KM Inside ยกระดับปีการศึกษาเฉลี่ย 9.5 ปี ให้กับชาวบ้าน


เท่าที่ผ่านมา ผมคิดว่าเราได้มุ่งจัดกิจกรรมตามภารกิจที่ ๑ คือ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก ซึ่ง จริง ๆ แล้ว กศน. น่าจะใช้ทุกกิจกรรมเพื่อที่จะยกระดับการศึกษาของประชาชน

        ผมมีแนวคิดในการจัดกิจกรรมงานการศึกษานอกโรงเรียน ตามภารกิจงาน กศน. ในหนังสือคู่มือการดำเนินงานของกรมการ ศึกษานอกโรงเรียนปี ๒๕๔๖ สมัยของท่านชาติชาตรี  โยสีดา เป็นอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน ที่เราเรียกกันติดปากว่า      "ดอกบัว ๔  กลีบ"   คือ

  • การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • การจัดศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
  • การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
  • การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนสังคม

        ซึ่งในปีต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ยังใช้ภารกิจงานนี้อยู่  จากยุทธศาสตร์ ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน  ที่กำหนดให้ สถานศึกษาของ กศน. ระดับอำเภอ  ใช้ในการดำเนินการจัดกิจกรรม การศึกษานอกโรงเรียน เพื่อยกระดับการศึกษาเฉลี่ยของประชาชน ที่ ๙.๕ ปี  ในปี  ๒๕๕๑

        หากมองสภาพการดำเนินกิจกรรมของการศึกษานอกโรงเรียน ที่ดำเนินการอยู่  เท่าที่ผ่านมา ผมคิดว่าเราได้มุ่งจัดกิจกรรม ตามภารกิจที่ ๑ คือ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก  ซึ่ง จริง ๆ แล้ว  กศน. น่าจะใช้ทุกกิจกรรมเพื่อที่จะยกระดับ การศึกษาของประชาชน 

       ผมมองเรื่องของการเทียบระดับความรู้ จากการที่ประชาชนอยุู่ดี  กินดี  มีคุณธรรม จริยธรรม สุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ อยู่ร่วมกันตามวิถีชีวิตของชุมชนและสังคมได้อย่างมีความสุข  เพื่อที่นำร่องรอยประสบการณ์ ความรุู้ องค์ความรุู้ที่เกิดขึ้น โดยที่ชาวบ้านไม่รู้ตัวว่ากำลังเรียนอยู่ เหล่านั้น  ผมคิดว่า เราสามารถนำประสบการณ์ เหล่านั้นมาเทียบเข้าสู่สาระของ หมวดวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรของ การศึกษาขั้นพื้นฐาน หากเรา จัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน ตามภารกิจงานไหนก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาเพื่อพัฒนา ทักษะชีวิต  การศึกษาเพื่อพัฒนา อาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนา ชุมชนและสังคม แล้วเราสามารถที่จะนำ ร่องรอย  ความรู้  ประสบการณ์  ที่กลุ่มเป้าหมาย  หรือ ชาวบ้านที่ได้ เข้าร่วมกิจกรรมมาเทียบสาระกับหมวดวิชาพื้นฐาน  อาจผ่านเป็นสาระ แล้วทำเป็นใบประกาศมอบให้ และเมื่อเก็บสะสมได้ของแต่ละหมวด ก็นำมาเทียบเข้ากับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้  ผมคิดว่า  กศน.  จะสามารถยกระดับการศึกษาเฉลี่ยถึง  ๙.๕  ปีได้แน่นอน

        อีกอย่างหนึ่งครับ….  จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่ได้ ทำโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร  โดยได้ใช้การบูรณาการ การทำงานของหน่วยงานในการที่จะลงไปทำกิจกรรมในพื้นที่ โดยใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ ซึ่งมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ  และเอกชน  นับได้ว่าเป็นภาคีเครือข่ายของ  กศน.  ที่จะร่วมลงไป จัดกิจกรรมทำกระบวนการให้กับกลุ่มเป้าหมาย 

        เพราะฉนั้น... การที่ กศน.  จะส่งเสริมให้หน่วยงานหรือองค์กร   จากภายนอกจัดกิจกรรมต่าง ๆ   ๘๐ เปอร์เซ็นต์  และ  กศน.  จัด  ๒๐  เปอร์เซ็นต์ คงทำได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น  เวทีชาวบ้านจะเป็น ตัวกำหนดหลักสูตรเนื้อหาที่จะใช้ศึกษา  และจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้  ร่วมเรียนรู้  ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย  กศน. และหน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมกันทำกระบวนการให้เกิดการเรียนรู้  และ  ติดตาม กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  เราก็จะได้หลัก สูตร การเรียนการสอนที่เกิดจากเวทีชาวบ้าน  ซึ่งเป็นหลักสูตร ที่หลากหลาย ตามวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนสังคม 

        อีกอย่างหนึ่ง ผมคิดว่า… ชาวบ้านจะเรียนอย่างมีความสุข  ไม่ต้องพะวงกับ  ระดับประถม  ม.ต้น  ม.ปลาย  แต่เมื่อเทียบสาระได้  เกิน  ๖๐  เปอร์เซ็นต์ของแต่ละหมวดวิชา ก็เทียบเข้ากับการ ศึกษาพื้นฐานได้เลย  อย่างนี้คุณว่าดีไหมครับ….  

หมายเลขบันทึก: 68331เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2006 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คือหนูกำลังเรียนเรื่องของการจัดการศึกษานอกระบบในหัวข้อการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม จึงใคร่ขอความช่วยเหลือด้านเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม เพื่อนำไปทำเป็นรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียนค่ะ ขอความกรุณาด้วยนะค่ะ ขอบคุญค่ะ

ผมอยากทราบว่าการคำณวนปีการศึกษาเฉลี่ยของ กศน.มีวิธีการคิดอย่างไร ใช่สูตรแบบใหน จะได้คำณวนดูบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท