เล่าเรื่องความเป็นไปเป็นมาของการไป ประกวด Sanofi aventis Distinguish Diabetes Service Award 2007


การประกวดครั้งนี้เป็นการประกาศที่ไม่ใช่เราเก่งที่สุดโดยเด็ดขาดแต่เป็นการประกาศว่าทีมเบาหวาน โรงพยาบาลพุทธชินราช สายสัมพันธ์นับวันยิ่งมั่นคง ทุกคนต่างมุ่งมั่นสู่เส้นทางการพัฒนา เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน

เล่าเรื่องความเป็นไปเป็นมาของการไปประกวด Sanofi aventis Distinguish Diabetes Service Award 2007  

  • บ่ายวันที่ 10 สิงหาคม พี่อู๊ด พี่สาวที่แสนดี หนึ่งใน Dream term ทีมเบาหวาน ร.พ พุทธชินราช โทรมาส่งข่าวเรื่อง การส่งผลงานโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเข้าประกวด อ้อและทีมงาน เรียนปรึกษากับ    อ.นพ.วิรัช ประธานคณะทำงานเบาหวานและ         อ.นพ นิพัธ  หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว  ตกลงใจ ส่งผลงานเข้าประกวด ด้วยระยะเวลาเตรียมความพร้อมที่สั้น เราจึงส่งเนื้อหาของงานที่ทำอยู่เดิมๆ แต่เป็นงานที่ครอบคลุมทุกส่วน โดยได้พัฒนาต่อเนื่องจากปี 2549 คือ แก้ไขจุดอ่อนตามที่อาจารย์ พญ อารยา และอาจารย์ ด.ร วัลลา ได้แนะนำเมื่อครั้งประกวดของสมาคมผู้ให้ความรู้เบาหวาน ปี 2549 ที่มาตรวจเยี่ยมโดยพยายามเน้นบทบาทที่เด่นของทีมสหสาขา การเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลและ PCU ให้เห็นเป็นรูปธรรมในผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยใน ด้วยภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และการติดเชื้อ
  • และที่สำคัญในปี 2550 อาจารย์ ด.ร วัลลา ตันตโยทัย และอาจารย์ นิพัธ กิตติมานนท์ บุคคลที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เราได้รู้จัก KM แบบเพื่อนสนิท คือทั้งสนุกสนานและมีความสุขพร้อมๆกับการพัฒนางานไปแบบไม่รู้ตัว  (ขอย้ำว่าเป็นการพัฒนาแบบไม่รู้ตัว จริง ๆ ) ทีมเบาหวานได้พัฒนางานโดยใช้เครื่องมือของการจัดการความรู้ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนช่วยเพื่อน  story telling AAR การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านทางinternet (blog)  สุนทรียสนทนา และใช้การจัดการความรู้แทรกไปในเนื้องาน แบบไม่รู้ตัว อาจารย์ทำให้เรารู้จัก KM แบบง่ายๆ ไม่จดๆจ้องที่จะทำ  แต่ทำไปเลย ในทีมงานที่เริ่มจากเล็กๆ 3-4 คน จนเติบโตแบบมหึมา (มหึมา หนะ คือมีคนเยอะขึ้น และทีมงานรูปร่าง Big – size  ด้วยหละ)   อาจารย์ให้ทำแบบลงมือทำ ทีมเบาหวานของเราพัฒนางานอยางต่อเนื่อง ด้วยความสุขและรอยยิ้ม ในบรรยากาศแบบพี่แบบน้อง การทำงานที่ผ่านมาจึงราบรื่น  ในแต่ละวันที่เราต่างคนต่างก็ทำงาน ทีมเบาหวานกระจายอยู่ทั่วไปทั้งในและนอกโรงพยาบาล เราไม่ได้มาคุยเรื่องเบาหวานทุกวัน เราไม่ได้ประชุมแบบเป็นทางกันบ่อยนัก เราคุยกันผ่านทางโทรศัพท์ ผ่านทางจดหมายโน๊ตเล็กๆที่ส่งผ่านถึงกันด้วยรายมือขยุกขยุย   เมื่อทีมใดทีมหนึ่งอยากทำอะไรหันซ้ายหันขวา ก็มีทีมเบาหวานของเราอยู่ข้างๆเสมอ  เหมือนอย่างเมื่อหลายเดือนก่อนที่อ้อ ประเมินสถานการณ์คนไข้เบาหวานพบว่าคนไข้ระดับ D* (ผู้ปวยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มีปัญหาเข้าพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยใน ) ต้องได้รับการเยี่ยมบ้านโดยทีมและเภสัชกร เมิ่อคิดและทำแผนงานโดยมีการร่าง ขั้นตอนเป็นอย่างไร ประเมินอย่างไร ฯลฯ อ้อโทรประสานพี่อู๊ด และน้องหยู เภสัชกร โทรครั้งเดียว นัดกัน พร้อมออก ต่างคนต่างเต็มอกเต็มใจ OPD ถูกค้นและนำไปศึกษา โทรศัพท์คุยกัน เตรียมความพร้อม และนัดหมายกับพี่ๆที่PCU  แล้วเราก็ไปเยี่ยมคนไข้ด้วยความสุข   ใครจะรู้ว่าการทำงานวันนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เมื่อนำข้อมูลเบาหวานใน ระบบงานมาร้อยเรียง จะทำให้เกิดความเติมเต็ม และดูสวยงาม  อีกตัวอย่างก็คือพี่สุขสม พี่เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 เมื่ออ้อต้องเตรียมข้อมูลส่ง วันนั้นอ้ออยู่ต่างจังหวัด อ้อโทรศัพท์หาปุ๊บ พี่บอกได้เลยได้ ได้ ได้ สบายมาก  พี่คงไม่รู้ อ้อคุยไปยิ้มไป หน้าที่บานอยู่แล้วยิ่งบานไปอีก คิดเอาไว้ว่ามีทีมอย่างนี้สู้ตาย แล้วพี่ก็รวบรวมข้อมูลคนไข้ที่admit ด้วยภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันทันทีภายใน 24 ชั่วโมง จำนวน 727 ราย ส่งมาพร้อมรอยยิ้มและเต็มใจ   นี่เป็นตัวอย่างของการทำงานเป็นทีมของเรา    เรื่องจริงคือเราไม่ได้ทำเพราะจำใจ หรือเพื่อให้ได้มาตรฐาน หรือ เพื้อให้ได้เป้าหมายที่วางไว้  
  • จุดเริ่มของการทำงาน  เราทุกคนในทีมทำเพราะเรามีใจ เราอยากทำให้คนไข้    แล้วเมื่อเอาข้อมูลมาเก็บรวบรวมก็ได้ตามเป้าหมาย อย่างเรามีคนไข้ที่ admit 20 ราย เราทั้งทีมก็อยากเยี่ยมทั้งหมด 20 ราย  ต่างคนต่างก็หาวิธีจัดการกับตัวเอง จัดการกับเวลาให้ลงตัว ทุกอย่างลงตัว ต่างคนต่างไม่มีปัญหา ว่างานยุ่ง วุ่นวายไปเยี่ยมไม่ได้   สุดท้ายเราเยี่ยมได้ 18 ราย ก็ได้ตั้ง 90 % และ 100 % ไม่มี Re-admit  อย่างนี้  หลังจากนั้นระเบียบปฏิบัติก็ค่อยๆออก เพราะคิดว่า เดี๋ยวเกิดเรา(รวยแล้ว) ลาออก ทีมงานที่ยังอยู่จะได้ ทำไปในแนวทางเดียวกัน  เพราะฉะนั้นทีมงานไม่ได้ถูกบังคับให้ทำงาน  มาตรฐานของเราไม่ได้ถูกกำหนดมาเพื่อตีกรอบบังคับผู้ปฏิบัติ บางครั้งมาตรฐานเหมือนเป็นของแถม option เสริม ที่ทำให้เราบอกใครต่อใครได้ว่าเราจะเดินไปสู่จุดมุ่งหมายอะไร และเราทำไปแล้ว ผลเป็นอย่างไร มาตรฐานตัวชี้วัดถูกกำหนดขึ้นมาหลังจากที่เราเริ่มทำงานไปแล้วและเห็นว่า   เออ เราทำไปได้เยอะ และการทำงานนี่คงอยู่ไม่หดหายไปตามกระแส ไม่ใช้ข้อบังคับ แต่ทุกคนในทีมพร้อมใจกันทำ เป็นการทำงานที่เป็นไปตามธรรมชาติ  เมื่อเริ่มมีความยั่งยืนในการทำงาน ก็ค่อยๆประกาศเป็นมาตรฐานกำหนดให้มีการใช้ให้ครอบคลุม ตามด้วยตัวชี้วัด ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนคนทำงานไม่ได้รู้สึกว่านี้คือภาระที่เพิ่มขึ้น นี้คือคำสั่งที่ใครเป็นคนคิด  นี้คือ งานๆๆๆที่มันหนักหนา  อะไรอย่างนี้เป็นต้น   ทีมงานเบาหวานก็ค่อยๆเพิ่ม ค่อยๆโตขึ้น ขยายไปเรื่อยๆทั้งในและนอกโรงพยาบาล ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีใจทั้งสิ้น
  • และมาถึงพระเอกของเรา อาจารย์ น.พ วิรัช ศิริกุลเสถียรที่เป็นขวัญใจของทีมงาน โดยเฉพาะทีม  PCU ที่ลงเรือลำเดียว  ประกาศการทำงานแบบไม่ย่อท้อตั้งแต่เริ่มแรก จำได้ครั้งแรกที่เราเริ่มทำงาน จุดแรกคือการคัดกรองเบาหวาน ที่คัดกรองมาได้ในวันแรกที่เปิด คลินิกคือวันที่ 11 สิงหาคม 2546 มีคนไข้ครั้งแรก แค่ 10 กว่าคน เดือนต่อมาการคัดกรองเริ่มดุเดือด ก็เริ่มเพิ่มขึ้นมาเป็น 20 30 40  จำได้ว่าอาจารย์เคยตรวจจนถึงเกือบๆ 6 โมงเย็น จนมาวันนี้เรามีคนไข้เกือบ 3000 คน  พร้อมกับระบบที่ค่อยๆขับเคลื่อน และพัฒนาทีละเล็กทีละน้อย
  • กลับมาเรื่องการประกวดด้วยเวลาที่จำกัดอ้อจึงอาสาเป็นผู้เล่าเรื่องและรวบรวมงานที่มีอยู่ในทุกส่วนของโรงพยาบาลเตรียมส่งนำเสนอ  ส่งแบบทุกอย่างทุกเนื้อหาจึงอาจดูกว้างๆ เบลอๆ ไม่ชัด ทุกอย่างผ่านด้วยไปดี  ข้อดีของการมีการส่งประกวดผลงานคงไม่ได้เป็นเงินหรือของรางวัลที่มีไว้   แต่เป็นสัมพันธภาพที่ดีซะมากกว่าใครจะรู้ว่าการประกวดแต่ละครั้งให้อะไรเราตั้งมากมาย   สำหรับอ้อและทีมงานความสุขทางใจ เป็นรางวัลที่มีค่ามากที่สุด    การประกวดครั้งนี้เป็นการประกาศที่ไม่ใช่เราเก่งที่สุดโดยเด็ดขาดแต่เป็นการประกาศว่าทีมเบาหวาน โรงพยาบาลพุทธชินราช สายสัมพันธ์นับวันยิ่งมั่นคง ทุกคนต่างมุ่งมั่นสู่เส้นทางการพัฒนา เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน  และวันที่ 12 ตุลาคม 2550 การประกวดทำให้เราได้พบเพื่อนต่างที่ต่างบริบท ที่มุ่งทำงานพัฒนางานเพื่อคนไข้  เดี๋ยวพรุ่งนี้จะมาเล่ารายละเอียดของการประกวดอีกครั้งนะคะ

ทีมงานเบาหวานของเรา

 

อจ.นพ.นิพัธและอ้อ กับรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

อาจารย์สมพงษ์ ผู้จุดประกายการทำงานตั้งแต่ปี 2547 

 ทีมสหวิชาชีพของเรา

นพ.นิพัธ,นพ.ชูศักดิ์(รองผู้อำนวยการ)และนพ.วิรัช

  • รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์ผู้เล่า
คำสำคัญ (Tags): #รางวัลเบาหวาน
หมายเลขบันทึก: 145091เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
ขอแสดงความยินดีกับทีมเบาหวานพุทธชินราชอีกครั้งและดีใจที่ได้อ่านบันทึกของอ้อเสียที อ้อเป็นคนเล่าเรื่องเก่งอยู่แล้ว อย่ารีบมากเพราะไม้เอกไม้โทมันเพี้ยนไปเยอะนะ คราวหน้าเอารูปบรรยากาศวันที่ไปรับรางวัลมาใส่ด้วยนะคะ

ขอบคุณคะ อาจารย์ เดี๋ยววันนี้จะลงรูป บรรยากาศวันนั้นให้อาจารย์ดูนะคะ (  แก้ไข ไม้เอก ไม้โท แล้วคะ ) 

ขอแสดงความยินดีกับทีมงานทุก ๆ ท่านค่ะ เพิ่งเจอตัวจริงเสียงจริงก็วันนี้เอง คุยเก่งกันทุกท่านจริง ๆ ค่ะ   ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ ราณีที่มาเยี่ยม ให้กำลังใจคะ

     ขอบใจ ที่อ้อเข้าใจและสามารถทำให้ทีมงานเบาหวาน โรงพยาบาลพุทธชินราช เต็มไปด้วยสายสัมพันธ์ที่มั่นคงมากขึ้นทุกวัน เราดีใจนะที่เห็นทุกคนทำงานด้วยใจเป็นสุข หลายปีผ่านมาสิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นได้ชัดเจนคือ ไม่มีงานไหนสำเร็จได้โดยมีพระเอกเพียงคนเดียวเลย ความผูกพันของทีมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดจริงมั้ย 
  • สวัสดีค่ะ
  • ขอแสดงความยินดีกับทีมงานทุกท่านด้วยค่ะ
  • ขอชื่นชมผู้เขียนเรื่องได้ดีมากค่ะ
  • ขอฝากผ่านถามถึงพี่นู๋ทิมสบายดีหรือเปล่าคะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ขอแสดงความยินดีกับทีมงานด้วยครับ
  • ยังไงๆ ก็อย่าลืมมาช่วยเทศบาลนครพิษณุโลกนะครับ  อิอิ

อ้อจ้ะ ! พี่โต้งขอแสดงความยินดีและชื่นชมในความมุ่งมั่นสร้างทีมงานทั้งในและนอกโรงพยาบาลในฐานะผู้ประสานการดูแลผู้ป่วยแบบบูรณาการ   ที่จริงเรายังมีผู้ประสานการดูแลผู้ป่วยแบบบูรณาการอีกหลายโรคเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก จิตอาสาดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตที่บ้าน ฯลฯ และทุกๆโรคที่เราทำล้วนแต่ให้ผลลัพธ์ที่น่าชื่นใจคือผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลจนไปถึงบ้าน  ทำให้เราสามารถเติมเต็มระบบสุขภาพที่ขาดหายไปจากเดิมให้เป็นวงอย่างที่ทีมงานเราตั้งความหวังไว้นี่แหละมั้งเสน่ห์ของ Primary Careโดยผ่านผู้ประสานการดูแลแบบบูรณาการที่เราเรียกว่า Project Mananger พี่โต้งคิดว่านี่เป็นบทเรียนที่ดีที่ทำให้งานประสบความสำเร็จและมีคุณภาพผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกทั้งได้ใส่กระบวนการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อีกด้วย  ขอบคุณน้องๆ ที่ทำหน้าที่ผู้ประสานการดูแลที่ดี เป็นกำลังใจให้เสมอเลยนะ  (เสียดายไม่ได้ติดตามไปดูบรรยากาศการรับรางวัลแต่เห็นรูปก็ชื่นใจละค่ะ)

 %e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b9%82%e0%b8%a2%e0%b8%87

 

 

หวัดดีครับทุกคน

  • ขอแสดงความยินดีอีกครั้งนะครับ ทีมพุทธชินเหมาะกับรางวัลนี้มากๆและเหมาะมาหลายปีแล้ว เพียงแต่ไม่ส่งประกวด
  • นอกจากรางวัลนี้แล้วยังได้รางวัลทีมเบาหวานในฝันของทีมอุดรอีกด้วยนะครับ
  • ทีมอุดรขอเดินติดตามทีมพุทธชินไปเรื่อยนะครับ อย่างน้อยเราก็มั่นใจว่าเราเดินถูกทาง ช่วยดูแล ชี้แนะเราด้วย อย่าทอดทิ้งเรานะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • ปล. ทีมอุดรเพิ่งได้รับรางวัล BUPA Clinical Excellent Award 2007 เมื่อวันที่12 พย.นี้ครับ ทีมเราก็รู้สึกดีใจกันมาก เป็นกำลังใจที่ดีครับ

การรักษาโรคเบาหวานแบบหายขาดโดยสมุนไพรไทย

หายขาดจริงๆครับ

โดยความบังเอิญที่คุณพ่อผมได้เดินทางมาหาที่บ้านที่จังหวัดขอนแก่นแล้วมาเจอกับ คุณ ยายผมที่ป่วยเป็นเบาหวานมาหลายปี โดยการรักษาตลอด 12ปีที่ผ่านมาต้องไปรับยาทุกอาทิตย์ ตื่นตั้งแต่ตี 5เพื่อไปโรงบาล แกบอกว่าทรมานมากใครไม่เป็นไม่รู้หรอก เพื่อนๆแกได้ตัดนิ้ว-แขน-ขา บางคนตาบอด และตายไปก็หลายสิบคนแล้ว

พ่อบอกกับแม่ว่าแกมีสูตรสมุนไพรโบราณสมัยคุณปู่ผมที่อยู่ที่มาเลย์เซียก่อนเดินทางมาไทยและนำมาผสมกับสมุนไพรของคุณตาผมที่นำมาจากไร่ที่ จังหวัดเลยผสมชงทานกัน ตอนแรกแกไม่ยอมทาน กลัวสารพัดผ่านไปหลายวันเข้าพ่อผมแกก็ชงทานทุกวันให้แกดูเป็นตัวอย่าง แกเลยยอมหลังจากทานไปสัก 3-4วันแกบอกว่าจะปัสสาวะบ่อยมากและจะมีอาการร้อนวูบวาบ และอาการชาปลายนิ้วตอนเช้าได้หายไปและหลังจากทานไปได้ 7วันแกอยากทานนั่นทานนี่(ปรกติไม่ยอมทานอะไร) ผิวพรรณจากแห้งๆเริ่มมีน้ำมีนวล และขาเริ่มมีกำลังสามารถลุกขึ้นเดินได้ จนแม่ได้พาไปตรวจที่ โรงพยาบาลขอนแก่น ผลออกมาว่าน้ำตาลในเลือดจากเดิม 230 ลดลงเหลือเพียง 115เท่านั้น เอง จนหมอเองก็ประหลาดใจอยู่ไม่น้อย แกทานมาได้สักประมาณ 1เดือนแล้วกลับไปวัดน้ำตาลอีกก็ได้รับผลว่าปรกติดี จวบจนถึงปัจจุบันนี้คุณหมอ ได้ทำการแจ้งว่าไม่ต้องมาตรวจแล้วครับ หายจากการเป็นเบาหวานแล้ว ก็ทำให้ทุกคนในบ้านประหลาดใจมากครับ

ผมคนนึงที่ไม่เชื่อครับ ก็เลยเอามให้น้องๆที่ทำงานที่ร้อยเอ็ดนำไปให้คนที่บ้านทาน ผลก็เป็นเช่นเดิมกับยายผมทานไปน่าจะประมาณ 83คน มีที่ไม่หาย 3คน ซึ่งจากการสอบถามแล้วได้ความว่าทานไปเพียง 1-3วันแล้วไม่กล้าทานต่อครับ

ส่วนท่านอื่นๆปัจจุบันหายขาดแล้วเพราะไม่ได้นำไปทานอีกเลย

ผมจึงบอกคนที่หายว่าถ้าทานแล้วหายให้ระลึกถึงคุณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วที่ได้คิดค้นสูตรโบราณนี้ไว้ให้แก่คนรุ่นนี้ครับ

อัศจรรย์จริงๆครับ

รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อที่ คุณ ธิดา อึ้งนภารัตน์ 123/456 ม.เพรสซิเดนท์ ต.แดงใหญ่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000หรือโทร 083-3459197

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท