เรื่องเล่าจากดงหลวง 73 ศักยภาพชาวบ้านที่ปลดปล่อยคือพลังสร้างสรรค์


“ชาวบ้านคือพลังแห่งศักยภาพที่สามารถกระตุ้นให้ปลดปล่อยการสร้างสรรค์ได้ ทั้งเพื่อตัวเขาเองและเพื่อมวลมนุษยชาติ”

เมื่อตอนที่ 50 และ 54 ได้กล่าวถึงวิกฤติผักหวานป่าที่ดงหลวง โดยสรุปกล่าวคือ ผักหวานป่าเป็นพืชป่าที่เป็นความต้องการของตลาดทั่วไป มีพ่อค้าจากตลาดในเมืองเข้าไปรับซื้อจากชาวบ้านทุกวันตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนมิถุนายน ในราคา กก.ละ 300 บาทสำหรับใบอ่อน และ 400 บาทสำหรับดอกผักหวานป่า   

ที่น่าตกใจซึ่งผู้บันทึกกล่าวว่าเป็นวิกฤติ คือ หลายปีที่ผ่านมามีการฝึกอบรมเรื่องการขยายพันธุ์ผักหวานป่าโดยเพาะเมล็ดบ้าง  ตอนกิ่งบ้าง  แต่พบว่า ไม่สามารถหาเมล็ดผักหวานป่าในธรรมชาติได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าชาวบ้านต่างพากันขึ้นภูเก็บดอกจนหมดสิ้น เนื่องจากราคาดีกว่าใบอ่อนดังกล่าว 

สภาพปัญหานี้ทำให้ผู้บันทึกได้ตั้งคำถามกับกลุ่มคณะกรรมการป่าชุมชนในหมู่บ้านต่างๆว่า จะแก้ปัญหานี้อย่างไร หากปล่อยให้คงสภาพเช่นนี้อีกไม่กี่ปีดงหลวงก็จะไม่มีผักหวานป่าอีกต่อไปเพราะไม่สามารถขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้อีกแล้ว และแม้ประชาชนต้องการจะช่วยการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดก็ไม่มีเมล็ดอีกต่อไป 

คณะกรรมการป่าชุมชนประชุมกัน

วันนี้ผู้ประสานงานเครือข่ายอินแปงจากจังหวัดสกลนครได้มาร่วมประชุมกับผู้บันทึกเพื่อปรึกษาหารือเรื่องการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามแผนงานและงบประมาณของ ส.ป.ก.ที่มีอยู่ และตอนบ่ายเดินทางเข้าอำเภอดงหลวงเพื่อเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการป่าชุมชน 3 หมู่บ้านที่ตำบลพังแดง เพื่อติดตามการทำกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ อันเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ ภูพานเขียวขจี  และใช้โอกาสนี้ปรึกษาหารือกันเรื่องการแก้ไขวิกฤติผักหวานป่า สรุปได้ดังนี้ 

  • ที่ประชุมยอมรับว่าเกิดสภาพดังกล่าวจริง 

                                              ผู้นำชุมชนนำเสนอผลงาน

 ที่ประชุมใช้พลังสมองทั้งซีกขวาซีกซ้าย ที่ขับออกมาทางปาก โดยเปล่งเสียงกันดังลั่นศาลากลางบ้าน (ซึ่งเป็นลักษณะการประชุมทั่วไปของชาวบ้าน ไม่มีใครฟังใคร ใครคิดอะไรต่างก็พูดออกมา) ว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร สักพักหนึ่ง เมื่อเมื่อยปากกันพอสมควรแล้ว ต่างเห็นด้วยว่า 

 

ผล(เมล็ด)ผักหวานป่าในสวนส่วนตัวของสหายธีระ

  • ควรค้นหาต้นพันธุ์ผักหวานป่าที่ดีที่สุดที่ชาวบ้านมีประสบการณ์มาแล้วสักจำนวนหนึ่ง เช่น 5 ถึง 10 ต้นในเขตป่าชุมชน และป่าอนุรักษ์

  • ต้นอื่นๆอนุญาตให้เก็บได้ตามปกติ

  • กำหนดกติกาขึ้นว่าห้ามชาวบ้านทำการเก็บดอกและใบของต้นผักหวานป่าต้นที่อนุรักษ์ดังกล่าว โดยการประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนทราบทั้งในหมู่บ้านตัวเองและบ้านอื่นๆข้างเคียง โดยการทำสัญลักษณ์ไปติดไว้ที่ต้นผักหวานป่านั้นๆ โดยการเดินเวรยามเฝ้าระวังในช่วงออกดอก(ยังกะลูก) และอื่นๆที่เหมาะสม

  • คณะกรรมการป่าชุมชนติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และประเมินผลทุกสัปดาห์ และให้เริ่มดำเนินการฤดูกาลผักหวานป่าต่อไป

 นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดต่างๆอีกที่ไม่สาธยายในที่นี้ เพียงบันทึกให้สาธารณะทราบว่าวิกฤติผักหวานป่าที่ดงหลวงเริ่มมีทางออกที่ชัดเจนขึ้นแล้ว 

<div style="text-align: center"></div>

  ลักษณะผล(เมล็ด)ผักหวานป่าชนิด "ผักหวานโคก"

</span><p align="center">อายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง</p><p>วิเคราะห์ </p><p> </p><ul style="margin-top: 0cm"><li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: green; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt">แปลก ที่ความรู้สึกว่าผักหวานป่าวิกฤติและยกเอามาเป็นประเด็นนั้นไม่ได้เกิดมาจากชาวบ้าน แต่เกิดจากนักพัฒนาที่เป็นคนนอก</li></ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: green; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt" class="MsoNormal"></p><ul style="margin-top: 0cm"><li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: blue; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt"> ชาวบ้านมีลักษณะอะลุ่มอล่วย กล่าวคือ มีผู้เสนอให้ปิดป่าในฤดูผักหวานป่า  หลายคนค้านว่าหากทำเช่นนั้นเกิดการเดินขบวนของชาวบ้านแน่นอน !! เพราะรายได้จากการเก็บผักหวานป่าขายนั้นเป็นเงินจำนวนมากในแต่ละปี และเป็นรายได้ของชาวบ้านที่ใครๆสามารถทำได้  จึงกำหนดเป็นการห้ามเฉพาะต้นที่จะทำพันธุ์เท่านั้น </li></ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: blue; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt" class="MsoNormal"></p><ul style="margin-top: 0cm"><li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: green; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt">ชาวบ้านเป็นผู้รู้ดีว่าต้นไหนมีลักษณะพันธุ์ดี เพราะเขาคลุกคลีมาตลอด </li></ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: green; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt" class="MsoNormal"></p><ul style="margin-top: 0cm"><li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: blue; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt"> จะดำเนินการเฉพาะ ผักหวานโคก เท่านั้น ไม่ดำเนินการกับผักหวานดงเพราะ ผักหวานโคก เป็นที่ต้องการมากกว่า </li></ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: blue; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt" class="MsoNormal"></p><ul style="margin-top: 0cm"><li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: green; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt">เมื่อมีการกระตุ้น  ชาวบ้านก็พร้อมที่จะคิดต่อ  และปัญหามีทางออกเสมอ</li></ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: green; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt" class="MsoNormal"></p><ul style="margin-top: 0cm"><li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: blue; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt"> กรณีนี้จะเกิดการผนึกกำลัง 3 ป่าชุมชนที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกันดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งเป็นผลดีต่อลักษณะภูมินิเวศน์ </li></ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; color: blue; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt left 139.5pt" class="MsoNormal"></p> ชาวบ้านคือพลังที่สามารถกระตุ้นให้ปลดปล่อยศักยภาพแห่งการสร้างสรรค์ได้ ทั้งเพื่อตัวเขาเองและเพื่อมวลมนุษยชาติ

หมายเลขบันทึก: 91061เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2007 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)
  • ชอบป่ามากครับ
  • ผักหวานชาวบ้านเชื่อว่ากินหลังโดนฝนตกไม่ดีใช่ไหมครับพี่ชาย
  • ขอบคุณมากครับ
ครูอ้อยชอบกินผักหวาน  สงสัยที่กินไปนี่เป็นผักหวานอะไรคะท่าน  คงไม่ใช่ผักหวานป่านะคะ
  • สวัสดีครับน้อง อาจารย์ นาย ขจิต ฝอยทอง
  • ผักหวานชาวบ้านเชื่อว่ากินหลังโดนฝนตกไม่ดีใช่ไหมครับพี่ชาย    อันนี้ไม่แน่ใจครับ จะลองสอบถามดู แต่ไม่เคยได้ยินชาวบ้านทางนี้พูดกันในลักษณะนี้ครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ ครูอ้อย
  • ผักหวานมีหลายชนิดครับ คือ
  • ผักหวานบ้าน ก็มีปลูกกันทั่วไป เอาทำอาหารได้เช่นกัน
  • ผักหวานดง เป็นผักหวานป่าชนิดหนึ่ง ลักษณะใบใหญ่ ช่องว่างระหว่างใบมีระยะห่างกว่า กินได้แต่ไม่อร่อย ออกรสฝาดนิดๆ
  • ผักหวานโคก นี่สุดยอดผักหวานป่า ราคาแพง ที่กล่าวถึงทั้งหมดจะหมายถึงผักหวานโคก ป่าแต่ละแห่งลักษณะอาจแตกต่างกันบ้าง เช่น ชาวดงหลวงชอบใบอ่อนที่ออกลักษณะสีทองสวย รสออกมันๆ หวาน แซบอย่าบอกใครเชียว ลักษณะใบจะถี่กว่าใบผักหวานดง
  • ที่กินกัน และซื้ขายกันตามท้องตลาดนั้น ผักหวานโคกราคาแพงที่สุด ขีดละ 10 บาทขึ้นไปจนถึง 30-40 บาท แล้วแต่ช่วงระยะครับ
  • ไม่แน่ใจว่าที่กินกันนั้นเป็นผักหวานชนิดใด  แต่เอาว่าน่าจะเป็นผักหวานโคก ซึ่งเป็นผักหวานป่าครับ
  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • ดีใจมากครับ ที่ได้เห็นผลผักหวาน
  • ผมเพิ่งเล่าเรื่องผักหวานที่ดงหลวงให้กับ ท่าน อ.ที่ปรึกษาของผม และพี่พยาบาลที่มาด้วยฟังเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
  • วันนี้ได้เห็นผลผักหวาน เป็นบุญตาครับ
  • ตอนนี้ยังมีการเผาป่าเพื่อยอดและดอกผักหวานอยู่อีกไหมครับ
  • พี่พยาบาลบอกว่าทางเหนือก็ทำกันเหมือนกันครับ ที่เผาเพื่อผักหวานครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • ไม่มีการเผาป่าแล้วครับที่ดงหลวง คณะกรรมการป่าชุมชนเขาเข้มแข็งมากพอสมควร ทำการดับไฟป่าทันทีที่เกิดขึ้น 
  • มีเกิดไฟป่าเหมือนกัน แต่ไม่รุนแรง
  • ไม่เหมือนทางเหนือครับ
  • เพื่อนบางคนที่เป็นคนเหนือเขาบอกพี่ว่า "เป็นการเมืองมากกว่า" ก็ฟังหูไว้หูครับ
  • พี่ตั้งใจว่าจะถ่ายออกมาทุกระยะการเติบโตของผลผักหวานป่านี้ เก็บเอาไว้ศึกษาต่อไปครับน้องเม้งครับ
  • ไม่เคยเห็นผลของมันมาก่อน
  • เหมือนมะม่วงเลยครับ
  • สวัสดีครับคุณออต
  • ดูคล้ายๆมะม่วง
  • หากพบของจริงจะดูเหมือนผลมะปรางครับ
  • ยิ่งตอนที่ผลผักหวานป่าสุก จะเหมือนมะปรางที่สุด เพราะจะมีสีเหลืองส้มครับ
  • ผมกะจะติดตามการถ่ายรูปทุกๆระยะครับ
  • ภาพที่เห็นเป็นของที่สวนสหายธีระ ซึ่งเป็นส่วนส้วนตัว ก็หวงมาก คอยเฝ้าตลอดเลย เพราะในป่าไม่มีอีกแล้ว
  • หากการจัดการของคณะกรรมการในปีหน้าได้ผลก็จะมีผลผักหวานป่าในป่าจริงๆออกมากัน
  • ขอแต่ 5 ต้นก็ได้ผลจำนวนมากแล้วครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

มาดีใจกับการต่อยอดค่ะ..เราคงได้เห็นการจัดการผักหวานป่าโดยชุมชนกันคราวนี้ล่ะค่ะ

ดีใจด้วยค่ะกับก้าวใหญ่อีกก้าวหนึ่ง..

 

ชอบทานผักหวานบ้านค่ะ อร่อย ที่เมืองกาญจน์ก็มีแยะ อร่อยดี รักษาต้นพันธ์ไว้ค่ะ เดี๋ยวหมด คงต้องมีแปลงต้นพันธ์มั๊งคะ ห้ามคนเข้าด้วย เฉพาะเจ้าหน้าที่
  • สวัสดีครับน้องเบิร์ด
  • ในกรณีนี้ ผักหวานป่าเป็นผลประโยชน์แก่ทุกคน  การหยิบขึ้นมาพูดเรื่องที่อยู่ในใจทุกคน จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนสนใจ และเข้ามาปรึกษาหารือกัน
  • เราต้องโยนประเด็นคำถามให้เขาได้คิด เหมือนอย่างที่น้องเบิร์ดโยนประเด็นให้เพื่อนๆใน G2K ได้คิดน่ะครับ ในกรณีจินตนาการ
  • เราอย่าด่วนสรุปจนกว่าที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางแล้ว  พูดจนไม่มีอะไรจะพูดแล้ว  จึงเป็นเรื่องที่คนทำงานพัฒนาต้องเข้าใจ  และให้เวลากับเขา
  • บางครั้งทิ้งประเด็นไว้ให้เขาได้มีโอกาสใตร่ตรองอีกก็ได้ ทิ้งประเด็นสัก วันสองวันก็ไม่เป็นไร  หากโครงการไม่มีปัญหาในเรื่องเวลานะครับ
  • เมื่อได้ข้อสรุป เท่ากับว่าทุกคน Commit ไว้แล้วจึงไม่ยากที่จะสานต่อในทางปฏิบัติครับ
  • อย่างนี้เรียกว่า Farmer Center นะ
  • เพียงแต่คนทำงานพัฒนาต้องรวบรวมข้อมูลวิชาการหากมี เอาไปขยายให้เขาได้รับรู้ก่อน ก่อนให้เขาตัดสินใจครับ
  • กังนั้นเมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็ตามติดในเรื่องการปฏิบัติต่อไป
  • ขอบคุณครับน้องเบิร์ด

ดีใจกับชาวดงหลวงที่มีโอกาสสะท้อนปัญหาของตัวเอง และยอมรับว่าเป็นปัญหาจริง

คนเราเมื่อยอมรับว่าปัญหามีอยู่จริงและต้องการแก้ปัญหา ย่อมมีทางออก พูดไปก็เข้าหลักอริยสัจ 4 เลยนะคะ ที่สำคัญคือนักพัฒนาซึ่งมาจากภายนอกต้องมีความจริงใจและเข้าใจ ไม่ไป "คิดแทน" สั่งการให้ชาวบ้านทำ เห็นด้วยว่าชาวบ้านนั้นมีพลัง หากเขาตระหนักว่าการกระทำของเขาสร้างความแตกต่างได้จะเกิด"การระเบิดจากภายใน"(คำของอ.วิจารณ์ค่ะ)ให้เขาก้าวไปได้อีกไกล

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

มากราบขอบพระคุณสำหรับการชี้แนะที่ทรงคุณค่ายิ่งนัก..และสัญญาว่าจะทำให้ดีที่สุดสำหรับงานชุมชนที่จะเริ่มในเดือนหน้านี้ค่ะ

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

          ที่พิษณุโลกตอนออกใหม่ ๆ กิโลละ  100 บาท ขึ้นไป แต่พอเยอะ ๆ ไม่เกิน 50-70 บาทค่ะ  โอ้โหถ้าไปขายบ้านพี่บางทรายตั้งตัวได้แน่เลย อิ อิ

  • สวัสดีครับ sasinanda
  • ขออภัยผมมาช้าไปหน่อยครับ ติดธุระอยู่ครับ
  • ดีมากครับท่านที่เก็บรักษาต้นพันธุ์เอาไว้ และขยายออกไป  ผักหวานบ้านที่ผมมีอยู่ก้ได้ขึ้นโต๊ะบ่อยๆครับ อร่อยครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับคุณนายคุณนายดอกเตอร์
  • ขออภัยที่พี่มาช้าไปนะครับ
  • อื้อ....การระเบิดภายใน ชอบจัง
  • ใช้แล้วครับ ให้เขาคิดเองโดยเราไม่ไปคิดแทน เพียงเรากระตุ้น สิ่งที่เป็นทางออกก็ระเบิดออกมาครับ
  • ขอบคุณครับ 
  • สวัสดีน้องเบิร์ดครับ
  • ขออภัยที่มาตอบช้าไปครับ ติดธุระ อ่ะ
  • ด้วยความยินดียิ่งที่จะลงงานชาวบ้านในเดือนหน้านี้ มีอะไรเอามาแลกเปลี่ยนกันนะครับ  พี่ยินดีแลกเปลี่ยนครับ  โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับชุมชน
  • ขอให้ประสพผลสำเร็จ แล้วพี่จะทยอยลงเรื่องงานเกี่ยวกับชาวบ้านอีกครับ
  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมบ้าน
  • สวัสดีครับน้องRanee
  • โอ โฮ แสดงว่าทางพิษณุโลกมีแหล่งผักหวานป่ามากนะซีครับ  คงเป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์
  • น้องราณีหากมีโอกาสลองถามว่าเอามาจากที่ไหน  และเอาดอกมาขายบ้างไหม ผักหวานที่นี่เขาเรียกผักหวานป่าโคก และผักหวานป่าดง หรือเรียกอย่างอื่นครับ ลองสอบถามดูนะครับ ถ้ามีโอกาส
  • เดี๋ยวนี้ชาวบ้านลองเอายอดผักหวานป่ามาทำชาแล้วนะครับ เอวไว้ชงน้ำร้อนดื่ม พี่ลองแล้วชอบ มันหอมและกินน้ำแล้วก็กินยอดผักหวานไปเลย อิ อิ..
  • ขอบคุณครับน้องราณี

ได้อ่านแล้วไม่กล้ากินเลยครับ กลัวจะหมด....เคยได้กินผักหวานตอนไปบวชที่อีสาน(นานมากแล้ว) พ่อออกแม่ออก ทำมา...

คนเป็นอะไรที่กินได้ทุกอย่างจนหมดโลกได้จริงๆเลยนะครับ....

โอชกร

  • สวัสดีครับคุณโอชกร - ภาคสุวรรณ
  • ใช่แล้วครับ ขนาดผมคลุคลีอยู่กับเขามาหลายปียังไม่เอะใจ เพราะไม่คิดว่าการเก็บผลประโยชน์จากป่าจะลุกลามไปถึงขั้นทำลายการอยู่รอดของป่า
  • จึงเกิดจินตนาการต่อไปว่า ขนาดผักหวานป่าเป็นอย่างนี้เรื่องอื่นๆคงเกิดลักษณะเดียวกัน คือการบริโภคของป่าจนเกินความอยู่รอดของป่า
  • คงเป็นงานหนักของนักพัฒนาต่อไปครับ ว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมชาวบ้านได้อย่างไร ขณะที่ทางออกของเขามีไม่มากนัก  หากห้ามเขาก็ต้องมีสิ่งมาทดแทนรายได้เขา อะไรทำนองนี้
  • การปลุกจิตสำนึก นั้นเราทำเป็นปกติแล้ว  แต่น้อยคนที่จะปลุกขึ้นนะครับ เพราะเงื่อนไขการอยู่รอดของเขาต่างจากเรา
  • คนทำงานพัฒนาต้องสร้างเครื่องมือใหม่ๆขึ้นมาทำการปลุกสำนึกให้ได้ครับ
  • ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมครับ

งานพี่บางทรายน่าสนใจมาก ผมเห็นกระบวนการ เทคนิคแล้วอยากไปเรียนรู้ร่วมจังครับ

ผักหวาน เข้าใจว่าขยายพันธุ์โดยไหลของผักหวานเอง ด้วยระบบรากที่ไปไกล(อันนี้ผมไม่แน่ใจ)

เมล็ดผักหวานผมเพิ่งเคยเห็นในบันทึกพี่นี่หละครับ

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีน้องเอก
  • ขยายพักหวานโดยไหล มีอยู่และชาวบ้านก็ทำ แต่โอกาสรอดมีน้อยครับ สัก 5 % เอง ข้อดีถ้าทำได้คือต้นที่ได้จะเหมือนต้นพ่อต้นแม่ แต่ไม่สามารถขยายพันธุ์จำนวนมากได้เลย
  • เมล็ดมันเหมือนมะปราง ยิ่งตอยแก่ สุก ยิ่งเหมือนมะปรางมากเพราะสีออกเหลืองส้มครับ
  • ขอบคุณครับ
ได้อ่านบันทึกของคุรบางทราย ได้ข้อคิดหลายอย่างครับ

เมื่อคืนอ่านเรื่องของพี่บางทรายแล้วไปนอนคิดต่อว่าปัญหาการขยายพันธ์ทีละมากๆทำได้ยาก ไม่ทราบว่าได้ลองใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือยัง หรือเทคนิคนี้มันใช้ได้หรือเปล่า

สมัยที่ทำงานอยู่ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีโครงการหนึ่งขยายพันธ์กล้วยเพื่อปลูกเรียกความชื้นให้กับพื้นที่บนภูเขา เขาอบรมเด็กชาวเขาให้ทำการขยายพันธ์กล้วยด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนิ้อเยื่อได้เอง ไปทำห้องแล็บง่ายๆให้แล้วกลุ่มชุมชนเขาก็ทำกันต่อได้เอง วิธีนี้ทำให้ขยายพันธ์ได้เร็วและครั้งละมากๆค่ะ

  • สวัสดีครับ อาจารย์ภูคา
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับน้องคุณนายดอกเตอร์
  • พี่เห็นด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ น่าที่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในปัจจุบัน  พี่กำลังสนใจอยู่ครับ  หากน้องมีข้อมูลที่เราสามารถเข้าไปขอความร่วมมือได้บ้างก็ขอบคุณล่วงหน้าด้วยครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แนะนำทางออกดีดีครับ

ดีใจที่พี่บางทรายกำลังสนใจเทคนิคนี้อยู่พอดี จะไปหารายละเอียดมาให้ด่วนเจ้าค่ะ

หากต้องการคุยเรื่องนี้กันทางโทรศัพย์ก็ยินดีนะคะ พิมพ์แสนช้า เบอร์โทร. 08 5 909 5955ค่ะ

  • ขอบคุณมากครับน้องคุณนาย
  • เดี๋ยวพี่หาเวลาติดต่อนะครับ ดีมากเลย
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท