beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

สัปดาห์วิทยาศาสตร์ 17 <๒> : กรรมการตัดสินโครงงาน


โครงงานต่างๆ ยังวนเวียนอยู่ในอ่าง ไม่ก้าวไปถึงไหน

    ผมได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตัดสินโครงงานวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งได้ไปตัดสินในตอนเช้าของวันที่ 15 สิงหาคม 2549

   กรรมการทุกคนจะได้รับแจกเสื้อสีฟ้าคนละ 1 ตัวครับ แล้วก็ได้ค่าตอบแทนเป็นเงินคนละ 200 บาท + กับเบรคอีก 1 มื้อ และถ้าอยู่ตอนเที่ยงก็จะได้ข้าวกล่องอีกคนละห่อ งบประมาณส่วนนี้ได้มาจากสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ ครับ

   อันที่จริงผมอยากเป็นกรรมการตัดสินโครงงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์มากกว่า ซึ่งเดี๋ยวนี้เขาเปลี่ยนชื่อมาเป็น "นวัตกรรมนักวิทยาศาสตร์น้อย"

   เท่าที่สังเกต โครงงานวิทยาศาสตร์ของประเทศเรา ทำมาหลายปี (เฉพาะต่างจังหวัด) ผมเห็นว่า โครงงานต่างๆ ยังวนเวียนอยู่ในอ่าง ไม่ก้าวไปถึงไหน ที่เป็นเช่นนี้มีหลายเหตุปัจจัย เท่าที่ผมนึกได้ตอนนี้ก็มี

  • โรงเรียนมุ่งประกวดให้ได้รางวัล มากกว่าพัฒนาวิทยาศาสตร์หรือโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ผู้บริหารโรงเรียน จบมาทางด้านบริหารการศึกษา ไม่ได้จบมาทางด้านวิทยาศาสตร์
  • ครูที่ปรึกษาโครงงาน มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ไม่เพียงพอ
  • โครงงานมาจากแนวคิดของครู มากกว่าแนวคิดของนักเรียน
  • การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง ขึ้นกับผู้บริหาร (ซึ่งเปลี่ยนบ่อยๆ)
  • ขาดงบประมาณในการสนับสนุน (รอของบประมาณ แต่ไม่มีโครงการที่หาทุนสนับสนุนจากแหล่งอื่น)
  • ระบบติดต่อประสานงานไม่คล่องตัว
  • อื่นๆ.......

 

      ต่อไปเป็นภาพบรรยากาศ ในส่วนที่ผมเป็นกรรมการรับผิดชอบครับ แต่ว่าไม่มีภาพของผม เนื่องจากผมเป็นตากล้องครับ...

ตัดสินโครงงานวิทยาศาสตร์ชีวภาพระดับม.ต้น 

ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่ง ของนักเรียนและกรรมการ
โครงงานวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ระดับมัธยมศึกาตอนต้น

 

หมายเลขบันทึก: 48337เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท