เรื่องเล่าเก่าแก่ แต่อมตะของอ.ศิวาภรณ์ อุบลชลเขตต์มาทยอยขึ้นบล็อกแล้วค่ะ


ขอแนะนำให้แวะไปอ่าน และเขียนความคิดเห็นถึงอ.ศิวาภรณ์กันนะคะ
ตั้งแต่ได้เล่าไว้เมื่อหลายเดือนก่อนว่า ได้รับความเมตตาจากอ.ศิวาภรณ์ให้นำเรื่องที่อาจารย์เคยเขียนลงใน"ข่าวคณะแพทย์ "คอลัมน์ "ว่าไปเรื่อยๆ" มาลงในบล็อก อาจารย์ให้รูปมาจัดทำเป็นบล็อกของอาจารย์และบอกว่าให้จัดการไปเองเลย ก็ได้รวบรวมพิมพ์จากต้นฉบับที่อาจารย์นำมาให้ลงในคอมพิวเตอร์ อาจารย์น่ารักและมีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก ได้พยายามจะเรียนให้อาจารย์ทราบว่าเราจะทำอะไร อย่างไร เพราะอยากให้เป็นบล็อกของอาจารย์เอง แต่อาจารย์จะตัดบททุกครั้งและบอกว่า ชั้นให้เธอจัดการไปเลย แล้วอาจารย์ก็เมตตามาหาถึงหน่วย เอาต้นฉบับที่อาจารย์เคยส่งให้คณะแพทย์มาทยอยให้เป็นระยะๆ แต่ตัวเองก็ยังมีความหวังว่าจะพยายามทำให้อาจารย์เข้ามาถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆด้วยตนเองในสักวันหนึ่งข้างหน้า
เนื่องจากเรื่องที่อาจารย์นำมาให้นั้นไม่ได้เรียงตามลำดับเวลา และมีบางเรื่องที่อาจารย์ระบุไว้เลยว่า อย่าเอาไปลงนะ ก็เลยต้องนั่งคิดรูปแบบอีกครั้งว่าจะเอามาลงให้ในบล็อกของอาจารย์เองอย่างไรดี แต่เนื่องจากพบว่ามีบทหนึ่งที่อาจารย์เล่าถึงประวัติของจุลสาร ข่าวคณะแพทย์ ซึ่งถือกำเนิดในเดือนพฤศจิกายน ตัวเองเลยตั้งใจไว้ว่าจะเริ่มด้วยบันทึกนั้น และจะนำลงที่บล็อกของอาจารย์เอง โดยไม่เขียนนำหรือปรับเปลี่ยนอะไรจากที่อาจารย์นำมาให้ ยกเว้นแต่ที่อาจารย์ระบุมาจริงๆ เพื่อให้เป็นบล็อกของอ.ศิวาภรณ์ และเป็นที่รวบรวมเรื่องราวที่อาจารย์ ได้เขียนขึ้นมา โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องที่มาจากคอลัมน์ ว่าไปเรื่อยๆนั่นเอง ไม่อยากให้มีความเป็นเราไปติดอยู่ในนั้น ด้วยความหวังว่าอีกสักพัก เมื่อนำมาลงอย่างสม่ำเสมอแล้วมีใครมาอ่านและให้ความคิดเห็น จะนำไปเสนอให้อาจารย์ดูเอง หรือชักชวนอาจารย์ให้เข้ามาเปิดดู เผื่ออาจารย์จะได้อยากมาจัดการเองในภายหน้า
 ขอบอกเล่าไว้ตรงนี้อีกครั้งว่าเหตุใดจึงได้คิดจะทำเรื่องนี้ ความจริงเป็นสิ่งแรกๆที่คิดเมื่อได้รู้จัก GotoKnow และได้เขียนอย่างสม่ำเสมอ อยากให้คนที่มีพรสวรรค์ในการเก็บเกี่ยวเรื่องราวมาเล่าแบบอ.ศิวาภรณ์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคลังความรู้แห่งนี้ ตัวเองเป็นแฟนคอลัมน์ว่าไปเรื่อยๆมาตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้อ่าน เป็นเรื่องราวที่ดูเหมือนธรรมดา แต่ไม่ธรรมดาเลย ท่านอ.ศิวาภรณ์เองได้ปรารภไว้ว่า ชั้นเอามาจากหลายๆที่ บางอันก็แปลมา บางอันชอบใจก็เอามาเล่าต่อเลย ไม่ได้อ้างที่มาไม่อยากให้เอาไปลงเลยซึ่งได้เรียนอาจารย์ไปว่าเราเขียนบอกไว้ในรายละเอียดของบล็อกได้ และด้วยเจตนาบริสุทธิ์ไม่ได้มีผลประโยชน์อันใดจากเรื่องเหล่านั้น ก็น่าจะไม่เป็นอะไร นอกจากนั้นอ.วิจารณ์ก็ได้กรุณาเข้ามาออกความเห็นไว้ว่า (...อยากให้เอาว่าไปเรื่อยๆ” มาลงใน GotoKnow) รู้สึกเพราะความเห็นอ.วิจารณ์ในบันทึกนั้น ซึ่งได้พิมพ์เอาไปให้อาจารย์ศิวาภรณ์ดูนั่นเองที่ทำให้อาจารย์ทยอยนำมาให้เราจัดการให้
ตั้งใจไว้ว่า หลังจากบันทึกแรกนี้แล้ว จะทยอยตีพิมพ์บันทึกต่างๆที่พิมพ์เก็บไว้ โดยไม่จัดเรียง เนื่องจากต้นฉบับเป็นปึ๊งที่อาจารย์นำมาให้ นั้นย้อนหลังไปนานพอสมควร มีบางเรื่องที่อาจดูไม่ทันสมัย แต่ความอมตะของวิธีเขียนก็น่าจะช่วยถ่วงดุลย์ไปได้ และเชื่อมั่นว่า เรื่องราวเหล่านี้ เหมาะที่จะนำมาเก็บไว้เป็นสมบัติของชาติในนามของอ.ศิวาภรณ์เองเท่านั้น ไม่ใช่การนำมาอ้างโดยเรา แต่จะใช้วิธีมาเขียนถึงในบันทึกของตัวเองแล้วโยงไปดีกว่า และหวังว่าอาจารย์จะมาเขียนให้เราได้อ่านกันสดๆบ้างในโอกาสข้างหน้า ขอเป็นเลขาจำเป็นไปจนกว่าจะถึงเวลานั้นนะคะ เพราะชอบวิธีการที่อาจารย์เขียนและอยากให้ชาว GotoKnow ได้อ่านกันด้วยค่ะ
หมายเลขบันทึก: 60971เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2006 01:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

1)เหมือนการไปขอร้องแกมบังคับเลยนะครับ เหมือนกับความคิดดีๆ มรดกทางวัฒนธรรมของคนรุ่นก่อนที่มีคุณค่า และกลัวคนที่ไม่ใช่ลูกหลาน ทายาท ชุบมือเปิบในสิ่งที่คิด และรวบรวมเหล่านั้น

2) บันทึกนี้ เขียนในรูปแบบสไตล์ว่าไปเรื่อยๆ หรือเปล่าครับ เหมือนเกริ่นนำ หรือ ไตเติ้ล ก่อนเข้าเรื่อง เหมือนเครื่องเคียง ที่ทำให้อาหารเมนูหลัก น่าทานมากยิ่งขึ้น

3) จะแน่ใจได้อย่างไรว่า ความเป็นอมตะ ของวิธีเขียน จะไม่ใช่บันทึกที่ไม่อยู่ในสายตาของคนรุ่นปัจจุบัน เพราะแต่ละคนต่างชอบเนื้อหา เรื่องราวที่แตกต่างกัน

4) คนที่เข้าใจ เห็นคุณค่าในเนื้อหาของ อ.ศิวาภรณ์ มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ จะบอกว่า บทความนี้ยอดเยี่ยม
แต่ทว่า คนในวิชาชีพเดียวกัน ยังคิดไม่เหมือนกันเลย

5) คนที่ชื่นชอบในเรื่องหนึ่ง มักจะกล่าวถึงเรื่องนั้นด้วยความยกย่องชมเชย แต่คนที่เฉยๆ ไม่ชอบ ไม่อ่าน ก็มีเช่นกัน

6) ความอมตะ จะมีค่ามากขึ้น หากคนที่เห็นคุณค่า ทำให้ความเป็นอมตะปรากฏเด่นชัดมากขึ้น แม้บางเรื่องที่ดูไม่ทันสมัย แต่ถ้าพี่โอ๋จะเขียนบันทึกขยายความ ในแบบคู่ขนานไปด้วย ความเป็นอมตะจะปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น

7) สังเกตการใช้เทคนิค การเขียนบันทึกขยายความ ในแบบคู่ขนาน (นิยามนี้ นายบอนตั้งขึ้นเองครับ)
ดูจากบันทึกที่นายบอน เขียนถึงครูอ้อย แล้ว ครูอ้อยก็เขียนถึงนายบอน แล้วนายบอนก้เขียนถึงครูอ้อยอีก

   .. คล้ายๆบันทึกเรื่องนี้ของพี่โอ๋ เปิดประเด็น ก้เขียนถึง อ.ศิวาภรณ์ เมื่อเอาบันทึกของ อ.ศิวาภรณ์ ลงในบล็อก แล้วพี่โอ๋ ก็มาเขียนบันทึกถึง อ.ศิวาภรณ์ ในมุมของพี่โอ๋ คู่ขนานกันไป

   ด้วยความเป็นอมตะ และช่วงชีวิตที่แตกต่างกัน นายบอนย่อมจะอ่านบันทึกของพี่โอ๋เข้าใจดีกว่า อ่านบทความของ อ.ศิวาภรณ์ นะครับ

เหมือนการเสริมความเป็นอมตะ ขยายกลุ่มคนอ่านให้กว้างขึ้น

มาเร็วจังค่ะ คุณนายบอน!-กาฬสินธุ์ (ให้เรียกอะไรแทนชื่อนี้ดีคะ เรียกคุณ"นายบอน"ก็จะฟังเสียงเหมือนเรียกผิดคน เรียกนายบอนเฉยๆดูห้วนๆ เรียกคุณบอนก็เกรงจะไม่ใช่ชื่อที่ตั้งใจให้เรียก เอาเป็นว่าเลือกให้พี่หน่อยนะคะ)

 พี่ไม่ได้คิดอะไรลึกซึ้งมากมายหรอกค่ะ และความเห็นที่บอกว่าตัวเองชอบ และข้อเขียนของอ.ศิวาภรณ์เป็นอมตะนั่นก็เป็นความเห็นส่วนตัวค่ะ ไม่ได้คิดว่าจะหาเสียงหรือโฆษณาอะไรหรอกค่ะ คิดยังไงก็เขียนอย่างงั้นมากกว่า แต่ทราบจากบันทึกแรกที่เล่าเรื่องนี้แล้วว่า มีคนเป็น"แฟน"คอลัมน์ "ว่าไปเรื่อยๆ"ของอ.ศิวาภรณ์ไม่น้อยเหมือนกันค่ะ

พี่คงไม่มีเวลามากพอจะทำแบบที่ได้รับคำแนะนำแน่ค่ะ เพราะจะว่างเป็นช่วงๆ เท่านั้น เช่นวันนี้

ขอบคุณที่ตามมาให้มุมมองที่เป็นเอกลักษณ์นะคะ ยังคงยืนยันเหมือนเดิมว่าทำให้พี่คิดอะไรหลายมุมขึ้นค่ะ

 

เรียกนายบอนนี่แหละครับ ตรงไปตรงมาดี
อาจจะฟังดูห้วนๆ แต่ถ้ามองในมุมของคนลูกทุ่ง แสดงถึงความเป็นกันเองมากกว่า

เหมือนคนคุ้นเคยในบางท้องถิ่น ที่ใช้คำเรียกแทนตัวว่า แก เอ็ง ข้า...  คนอื่นอาจจะรับไม่ได้ ฟังระคายหู แต่นั่นคือ สิ่งที่รู้กันของคนคุ้นเคย

พี่โอ๋คงจะประเมินศักยภาพตัวเองต่ำเกินไปหรือเปล่า รูปแบบการเขียนบันทึกของพี่โอ๋ ไม่ต้องยาวก็ได้ อย่างในบันทึกนี้ หยิบมาแค่ 3 บรรทัดในย่อหน้าที่ 3 หรือแค่ประโยคสำคัญในกรอบสีเขียว แล้วเติมความเห็นเข้าไปอีกนิดหน่อย แค่นี้ก็เรียบน้อยแล้วครับ

ที่พี่โอ๋ไปเขียนความเห็นในบล็อกอื่นยังสื่อความหมายให้เข้าใจได้ง่ายๆ ใช้เวลาไม่นาน

เรื่องที่ถนัดอยู่แล้ว จะต้องไปคิดลึกซึ้ง ลึกลับซับซ้อนทำไม เพราะทำจนคุ้น ชินอยู่แล้วนี่นา

ทำได้ แต่ไม่เสมอไปหรอกค่ะ และไม่บ่อยด้วย

วันนี้ net ไม่อืดเหรอคะ ยิ้ม ยิ้ม...

ไม่จริงครับ อย่างพี่โอ๋เนี่ย ถือว่า บ่อยมากกว่าอีกหลายท่านเสียอีก สำหรับการบันทึกและข้อคิดเห็นที่บล็อกคนอื่นๆ

วันนี้ นายบอนมาทำธุระที่ มมส. (มหาสารคาม) ครับ เลยใช้ net ที่นี่ เร็วจี๋เลยแต่สักครู่คงจะกลับกาฬสินธุ์แล้วล่ะครับ

บ่อยเป็นที่ๆค่ะ แต่ไม่ทั่วถึง แต่ช่วงหลังที่หน้าแรก GotoKnow กลับไปเหมือนแต่ก่อน คือมีบันทึกล่าสุด บันทึกที่มีข้อคิดเห็นล่าสุด ทำให้ติดตามได้ง่ายขึ้นนะคะ ไม่งั้นก็ได้แต่ตามบล็อกที่มีในแพลนเน็ต พอไปต่อยอดหลายๆอันก็ไม่มีใน list ให้ตามดู แต่ละวันจะมีเวลามากสุดก็ 3 ชั่วโมงก่อนนอนที่จะตามอ่าน และเขียนค่ะ

ขอให้นายบอนเดินทางโดยสวัสดิภาพนะคะ ใช้เวลานานไหมคะ กาฬสินธุ์กับมหาสารคาม พี่เคยอยู่ที่กาฬสินธุ์ด้วยตอนเด็ก ปีนึงมั้งคะ

3 ชั่วโมงหรือครับ นานกว่านายบอนเสียอีก (หมายถึงในวันปกติ จะใช้เวลาต่อเนื่องไม่เกิน 2 ชั่วโมงเท่านั้น) วันหยุดอาจจะมากหน่อย

ความจริงก็ติดตามบันทึกที่เคยตอบไปแล้วยากเหมืือนที่พี่โอ๋ว่านั่นแหละครับ นายบอนใช้วิธีเปิดไปเรื่อยๆ

กาฬสินธุ์กับมหาสารคามห่างกัน 50 กิโลเมตรครับ ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง ถ้านั่งรถโดยสารก็ชั่วโมงกว่าๆ

ไม่น่าเชืื่อว่าพี่โอ๋ก็เคยมาแถวบ้านนายบอน

ไม่ได้มาค่ะ อยู่เลยแหละ ปีนึงมังคะ โรงเรียนประถมที่ดังๆที่นั่นชื่ออะไรนะคะ พี่อยู่โรงเรียนนั้นแหละ สืบให้ทีสิคะ พอดีที่จดบันทึกยังหาไม่ได้

3 ชั่วโมงนั่นคือยาวสุด ปกติก็ไม่เกิน 2 ชั่วโมงหรอกค่ะ ถ้าแน่ๆที่ได้เข้าทุกวันคือครึ่งชั่วโมง สุดแต่ว่าจะมีแรงทำงานอื่นขนาดไหน เพราะเวลา GotoKnow คือเวลาพักผ่อนค่ะ

นี่เราคุยกันเหมือน chat MSN เลยนะคะนี่ แปลกดีที่ปกติพี่ไม่ได้ใช้แบบนี้หรอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท