ความเป็นจริงกับสิ่งที่มุ่งหวังบรรจบกันได้หรือไม่


ร่วมกันคิด ร่วมกันฝัน ร่วมกันสร้าง ร่วมกันทำ ย่อมนำไปสู่เป้าที่มุ่งหวังได้

เป็นเรื่องธรรมดาที่เรามักพบเจอในชีวิตประจำวันกับคำถามเช่นนี้  และในวันพุธที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีการประชุมประจำสัปดาห์ของชาว สคส. ซึ่งเราจะเรียกว่า weekly Meeting เป็นกิจกรรมที่เรามีขึ้นเพื่อนำเรื่องราวการทำงานที่ทุกคนมาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จ๊ะจ๋าจะถือว่าเป็นพลังชีวิตของเราชาว สคส. ก็เหมือนกับอาหารสมองที่เราต้องรับประทานกันทุกวันเพื่อความสร้างสรรค์ในการทำงาน แต่ละคนจะมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไปและนำมาผนวกกันอย่างกลมกลืนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

 และในวาระแรกที่เราได้แลกเปลี่ยนกันคือ Review  Appreciative Inquiry เป็นการนำหนังสือ Appreciative Inquiry มาอ่านและตีความ ซึ่งชาว สคส. ทุกคนจะได้รับผิดชอบคนละ 1 บท (มี 18 บท) และนำมาเสนอแก่ที่ประชุม และชาว สคส. ทุกคนจะก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จ๊ะจ๋าเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ทุกคนได้สะท้อนความคิดและนำมาสู่บทสรุป ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่มีผลต่อการทำงานร่วมกัน

และในครั้งนี้ได้ฟังการตีตวามของ คุณอุลิชษา ครุฑะเสน หรือพี่โหน่ง รู้สึกประทับใจซึ่งบทที่ 16 เป็นเรื่องของ โลกาภิวัตน์ โอกาสและสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (Postmodern Principles and Practices for large scale organization change and global cooperation) มีหลักที่สำคัญคือ เพื่อให้คนทั้งโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เท่าเทียมกัน ทุกคนสามารถรับรู้เรื่องราวเดียวกันได้และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันได้ การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสื่อสาร  คือปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน ก่อให้เกิดความร่วมมือกันเป็นพลังทั่วทั้งโลก  โดยกล่าวถึงแนวความคิด ที่มุ่งเน้น  การปฏิบัติ  สร้างการสนทนาสาธารณะ  social invention  สนใจและให้ความสำคัญกับเสียงของคนเล็กคนน้อย  การมีส่วนร่วม  เน้นที่เรื่องอารมณ์ ความรู้สึก   จิตวิญญาณ   ความเป็นมนุษย์   และการนำบทเรียนจากประสบการณ์ถึง 20 ปี  ที่ผู้แต่งค้นพบว่า 3 สิ่งนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญ คือ

  •         Open space  เป็นการเปิดโลกทางความคิดที่เป็นอิสระ เกิดความเท่าเทียมกัน ที่สำคัญคือ ต้องมีใจให้กัน
  •         RTSC (Real Time Strategic Change) กระบวนการร่วมมือกันเพื่อสร้างความเข้าใจในองค์กร  เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในกลุ่มย่อย  และนำเสียงจากกลุ่มย่อยทั้งหมดมารวมกันให้เป็นเสียงของกลุ่มใหญ่ มี 3 ที่สำคัญคือ Real Issue, Real People, Real Result
  •         Future Search เพื่อทำให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วมกัน 

 จากการฟังบทที่ 16 นี้ทำให้คิดว่า  AI เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างเห็นได้ชัด ในโลกของการสื่อสารไร้พรมแดน  ซึ่งต้องมีความตั้งใจและจริงใจในการเรียนรู้ สร้างปฏิสัมพันธ์  รวมถึงการค้นหาเรื่องเล่าที่ทรงคุณค่า เพื่อนำมาปรับใช้ทั้งต่อตน  ต่องาน  ต่อองค์กร  ต่อสังคม ผ่านการเชื่อมโยงจากอดีตสู่ ปัจจุบัน ล่วงเลยถึงอนาคต  นอกจากนี้ การจินตนาการผ่านความคิดเชิงบวกตอกย้ำให้เกิดความสร้างสรรค์จะเป็นหนทางที่จะนำพาความร่วมมือ ทั้งองค์กรและสังคมไปสู่ความก้าวหน้าได้  

ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ทุกๆ เรื่องอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คิดเสมอไป แต่ถ้าการที่เรามุ่งหวังให้สิ่งๆ นั้นบังเกิดย่อมเป็นไปได้ ดั่งเสียงเล็กเสียงน้อยที่มีอยู่ในองค์กร หรือสังคม หลอมรวมเป็นเป็นพลังเสียงที่หนักแน่น และมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน  จากคำถามข้องต้นที่ถามว่า ความเป็นจริงกับสิ่งที่มุ่งหวังสามารถบรรจบกันได้หรือไม่ อาจจะตอบว่า ได้หรือไม่ ได้ แต่คำตอบที่ท้าทายกว่าคือ การทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เกิดขึ้นได้  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนมุ่งหวัง  ถ้าผนวกกับความตั้งใจที่ทุกคน ร่วมกันคิด ร่วมกันฝัน ร่วมกันสร้างและร่วมกันทำ ย่อมทำให้เกิดสิ่งที่เราไม่คาดคิดเป็นจริงได้  ดั่งบทสรุปสุดท้ายที่พี่โหน่งกล่าวไว้ว่า  "เสียงที่หลากหลาย เพื่อเป็นการสร้างอนาคตให้กับหมู่บ้านโลก"

ท่านผู้อ่านสามารถติดตาม AI ได้จากการสืบค้น ใน Blog  Gotoknow คะ

หมายเลขบันทึก: 39837เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ความเป็นจริงกับสิ่งที่มุ่งหวังสามารถบรรจบกันได้หรือไม่ ?
  • คำถามนี้ถ้าถามพี่ในความฝันส่วนตัว จะมี 2 อย่าง
  • ความฝันส่วนตัวนั้นอาจจะมาบรรจบได้หากเรามีความตั้งใจ และความสุขที่จะทำ
  • แต่จะเป็นเส้นขนานเราไม่มีความตั้งมั่น ไม่ตั้งใจและไม่มีความสุขที่จะทำ
  • เราเองแหละที่จะตัดสินทุกอย่าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท