คณะมนุษยศาสตร์ มช. และคุณค่าของมนุษย์


การพบกันระหว่างนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับนักมนุษย์ศาสตร์อาจมีมุมมองที่ต่างกันแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สวัสดีครับลูกศิษย์คณะมนุษย์ศาสตร์ที่ มช. และชาว Blog ทุกท่าน
         ในวันพุธที่ 6 กันยายนนี้ ผมได้รับเชิญจากท่านคณบดี คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ไปบรรยายให้กับนักศึกษาปีที่ 1-2 ของคณะมนุษย์ศาสตร์ และแพทยศาสตร์ เรื่อง การบูรณาการแนวคิด วิธีการ หรือศิลปะ เพื่อเข้าสู่เป้าหมายของความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า นับเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจเพราะจะเป็นการพบกันและแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และนักมนุษยศาสตร์ที่อาจมีมุมมองที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็มีเป้าหมายเดียวกันคือการพัฒนาที่ยั่งยืน
         ผมถือโอกาสเปิด Blog นี้สำหรับลูกศิษย์ของผมและท่านที่สนใจเรื่องการสร้างคุณค่าของมนุษย์ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กันที่นื่
                                                 จีระ  หงส์ลดารมภ์
 
หมายเลขบันทึก: 48340เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้รับจากการบรรยายของอาจารย์นะครับ

 แต่ตัวผมเองของแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษาหน่อยคับ

ในมุมมองของผมนั้น  การศึกษาของคนเราควรสอนให้คนมองโลกอย่างบูรณาการ  ไม่ใช่มองเพียงมุมใดมุมหนึ่งหรือด้านใดด้านหนึ่ง  (อย่างเช่นที่นักการเมืองพยายามหาจุดจับผิดกันและกันอย่างชนิดยิบย่อย)   และการที่จะมองโลกอย่างบูรณาการได้นั้น  ควรที่จะมีความรู้ทั้ง 3 มิติ  คือ ความรู้ในทางกว้าง  (มีความรู้พื้นฐานในทุกๆ เรื่อง)  ทางยาว (รู้ประวัติศาสตร์และการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต)  และทางลึก (รู้ลึกและรู้จริงในเรื่องราวที่ตนสนใจ)  เพื่อที่จะหาความเชื่อมโยงต่อเหตุการณ์  บุคคล   และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  จนสามารถเลือกดำเนินชีวิตหรือกระทำพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสมต่อทั้งตนเองและคนรอบข้าง  

สำหรับความรู้ 3 มิติ ดังที่กล่าวมานั้น  มีองค์ประกอบของความรู้อยู่ 2 ส่วน คือ ความรู้ทางโลก ก็คือ ความรู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานอาชีพ  และความรู้ทางธรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับปรัชญาการดำเนินชีวิต     โดยในส่วนของความรู้ทางธรรมนั้น  ผมว่าคนเราควรมีความรู้ในศาสนาหลายๆ ศาสนา  เพื่อให้คนเราเข้าใจกันและกันและยอมรับความแตกต่างนั้น   อันจะนำมาซึ่งสันติสุขบนความแตกต่าง    ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรมีความรู้ในกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติต่างๆ  ทั้งที่ศาสนาได้สอนไว้และที่ค้นพบได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์  เพื่อให้มนุษย์เกิดความเข้าใจ  และหาแนวทางในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด

 

ขอบคุณครับ

ยม"บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 8 H , 8 K และหมอประเวศ 10 ข้อ

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

    เช้านี้ วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ใ8 H , 8 K และหมอประเวศ 10 ข้อในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน เล่าถึง 3 เรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำ บทเรียนจากความเป็นจริงที่น่าสนใจ ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ   

ผมคิดว่า ภาคเมืองต้องเข้าใจภาคชนบท ภาคชนบทต้องเข้าใจภาคเมืองเช่นกัน และหาทางอยู่ร่วมกัน มองประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียว จะทำได้หรือไม่ ยังไม่มีใครทราบ สำหรับงานของผมได้ทำทั้งภาคเหนือ ภาคชนบท คือ เราเป็นคนกรุงเทพฯ ต้องสร้างโอกาสให้ภาคชนบท ได้รับทราบข่าวสารที่ถูกต้อง

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ประโยคที่ว่า ภาคเมืองต้องเข้าใจภาคชนบท เพราะคนส่วนใหญ่ของประเทศ อยู่ในชนบท เมื่อครั้งที่ผมได้มีโอกาสเรียนในหลักสูตร บัณฑิตอาสาสมัคร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่ง หลักสุตรหรือโครงการนี้ ผู้ริเริ่มคือ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ผมศรัทธาท่าน ศ.ดร.ป๋วย จึงได้เข้ามาสอบเรียนต่อในสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งสมัยนั้นขึ้นอยู่กับคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้ทุนการศึกษาจากห้ากระทรวงหลัก เมื่อนักศึกษาเรียนภาคทฤษฎีเข้มข้น ก่อนส่งออกไปใช้ชีวิตในชนบท นักศึกษาต้องผ่านการทดสอบว่ามีทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางจริยธรรม ผ่านการทดสอบสารพัดลึก แล้วจะได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ให้นักศึกษาบัณฑิตอาสาสมัคร เข้าเฝ้าเพื่อรับฟังพระบรมราโชวาทก่อนออกภาคสนาม ซึ่งน่าจะเป็นแนวคิดของ ศ.ดร.ป๋วย

 หลักสูตรนี้ ทราบว่า ศ.ดร.ป๋วย ท่านมองการณ์ไกล ต้องการให้นักศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับชนบท เข้าใจชนบทอย่างแท้จริง และทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชนบท นำมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมฯในสมัยนั้น ช่วงที่ผมเรียนนั้นได้เข้าถึงชนบท ชี้วิตในชนบทเกือบสองปี หลายคำตอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ นโยบายในการบริหารประเทศ สามารถหาคำตอบที่มีอยู่ในหมู่บ้านในชนบท   ทำให้ผมคิดว่า  ส.ส. หรือพรรคการเมือง ที่จะเข้าสู่ระบบการเมือง ควรได้เข้ามาเรียนในหลักสูตรนี้ มาซึมซับปรัชญา แนวคิดของ ศ.ดร.ป๋วย มาเรียนรู้วิถีแห่งชนบท ฝึกใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้านที่ยากจน ช่วงนั้นได้แต่คิด   ผมยังคิดต่อไปอีกว่า ยังไม่มีรัฐบาลไหน สานต่อปรัชญา แนวคิด ของ ศ.ดร.ป๋วย อย่างเป็นรูปธรรม  บัณฑิตอาสาสมัครที่จบมาแต่ละรุ่น รัฐบาลก็ไม่ได้สนใจใยดีอะไร ไม่ได้มีส่วนร่วมใด ๆ อีกต่อไป หลังจากที่พวกเขาสำเร็จการศึกษาออกมา พวกเขาคือผู้ที่มีอุดมการณ์ มีความรู้เกี่ยวกับชนบทดีมาก  การเรียนรู้เรื่องชนบท เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับภาคการเมือง สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ซึ่งริ่เริ่มโดย ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ บุคลากรผู้ทรงคุณค่าของชาติ ก็ยังคงเป็นสำนักเล็ก ๆ ในมหาวิทยาลัยที่ทรงเกียรติ ม.ธรรมศาสตร์ต่อไป  ผมหวังว่าจะมีผุ้นำประเทศในอนาคต ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มากขึ้น  เพื่อส่งเสริมคุณค่ามนุษย์ ได้อีกแนวทางหนึ่ง   

ผมโชคดีที่ได้ทำงานในทุกภาคส่วน และทุกสาขา เช่น การให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ได้แสดงออก จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อย่างที่ Peter F. Drucker พูดไว้เสมอว่า ทุก ๆ วันที่ผ่านไป เขา " เรียนรู้จากผู้ฟัง "

 คุณสมบัติที่ดีของผู้นำประการหนึ่งก็คือ การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รับฟังมาแล้วคิดวิเคราะห์เรียนรู้ ว่าจริงหรือไม่ แล้วนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นผล ผมเห็นด้วยกับ Peter F Drucker ที่กล่าวไว้ว่า เขาเรียนรู้จากผู้ฟัง  การเรียนการสอนสมัยใหม่ ควรเป็นเช่นนี้ โดยเฉพาะในระดับ ป.โท และที่สำคัญมากที่สุด ใน ป.เอก  บางมหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม ยึดตัวครูเป็นศูนย์กลาง ยิ่งในระดับ ป.เอก ยิ่งไม่ควรมี  บ้านเรายังไม่ทิ้งความเป็นเผด็จการ  ซึ่งยังคงมีหลงเหลืออยู่ในองค์การ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ประเภท สั่งการและควบคุม โดยไม่ฟังใคร ยึดตนเองเป็นศูนย์รวมอำนาจ ถ้าเป็นในสถานการศึกษา ครูก็พูด นักเรียนที่ดีต้องฟัง  และจำให้+ปฏิบัติให้ได้จะได้ขื่อว่าเป็นนักเรียนที่ดี  นักเรียนคนไหนคิด พูดมากกว่านี้ จะถูกมองว่าเป็นเด็กมีปัญหา   ครูที่ดีก็ควรยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง บริการ กระตุ้นนักเรียนให้เกิดความอยากรู้ ให้ได้แสดงออก ผู้นำที่ดี ก็ควรกระจายอำนาจ รับฟัง ความคิดเห็นของทีมงาน จะทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ นำไปสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และการบริหารจัดการความรู้ และ Innovation ตามมาด้วย  เมื่อวันพุธที่ 5 สิงหาคม ผมได้รับเกียรติจากอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ( Humanity ) มองนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจ Human capital อย่างผม ไปบรรยายให้นักศึกษากว่า 300 คนฟัง ที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหัวข้อ "การบูรณาการแนวคิด ไปสู่มนุษย์ที่มีคุณค่า" นับเป็นความภาคภูมิใจของผมอย่างยิ่ง หัวข้อที่คณะมนุษยศาสตร์ ให้ผมพูดคือ มองมนุษย์อย่างมีคุณค่า ซึ่งประกอบไปด้วย มนุษย์มูลค่าเพิ่ม คือ ทุน 8 K's ต่าง ๆ แต่เพิ่มคุณธรรม จริยธรรม การมีวัฒนธรรมที่งดงาม การมีประวัติศาสตร์ที่ควรหวงแหน และการมองมนุษย์ในมิติต่าง ๆ เช่น สันติภาพ และศาสนาด้วย การที่คนจะมองมนุษย์มีคุณค่าได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนหนึ่งน่าจะขึ้นอยู่กับทุนมนุษย์ ที่คนแต่ละคนมีอยู่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งเติบโตขี้นมา  ขึ้นอยู่กับทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ที่คน ๆ นั้นได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ ในครอบครัว ในชุมชน ในโรงเรียน ในสถานที่ทำงาน และในประเทศ ถือว่ามีส่วนหล่อหลอมให้คน ๆ นั้นมีศักยภาพในการรมองคุณค่าของสรรพสิ่งทั้งหลาย ถ้ามีทุนมนุษย์น้อย ด้อยการศึกษา ขาดทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม อาจจะทำให้มองไม่เห็นคุณค่าของทรัพยากร หรือสรรพสิ่งทั้งหลาย ว่าแตกต่าง ดีหรือไม่อย่างไร ทำให้ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ อีกด้วย    การส่งเสริมการมองคุณค่าของมนุษย์ที่ดี จึงควรส่งเสริมทั้งระยะสั้นและระยะยาว  ระยะสั้น อาจต้องปรับกระบวนการเรียนการสอน และที่ตัวผู้สอน ให้สามารถรองรับและพัฒนานักเรียน ไม่ว่านักเรียนจะมาจากครอบครัวที่มีทุนมนุษย์มากน้อยเพียงใด ก็สามารถต่อยอดทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ได้ดีเสมอ และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เข้าไปด้วย ความรู้ควรคู่กับคุณธรรม ระยะยาว ต้องเริ่มที่นโยบายสาธารณะของรัฐ ส่งเสริมให้สถาบันครอบครัว มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและอนามัยแม่และเด็ก  การดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา  รัฐบาลควรนำเอาบทความเรื่อง คุณภาพชิวิต: จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน[1] ของ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ มาคิดออกมาเป็นนโยบายสาธารณะในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ซึ่งถ้ารัฐทำได้จะถือว่าเป็นการส่งเสริมคุณค่าของมนุษย์อย่างยิ่ง  มาถึงตรงนี้ อดที่กล่าวไม่ได้ว่า ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นบุคคลผู้ทรงคุณค่ายิ่งอีกคนหนึ่งของเราชาวไทย มนุษย์มีคุณค่า ไม่ได้เกิดมาแต่ตัวเขา หรือมัวเมาในอำนาจหรือเงิน หากแต่มีความหวังที่จะทำโลกให้ดีขึ้น ประชากรที่ยากจนดีขึ้น หรือทิ้งมรดกดี ๆ ไว้ให้คนรุ่นหลัง ประโยคนี้ อยากให้ผู้นำในบ้านเมืองเรา ได้เห็น ได้เข้าใจ  อยากให้ผู้นำพรรคการเมือง นักการเมืองได้เห็นประโยคนี้ และเตือนใจตนเองเสมอว่า เราเป็นคนที่มีคุณค่าหรือไม่   ถ้าเป็นไปได้ผมอยากเห็น การปฏิรูปการคัดเลือกคนที่จะมาเล่นการเมือง  ให้มีการปฏิรูประบบการสรรหา คัดเลือก กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับความมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ โดยเอาคุณสมบัติเด่นของมนุษย์ที่มีคุณค่า เช่น ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)  ศ.ดร.ป๋วย  ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล  ศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คุณอานันท์ ปันยารชุน  หมอประเวศ วะสี  ฯลฯ  นำคุณสมบัติของบุคคลผู้ทรงคุณค่าเหล่านี้ มาเป็นมาตรฐานพื้นฐานในการกำหนดคุณสมบัติของนักการเมือง นักบริหาร  มาถึงตรงนี้อาจกล่าวได้ว่า คุณสมบัติสำคัญอีกประการหนึ่งของผู้นำก็คือ  ต้องเป็นคนที่ไม่ได้เกิดมาแต่ตัวเขา หรือมัวเมาในอำนาจหรือเงิน หากแต่มีความหวังที่จะทำโลกให้ดีขึ้น ประชากรที่ยากจนดีขึ้น หรือทิ้งมรดกดี ๆ ไว้ให้คนรุ่นหลัง มีคำพูดคำหนึ่งที่อยากให้เข้าไปในสมองของเด็กกว่า 300 คนที่ผมได้พูดคือ ฟังวันนี้แล้ว ลองนึกว่า เมื่อนักศึกษาอายุ 40 ปี ไม่ว่าท่านจะเป็นอะไร จะต้องปรับตัวเองตลอดเวลา มีทั้งปัญญา คุณธรรมและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รักษาสังคมมนุษย์ให้อยู่รอดต่อ ๆ ไป ประโยคนี้ สำคัญมาก ประการเป็นตัวอย่างที่ดีของครู อาจารย์ สอนให้ลูกศิษย์มองโลกไปข้างหน้า  เด็กไทยส่วนใหญ่ ไม่ค่อยรู้จักอนาคต ไม่รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ล่วงหน้า  ผมสัมภาษณ์นักศึกษาจบใหม่หลายร้อยคน เพื่อคัดเลือกเข้าทำงาน เด็กจบมหาวิทยาลัย ยังตอบไม่ค่อยได้ว่า มีเป้าหมายชีวิตอย่างไร อีกสิบปีต้องการเป็นอะไร ทำอะไร เด็กตอบไม่ค่อยได้ ไม่ชัดเจน ไม่มี Action plan ตรงนี้ ครู ผู้ปกครองควรต้องทบทวน เลิกเผด็จการในโรงเรียน ในบ้าน  ส่งเสริมให้เด็กมีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน มีแผนสอง สาม รองรับไว้  และสอนให้เขากำหนดเป้าหมายชีวิตตัวเอง นั้นก็ต้องนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ อนาคตของโลกมาเป็นแนวทางด้วย  เมื่อมีเป้าหมายชัดเจน จะทำให้เด็ก มีอนาคตสดใส สามารถมองเห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งจะเป็นประตูไปสู่การมองเห็นคุณค่าของผู้อื่นได้อีกทางหนึ่ง คนไทยยุคนี้คิดอะไรคล้าย ๆ กัน ซึ่งหากดูทฤษฎี H+(plus) ของ Edward De Bono ก็มีอะไรคล้ายของเรา และมาทางตะวันออกมากขึ้นด้วย เช่น มีเรื่อง Happiness , Health แต่เขาเพิ่มเรื่อง Humour ขึ้นมาคือ ชีวิตต้องมีอารมณ์ขันด้วย สุดท้ายคือ Hope ผมยังหวังว่า ประเทศไทยจะรอดจากวิกฤติต่าง ๆ อย่างราบรื่น เรื่องความสุข เป็นเรื่องสำคัญ เริ่มมีการวัดการเจริญเติบโต ความมั่งคั่งของประเทศด้วยการวัดความสุข ในบางประเทศแล้ว   คนเรา ถ้ามีความสุข ก็พร้อมจะแบ่งบัน  และพร้อมจะพัฒนา พร้อมจะก้าวไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ  ผมคิดว่า ความสุขมีความสัมพันธ์กับความมั่นคง ความยั่งยืน  องค์กรใด บริหารให้ได้กำไร โดยไม่คำนึงถึงความสุขของพนักงาน บ้านใด บริหารครอบครัวโดยไม่คำนึงถึงความสุขของสมาชิกในครอบครัว ย่อมมีปัญหา เป็นสังคมที่ไม่มั่นคงและยั่งยืน  ประเทศของเราขณะนี้กล่าวได้ว่า ความสงบสุขเริ่มลดน้อยลงกว่าในอดีต  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิสัยทัศน์รัฐบาล ในส่วนของการสร้างความสุขอย่างยั่งยืน ให้กับประชาชน ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน มุ่งเน้นประชานิยมระยะสั้นมากเกินไป ขาดเรื่องความยั่งยืน ความสุขระยะยาว ครับ  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  สุดท้าย ผมขอประชาสัมพันธ์งาน  "การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2549" (Thailand Research Expo 2006) ซึ่งจัดให้มีขึ้นในวันที่ 9-13 ก.ย. ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว  ผมกำลงเรียน ป.เอก อยู่ งานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยแลเพิ่มความรู้และวิสัยทัศน์ให้ผม      ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน 

ยม

 

นักศึกษา ปริญญาเอก

 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

ยม"บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 8 H , 8 K และหมอประเวศ 10 ข้อ
8 H , 8 K และหมอประเวศ 10 ข้อ[1]  ระยะนี้ การต่อสู้กันทางการเมืองยังมีต่อไป ร้อนแรงเช่นเคย เป็นช่วงที่คนไทยจะต้องศึกษาทุกอย่างให้รอบคอบ หากเราคิดเป็น วิเคราะห์เป็น แยกแยะให้ออก ประเทศของเราอาจจะไปสู่ความยั่งยืนได้ การแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ คนในเมือง และคนในชนบท อาจจะไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสมนักในปัจจุบัน
ผมคิดว่า ภาคเมืองต้องเข้าใจภาคชนบท ภาคชนบทต้องเข้าใจภาคเมืองเช่นกัน และหาทางอยู่ร่วมกัน มองประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียว จะทำได้หรือไม่ ยังไม่มีใครทราบ สำหรับงานของผมได้ทำทั้งภาคเหนือ ภาคชนบท คือ เราเป็นคนกรุงเทพฯ ต้องสร้างโอกาสให้ภาคชนบท ได้รับทราบข่าวสารที่ถูกต้อง

ปัญหาในปัจจุบันคือ ความคิดของคนในเมืองหรือกรุงเทพฯ กระจุกตัวกันเฉพาะคนที่มีความคิดคล้ายกัน เราต้องสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นทั้ง 2 ภาค

ตัวที่เชื่อมโยงกันจริง ๆ คือ รุ่นลูกของชาวชนบท ปัจจุบันได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นมาก และอาจจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดกันมากขึ้น จึงควรจะสร้างระบบการเรียนรู้มากขึ้นในต่างจังหวัด

อุปสรรคที่สำคัญคือ สื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อวิทยุ ในระบบ FM ซึ่งช่องที่ผมทำอยู่ เช่น FM 96.5 MHz ไม่สามารถกระจายไปต่างจังหวัดได้ ผู้ฟังยังเป็นกลุ่มเดิม ประเทศไทยจึงยังไม่มีความคิดที่หลากหลายนัก คงต้องค่อย ๆ แก้ไขต่อไป

ประเทศเม็กซิโก คล้าย ๆ กับเรา คนชั้นกลางชอบแนวคิดแบบหนึ่ง ถูกคนชั้นล่างฝ่ายผู้ใช้แรงงาน คิดอีกแบบหนึ่งไม่เห็นด้วย โดยผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของเขา ต้องเรียนรู้ต่อไป

ผมโชคดีที่ได้ทำงานในทุกภาคส่วน และทุกสาขา เช่น การให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ได้แสดงออก จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อย่างที่ Peter F. Drucker พูดไว้เสมอว่า ทุก ๆ วันที่ผ่านไป เขา " เรียนรู้จากผู้ฟัง "

เมื่อวันพุธที่ 5 สิงหาคม ผมได้รับเกียรติจากอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ( Humanity ) มองนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจ Human capital อย่างผม ไปบรรยายให้นักศึกษากว่า 300 คนฟัง ที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหัวข้อ "การบูรณาการแนวคิด ไปสู่มนุษย์ที่มีคุณค่า" นับเป็นความภาคภูมิใจของผมอย่างยิ่ง

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ เพราะมีหลายอย่างคล้ายทฤษฎี 4 L's โดยเฉพาะการสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

หัวข้อที่คณะมนุษยศาสตร์ให้ผมพูดคือ มองมนุษย์อย่างมีคุณค่า ซึ่งประกอบไปด้วย มนุษย์มูลค่าเพิ่ม คือ ทุน 8 K's ต่าง ๆ แต่เพิ่มคุณธรรม จริยธรรม การมีวัฒนธรรมที่งดงาม การมีประวัติศาสตร์ที่ควรหวงแหน และการมองมนุษย์ในมิติต่าง ๆ เช่น สันติภาพ และศาสนาด้วย

ผมได้ยกตัวอย่าง มนุษย์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าหลายท่าน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น
- รัชกาลที่ 9
- ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)
- ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
- ศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย
- ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
- คุณอานันท์ ปันยารชุน
- หมอประเวศ วะสี
ในต่างประเทศ เช่น
- Mother Teresa
- Mohandas Karamchand Gandhi หรือ Mahatma Gandhi

จะเห็นว่า มนุษย์มีคุณค่า ไม่ได้เกิดมาแต่ตัวเขา หรือมัวเมาในอำนาจหรือเงิน หากแต่มีความหวังที่จะทำโลกให้ดีขึ้น ประชากรที่ยากจนดีขึ้น หรือทิ้งมรดกดี ๆ ไว้ให้คนรุ่นหลัง

ผมมาร่วมงานครั้งนี้ จึงได้มองอะไรที่กว้างขึ้นกว่าเดิม และทำให้คนที่ทำงานในองค์กรที่เป็นลูกค้าผม ส่วนใหญ่ได้ดูมนุษย์อย่างครบวงจร แบบที่ผมเน้นทฤษฎี HRDS คือ
• Happiness มีความสุข
• Respect ยกย่องให้เกียรติ
• Dignity มีศักดิ์ศรี
• Sustainability มีความยั่งยืน

นับได้ว่าเป็นสัปดาห์ที่ได้ทำงานทางวิชาการครบถ้วน จึงขอขอบคุณคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะเดียวกัน นักศึกษามนุษยศาสตร์ ได้เติมเต็ม 8 K's เรื่องทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางด้าน Networking โดยเฉพาะทุนทางปัญญาเป็นสิ่งสำคัญมาก

มีคำพูดคำหนึ่งที่อยากให้เข้าไปในสมองของเด็กกว่า 300 คนที่ผมได้พูดคือ ฟังวันนี้แล้ว ลองนึกว่า เมื่อนักศึกษาอายุ 40 ปี ไม่ว่าท่านจะเป็นอะไร จะต้องปรับตัวเองตลอดเวลา มีทั้งปัญญา คุณธรรมและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รักษาสังคมมนุษย์ให้อยู่รอดต่อ ๆ ไป

ปัจจุบันสิ่งหนึ่งที่เป็นคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชอบคิดและอยากคิด แต่การเรียนยังไม่ได้ให้เขามีส่วนคิดได้เต็มที่ การเรียนแบบเดิมยังเป็นอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ปรากฏว่าผมพูดเพียง 1 ชั่วโมง มีการโต้ตอบกันกว่า 45 นาที

ผมขอรายงานให้ทราบว่า ผมกับปลัดกระทรวงวัฒนธรรม คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จะมีหนังสือ pocket book เล่มใหม่ร่วมกัน ซึ่งจะเปรียบเทียบทฤษฎี 8 H กับ 8 K ในการทำงานของเรา 2 คน

ผมคิดว่า คนไทยยุคใหม่จะต้องมีปรัชญา ทฤษฎีของตัวเอง และได้ฟัง 8 H ของปลัดในการสัมมนาหลายครั้ง ท่านมีแนวคิดที่เป็นแบบไทย ๆ ซึ่งหากผสมกันระหว่าง 8 K's และ 8 H's จะไปได้ดี คือ 8 H มองศักยภาพของมนุษย์แบบครบวงจร อย่าง Head ของท่าน คือ ทุนทางปัญญาไม่พอ ต้องมีความรู้สึกที่เกี่ยวกับจิตใจด้วย Spiritual จึงจำเป็น และ Hand ของท่านคือ คนเก่งต้องทำงานเองได้ ไม่ใช่สั่งอย่างเดียว หรือลูกน้องทำให้ มีความคิดไม่พอต้องทำเป็นด้วย ซึ่งทำให้ผมนึกถึง Jack welch เขาได้เน้น Execution และผมชอบทฤษฎี Get thing done ผมว่าคนไทยไม่ค่อยจะ Get thing done มักรอให้นายสั่งมากกว่า

ส่วนคุณหมอประเวศได้ออกบัญญัติ 10 ประการ สำหรับคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ซึ่งมีหลายเรื่องเป็นเรื่องทุนมนุษย์ และมนุษย์ศาสตร์ เช่น ข้อที่ 10 เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คือ Head ของท่านปลัด และทุนทางปัญญาของผม

อีกเรื่องหนึ่งคือ Happiness ซึ่งทั้งผมและท่านปลัดมี คุณหมอประเวศก็มี และที่สำคัญคือ การยกย่องคนที่เสียเปรียบทางสังคม Respect และการอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เป็นจุดสำคัญ และสุดท้ายต้องเน้นทุนทางจริยธรรม

คนไทยยุคนี้คิดอะไรคล้าย ๆ กัน ซึ่งหากดูทฤษฎี H+(plus) ของ Edward De Bono ก็มีอะไรคล้ายของเรา และมาทางตะวันออกมากขึ้นด้วย เช่น มีเรื่อง Happiness , Health แต่เขาเพิ่มเรื่อง Humour ขึ้นมาคือ ชีวิตต้องมีอารมณ์ขันด้วย สุดท้ายคือ Hope ผมยังหวังว่า ประเทศไทยจะรอดจากวิกฤติต่าง ๆ อย่างราบรื่น
  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
จากการที่ได้รับฟังการบรรยายจาก อ.ดร.จีระ  ทำให้ได้รับการกระตุ้นทางความคิดเกี่ยวกับเรื่องความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าในหลายๆส่วน  แต่สิ่งที่จะมาแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนๆ ในบล็อกนี้ คือ เรื่องของความยั่งยืน   ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี HRDS (ซึ่งเป็นลักษณะของมนุษย์ที่ทุกคนนั้นปรารถนาและควรจะเป็นให้ได้)   เมื่อพูดถึงความยั่งยืน  ก็ต้องโยงไปถึงการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน  เพื่อนๆหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืน"   การพัฒนาที่ยั่งยืนนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรตระหนักให้มาก   การพัฒนาที่เราเข้าใจในปัจจุบัน เป็นเพียงวาทกรรมที่ประเทศทางแถบตะวันตกได้ให้ความหมายไว้ว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีรูปแบบชีวิตเป็นไปในแนวทุนนิยม ทุกคนต้องมีฐานะดี มีความเจริญทางด้านวัตถุ   มีความสะดวกสบายจากการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ  ประเทศไทยเราที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ก็พยายามที่จะพัฒนา ให้ประเทศเป็นไปให้ลักษณะนั้น โดยที่ลืมคิดไปว่า สังคมไทยแตกต่างจากสังคมตะวันตก    ชาวไทยเรามีก็ภูมิปัญญาเป็นของตัวเอง มีวิถีชีวิตแบบไทยที่สามารถจะใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยอันสงบสุขของเราได้  ซึ่งประเทศทางตะวันตกอาจจะมองว่าเราล้าหลัง  แต่นั่นเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับความเป็นไทยของเรา  ดังนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืน  คือการพัฒนาภูมิปัญญาไทยของเรา ให้คงอยู่ต่อไป  พวกเราในฐานะนักศึกษา ผู้เป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต ควรจะเริ่มประพฤติตนให้เกิดความยั่งยืน โดยต้องมีความพอเพียง มีคุณธรรมจริยธรรม  นำภูมิปัญญาไทย มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมในปัจจุบันให้มากที่สุด   เพราะไม่มีสิ่งใด ที่จะเหมาะสมกับการเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าในสังคมไทย มากไปกว่าการต่อยอดภูมิปัญญาไทย ให้ประเทศไทยมีความเจริญ เป็นประเทศที่พัฒนา พัฒนาโดยที่ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้วาทกรรมของประเทศตะวันตกอีกต่อไป

ก่อนอื่น ต้องขอกราบขอบพระคุณท่าน ศ.ดร. จีระ และขอบคุณคุณยมที่ให้ความเมตตาให้ผมได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในระหว่างการเรียนการสอนแก่นักศึกษา MBA สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร (ขออภัยนะครับ หากเขียนชื่อสาขาไม่ถูกต้องครบถ้วน) ที่ KMIT ลาดกระบังเมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ก.ย. 49 รวมทั้งได้มีโอกาสเข้าร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานที่ บจก. ไทยคิวพี อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรีและโรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง อ. ท่าม่วง จ. กาญจนบุรี ในวันจันทร์ที่ 11 (911-เป็นวันดี)

ความท้าทายของนักบริหารทั้งหลายคือการบริหารคน หรือทรัพยากรมนุษย์ ที่จะทำอย่างไรให้คนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า สังคม และชุมชน เกิดความพึงพอใจ (Stakeholder Satisfaction) เกิดความสุขในการอยู่ร่วมกัน โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำรัสเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง ซึ่งผมเองคิดว่าก็คือหลัก 3 รู้ คือ

1) รู้จักหา คือ ถ้าเป็นข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ พ่อค้าทั้งหลายจะต้องมีสัมมาอาชีวะ ไม่คดโกง ไม่เอาเปรียบ ใช้กำลังความคิด ความรู้ ความสามารถแลกเปลี่ยนมาเป็นหน่วยแลกเปลี่ยนกลางนั่นก็คือเงิน  หากเป็นชาวไร่ ชาวนา เกษตรกร ชาวประมง ก็ต้องมีสัมมาอาชีวะ ไม่เอาพืช ผัก ผลไม้ ผลิตผลอื่น ๆ ที่มีสารเคมีตกค้าง หรือปลูกพืชผักผลไม้เหล่านั้นโดยไม่พึ่งพาสารเคมี สร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตผลทางการเกษตรด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น การซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยราคาที่ยุติธรรม นั่นคือหากพ่อค้าคนกลาง กดราคาซื้อผลิตผลทางการเกษตร ก็ทำให้ระบบการจับจ่ายใช้สอยของเกษตรกรก็ลดลง ก็ส่งผลให้การผลิตในภาคส่วนอุตสาหกรรมก็ลดลงด้วย เมื่อการผลิตลดลง การจ้างงานก็ลดลง ระบบหมุนเวียนของเงินก็สะดุด เศรษฐกิจระดับ Macro ก็มีปัญหา หากเป็นนักเรียน นักศึกษา ก็ต้องมีสัมมาอาชีวะ ซึ่งอาชีวะหรืออาชีพของตนเองคือ อาชีพนักเรียนนักศึกษา ก็ต้องตั้งใจเล่าเรียน ศึกษา พัฒนาองค์ความรู้ โดยที่ทุกคน ทุกอาชีพจะต้องยึดหลัก เศรษฐกิจพอเพียง และ PDCA - Plan Do Check Act อยู่เสมอ ๆ 

2) รู้จักใช้ คือ ใช้อย่างคุ้มค่า (Reasonable) และมีคุณค่า (Value) ไม่ใช้ประหยัดจนเกินไป ป่วยก็ไม่ไปพบแพทย์ ซื้อยากินเอง  มัธยัสถ์เสียจนเป็นโรคขาดอาหาร หรือกินอาหารภัตตาคารทุกมื้อ การทำอาหารกินร่วมกัน แม้อาจไม่หรูหราและอร่อยเท่า แต่ก็ได้ความสุข ความผูกพันและความทรงจำมาทดแทน     

3) รู้จักเก็บออม  ข้อนี้ก็สำคัญยิ่งอีกเช่นกัน วิสัยทัศน์ชาวบ้าน คือการประหยัดและเก็บออม อย่างชาญฉลาด ชาวไร่ชาวนาหลายรายมีเงินเก็บ มีเงินหมุนเวียนเป็นหลักหมื่นหลักแสน แต่จัดการเงินเพียงฝากออมทรัพย์ไว้กับธนาคาร ไม่เคยมีใครแนะนำเขาเกี่ยวกับการฝากเงินไว้กับกองทุนต่าง ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ไม่เคยมีใครแนะนำเกี่ยวกับการจัดสรรเงินที่ได้จากการทำงาน ผม (ในฐานะลูกชาวนาคนหนึ่ง)เชื่อว่า ชาวไร่ชาวนาทั้งหลายเขามีเงินเก็บ มีเงินหมุนเวียนที่พอเหมาะ จนกระทั่งวันหนึ่งเงินที่เขาเก็บถูกนำออกมาใช้จ่ายในสิ่งที่อาจไม่จำเป็นอย่างแท้จริง เหตุผลดียวที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้นยอมคือ  "ความรัก" รักลูกก็ให้ลูก เมื่อลูกต้องการในสิ่งที่อาจไม่สมควร ไม่ว่าจะเป็นมือถือ มอเตอร์ไซด์ รถยนต์ เสื้อผ้า รองเท้าแบรนด์เนม ราคาแพง สิ่งที่แปลกก็คือ คนที่มีแบรนด์ กลับไม่ใช้สินค้าที่มีแบรนด์ เช่น ผมเคยได้รับ email จากเพื่อนที่ส่งรูปโทรศัพท์มือถือของในหลวงเป็นรุ่นเก่ามาก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นสิ่งที่ร้อยเรียงและนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายของชีวิต  คือความสุข (Happiness) ซึ่งสอดคล้องกันกับแนวคิดแนวปฏิบัติของปรมาจารย์ 3 ท่านคือ 8K's ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 8H's ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และ H+(plus) ของ Edward De Bono คือสุขที่ได้ให้ (Happy for Giving) สุขที่ได้รับ (Happy for Taking) สุขที่ได้ยิน (Happy for Listening) สุขที่ได้เห็น (Happy for seeing) สุขที่ได้สัมผัส(Happy for Touching) และสุดท้ายคือสุขที่ใจ (Mind) รักษาหัวใจให้เข้มแข็งและแข็งแรง ด้วยความรักและความปรารถนาดี สิ่งดีดีก็จะบังเกิดขึ้น

รัก 

ประจวบ ไกรขาว

ยม "บทเรียน จากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ในที่สุด: วันนี้ก็มาถึง"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

 

 บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในที่สุด : วันนี้ก็มาถึง ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน เล่าถึง 3 เรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำ บทเรียนจากความเป็นจริงที่น่าสนใจ ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  

   

ก่อนหน้านี้ หลายคนบอกว่า ปฏิวัติเป็นวิธีการที่เหมาะสม แต่จะทำได้หรือไม่ เพราะในระยะ 5 ปี อดีตนายกทักษิณได้วางกำลังทางทหารและตำรวจไว้อย่างแน่นหนา โดยเฉพาะเพื่อนเตรียมทหารร่วมรุ่น 10 จึงมองกันว่า หากปฏิวัติอาจจะต้องมีการต่อสู้ถึงขั้นนองเลือด


บทความของ ศ.ดร.จีระ สัปดาห์นี้ อาจารย์เขียนเกี่ยวการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในบ้านเราได้ทันกาล น่าชวนติดตาม อย่างไรก็ตาม ผมตั้งข้อสังเกตว่า การที่อดีตนายกทักษิณฯ ได้วางกำลังทางทหารและตำรวจไว้อย่างแน่นหนา  การที่อดีตนายกฯทักษิณฯทำเช่นนั้น เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบไทย ๆ สไตล์ท่านทักษิณฯ  และการที่ไม่มีการนองเลือดนั้น ถือว่าเป็นส่วนดีของการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบไทย ๆ และที่สำคัญอาจจะเป็นเพราะการที่คนไทยทุกคนคิดถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบารมีของท่าน ทำให้บรรดานายทหาร นายตำรวจทั้งหลาย ต่อสู้กันด้วยทุนทางปัญญา ทุนทางไอที ทุนทางจริยธรรม ทุนทางสังคม หารือกันมากกว่าที่จะต่อสู้ด้วยอาวุธ ซึ่งผมในฐานะคนไทยคนหนึ่งต้องขอขอบคุณนายทหาร นายตำรวจ พี่น้องชาวไทยที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ที่ไม่ทำให้เกิดการนองเลือดกันขึ้นมา  ขอให้เราให้ดีที่สุด เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของโลก    

คืนวันอังคารที่ 19 กันยายน กว่าที่คณะปฏิรูปการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะประกาศว่ายึดทุกอย่างได้อย่างเรียบร้อย ก็เกือบ 5 ทุ่ม ยังมีการต่อรองอย่างน่าสนใจ และอดีตนายกฯ ที่ประกาศภาวะฉุกเฉิน ในช่วง 4 ทุ่มกว่าของคืนวันอังคาร แสดงถึงว่าการปฏิวัติครั้งนี้ ไม่ง่ายหรือสะดวกอย่างที่คิดนัก 

คืนนั้น ผมได้เห็นอดีตนายกทักษิณ ออกทีวีเพียงไม่กี่นาที ก็หายไป และไม่เห็นท่านให้สัมภาษณ์ หรือออกมาพูดทางทีวีอีก ตรงกันข้ามกับฝ่ายปฏิวัติ ก็เข้าใจว่าทางคณะปฏิรูประบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดสื่อต่าง ๆ ได้แล้ว นั่นหมายถึงการยึดอำนาจได้แล้ว  สื่อเป็นสิ่งสำคัญ นับว่าเป็นอาวุธอย่างหนึ่งหากรู้จักใช้ รู้จักควบคุมจะเกิดประโยชน์มหาศาลกับส่วนรวม  สื่อต่าง ๆ ในประเทศไทย ควรต้องได้รับการบริหารจัดการให้ดีกว่าที่ผ่านมา ประเทศเรา อาจจะยังไม่พร้อมที่จะปล่อยให้สื่อทำได้แบบอเมริกา  เพราะทุนทางทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเรายังมีไม่มากพอ ไม่เทียบเท่ากับประเทศที่เจริญแล้ว สื่อจึงควรได้รับการดูแล แต่ต้องอยู่ในระบอบประชาธิปไตย มาถึงวันนี้ สื่อต่าง ๆ ยังสามารถเสนอข่าวได้ แต่ข่าวที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง ความแตกแยก แบ่งฝักฝ่ายดูลดลงไป ด้วยการขอความร่วมมือจากคณะปฏิรูปฯ  ซึ่งขอชื่นชมกับการขอร้องและ เมื่ออดีตนายกทักษิณฯ ไม่มีโอกาสออกอากาศ แถลงการณ์ใด ๆ ทางทีวี ทางคณะปฏิรูปน่าจะเข้มงวดไม่ให้คู่อริ อย่างนายสนธิ ลิ้มทองกุล หรือฝ่ายที่ไม่ชอบอดีตนายกทักษิณ ออกอากาศ โจมตีอดีตนายกเพียงฝ่ายเดียว ตรงนี้ผมดูจะไม่เป็นผลดีต่อสายตาของประชาชน  สื่อต่าง ๆ ควรยึดแนวพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และแนวพุทธศาสนา เป็นกรอบ เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม   

สิ่งแรกที่พวกเราคนไทยจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบคือ ปฏิกิริยาจากต่างประเทศว่า การปฏิวัติครั้งนี้ ประชาคมโลกจะมองและคิดอย่างไร ผมดูว่าสหรัฐอเมริกามีท่าทีกลาง ๆ มองว่าเป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องดำเนินการจัดการ และคณะปฏิรูปการปกครองฯ เข้ามาดูแลชั่วคราว หากสหรัฐอเมริกามีท่าทีเป็นลบ อาจจะยกเหตุผล เช่น รัฐบาลของคุณทักษิณมาจากการเลือกตั้ง หรือเน้นมาตรการสิทธิมนุษยชน อาจจะทำให้เกิดปัญหาความไม่พอใจของประชาคมโลกได้


ในเรื่องนี้ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ได้แถลงให้คณะทูตานุทูตที่อยู่ในประเทศไทย รวมทั้งผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้รับทราบเมื่อบ่ายวันพุธที่ 20 กันยายน 2549 แล้ว
ผมคิดว่า การอธิบายข้อเท็จจริง โดยไม่ปิดบัง และทำทุกอย่างแบบโปร่งใส ให้ชาวต่างชาติเข้าใจ เช่น ปัญหาที่คนชั้นกลางมีความเคลือบแคลง ระบบประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ของรัฐบาลทักษิณ และที่สำคัญคือคณะปฏิรูปการปกครองฯ จะเข้ามาแก้ปัญหาชั่วคราว เมื่อทำงานสำเร็จ จะคืนอำนาจให้แก่ประชาชนอย่างเร็ว โดยมีการปฏิรูปการเมือง และมีการเลือกตั้งต่อไป

เรื่องผลกระทบจากการมีการปฏิวัติ ครั้งนี้คือปฏิกิริยาของชาวโลก ในแง่สิทธิเสริภาพของมนุษยชน ตามระบอบประชาธิปไตย เชื่อมั่นว่าต้องถูกจับตามองจากชาวโลกแน่นอน   จากนี้ไปการดำเนินการปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะเป็นที่สนใจของประเทศพันธมิตร ประเทศที่มาลงทุนในบ้านเรา   ถ้าการดำเนินการปฏิรูปฯ ดำเนินไปด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส เป็นประชาธิปไตย โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประมุข ได้ปรากฏต่อชาวโลกอย่างแท้จริง ทันกาล เป็นธรรม ก็จะเป็นผลดีต่อชาติทั้งระยะสั้นและระยะยาว  การแถลงการณ์ต่อคณะทูตจากนานาประเทศ จะช่วยได้ระดับหนึ่ง

จากนี้ไปขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ทำการปฏิรูปไป ชี้แจง ประชาสัมพันธ์ต่อคณะทูตเป็นระยะ ๆ  ขณะนี้เป็นยุคโลกไร้พรมแดน จริง ๆ เมื่อมีคณะรัฐบาลชุดใหม่แล้ว ก่อนจะมีการเลือกตั้งในอนาคตอีก หกเดือนหรือ หนึ่งปีข้างหน้า การที่จะเชิญคณะทูตมาพบปะชี้แจง ตอบข้อซักถาม ก็จะเป็นผลดีต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองในขณะนี้ และอนุญาตให้เผยแพร่ภาพถ่ายไปยังทั่วโลกได้   ทำให้ทั่วโลกเห็นว่าบ้านเมืองของเรามีเอกลักษณ์ ความเป็นประชาธิปไตยแบบไทย ๆ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

อีกประเด็นที่สำคัญคือ คณะปฏิรูปการปกครองฯ จะเลือกใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ จะเป็นใคร มาจากไหน ซึ่งต้องให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนอย่างแท้จริง มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นกลาง เป็นมืออาชีพที่ทำเพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะการปฏิรูป แก้ปัญหาการเมืองให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว คงจะช่วยให้ภาพลักษณ์ต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ยกย่องข้าราชการประจำที่ทำงาน ขจัดข้าราชการที่ไม่มีคุณภาพออกไป สร้างขวัญ กำลังใจ ให้แก่คนดี ซึ่งผมขอเน้นว่า คณะรัฐมนตรีใหม่ จะต้องฟื้นฟูขวัญ กำลังใจของข้าราชการที่ดี ๆ อย่างเร็ว  

การจะเลือกใครมาเป็นนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ นั้น น่าจับตามอง ตรงนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงอนาคตประเทศไทยและวิสัยทัศน์ของคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯได้ เป็นอย่างดี    ตรงนี้ต้องใช้หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เข้ามาช่วย  ต้องพิจารณาถึงวิสัยทัศน์ประเทศไทย  แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ประเทศ เป็นอย่างไร  จากนั้นจึงมากำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณสมบัติของผู้ที่จะมารับผิดชอบในหน้าที่คณะรัฐมนตรี 

ผมติดตามข่าวเรื่องนี้ สัเกตเห็นว่าเราเน้นมากเรื่องผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ  ผมขอฝากเรื่องการสรรหารัฐมนตรีที่จะมาประจำกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ของชาติด้วย  ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ๆ ไม่น้อยไปกว่าเรื่องเศรษฐกิจ  คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของเศรษฐกิจในระยะยาว รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงนี้จึงควรสรรหาคนที่ทำงานด้านพัฒนาการศึกษา ทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ด้วยอุดมการณ์ ซึ่งผมขอแนะนำ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  เพราะท่านทำงานด้านการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาด้วยอุดมการณ์ มุ่งมั่นทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ มานาน ท่านเป็นคนดี มีคุณธรรมและมีความรู้   

สุดท้ายที่ผมเป็นห่วง ก็คือพระพลานามัย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จะทำอะไรกันก็ขอให้คิดถึงเรื่องนี้ให้มากด้วย อย่าให้พระองค์ทรงหนักพระทัยมาก ช่วยกันรีบแก้ไขปัญหาบ้านเมืองด้วยหลักธรรมมาภิบาล ทศพิศราชธรรม ให้บ้านเมืองสงบสุขเรียบร้อย เป็นที่ยอมรับของชาวโลกโดยเร็ว

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ    

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   

ยม  

นักศึกษา ปริญญาเอก  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 

ยม "บทเรียน จากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ในที่สุด: วันนี้ก็มาถึง"
ในที่สุด : วันนี้ก็มาถึง[1] บทความเรื่องนี้ผมเขียนในวันพุธ กองบรรณาธิการต้องการให้ส่งต้นฉบับวันพุธ ทันเหตุการณ์ "ปฏิวัติ" เมื่อคืนวันอังคารที่ 19 กันยายน ที่ยังสด ๆ ร้อน ๆ คงเป็นช่วงที่คนไทยสนใจเบื้องหน้าเบื้องหลัง และยังต้องมองไปข้างหน้าอีก 6 เดือน - 1 ปี ว่าประเทศไทยจะเดินอย่างไร
ประเด็นแรกคือ การแก้ปัญหาครั้งนี้เป็นไปตามที่หลายคนคาดคิดว่า ประเทศไทยจะต้องมีการล้างไพ่กันใหม่ มีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะถ้าไม่ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิม การแก้ปัญหาของชาติในอนาคต จะทำลำบากและติดขัดไปหมด เพราะระบบทักษิณเป็นระบบที่เข้มแข็ง และฝังรากหยั่งลึกในประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ หลายคนบอกว่า ปฏิวัติเป็นวิธีการที่เหมาะสม แต่จะทำได้หรือไม่ เพราะในระยะ 5 ปี อดีตนายกทักษิณได้วางกำลังทางทหารและตำรวจไว้อย่างแน่นหนา โดยเฉพาะเพื่อนเตรียมทหารร่วมรุ่น 10 จึงมองกันว่า หากปฏิวัติอาจจะต้องมีการต่อสู้ถึงขั้นนองเลือด

คืนวันอังคารที่ 19 กันยายน กว่าที่คณะปฏิรูปการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะประกาศว่ายึดทุกอย่างได้อย่างเรียบร้อย ก็เกือบ 5 ทุ่ม ยังมีการต่อรองอย่างน่าสนใจ และอดีตนายกฯ ที่ประกาศภาวะฉุกเฉิน ในช่วง 4 ทุ่มกว่าของคืนวันอังคาร แสดงถึงว่าการปฏิวัติครั้งนี้ ไม่ง่ายหรือสะดวกอย่างที่คิดนัก

ต้องยอมรับว่า เหตุผลของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อทุกฝ่ายว่า ระบบทักษิณเป็นระบบที่ไม่เหมาะกับสังคมไทย เป็นระบบที่ใช้อำนาจทางการเมืองและอำนาจทางการเงิน ปกครองประเทศไทย โดยไม่ให้ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วม แทรกแซงองค์กรอิสระ และสาเหตุอื่น ๆ อีกมากดังที่ทราบกัน

สิ่งแรกที่พวกเราคนไทยจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบคือ ปฏิกิริยาจากต่างประเทศว่า การปฏิวัติครั้งนี้ ประชาคมโลกจะมองและคิดอย่างไร ผมดูว่าสหรัฐอเมริกามีท่าทีกลาง ๆ มองว่าเป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องดำเนินการจัดการ และคณะปฏิรูปการปกครองฯ เข้ามาดูแลชั่วคราว หากสหรัฐอเมริกามีท่าทีเป็นลบ อาจจะยกเหตุผล เช่น รัฐบาลของคุณทักษิณมาจากการเลือกตั้ง หรือเน้นมาตรการสิทธิมนุษยชน อาจจะทำให้เกิดปัญหาความไม่พอใจของประชาคมโลกได้
ในเรื่องนี้ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ได้แถลงให้คณะทูตานุทูตที่อยู่ในประเทศไทย รวมทั้งผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้รับทราบเมื่อบ่ายวันพุธที่ 20 กันยายน 2549 แล้ว

ผมคิดว่า การอธิบายข้อเท็จจริง โดยไม่ปิดบัง และทำทุกอย่างแบบโปร่งใส ให้ชาวต่างชาติเข้าใจ เช่น ปัญหาที่คนชั้นกลางมีความเคลือบแคลง ระบบประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ของรัฐบาลทักษิณ และที่สำคัญคือคณะปฏิรูปการปกครองฯ จะเข้ามาแก้ปัญหาชั่วคราว เมื่อทำงานสำเร็จ จะคืนอำนาจให้แก่ประชาชนอย่างเร็ว โดยมีการปฏิรูปการเมือง และมีการเลือกตั้งต่อไป

ประเด็นที่สอง ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ปากท้องของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ ข่าวในเช้าวันพุธที่ 20 กันยายนว่า ตัวแทนของธนาคารกสิกรไทยมองว่า เศรษฐกิจ ตลาดหุ้น การท่องเที่ยว อาจจะกระทบบ้างในระยะสั้น แต่ในระยะปานกลางและระยะยาวน่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจที่มีธุรกิจหลายกลุ่ม เข้ามามีบทบาทอย่างแท้จริง แทนที่จะกระจุกตัวเป็นกลุ่มเดียว และทำธุรกิจแบบไม่โปร่งใส หากลดปัจจัยการใช้ประชานิยมในระยะสั้นไปได้บ้าง อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้เหมาะสมและยั่งยืนกว่า นั่นคือใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น
 อีกประเด็นที่สำคัญคือ คณะปฏิรูปการปกครองฯ จะเลือกใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ จะเป็นใคร มาจากไหน ซึ่งต้องให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนอย่างแท้จริง มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นกลาง เป็นมืออาชีพที่ทำเพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะการปฏิรูป แก้ปัญหาการเมืองให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว คงจะช่วยให้ภาพลักษณ์ต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ยกย่องข้าราชการประจำที่ทำงาน ขจัดข้าราชการที่ไม่มีคุณภาพออกไป สร้างขวัญ กำลังใจ ให้แก่คนดี ซึ่งผมขอเน้นว่า คณะรัฐมนตรีใหม่ จะต้องฟื้นฟูขวัญ กำลังใจของข้าราชการที่ดี ๆ อย่างเร็ว
ประการต่อมา จะทำอย่างไรให้ภาคเมืองกับชนบท มีความสามัคคี ร่วมกันอย่างแท้จริง ทำอย่างไรจึงจะลดความแตกแยกของสังคมให้น้อยลง ผมยังมีความหวังว่า ปัญหาชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้จะได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง

สุดท้าย จะต้องมีการใช้กฎหมาย หรือมีกรรมการกลางที่เป็นธรรม พิจารณา ตรวจสอบการทำงานของอดีตนายกรัฐมนตรีอย่างไร จะทำอย่างไรให้เหมาะสม เป็นธรรม และโปร่งใสที่สุด โดยไม่ให้สร้างความแตกแยกของประชาชนต่อไป  
   จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3

โทรสาร 0-2273-0181
 

[1] http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คณะปฏิรูป: นโยบายเพื่อความยั่งยืน"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

เช้าวันเสาร์ที่ 30 ก.ย. ผมเดินทางมาวัดไร่ขิง ด้วยวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก มาทำบุญที่วัดไร่ขิง ประการที่สองเพื่อชมงานประกวดสุนัข ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอดแห่งประเทศไทย

 

การทำบุญที่วัดไร่ขิง มีการพัฒนาเป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะการถวายสังฆทานบริเวณข้างโบสถ์วัดไร่ขิง มีประชาชนจำนวนมากหมุนเวียนเข้ามาถวายสังฆทาน โดยทางวัดจัดให้มีจตุปัจจัยสำหรับถวายสังฆทานเตรียมไว้ และมีตู้รับบริจาค เปิดโอกาสให้คนที่ยากจนได้มีโอกาสทำบุญถวายสังฆทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อของอะไรไป เพราะทางวัดจัดไว้ให้ เพียงบริจาคเงินใส่ตู้รับบริจาคเท่าใดก็ได้   อีกมุมหนึ่งคือมีการรับบริจาคเงินเพื่อซื้อโรงศพให้สำหรับศพไม่มีญาติ หรือศพผู้ยากไร้ ก็มีประโยชน์สำหรับคนยากจน หรือศพไร้ญาติ ทางวัดก็มีเงินที่ได้รับบริจาคมาซื้อโรงศพให้ได้   ทึ่จริงทางวัดทั้งหลายน่าจะที่มีประชาชนไม่ทำบุญเป็นจำนวนมาก น่าจะมีการให้วิทยาทาน วัดน่าจะเป็นแหล่งสร้างทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนได้ดี น่าจะมีการจัดเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงฯ เผยแพร่ให้คนทั่วไปได้เรียนรู้ด้วย

 

อีกมุมหนึ่งที่เห็นแล้วน่าเป็นห่วงคือสุนัขในวัดมีจำนวนมาก หลายตัวมีอาการขี้เลื้อน ทางราชการควรเข้ามาช่วยเหลือวัดในการจัดการกับสุนัขจรจัด ให้เป็นระบบ และไม่สร้างภาระให้พระ ทำบุญเสร็จผมแวะไปดูงานประกวดสุนัข

 

งานประกวดสุนัขประจำปีของสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขเยอรมันเช็พเพอด แห่งประเทศไทย ผมมักติดตามงานนี้ทุกปีถ้ามีโอกาส ปีนี้จัดที่วัดไร่ขิง บริเวณโรงเรียนวัดไร่ขิง

 

ผมเป็นคนชอบสุนัขตั้งแต่สมัยเป็นเด็กวัด พระท่านมอบหมายให้ผมดูแลสัตว์ในวัดทั้งหมด ไก่วัด หมาวัด ปลาหน้าวัด ผมได้รับมอบหมายให้เอาเศษอาหารที่เหลือจากพระและเด็กวัดแล้ว มาแจกสุนัขในวัด อยู่ระยะหนึ่ง เห็นว่าสุนัขแม้เป็นสัตว์แต่มีความรักและกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ได้บทเรียนจากสุนัขในวัดหลายเรื่อง

 

เมื่อครั้งผมบวชเป็นพระ ผมเคยใช้สุนัขเป็นครูสอนเด็กวัด ลูกศิษย์ก้นกุฏิ ที่เกเร และชอบหนีออกจากบ้านเพราะโกรธแม่ที่ชอบดุด่าประจำ ผู้เป็นแม่มาหาผมและขอร้องให้ผมช่วยสอนเด็กเกเรนี้  ผมเรียกเด็กมาสอน โดยใช้สุนัขเป็นครู ผมเรียกสุนัขที่เคยดูแลเป็นประจำมาหา และใช้หนังสือพิมพ์ม้วนและตีสุนัขตัวนั้นอย่างแรง สุนัขตกใจหนี เด็กเกเร อยู่ข้าง ๆ เห็นสุนัขถูกตีอย่างแรง แล้วสุนัขวิ่งหนีตกใจ วิ่งไปยืนอยู่ไกล แล้วมองมาด้วยความงง  จากนั้นผมเรียกสุนัขเข้ามาหาอีกครั้ง สุนัขก็วิ่งเข้ามาหา พร้อมกระดิกหาง สุนัขเข้ามาโดยไม่โกรธ  ผมได้สอนให้เด็กเกเร เห็นว่า แม้สุนัขยังไม่โกรธผู้มีพระคุณ แล้วเราเป็นมนุษย์ ทำไมจึงโกรธผู้เป็นแม่เพราะถูกว่าเท่านั้น  เด็กถึงกับน้ำตาไหลด้วยความประทับใจ และบอกว่าต่อไปนี้จะไม่โกรธแม่จะขอกลับไปดูแลแม่  นี่เรียกว่า สุนัขเป็นครู  เด็กคนนั้นขณะนี้บวชเป็นพระอยู่ที่วัดในจังหวัดเพรชบุรี กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ส่วนผู้เป็นแม่เมื่อลูกบวชได้ไม่นานได้เสียชีวิตไป ทั้งแม่ลูกครอบครัวนี้ เป็นครอบครัวคนที่มาจากอีสาน ซึ่งผมได้เคยช่วยอุปถัมภ์เด็กเกเร คนนั้นไว้ เด็กดังกล่าวได้ดีส่วนหนึ่งเพราะใช้สุนัขเป็นครู สุนัขจึงเป็นสัตว์เลี้ยงประจำตัวของผม ก็ว่าได้

 

ด้วยคุณสมบัติที่น่าสนใจของสุนัข ผมจึงเริ่มศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสุนัขมากขึ้น พบว่า สุนัขที่ดีที่สุดในโลก มีไม่กี่สายพันธุ์ สายพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่จัดว่าเป็นสายพันธ์ที่ได้รับการพัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านในเยอรมัน และนำมาใช้ในการทหาร ตำรวจ ในบ้านเรานิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้มานาน จนมีสมาคมฯ และมีการนัดพบปะกันระหว่างผู้สนใจเป็นระยะ ๆ

 

การมาชมการประกวดครั้งนี้ก็เพื่อทำชีวิตให้ Balance วิชาการ การทำงาน ครอบครัว ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง บริหารให้เกิดความสุขกับชีวิตบ้างตามสมควรสะสมทุนทางความรู้ ทุนทางสังคมของคนรักสุนัข ระหว่างรอเวลาการประกวดสุนัข ผมได้นำ Note book มาเขียนบทความนี้ที่บริเวณสนามประกวดสุนัขด้วย  ในโลกยุคใหม่การใช้ internet การหาความรู้ไม่มีขีดจำกัด ไม่กำหนดสถานที่ สามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลา ได้บรรยากาศที่ร่มรื่นและแปลกใหม่ คิดถึงเมื่อสมัยเป็นเด็กวัด ตอนนั้นไม่มีอะไรเลย ขณะนี้มานั่งทึ่วัด มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หาความรู้ และติดต่อได้ทั่วโลก ในเวลาชั่วไม่กี่นาที โลกมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก็ควรที่จะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

 

วกกลับมาถึงเรื่องบทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ สัปดาห์นี้ อาจารย์เขียนเรื่อง คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน ผมเสนอความเห็นเช่นเคย ข้อความที่มีสีน้ำเงิน คือส่วนที่ผมคัดมาจากบทความของอาจารย์ ส่วนสีดำ เป็นส่วนที่ผมแสดงความคิดเห็น เชิญท่านผู้สนใจติดตามอ่านได้จากข้อความข้างล่างนี้ 
"สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน"

สิ่งที่ คณะปฏิรูปการปกครองฯ ทำอยู่ขณะนี้ เรียกได้ว่าเป็นการบริการการเปลี่ยนแปลง Change management กับระบบการปกครองของไทย คณะปฏิรูปการปกครองฉลาดทำ การบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ถือว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกต้อง เมื่อมีสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมก็ควรคงไว้ ส่วนที่เป็นจุดอ่อน เป็นปัญหาแก่ส่วนรวม ก็ขจัดออกไป นี่เป็นพื้นฐานของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเปลี่ยนแปลงทั้งระบบและคน ผมหวังว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คณะปฏิรูปการปกครองฯ จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ชาติ ทำเพื่อชาติ จริง ๆ ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมขอให้คณะปฏิรูปการปกครองฯ ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ประชาชนโดยเร็ว  

 

"คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด"

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ที่ว่า คนไทยต้อง*   
  • ศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
  • รอบคอบ
  • ใฝ่เรียนรู้ *   
  • เป็นกลาง *  
  • สมานสามัคคี

คุณสมบัติของคนไทยที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาข้างต้น ถือได้ว่า เป็น Competency หรือสมรรถนะ ของคนทรัพยากรมนุษย์ของไทย ในปัจจุบันและอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า จะบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตได้อย่างไร คำตอบคือบริหารให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดสิ่งเหล่านั้น และมีการวัดผล นำไปสู่การพัฒนาจุดอ่อน หรือสิ่งที่เขายังด้อยอยู่ให้เป็นจุดแข็งในอนาคต แบบมีตัวชี้วัดความสำเร็จว่าต้องให้จุดอ่อนกลายเป็นจุดแข็งในแต่ละประเด็นภายในกี่ปี  แล้วนำมาสู่ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างองค์กร เพื่อสร้างชาติต่อไป

"นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม"นโยบายประชานิยม ในความเห็นส่วนตัวของผม คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ถ้าจะกำหนดยุทธ์ศาสตร์แบบให้เกิดทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืน  คนกำหนดนโยบายนี้ หนึ่งต้องคำนึงถึงลูกค้า(ประชาชน)เป็นหลัก สองต้องคำนึงถึงอนาคตของชาติเป็นหลักที่สอง และสามต้องคำนึงถึงผลเสียที่อาจจะตามมา และเตรียมมาตรการรองรับไว้  การปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้  ขอให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกำหนดนโยบายสาธารณะและปฏิรูปการปกครองฯ คือ ค่อยเป็นค่อยไป ในสิ่งที่เราถนัดมีทรัพยากรเพียงพอ กำหนดเป้าหมาย แผนงาน การวัดผล และเตรียมการรองรับไว้ กรณีที่เกิดปัญหา ต้องมีแผนอื่นรองรับไว้เสมอ  และขอให้คิดคำนึงถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานให้ไว้หลายเรื่อง คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการในการศึกษาพระบรมราโชวาทของท่าน กำหนดขึ้นมาเป็นแบบตรวจสอบ Check list ในการบริหารการปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้ด้วย

"ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์"

เรื่องที่ โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้กล่าวถึงงบประมาณเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ถือว่าเป็นสัญญานของความโชคดีของประเทศไทย  ที่คณะปฏิรูปการปกครองฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ น่าจะเป็นคณะปฏิรูปการปกครองฯคณะแรก ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้  ผมขอให้การให้สัมภาษณ์ดังกล่าว เกิดผลขึ้นจริงจัง ให้งบประมาณด้านการทรัพยากรมนุษย์ มีจำนวนมากพอ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อชาติจริง ๆ ไม่ใช่ทำกันให้ผ่านไปแค่ปีต่อปี ได้ชื่อว่าทำ  เท่านั้น   

 

คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนาชาติขึ้นมา เป็นกรณีพิเศษ ให้เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากคณะปฏิรูป จัดทำระบบพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ในแต่ละระดับ ให้ชัดเจน ตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์ในครรภ์มารดา จนกระทั่งถึงเชิงตะกอน และมียุทธ์ศาสตร์การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และน่าจะให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้นำในด้านนี้  
"เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก"
 
ในความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่าสมควรจะมีคณะปฏิรูประบบการศึกษาของไทย
เรามีคณะปฏิรูปการปกครองฯ แล้วถ้าจะให้ครอบคลุมระบบการบริหาร ก็ควรมีการปฏิรูประบบการศึกษาด้วย  เพราะการศึกษามีความสัมพันธ์กับระบอบประชาธิปไตย  การศึกษามีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 

 

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ระบบการศึกษาของเรา ยังไม่สามารถสร้างทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ที่มีคุณภาพได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
สถานบันการศึกษาของเรา ยังไม่ติดอันดับสถาบันการศึกษาที่ดีในโลก หรือในภูมิภาค ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิ จึงสมควรให้มีการปฏิวัติทางการศึกษาด้วยโดยเร็ว  

 

"ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้"
ดูรายชื่อประเทศที่เอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้ พวกนี้ล้วนเคยเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติมาก่อน เป็นประเทศที่เคยถูกต่างชาติเข้ามายึดอำนาจและทำการปฏิรูปหลายเรื่อง การจัดระเบียบสังคมวัฒนธรรม กฎหมาย การเมือง และแน่นอนคือเรื่องการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลจากการปกครองของต่างชาติ  เราน่าจะศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติเหล่านี้ นำเอาทั้งปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จของประเทศเหล่านี้มาบูรณาการกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควบคู่ไปกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ   

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ     

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน 

 

ยม  
นักศึกษา ปริญญาเอก  
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คณะปฏิรูป: นโยบายเพื่อความยั่งยืน"
คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน[1]

ประเทศไทยไม่มีระบอบทักษิณมา 7-8 วันแล้ว วันที่เขียนบทความนี้เป็นวันพุธ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เห็นได้ว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดำเนินการแบบสันติ สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน
คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด
นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม
การที่โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ พลโทพลางกูร กล้าหาญ พูดถึงการทำงบประมาณปี พ.ศ 2550 แบบขาดดุล และเร่งนำไปเบิกจ่ายได้ในเดือนมกราคม พ.ศ.2550 เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะคณะที่ทำงบประมาณ ไม่ใช่นักการเมือง แต่เป็นข้าราชการประจำ ฝ่ายคณะปฏิรูปการปกครองฯ คงจะใช้งบประมาณเพื่อประโยชน์ระยะยาวได้ดี ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
เรื่องเหล่านี้ ผมขอเสนอไว้ 2 ประเด็นคือ
เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก
หลายฝ่ายอยากเห็นระบบการอุดมศึกษา เป็นอิสระจากอิทธิพลของกระทรวงศึกษาฯ โดยจะเป็นองค์กรใหม่หรือกระทรวงใหม่ และจะรวมคำว่าวิจัยเข้าไปด้วย น่าจะดี
หรือการมองประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อยู่ในแท่งเดียวกันต่อไปหรือไม่ และวัฒนธรรมของประถม เข้ามามีบทบาท มีอิทธิพลมากกว่ามัธยม จะสร้างปัญหาระยะยาวหรือไม่
การปฏิรูปการศึกษา คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของครู ผู้ปกครอง นักเรียน แบบที่ปฏิรูปโครงสร้าง ไม่ได้ผลอย่างแท้จริง
ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้
ในกลุ่ม HRD ของ APEC ที่ผมเป็นประธานคณะทำงาน HRD อยู่ เห็นได้ชัดว่า ประเทศเหล่านั้น เขาเอาจริงกับเรื่องการสร้างทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ใหม่ ให้จัดการกับโลกในอนาคตได้
ผู้บริหารโรงเรียน มหาวิทยาลัยของประเทศเหล่านี้ จะเป็นคนที่มีโลกทัศน์กว้าง มีภาวะผู้นำ ใฝ่รู้ มองอนาคตของเศรษฐกิจคู่ไปกับการศึกษา ในขณะที่การปฏิรูปการศึกษาของไทยเน้นการปฏิรูปโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่มีการลงทุนในการพัฒนาทัศนคติ ความรู้ใหม่อย่างจริงจัง เป็นสังคมการเรียนรู้ที่ไม่ต่อเนื่องและไม่ได้ผล
ผลงานของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ในการแต่งตั้งทหารและข้าราชการที่เป็นคนดี คนเก่ง และไม่รับใช้นักการเมืองอย่างเห็นได้ชัด ยกย่องให้ท่านเหล่านี้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ผมดีใจที่ข้าราชการประจำกลับมามีบทบาทที่เหมาะสมต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น การมีอิทธิพลของนักการเมืองในรัฐวิสาหกิจจะน้อยลง จึงเป็นจุดหักเหที่น่าสนใจ
งานของผมเป็นเช่นเดิม สังคมยังให้ความสนใจและหิวกระหายในเรื่องการเรียนรู้ของผมอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งที่มีปัญหาการเมืองที่เป็นอยู่
ผมได้ไปร่วมสร้างภาวะผู้นำ และสร้าง Teamwork ให้แก่กลุ่มบริษัท Softsquare เป็นบริษัทที่ให้การบริการด้าน Software ของคนไทย ซึ่งมีพนักงานเขียน Software อยู่กว่า 400 คน ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการสร้างภาวะผู้นำ สร้างสังคมการเรียนรู้ และการสร้างความสุขในการทำงาน โดยเฉพาะให้ชีวิตกับงานไปด้วยกัน ปัจจุบันเรียกว่า work/life Balance
ผมได้ขึ้นเหนือไปเป็นแขกของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ดร.ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ บรรยายให้นักศึกษาปริญญาโทกว่า 50 คนฟัง ในเรื่องโลกาภิวัตน์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การเรียนของเด็กในยุคนี้ ต้องให้เขาทำการบ้าน โดยทำ workshop มีส่วนร่วมมาก ๆ อย่าไปสอนแบบบรรยายข้างเดียว โดยให้นักศึกษาทำ workshop ว่า
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- มีประโยชน์ต่อประเทศอย่างไร
- มีโทษหรือการคุกคามอย่างไร
- จะแก้ปัญหาโดยใช้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร
กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มสมาคมรองผู้อำนวยการสถานการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย ได้เชิญผมไปบรรยายแบบมีส่วนร่วมให้รองผู้อำนวยการในเขตกรุงเทพฯ และภาคตะวันออก ซึ่งผมได้ให้กำลังใจในการทำงาน และได้เน้นถึงการเป็นสังคมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทิศทางของการบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จึงจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง จะต้องสร้างศักยภาพตามทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ให้เกิดขึ้นในเด็ก และผู้ร่วมงาน และต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมได้รับเชิญให้ไปทำงานต่อเนื่องแก่รองผู้อำนวยการโรงเรียนในภาคตะวันตกที่กาญจนบุรีในเดือนตุลาคมนี้ด้วย
ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2549 ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานกงสุลไทยประจำโฮจิมินห์จะไปสร้างสังคมการเรียนรู้และการทูตภาคประชาชน (People to People Diplomacy : PPD) ที่เมืองโฮจิมินห์ เวียดนาม แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์กับภาคเกษตร ให้แก่ข้าราชการและเกษตรกรในเวียดนามประมาณ 40 คน
เป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมเคยจัดที่กัมพูชา พม่า และจีนตอนใต้มาแล้ว สร้างให้เกิดสังคมการเรียนรู้ ซึ่งทางเวียดนามจะเล่าให้ผมฟังว่า เขามองเรื่องโลกาภิวัตน์ เรื่องภาคเกษตรอย่างไร เพราะเวียดนามจะเป็นสมาชิกของ WTO จึงต้องบริหารความเสี่ยงจากโลกาภิวัตน์มากขึ้น

 

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์"

ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]

 

 

ท่านที่ติดตามบทความของผมมาตลอด 7-8 ปี คงจะเห็นแล้วว่าแต่ละสัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้น และตัวเราวิเคราะห์ให้เป็น เราจะเป็นสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริง กระหายความรู้ นำเอาความรู้ไปใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24
หลายฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจประวัติความเป็นมาของท่าน ผมขอเรียนว่า ท่านเป็นทหารมืออาชีพ และเป็นทหารประชาธิปไตย ซี่งดีกว่านักประชาธิปไตยแต่ในรูปแบบ วันนี้ประเทศไทยทำงานแบบ Back to basics ที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือ ความถูกต้องและความพอดี หรือหากจะเรียกว่าเป็นความพอเพียงทางการเมือง สังคมและวิถีชีวิตคนไทยคือเดินสายกลาง ไม่หลุดโลกไปทางใดทางหนึ่ง
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
หนังสือพิมพ์ The Nation เขียนว่า ช่วงที่นายกฯทักษิณชนะการเลือกตั้ง ท่านไป ช็อปปิ้งที่ เอ็มโพเรียม และดื่มกาแฟที่ Starbucks เป็นการเปรียบเทียบวิถีชีวิตของท่านทั้งสองได้ดี
อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต
ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก
ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะยุคคุณทักษิณ ไม่ใช่แค่ระบอบทักษิณ แต่เป็นวัฒนธรรมการคิดแบบคุณทักษิณที่เน้นเงินและอำนาจ แบบทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต ไร้จิตวิญญาณเป็นหลัก ซึ่งในที่สุดแล้ว ไม่เหมาะกับสังคมไทยในระยะยาว จึงต้อง back to basics หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารผ่านไป 2 สัปดาห์กว่า สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก
จริงอยู่ การศึกษากำหนดมาตรฐานต่างๆ ต้องเน้นทฤษฎี 2 R's ของผมซี่งเน้นว่า จะวิเคราะห์อะไรต้องประกอบด้วย :
Reality
ความจริง
Relevance
ตรงประเด็น
ประชาธิปไตยภายใต้ระบอบทักษิณเป็นเรื่องไม่ปกติ หากปกติคงจะไม่มีการขัดแย้ง ไม่มีคดียุบพรรค ไม่มีคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ความแตกแยกในสังคมไทย ขาดคุณธรรม จริยธรรม
ดังนั้น คนไทยจะต้องอธิบายว่า ปฏิวัติเกิดขึ้นเพราะอะไร ความจริงคืออะไร และแสดงให้เห็นว่า มาแก้ไขเพื่อไปประชาธิปไตยที่ดีในอนาคต ไม่ใช่เห็นรถถังก็กลัว คล้ายว่าถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การอธิบายต่อสังคมโลกเป็นสิ่งสำคัญ อย่าให้มาตรฐานของตะวันตกเป็นมาตรฐานโลกมากำหนดตัวเราเท่านั้น สหรัฐอเมริกายังไม่เห็นพูดถึงประชาธิปไตยในปากีสถาน บางครั้งอเมริกาก็มี Double Standard ด้วย จึงขอเรียนว่า อย่าตกใจไปกับข่าวทางลบของต่างประเทศมากเกินไป ผมคิดว่าอธิบายได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่อธิบายให้เพื่อนต่างประเทศทุกวัน
หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือ ประชากรส่วนมาก รอให้รัฐบาลช่วยเหลือ จะทำอย่างไรให้เขาพึ่งตัวเองได้มากขึ้น เพราะงานของรัฐบาลชั่วคราวที่สำคัญ ต้องปรับอุปนิสัยแบมือขอ ที่รัฐบาลไทยรักไทยทำอย่างต่อเนื่องมา 6 ปีเต็ม อบต.หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ จะมองการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชาวชนบทอย่างไร การจะให้อะไรแบบประชานิยม ก็ต้องแน่ใจว่าระยะยาวอยู่รอดและเข้มแข็งขึ้น
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย
ขอจบด้วยการเล่าถึงโครงการต่อเนื่องที่ผมทำอยู่ 2 โครงการคือ
โครงการ Learning Forum ที่ Ho Chi Minh ที่ได้จัดไปเมื่อวันศุกร์ที่ 29 กันยายน ซึ่งได้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีคุณค่าต่อผู้นำทางภาคเกษตรของเวียดนามมาก เขาศึกษาอย่างละเอียด และมีบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความคิดที่น่าสนใจ ยิ่งกว่านั้น เวียดนามจะขอมาดูงานที่ประเทศไทยด้วย ต้องถือโอกาสขอบคุณท่านกงสุลใหญ่ คุณสมปอง สงวนบรรพ์ และเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุล คุณปาริฉัตร ลื้อไพบูลย์พันธ์ คุณพิมพ์พิรี ไพรามาน การทูตภาคประชาชนต้องมีรัฐบาลมาเป็นแนวร่วมด้วย
กงสุลใหญ่ ท่านเป็นคนใฝ่รู้ ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมาก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถานกงสุลมานั่งฟังตลอด ได้เห็นวิธีการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม
ผมได้กลับไปที่โรงเรียนบ้านแพง จังหวัดมหาสารคาม เป็นครั้งที่ 3 ในช่วง 3 ปี กลับไปสร้างสังคมการเรียนรู้กับเด็กนักเรียนกว่า 400 คน ผอ.วาสนา เลื่อมเงิน เป็นลูกศิษย์ผม และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนที่ทำงานนอกกรอบ สนใจการสร้างแนวร่วม Network ลูกศิษย์ก็กระตือรือร้น เช่น กลุ่มมัธยมศึกษา บอกว่า จะให้ผมและมูลนิธิฯ ช่วยสนับสนุนให้มาดูอุทยานวิทยาศาสตร์ในจังหวัดปทุมธานี การศึกษาในอนาคตไม่สามารถจะใช้แบบการบริหารในกล่อง รอให้รัฐบาลมาช่วย ต้องกระโดดออกนอกกล่อง พึ่งตัวเอง และให้นักเรียนเป็นผู้ได้ประโยชน์ ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงเรียนวิ่งหาตำแหน่ง เพื่อจะได้ C8 ตลอดเวลา

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์"(ต่อ)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/สมาชิกสมาคมรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

เช้านี้ วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]ในบทความนี้          ศ.ดร. จีระ เขียน ถึงนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ และท่านได้เล่าเรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำประโยชน์แก่สังคมไว้อย่างน่าสนใจเช่นกัน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  


สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ประเด็นนี้ แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ในการตัดสินพระทัยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  งานนี้ ถ้าไม่ใช่คนดี มีคุณธรรม และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จนเป็นที่ประจักษ์ แก่ราษฎรอย่างท่านองคมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็อาจจะทำให้มีประท้วงครั้งใหญ่และอาจนำไปสู่การปฏิวัติซ้อนได้  เป็นแบบอย่างที่ดีในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา  เหมือนให้ยาที่ถูกกับโรคที่เกิดขึ้น  ในองค์กรถ้ามีปัญหาแล้วคิดให้รอบคอบ มองการณ์ไกล รองรับปัญหาที่คาดว่าน่าจะเกิด แล้วตัดสินใจบนหลักการและเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ เป็นใหญ่ การตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นก็จะบรรลุวัตถุประสงค์   ผมชื่นชม และขอสรรเสริญคณะองคมนตรีด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูง ที่พวกท่านคอยถวายการดูแล ช่วยเหลือภารกิจ ต่าง ๆ ของพระองค์ท่าน เป็นอย่างดี  เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานเป็นทีม ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์    
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ผมสนใจและประทับใจ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มากขึ้น เมื่อครั้งทราบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า เมื่อท่านพ้นจากตำแหน่งทางราชการแล้ว ท่านหันไปบวช เพื่อต้องสละกิเลสทั้งหลาย ใช้ชีวิตเรียบง่ายสันโดษ มีคุณค่า อันที่จริง คนระดับนี้ พร้อมที่จะเลือกหาความสุขได้หลายรูปแบบ แต่กลับเลือกมาทางพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าสรรเสริญ อย่างยิ่ง  เป็นแบบอย่างที่ดีของการดำเนินชีวิตที่มีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ภาพที่ท่านใช้ชีวิตเรียบง่าย ชอบเดินป่า และภาพการออกบวช เดินบิณฑบาต ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยได้ดี 

อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวในประเด็นนี้ ผมคิดว่า เป็นรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน  การดำเนินชีวิต จะเจริญแต่วัตถุนิยมอย่างเดียวนั้นไม่ยั่งยืน  ต้องเจริญด้วย ศีล สมาธิ สติปัญญา เจริญด้วยทุนที่เกี่ยวกับมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ  เป็นสิ่งที่ผู้นำประเทศ ควรต้องมียุทธ์ศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้เจริญตามแนวคิดที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึงไว้อยู่เสมอ ผมยังอยากให้ ศ.ดร.จีระ เข้าไปช่วยรัฐบาลชุดนี้ ในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานฯ หรือเป็นที่ปรึกษาขอรัฐบาลชุดนี้ เพื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ของชาติซึ่งยากที่จะหาคนที่มีสายตาแหลมคม มองเห็นปัญหาเรื่องทรัพยากมนุษย์ได้ลึก กว้างและไกลได้เช่นนี้

 

 

ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก ผมมีความเชื่อเช่นเดียวกับ ศ.ดร.จีระ ว่า ถ้าผู้นำประเทศ  กระตุ้นให้ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของชาวไทย อย่างเห็นผลชัดเจน มีตัวชี้วัดได้ จะเป็นการพัฒนาชาติที่ยั่งยืน ถึงแม้เวลาบริหารประเทศจะกำหนดไว้เพียงไม่เกิน 1 ปี สำหรับรัฐบาลชุดนี้ แต่ถ้ามีทีมคณะรัฐมนตรีที่มีคุณภาพ รู้จริง และอาสา อยากมาช่วยพัฒนา แก้ไขปัญหาบ้านเมืองเพื่อชาติ ก็จะสามารถทำได้ แม้กระทั่งการกำหนดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ควรให้มีและใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย พื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์

 

สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาในประเด็นนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศ ต่อประชาชนคนไทยทั้งปัจจุบันและอนาคต และเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ ที่ควรต้องมีคณะรัฐบาลที่ดี มีฝีมือ มีคุณธรรม มีอุดมการณ์เพื่อชาติ เข้ามาช่วยบริหารจัดการ  และที่น่าเป็นห่วงคือ ท่านจะได้คนดี มีฝีมือเหล่านี้มาอย่างไร เพราะเขาเหล่านั้นมักไม่แสดงตน และใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบท่านนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  
ถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ผมชอบประโยคนี้ ของ ศ.ดร.จีระ คือเข้าใจง่ายและใช้อธิบายเหตุผลของการปฏิวัติครั้งนี้ให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจได้ดี  เรียกว่า จังหวะของชีวิต บางครั้งในการเดินไปข้างหน้า เมื่อพบปัญหาอุปสรรคบนเส้นทางเดิน ก็จำเป็นต้อง หยุดและถอยหลัง เพื่อก้าวกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ไกลกว่าที่ผ่านมา การบริหารจัดการเรียกว่า เป็นศิลปะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม การถอยหลังก็ต้องถอยอย่างรอบคอบ สง่างาม มีการสื่อสารที่ดี มิฉะนั้นประชาคมโลกจะเข้าใจผิด อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เมื่อถอยแล้ว การจะก้าวกระโดดไปข้างหน้า ต้องพร้อม มั่นคง ยั่งยืน สง่างามกว่าที่ผ่านมา และช่วงจังหวะหยุดและถอย กับการจะกว้ากระโดด อย่าให้นานจนเกินไป เพื่อรักษาประโยชน์ของชาติ เป็นหลัก


 

หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น
ประเด็นนี้ เห็นได้ชัดว่า การระบบการศึกษาสมควรมีการปฏิวัติ และจัดการใหม่  ผมเห็นรัฐบาลหลายคณะ มาบริหารประเทศไม่ค่อยได้เน้นเรื่องนี้อย่างจริงจัง มัวแต่ไปเน้นการก่อสร้าง วัตถุนิยม  ที่อินเดีย เน้นเรื่องการศึกษามากกว่าการสร้างวัตถุนิยม  ผมเชื่อว่าในที่สุดอินเดียจะเป็นประเทศที่พัฒนาแบบยั่งยืนกว่าประเทศจีน ที่ขณะนี้มุ่งเน้นการวางผังเมือง การสร้างอาคารต่าง ๆ อย่างมาก  
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

จุดเด่นของพรรคไทยรักไทย คือทำให้ชาวบ้านพอใจโดยใช้ระบอบประชานิยม ในการบริหารนโยบายสาธารณะ มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี  ดีคือสามารถสนองความต้องการของลูกค้า(ประชาชนได้) รัฐฯควรมองประชาชนเป็นลูกค้า และสนองความต้องการของลูกค้าได้  One stop service ในหน่วยงานราชการหลายแห่ง เกิดขึ้นในยุครัฐบาลของท่านทักษิณ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี รัฐบาลอิเล็คโทรนิค ก็เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามจุดอ่อนคือขาดการวิเคราะห์ผลกระทบระยะยาวในนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมือง ยังขาดหลักการแห่งความยั่งยืน  รัฐบาลยุคท่านทักษิณ เป็นครูที่ดี แก่ผู้นำและสัจจะธรรมชีวิต ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง และไม่มีอะไรแน่นอนในโลกนี้  เมื่อมีมา ย่อม มีไป เมื่อมีเกิด ย่อมมีแก่ มีเจ็บและตาย

 

อดีตนายกฯทักษิณ ให้บทเรียนที่ดีแก่ผู้นำทั้งหลาย ทุกองค์กร พังสังวร ขอให้มองการณ์ไกลอย่างที่ ศ.ดร.จีระ เคยสอนนักศึกษาปริญญาเอกว่า อีก 20 ปีจะเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย  และจะแก้ไข ป้องกันอย่างไร  ทำให้คิดต่อไปว่า อีก 20 ปี จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา กับเครือข่าย กับทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต และจะบริหารจัดการอย่างไร เป็นสิ่งที่น่าคิดต่อไปว่า หลังจาก 1 ปี ของรัฐบาลชุดนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย  เศรษฐกิจ ส้งคม การเมือง การศึกษาของไทย จะเป็นอย่างไร จะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และเป็นสิ่งกำหนดอนาคตประเทศไทย 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ    

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   

ยม  

นักศึกษา ปริญญาเอก  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 

ผมอยากเอนเข้าคณะมนุษย์อิงคับ

ต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะได้ครับ

ตอนนี้ผมอยู่ม.4ครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท