KM ที่รัก ตอนที่23 "จะเรียนอย่างไร ให้จบตามกำหนดเวลา และมีมาตรฐาน(1)"


อ่านหนังสือให้มากๆ สรุปประเด็นให้ได้ และตีตัวจริงไห้แตก

                          "ความทุกข์ต้องเกิดขึ้นมาก่อน"    อาจารย์ อภิชัย   พันธเสน    พูดแล้วหัวเราะอย่างมีความสุข....ในระหว่างการประชุมพบปะกับนักศึษาเนื่องจากในที่ประชุม มีความกังวนของหลายคน ทั้งอาจารย์ที่ปรึกษา แม้แต่นักศึกษาเอง โดยเฉพาะนักศึกษาปริญญาโท ปกติต้องเรียนในระบบ   เรียนเนื้อหาอย่างเต็มที่  ผ่านระบบการเรียนในห้องเรียนโดยตรง   แต่หลักสูตรนี้เป็น by research  ซึ่งจะต้องใช้แนวทาง พึ่งตัวเองใมาก   คำถามคือ "แล้วจะจบกันยังไง ??"(เมื่อไหร่/หรือไม่)  คำถามนี้เสียงดังมาก แต่คำตอบยังเสียงเบาๆ อยู่เลย ตอนนี้เป็นภาระกิจ ของคณะอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วว่าจะตอบอย่างไร  อาจารย์ที่ปรึกษาก็ทะยอยตอบออกมาเรื่อยๆ และต่อเนื่องพอสรุปประเด็นหลักใด้ 2 ประเด็น คือ 1. จะเรียนอย่างไรให้จบตามกำหนดเวลาและมีมาตรฐาน  2. วิทยานิพนธ์ (Thesis) จะมีทางเดินและจบได้อย่างไร

                                  1. จะเรียนอย่างไร ให้จบตามกำหนดเวลาเวลาและมีมาตรฐาน   อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่าน รวมถึง อ. อภิชัย ได้ให้คำแนะนำคำชี้แนะอย่างมากมายและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวนักศึกษาอย่างมากและรวมไปถึง เป็นแง่คิดกับ อ.ที่ปรึกษาด้วย เพราะบางอย่างที่ปรึกษากับนักศึกษาก็ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน ประเด็นแรกที่สำคัญและ อ. ที่ปรึกษาทุกท่าน ได้แสดงข้อคิดเห็นทุกท่านเลยคือ วิธีการเรียน(รู้) ซึ่ง มีแหล่งวัตถุดิบที่จะเเป็นเครื่องมืออยู่ 3 แหล่ง คือ ในพื้นที่ทำงาน , อินเทอร์เนท , และหนังสือ   ในแหล่งแรกที่เป็นในพื้นที่ทำงานเองป็นแหล่งข้อมูลที่มีชีวิตและวิญญาณ มีมิติของข้อมูลมากมาย แต่ต้องใช้เวลาและความเข้าใจ ที่สำคัญมากกว่านั้นต้องมีความพยายามมากเป็นพิเศษครับ  อีกแหล่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ อินเทอร์เนท เป็นแหล่งวัตถุดิบทางข้อมูลที่หลากหลาย และกว้างขวางมาก แต่ต้องระมัดระวัง ในเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูล  อีกแหล่งหนึ่ง คือ หนังสือ  ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งวัตถุดิบของการเรียน ที่ใหญ่และมีความสำคัญมาก เพราะการอ่านหนังสือ เป็นการย่นระยะเวลา ในการค้นหาความจริง(อ. อภิชัย) ปัญหาของนักศึกษา คนทั่วไปรวมถึง อ. ที่ปรึกษาด้วย(ในสมัยเป็นนักศึกษา) คืออ่านแล้ว แล้วเลย ไม่สามารถสรุปประเด็นได้ และไม่สามรถตี(ตัวจริง)ของเรื่องให้แตกได้  ประเด็นนี้นักศึกษาบางท่าน เสริมว่า  "อาจารย์...บางครั้งอ่านมากจนฟุ้ง"(แต่ยังไม่กระจาย) จึงเป็นประเด็นถกกันอย่างกว้างขวาง  อ. อภิชัย ให้ข้อคิดว่า การอ่านหนังสือมากทำให้ เรามีมุมมองทางความคิดที่กว้าง เป็นการเปิดโลกทัศน์ของเรา  แน่นอนครับหนังสือต้องอ่านมากอยู่แล้ว  ปัญหาอยู่ที่ จะอ่านอย่างไร ....อ. อภิชัย ได้สรุปแนวทางการอ่านหนังสือให้เกิดปัญญา  อยู่ 3 ประการ 1. การอ่านให้มาก( วันละ 7-8 ชั่วโมง)  2. เมื่ออ่านแต่ละเล่ม(เรื่อง) จะต้องสรุปสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อถึงเรา แล้วเขียนสรุปลงการ์ด 1-2 แผ่นไว้  3. ขณะที่อ่านจะต้องมีสติ ไม่เชื่อตาม 100 % โดยจะต้องทำความเข้าใจ คนเขียนให้ดีก่อน แล้วจึงวิจารณ์ ว่าเขาพูดมีความหมายอย่างไร น่าเชื่อถือหรือไม่อย่างไร  ที่สำคัญควรเข้าไป ทำความรู้จัก ว่าเขาอยู่ในบริบทใดและสถานะการอย่างไร  และจะส่งผลต่อการตัดสินใจของเราว่า ที่เขาพูดมามีเหตุปัจจัยน่าเชื่อถือหรือไม่..

                                                                                      มีต่อตอนที่ 24

             ประโยคเด็ด(หัว)

       -เรียนเต็มเวลา แปลว่า อ่านหนังสือตลอดเวลา(อ. อภิชัย)

      -อ่านให้มาก สรุปประเด็นให้ได้(ดี) ตีให้แตก(อ. อริยาภรณ์)

      -ขยันมาก ลำบากน้อย   ขยันน้อย   ลำบากมาก(อ. อภิชัย)

      -มองดูดาว    เท้าติดดิน (อ. แสวง)

 

หมายเลขบันทึก: 39834เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 04:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ผมชอบบันทึกนี้มากครับ
สุดยอดครับ สมแล้วที่เป็นครุ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท