแล้ว  แต่อยากให้ถึงวันที่เขียนได้อย่างที่ใจอยากเขียน

 ดิฉันดีใจแทนหนูมนกับหนูนิ  ที่คุณพ่อรักและเข้าใจ   แล้วก็มองเผื่อไปถึงการให้โอกาสหัวใจเล็กๆของลูก

 

นอกจากหนังสือประเภท "คู่มือคุณแม่" แล้ว ดิฉันอยากอ่านหนังสือประเภท "60 วิธีในการเป็นคุณป้าที่ดี"   หรือ  "ทำอย่างไรให้ปู่เข้าใจหลาน"    หรือ "คุณยายคุณภาพ"  เป็นต้น

ดิฉันอยากสอนเด็กๆ(คือนักศึกษา)ว่า  แม้จะไม่ได้แต่งงาน  แต่อย่าได้ละเลย การเป็น น้า ป้า ย่า และยาย ที่ดี   เป็นอันขาด

 ค่านิยมของคนต่างวัย  ต่างปริบท ต่างวัฒนธรรม  ย่อมมีบางส่วนที่ขัดแย้งกันเป็นธรรมดา  แต่หากผู้สูงวัยกว่า  พยายามเข้าใจผู้ที่อ่อนวัย  และให้โอกาสเขาที่จะสงสัยและตั้งคำถาม    โดยไม่สะกัดกั้นเสรีภาพในการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลของเขา

และกล้าที่จะสื่อสารกับเขาอย่างมีเหตุมีผล  แม้คำตอบจะไม่ตรงกับใจเขา  แต่ความจริงใจตรงไปตรงมาที่จะตอบของเรา  ก็จะทำให้เขาสัมผัสได้ว่าเรามองเห็นเขาเป็นมนุษย์เหมือนกับที่เราเป็น  และเท่าๆกับที่เราเป็น 

เด็กๆจะเรียนรู้ถึงการให้เกียรติและเคารพในความคิดเห็นของกันและกัน 

 ดิฉันคิดว่าวันหน้า เราจะได้ผู้ใหญ่ใจกว้างเพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย 

และเด็กๆที่โชคร้ายอย่าง "เซเซ่" ในโลกนี้  ก็จะได้พบแต่สิ่งดีๆมากขึ้น.... ไม่ต้องมองโลกผ่านม่านน้ำตาอีกต่อไป.....          (^_^)

สวัสดีครับ อาจารย์ดอกไม้ทะเล

         ผมชอบแนวคิด หนังสือประเภท "60 วิธีในการเป็นคุณป้าที่ดี"   หรือ  "ทำอย่างไรให้ปู่เข้าใจหลาน"    หรือ "คุณยายคุณภาพ" ของอาจารย์จัง เพราะชีวิตจริงมันเป็นแบบนั้นจริงๆ

         ลูกสาวผมนี่....หากผมไม่ตามใจ ก็จะไปหาแม่ก่อน พอแม่ยืนยันนโยบายผม ก็วิ่งไปหายาย พอยายไม่เอาด้วย ก็วิ่งไปหาป้า....สุดท้าย ป้าตามใจ...อิอิ

         แต่ถ้าป้าไม่ตามใจ คราวนี้ไปหาพี่เลี้ยงครับ ;-P

         ที่เล่าไว้นี่ ไม่ใช่ทุกครั้งหรอกครับ เป็นบางทีเท่านั้น แต่อยากชี้ให้เห็นว่า ทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องในบางสถานการณ์ไม่มากก็น้อยอย่างที่อาจารย์ว่าไว้เป๊ะ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท