GotoKnow เป็นคลังความรู้ได้จริงหรือ และอย่างไร (2)


ถ้าเราช่วยกัน...ทำความเข้าใจ....ทำได้แน่นอนค่ะ

เมื่อวานพูดถึงความรู้ในตัวคนไปแล้ว ว่าเราทุกคนมี ....คงมีหลายคนตั้งคำถามว่า...เรามีเหรอ...ทำงานธรรมดาเดิมๆอยู่ทุกวัน ไม่เห็นมีอะไรใหม่เลย....ก็นี่ไงคะ ทำไม GotoKnow จึงช่วยได้

วิธีการสกัดความรู้ฝังลึกวิธีหนึ่งก็คือ การเล่าเรื่อง เล่าอย่างสบายใจ เล่าให้เพื่อนๆที่เราไว้ใจฟัง ...

ไม่มีใครเล่าความรู้ที่มีได้ทันทีแน่นอนค่ะ เราเองยังไม่รู้เลยว่าเรารู้อะไร แล้วจะไปเล่าเรื่องอะไร ...ไม่ต้องกลัวค่ะ มีคนคิดเหมือนเราแบบนี้มากมาย วิธีการก็คือ....เขียนสิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราคิดในแต่ละวัน มีแน่นอนใช่ไหมคะ

ในฐานะคนคนหนึ่ง สิ่งที่เราใส่เข้ามาใน GotoKnow ก็คือความเป็นเรา สิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราเห็น เล่าออกมาเถอะค่ะ ไม่มีผิด ไม่มีถูก ไม่มีใครเก่งหรืออ่อนกว่าใคร  และหากเป็นไปได้ ก็ทำเผื่อคนรอบๆข้างเราที่ถ่ายทอดด้วยการเขียนไม่ได้

GotoKnow คือที่ๆเราสามารถเขียนเล่าว่าเราทำอะไร เราคิดอะไร เราคิดอะไรระหว่างที่ทำ เราคิดอะไรเมื่อเห็นคนอื่นทำ แล้วมันเป็นคลังความรู้ตรงไหน....นี่แหละค่ะ ความละเอียดอ่อนลึกซึ้งที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะจัดการความรู้ของตัวเอง นี่ล่ะค่ะ ที่ทำให้เราต้องศึกษาความเป็น GotoKnow สักเล็กน้อย

GotoKnow มีพื้นที่ให้เราเขียน เก็บไฟล์ เก็บรูปเพื่อนำมาแสดงเผื่อแผ่กัน มี function ต่างๆให้เราใช้ เพื่อการเล่าเรื่อง เราแบ่งบล็อกแต่ละบล็อก เพื่อเรื่องแต่ละเรื่องใหญ่ๆในชีวิตของเรา เขียนเล่าสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆในแต่ละวันของชีวิต เขียนความคิดระหว่างที่ทำเรื่องนั้นๆ

หน้าที่ของเราอีกอย่าง เพื่อให้ GotoKnow เป็นคลังความรู้ก็คือ ใช้คำสั้นๆ เพื่อเป็นตัวแทนของสิ่งที่เราเขียน ที่เรียกกันว่า ป้าย (คำหลัก) นั่นเอง เมื่อเขียนไปเรื่อยๆ มีป้ายเพิ่มขึ้นๆ มีหลายๆป้ายที่เราจะใช้ซ้ำ เพราะเราเล่าเกี่ยวกับเรื่องที่เราทำ สิ่งที่เรารู้ ก็จะค่อยๆหลุดออกมา ที่นี่ใน GotoKnow แห่งนี้ สิ่งที่เราเขียนเล่า จะมีคนมาอ่าน มาออกความเห็น บางครั้งเป็นคนที่ทำงานเหมือนเรา เราก็จะได้ความเห็นที่คนอื่นคิด เป็นการต่อยอดการเรียนรู้ บางเรื่องอาจมีการนำไปใช้ต่อได้ในทันที ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างหลายๆบันทึก จะทะยอยหามาให้ดูเป็นตัวอย่างนะคะ

 อ.จันทวรรณได้กรุณาต่อยอดไว้ให้ในบันทึกที่ 1 ถึง link ให้เห็นว่า ณ เวลานี้ จากป้ายคำหลัก แต่ละคำของบันทึก บล็อกหรือคำถามใน GotoKnow ซึ่งมีขนาดแปรตามจำนวนบันทึก บล็อกหรือคำถามนั่นเอง จะเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหาและจัดหมวดหมู่ความรู้

จะมาเขียนต่อถึงวิธีการใช้ป้ายให้เป็นประโยชน์กับผู้ที่คิดจะเริ่มเขียน เพื่อช่วยให้ตัวเองได้รู้ว่า ตัวเรารู้อะไร ในวันต่อๆไป พร้อมๆกับเล่าให้ฟังถึง สิ่งมหัศจรรย์ที่ GotoKnow สร้างให้เกิดกับพวกเราเหล่าบล็อกเกอร์ ที่ผู้ที่อยากเข้าใจ อยากรู้สึก ก็ต้องเริ่มด้วยการลงมือเขียนเท่านั้นเองค่ะ

หมายเลขบันทึก: 68686เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ใช่แล้ว  ใช่เลย  ใช่ครับ
    ปลดปล่อยสิ่ง ที่คิด ที่ทำ  ที่รู้สึก  ผ่านตัวหนังสือด้วยความบริสุทธิ์ใจ และ ด้วยรัก เมตตา ปรารถนาดีต่อ ผู้อื่น ความรู้น้อยใหญ่ก็จะค่อยๆไหลออกมาให้ได้เป็นประโยชน์มากขึ้นแน่นอน บางทีแค่ เกร็ดเล็กๆน้อยๆที่ดูเหมือนไม่ค่อยมีค่า มีความหมายสำหรับเรา เพราะเราทำจนชิน แต่พอบอกออกไป กลายเป็นเรื่องที่หลายคนทึ่ง ว่าทำอย่างนั้นได้ด้วยหรือ ไม่น่าเชื่อ.. ฯลฯ ก็มีอยู่มาก  หรือใครว่าไม่จริงครับ

ประทับใจค่ะ :)

บางครั้งแล้วนวัตกรรมที่ดีที่สุด ก็คือ สิ่งที่ผู้ใช้สามารถค้นหาแนวทางการใช้ประโยชน์ได้เองตามแนวคิดของตน "But sometimes the best inventions are the ones people find their own uses for." From Time Magazine ฉบับ Dec 25, 2006 - Jan 1, 07

ขอยกบันทึกทั้งสองที่พี่โอ๋เขียนไว้นี้ไว้ในบล็อกข่าวประกาศนะค่ะ เพื่อเป็นการแนะนำให้ท่านอื่นได้เห็นแนวทางการประยุกต์ใช้ระบบค่ะ

http://gotoknow.org/blog/tutorial/69576

ขอบคุณมากค่ะ :)

ขอขอบคุณอาจารย์โอ๋-อโณ...

  • ขอขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ ที่ทรงคุณค่า

ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่ง...

ขอบคุณคุณ โอ๋-อโณ มากค่ะ

หนูชอบแนวคิด " วิธีการสกัดความรู้ฝังลึกวิธีหนึ่งก็คือ การเล่าเรื่อง เล่าอย่างสบายใจ เล่าให้เพื่อนๆที่เราไว้ใจฟัง ... "  นี้จังเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกดี ๆ นะค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ค่ะ.....จะพยายามบอกกับตัวเองว่า"จงสกัดความรู้ให้ได้ทุกวัน"
คิดได้ลึกซึ้ง และสกัดออกมาได้ยอดเยี่ยมเช่นนี้ คือ โอ๋-อโณ แน่นอน ยังสงสัยตัวเองว่าทำไมเราไม่คิดได้อย่างนี้บ้างนะ ขอบคุณมากค่ะที่ทำให้เราคิดได้...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท