โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

Facilitative Leading for Optimizing Work คืออะไร


อำนวยอย่างไรให้งานไม่สะดุด

วันนี้เป็นการเข้าอบรมวันแรกของเครื่องมือตัวแรกใน module 5 ซึ่งเป็นการสอนให้เรารู้จักกระบวนการ Facilitating

สมาชิก Inno Fa II มากันไม่ครบ มีรุ่น 1 มาร่วมเข้าสัมมนาด้วย 2 คน บรรยากาศการอบรมในวันนี้ท้าทายความสามารถของอาจารย์สาวสวยจากนิด้า เป็นอย่างยิ่ง เริ่มต้นจากไฟดับตั้งแต่เช้าจนเที่ยง ทั้งคนสอน คนเรียนต้องทนกับอากาศที่ร้อนมาก ผิดคาดจากที่คิดเพราะครั้งที่แล้วอากาศเย็น เตรียมเสื้อกันหนาวกันมาหลายคน นอกจากจะไม่ได้ใช้แล้วยังอยากจะอาบน้ำซะเลย เรื่องที่เรียนก็ไม่ยาก แต่กว่าอาจารย์จะอธิบายให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจได้ เด็กดื้ออย่างพวกเราบางคนก็สงสัยว่าทำไมต้องเสียเวลาทำ ทำไปทำไม ทำแบบนี้ไม่ดีกว่าหรือ

งานที่ได้รับมอบหมายจากท่านวิทยากรก็คือ ให้เราหาว่าปัญหาที่ทำให้การประชุมไม่มีประสิทธิภาพ มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง แล้วจำแนกเป็นหมวดหมู่ แล้วค่อยแตกเป็นเรื่องย่อย ๆ จากนั้นให้คะแนนความรุนแรง แล้วนำมารวมคะแนน สุดท้ายจะต้องสร้าง scenario โดยเลือกเหตุปัจจัยที่เราอยากจะเลือกมาเขียนเพื่อเตรียมแสดงในวันที่ 2 กลุ่มเราโชคดีที่มีคนตั้งใจเขียน case อย่างละเอียด โชคดีอีกแล้วที่ได้ตัวอย่างดีๆ กลับมา (พรุ่งนี้จึงจะรู้ว่าดีจริงหรือเปล่า)

สิ่งที่ได้เรียนรู้หลักๆ ในวันนี้คือ

  • ได้เห็นตัวอย่างที่ดีของการเป็น Fa ของวิทยากร สามารถควบคุมอารมณ์  มีความตั้งใจ ปรารถนาดีอยากให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้มากที่สุด ทั้งที่ผู้เข้าอบรมอย่างกับปู ต้องคอยจับใส่กระด้ง

  • เห็นชัดเลยว่าช่วงที่ อ. อธิบายกิจกรรมแล้วคนฟังก็คอยถาม หรือบอกว่ายังไม่เข้าใจ ทำไมไม่เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ Fa ที่ดีต้องคุมสถานการณ์อย่างไร EQ ต้องดีมากๆ

  • การสร้าง scenario ซึ่งจะเป็น case study สำหรับการทำกิจกรรม อ.บอกว่าที่ต้องให้ Fa ฝึกทำ เพราะเราอาจจะต้องเจอสภาพการณ์ที่เป็นปัญหาหลากหลายมาก ให้เราฝึกเตรียมการหา solutions ไว้ก่อน เมื่อพบจริงๆ จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที

  • สามารถประยุกต์เทคนิคการสร้าง scenario ไปใช้ในการเขียน case study เพื่อการอบรม ซึ่งตรงกับความต้องการของเราอยู่พอดีเลย ทำให้เราโชคดีอีกแล้วที่ได้มาเรียน นอกจากนั้น ยังสามารถนำไปใช้ในการ brainstorm ค้นหาสาเหตุของปัญหา และทราบระดับความรุนแรงของปัญหาจากการให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันลงความเห็น

  • วันนี้ได้หยิบ mindmap มาผนึกกำลังกับ chart donut ของอาจารย์ ก็ยังไม่มีชื่อเรียก ขอตั้งให้ก่อนแล้วกัน ดีใจมากที่เราสามารถคิดได้เองทันที ว่าเครื่องมือ 2 อันนี้มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ทำไมถึงใช้แทนกันไม่ได้ทั้งที่ concept ใกล้เคียงกันมากสำหรับการทำกิจกรรมสร้าง scenario ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราอาจจะยึดติดว่าสิ่งที่เราใช้ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องมาทำด้วยเครื่องมือใหม่อีก

สรุปแล้วคนเราจะเรียนรู้ได้ดี รวดเร็ว ต้องเปิดใจ ไม่ยึดติดความคิด ความรู้เดิมของตัวเอง คิดตามให้เร็ว ไม่วอกแวกขณะที่รับข้อมูล และประมวลผลความคิด

พูดง่ายนะ คำว่าเปิดใจ แต่ทำยากจริงๆ ต้องมีสติเตือนตนตลอดเวลา

คำสำคัญ (Tags): #facilitator development#open mind
หมายเลขบันทึก: 91279เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2007 19:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ไม่ได้เข้าร่วม เลยแวะมาอ่านครับพี่ส้ม

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ

ดูแล้ว เด็กที่ขี้สงสัยคงจะเป็นเจ็งเอง ฮิ ๆ ก็มันน่าสงสัยมั๊ยหล่ะคะพี่น้อง ..... ถึงตอนนี้เรายังรู้สึกว่า ทำแล้วจะได้ result เป็นอย่างไร แทบจะรอเรียนต่อพรุ่งนี้ไม่ไหวแล้ว เพราะในหัวมันมี scenario ต่าง ๆ นา ๆ ว่าทำแบบนี้แล้วมีดีมีเสียอย่างไร .... ถ้าเจ็งตอบตัวเองได้เมื่อไหร่ จะเข้ามา post อีทีค่ะ :)

ยูเรก้า!!!

ต้องใช้คำว่า พี่ส้ม ได้ตกผลึกความรู้ได้แก่นสาระจริงๆครับ

บทเรียนที่เราต้องนำไปสร้างต่อคือโจทย์การเรียนรู้ ซึ่งต้องให้ทั้งศาสตร์และศิลป์ รวมทั้งจิตนาการ ร่วมสร้างบรรยากาศที่เอื้อและง่ายต่อการเรียนรู้ กระตุกต่อม กระเทาะความใคร่เรียนรู้ ครับ

(Learning design)

ขอขอบคุณน้อง นิรนาม กับ น้อง MJ ที่ได้เข้ามาอ่านความคิดของพี่ โดยเฉพาะน้อง MJ โปรดอย่ารู้สึกผิดนะคะ  พี่คิดว่าทุกคนสงสัยหมด รวมทั้งตัวพี่เองด้วย แต่การแสดงออกของแต่ละคนจะต่างกัน บางคนแสดงสีหน้า บางคนเก็บไว้ในใจไม่ยอมบอก หรือกำลังย่อยและงง ไม่รู้จะถามอะไร น้อง MJ คิดไว response ไว และก็เป็นผลดีที่ทำให้พี่ๆ ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างมาก โดยเฉพาะรู้ว่า หนึ่งในพวกเราคิดอย่างไร แล้วอาจารย์ตอบสนองความต้องการของเราด้วยวิธีใด ตอนเรียนในห้องพี่ก็รู้สึกอึดอัดในช่วงแรกๆ (ชอบเป็นอย่างนี้ทุกทีเลย) แต่พอสติมา ปัญญาก็เกิด ประสบการณ์ที่ผ่านมาหลายปีดีดัก รวมทั้งตัวเองก็เคยเป็นครู เคยเป็นวิทยากร เคยเป็น Fa พี่จึงคิดว่านี่เป็นเรื่องธรรมชาติ (เหมือนสิวเลย) คนรุ่นใหม่มักทำอะไรไว และใจร้อนอยากเห็นผลเร็ว การทำงานในธุรกิจของเรามีส่วนที่หล่อหลอมให้เราต้องทำอะไรไว ตอบสนองไว ใจเย็นลงแล้วเราจะหาคำตอบได้ค่ะ เหมือนที่ อ.วรภัทร์บอกว่าถ้าสมองเราเป็นคลื่นอัลฟา เราจึงจะคิดอะไรได้แบบ ปิ๊งแว่บ

ก๊อบคะ

วันนี้อาจารย์เห็นพี่นั่งพิมพ์ case scenario อาจารย์ก็ถามอะไรพี่สัก 2-3 อย่างแล้วก็ทำสีหน้าแบบ งงๆ กึ่งประหลาดใจ และพูดว่า แปลกจังพี่ส้มเรียนสายวิทย์มา เป็นพยาบาลไม่น่าจะมี imagination ดี ช่วยบอกพี่หน่อยสิคะว่าก๊อบคิดเหมือนอาจารย์หรือเปล่า ระหว่างนั่งรถเมล์เข้าซอยกลับบ้าน ก็กลับไปคิดถึงคำพูดอาจารย์ แล้วพยายามหาเหตุผลมาอธิบาย ก็เลยคิดไปถึง Tony Buzan ที่บอกว่าคนเราต้องผสมผสานทั้ง Art & Sciences ให้เข้ากันให้ได้ ต้องไม่แยก 2 ศาสตร์นี้ออกจากกัน ถ้าเราทำได้สมองของเราจึงจะทำงานร่วมกันทั้งสองข้างอย่างสมดุล

  • ตามมาขอบคุณ
  • วันก่อนพบทีมคุณทวีสินด้วยครับ
  • เป็นทีมที่เยี่ยมมากครับ
P
นาย ขจิต ฝอยทอง เมื่อ พฤ. 19 เม.ย. 2550 @ 23:13 จาก 203.158.4.151 ลบ (231381)
ไม่ทราบว่า อ.ขจิตได้พบคุณทวีสินที่ไหนคะ วันนี้ก็เพิ่งไปสัมมนา ยังได้พบด้วยค่ะ

เห็นด้วยกับพี่ส้มเป้นอย่างยิ่งวันนี้เหมือนจับปูใส่กระด้งจริงๆ ครับ เนื่องจาก FA2 ผมว่าแต่ละคนในช่วงแรกไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร มีหน้าที่อย่างไร แต่หลังจากไปที่สตึกแต่ละคนเรอ่มเห้นแล้วครับว่า FA นั้นเป็นอย่างไร และทุกคนเริ่มมีใจที่จะทำ อย่าที่จะรู้ เพื่อนำไปปฏิบัติต่อ แต่เนื่องจากรุ่นนี้เป็นรุ่น Hyper ครับ โดยจะประกอบไปด้วยน้องๆ ที่อยากเรียนรู้ พี่ๆ ที่มีประสบการณ์ จึงเป็นการคละกันที่ลงตัว และผมว่าส่วนใหญ่จะเรียนทางสายวิทย์ครับ ทำให้การเรียนแต่ละครั้งต้องรู้ว่า result ที่ได้มันคืออะไร ผมว่าในส่วนนี้อีกสักระยะครับพวกเราชาวสายวิทย์จะมีการปรับตัวได้ครับ เพราะช่วงแรกๆ ผมเองก็เป็นครับ เรียนไป Result ที่ได้มันคืออะไร แต่เนื่องจากได้มีโอกาสเข้าอบรมทางด้านศิลป์ทำให้รู้ว่าการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องได้ result ออกมาในทันทีทันใด อาจจะต้องเอาไปปฏิบัติ ซึ่งผลอาจจะออกมาต่างกันก็ได้ครับในแต่ละคน สำหรับ FA2 อาจารย์คงต้องใช้พลังแยะหน่อยครับ เพราะบางคนมีประสบการณ์ที่อาจจะไม่ค่อยดีนักเช่น อบรมแล้วไม่รู้จะไปใช้อะไร หรือโดยเฉพาะ Tools ใหม่ๆ ที่บางครั้งคล้ายกับ Tools ที่เคยรู้และใช้อยู่ อาจารย์อาจจะต้องบอกข้อแตกต่างของมันครับว่าต่างกันอย่างไร พอดีวันนี้ผมโชคดีหน่อยที่เคยไปเห็นหนังสือของอาจารย์วินทร์ ที่มีการให้หัวข้อ และแต่งเรื่อง เลยพอเข้าใจบ้างครับ ตอนเข้าห้องน้ำมีปิ้ง แวบครับ ลองดูว่านะครับ มีช่วงที่พวกเรางงเกี่ยวกับการให้น้ำหนักของปัจจัย ไม่รู้ว่าจะให้กันอย่างไรดี แต่ในกลุ่มผมซึ่งประกอบด้วยพี่ส้มใช้จากการดูจำนวนของหัวข้อย่อย ผมขอต่อยอดครับ เมื่อเราเขียนหัวข้อย่อยแล้วให้ใส่คะแนนความรุนแรงลงไปเลย แล้วเอาคะแนนมารวมกันของแต่ละปัจจัย แล้วให้น้ำหนักตามคะแนนครับ :p

P

ขอขอบคุณกวงที่มาแสดงความคิดเห็น พี่อยากรู้เหมือนกันว่าส่วนใหญ่ของพวกเราคิดอย่างไร ไม่ค่อยได้คุย ได้ถามกันตรงๆ หากส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไร ก็จะขาดแรงจูงใจให้อยากเรียนรู้

2 วันที่ผ่านมาเราได้อยู่กลุ่มเดียวกัน รู้สึกว่ากลุ่มเรามีความตั้งใจเรียนกันทุกคน โดยเฉพาะน้องแนน กับ ระ จดกันจนละเอียดยิบ พี่ว่าเป็นสิ่งที่ดี รู้หรือไม่ เข้าใจหรือไม่ เป็นประโยชน์ตอนนี้หรือไม่  ตอบไม่ได้ จดไปก่อนให้ information เข้าหัวไว้ก่อน วันหนึ่งข้างหน้าสมองเราจะดึงออกมา integrate ให้เราเองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท