รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน


วันนี้ลองนั่งสังเคราะห์รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน แม่ฮ่องสอนดูว่ามีกี่รูปแบบ และมีกิจกรรมอย่างไรบ้าง

เนื้อหาการสังเคราะห์นี้ยังไม่ได้ตรวจทานอีกครั้งครับ เพียงแต่ผมขอนำมาแลกเปลี่ยนใน Gotoknow ก่อน จากนั้นทั้งหมดก็จะเป็นเนื้อหาในเอกสารรายงานวิจัยครับ


รูปแบบการจัดการชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน

แบ่งออกเป็น <ol>

  • รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบพักค้างคืนสัมผัสวิถีชีวิต (Home stay)
  • รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เน้นการจัดการทรัพยากร
  • รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เน้นการเก็บข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและเตรียมความพร้อม
  • รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนลักษณะ หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนเต็มรูปแบบ
  • รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน แบบเครือข่ายความร่วมมือ(Network)
  • </ol><p></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบพักค้างคืนสัมผัสวิถีชีวิต (Home stay)</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">บ้านเมืองปอน ซึ่งเป็นหมู่บ้านไทยใหญ่ ถูกพัฒนาขึ้นจากองค์การบริหารส่วนตำบล และความคิดริเริ่มของครูในพื้นที่ ใช้รูปแบบ Home Stay เป็นรูปแบบโปรโมทการท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสวิถีชีวิตไทใหญ่  เช่นเดียวกับหมู่บ้านปกาเกอญอกลุ่มตำบลห้วยปูลิง อ.เมือง หมู่บ้านบ้านไทยใหญ่ที่บ้านแม่ละนา บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ลีซู อ.ปางมะผ้า ก็สามารถให้บริการที่พักแบบ Home stay ให้แก่นักท่องเที่ยวได้เช่นเดียวกัน</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">ในรูปแบบการพักค้างกับเจ้าของบ้านลักษณะนี้ กลับเป็นที่ไม่นิยมในหมู่บ้านจีนยูนนาน ด้วยข้อจำกัดทางวัฒนธรรม ความไม่คุ้นชินในชุมชนจีน เช่น บ้านรักไทย อ.เมือง จึงมีที่พักไว้บริการต่างหากตั้งไว้ในบริเวณหมู่บ้าน ส่วนที่บ้านสันติชล อ.ปาย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เข้ามาเที่ยวในหมู่บ้านกลับเดินทางลงมาพักที่ตัวอำเภอเพราะใกล้และสะดวกกว่า</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เน้นการจัดการทรัพยากร</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">ด้วยเครือข่ายการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่เดิมในเขต ต.ห้วยปูลิง อ.เมือง ชุมชนเหบ่านั้นมีฐานในการจัดการทรัพยากรร่วมกัน และโดยวิถีชุมชน เป็นวิถีที่คนอยู่กับป่า การจัดการท่องเที่ยวจึงเน้นการท่องเที่ยวแบบธรรมชาติรอบๆหมู่บ้าน และสัมผัสวิถีชีวิตในหมู่บ้านไปด้วย ยังมีชุมชนบ้านท่าตาฝั่ง ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง ที่เป็นหมู่บ้านปกาเกอญอที่จัดการท่องเที่ยวโดยการริเริ่มขององค์การบริหารส่วนตำบล นำการท่องเที่ยวมาเป็นเครื่องมือในการนำเสนอตัวตนเพื่อให้สังคมภายนอกรับรู้วิถีการอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชนเอง ผ่านการท่องเที่ยว ทั้งสองกลุ่ม(ต.ห้วยปูลิง อ.เมือง และ บ้านท่าฝั่ง ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง) ต่างก็มีวัตถุประสงค์ดังกล่าว</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p> นอกจากนี้กระบวนการท่องเที่ยวยังช่วยสร้างจิตสำนึกร่วมของคนในชุมชนในการร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นต้นทุนของชุมชน กิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวมีดังนี้ <ol>

  • การเดินป่าสำรวจเส้นทางธรรมชาติ (กล้วยไม้,ถ้ำ)
  • การดูนก
  • การพักแรมในป่า แบบแค้มปิ้ง
  • การล่องแพ
  • การสังเกตการณ์และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมต่างๆของชุมชนของนักท่องเที่ยว เช่นการเกี่ยวข้าว การเก็บผักในไร่ เป็นต้น
  • </ol><p> </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เน้นการเก็บข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและเตรียมความพร้อม</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">ด้วยกระบวนการท่องเที่ยวโดยชุมชน ขับเคลื่อนโดยความพร้อมของชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสำคัญ  ขั้นตอนแรกจะมีการเก็บข้อมูลของชุมชน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ และวางรูปแบบการพัฒนา ตลอดจนนำมาเป็นข้อมูลให้กับชุมชนในการสื่อความหมายให้กับนักท่องเที่ยวหากชุมชนยังไม่พร้อมก็สามารถจะเตรียมความพร้อมจนกว่าจะมั่นใจได้ว่าสามารถรับนักท่องเที่ยวได้ และมีการบริหาร จัดการระดับชุมชนได้ </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">หรืออาจมีสาเหตุมาจาก ชุมชนมีนักท่องเที่ยวเข้าไปน้อย หรือแทบไม่มีนักท่องเที่ยวเลยจากระยะทางไกล และเข้าถึงลำบาก  เช่นหมู่บ้านหัวปาย เมืองน้อย เขต อ.ปาย ที่เป็นหมู่บ้านในโครงการฟื้นฟูชีวิตและวัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน ก็อาจจะมีการเก็บข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ก่อนการท่องเที่ยวจะเข้าไป</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">กรณีบ้านแม่ปิง อ.ปาย เคยมีโครงการวิจัยชุมชนกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมชุมชน และด้วยกระบวนการวิจัยมีการเก็บข้อมูลชุมชน แต่หลังจากสิ้นสุดงานวิจัยแล้วชุมชนก็ไม่ได้ดำเนินการท่องเที่ยวต่อ แต่ชุมชนยังต้องการพัฒนาศักยภาพด้านอื่นๆเพิ่มเพื่อรองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอนาคต</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนลักษณะ หมู่บ้านท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">ส่วนใหญ่หมู่บ้านท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะเป็นลักษณะการเตรียมพร้อมทุกด้านเพื่อนำเสนอต่อนักท่องเที่ยว ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีการนำเที่ยวทั้งในและนอกชุมชนเป็นแพคเก็จให้นักท่องเที่ยวเลือก การแสดงศิลปวัฒนธรรม การขายของที่ระลึก  ตลอดจนการให้บริการแบบ Home stay ถือว่าเป็นการให้บริการท่องเที่ยวแบบครบวงจรในรูปแบบของการท่องเที่ยวโดยชุมชน</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">หมู่บ้านที่จัดการท่องเที่ยวลักษณะนี้ได้แก่หมู่บ้านในเครือข่ายโครงการฟื้นฟูชีวิตวัฒนธรรมเดิมแม่ฮ่องสอน  โซนห้วยปูลิง อ.เมือง และ โซนปางมะผ้า อ.ปางมะผ้า และหมู่บ้านในโครงงการวิจัยที่สนับสนุนโดย สกว. ได้แก่ เครือข่ายจีนยูนนาน บ้านรักไทย บ้านรุ่งอรุณ อ.เมือง และบ้านสันติชล อ.ปาย</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">กิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชนเหล่านี้มีดังนี้  </p><ol> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt">การท่องเที่ยวแบบเชิงอนุรักษ์ (เดินป่า ดูนก เที่ยวน้ำตก ล่องแพ ฯลฯ)</li> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt">  การชมวิถีชีวิต</li> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt">การแสดงศิลปวัฒนธรรม </li> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt">การขายของที่ระลึก</li> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt">การพักค้างคืนสัมผัสวิถีชุมชน (Home stay)</li> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt">ร้านอาหารชุมชน (กรณีนี้เด่นชัดในชุมชนจีนยูนนาน)</li> </ol><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal">รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน แบบเครือข่ายความร่วมมือ(Network)</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal">การจัดการท่องเที่ยวที่มีพื้นที่ที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันมีพื้นที่ใก้ลเคียงกัน และ เป็นหมู่บ้านในโครงการพัฒนาขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ให้การสนับสนุน มักจะถูกเรียงร้อยเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และเป็นพันธมิตรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเชื่อมโยงด้านการตลาด</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">          การรวมตัวเป็นเครือข่าย มีรูปแบบดังนี้</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">1.เครือข่ายระดับชุมชน เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มต่างๆที่อยู่ในหมู่บ้านหนึ่งๆ เป็นความสัมพันธ์แนวนอน (Horizontal) โดยมีกลุ่มบริหารจัดการดูแลผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้กิจกรรมในกลุ่มต่างๆล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับการท่องเที่ยว หากมีรายได้เข้ากลุ่มก็จะเก็บเงินส่วนหนึ่งเข้ามาเป็นกองทุนของชุมชน  เครือข่ายลักษณะนี้ถือว่าเป็นการรวมกลุ่มโดยปกติของหมู่บ้านที่จัดการท่องเที่ยว โดยมีประธานกลุ่มเป็นผู้บริหารจัดการพร้อมคณะกรรมการที่ดูแลในส่วนต่างๆ</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">2.เครือข่ายระดับกลุ่มชุมชนท่องเที่ยว  เป็นการรวมตัวของชุมชนท่องเที่ยวที่ดำเนิน</p>กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเหมือนกัน และมีพื้นที่ หรือมีจุดร่วมที่คล้ายคลึงกัน <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoNormal">2.1 เครือข่ายโซนห้วยปูลิง เป็นเครือข่ายท่องเที่ยวในชุมชนอยู่ภายใต้โครงการฟื้นฟูชีวิตและวัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน โดยโครงการฯ จัดให้มีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดารเชื่อมโยงด้านการตลาด มีโครงสร้างแบบหลวมๆ จัดให้มีการพบปะไม่บ่อยครั้งนัก ส่วนใหญ่จะหารือกันในเรื่อง การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ยุทธศาสตร์การดำเนินการท่องเที่ยวของชุมชนในอนาคตเป็นต้น</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoNormal">2.2 เครือข่ายโซนปางมะผ้า เป็นเครือข่ายที่อยู่ภายใต้โครงการฟื้นฟูชิวตและวัฒนธรรมเช่นเดียวกัน แต่โซนปางมะผ้ามีจุดร่วมที่เหมือนกันคือ การจัดการทรัพยากรร่วม โดยพื้นที่คาบเกี่ยว มีถ้ำแม่ละนาเป็นจุดร่วมสำคัญ การบริหารจัดการถ้ำจึงเป็นประเด็นที่ชุมชนรอบข้างต้องมาจัดการร่วม สร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวทั้งอนุรักษ์และคิดยุทธศาสตร์ในการท่องเที่ยวของชุมชน</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoNormal">2.3 เครือข่ายจีนยูนนาน เป็นเครือข่ายของชุมชนวิจัย ที่ได้รับสนับสนุนโดยงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) สำนักงานภาค ที่ศึกษาวิจัยประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน และประเด็น ยาเสพติด ที่เป็นปัญหาร่วมทั้งสามชุมชนจีนยูนนาน (บ้านรักไทย และบ้านรุ่งอรุณอำเภอเมือง และบ้านสันติชล อ.ปาย) ภายหลังเปลี่ยนแปลงชุมชนให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากเพราะวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์   </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">3. เครือข่ายระดับจังหวัดมีการพูดคุยกันบ่อยครั้งในการรวมเอาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งหมดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มารวมเป็นเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับจังหวัด  แต่ยังเป็นแนวคิด และยังไม่ได้เริ่มปฏิบัติการ คาดหวังว่าในอนาคตจะมีเครือข่าย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวางยุทธศาสตร์การทำงาน ตลอดจนสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับ การท่องเที่ยวโดยชุมชน ในอนาคต รองรับเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับภาคเหนือ และระดับประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"><hr></p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">- - -เอกสารงานวิจัยยังไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ - - -</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="right">โครงการวิจัยการสังเคราะห์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน</p><p align="right">จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร </p><p align="right">๒๒ พ.ค.๕๐ </p><p align="right"></p><p align="right"></p><p align="right"></p><p align="right"></p><p align="right"></p><p align="right"></p>

    หมายเลขบันทึก: 97887เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (6)
    พึ่งไปปายมาตอนปีใหม่ค่ะ ไม่ได้ไปเที่ยว แต่ไปช่วยพัฒนาสร้างสาธารณูปโภค และเล้าหมูแบบหลุมเพื่อเป็นแหล่งดูงานสาธิตให้กับศูนย์แสงอรุณเพื่อบำบัดผู้ติดยาเสพติด ที่บ้านแม่ปิง ไป 7 วันกางเต็นท์นอน หนาวสุดใจขาดดิ้น เวลาอาบน้ำรู้สึกเหมือนมือที่จับขันตักอาบนั้นไม่ใช่มือเรา อาบเสร็จเดินไปเชคไป งั่กๆๆ กลางคืนกับตอนเช้าต้องก่อไฟผิง ไม่งั้นอยู่ไม่ไหวค่ะ และมีโอกาสไปปางมะผ้าตอนขากลับ

    ตอนนี้ได้ประสานงานกับทางศูนย์เรื่องที่จะนำวิทยากรไปอบรมด้านเกษตรคอร์สสั้นๆ ให้กับผู้ที่มาบำบัดยาเสพติดระหว่างการเลิกยา เพื่อจะได้มีอาชีพติดตัวกลับไป ผู้บำบัดส่วนใหญ่มาจากปางมะผ้า และในพื้นที่ก็มีบางส่วน ได้รับการร่วมมือจากตำรวจท้องที่และปปส. ถ้าคุณจตุพรสนใจก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ค่ะ ศูนย์อยู่ทางซ้าย เลยทางเข้าโรงเรียนบ้านแม่ปิง แต่ถึงก่อนแยกเข้าไปน้ำพุร้อน (ถ้ามาจากเชียงใหม่)
    P

    เวลาผมขับรถผ่านบ้านแม่ปิงผมก็จะเห็นศูนย์แสงอรุณ ผมแปลกใจทุกครั้งว่าคืออะไร? วันนี้พอทราบบ้างแล้วว่าทางศูนย์ทำอะไรครับ

    บ้านผมไม่ไกลจากตรงนั้นครับ เดินทางต่อไปยังปายอีกประมาณ 3 กม.ครับ

    ขอบคุณมากครับสำหรับการเข้ามาเยี่ยมและกิจกรรมดีๆให้กับคนท้องถิ่นที่นั่น

    ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีค่ะ  ดิฉันและสามีเป็นข้าราชการเกษียน  รักบรรยากาศแม่ฮ่องสอนมาก  คิดจะไปโฮมสเตย์ที่แม่สะเรียง  คุณเอกแนะนำหน่อยนะคะ

    เคยทำงานอนุรักษ์ที่แม่ออน เชียงใหม่ ตอนยังทำงานอยู่  เมื่อเกษียนก็กลับกทม.ตอนนี้ทำงานอิสระที่กทม.ค่ะ.....ุชุตินันท์ 

    P


    เวลามีคนไปมากๆ อาจมีมลภาวะเกิดขึ้น   เช่น ขยะ มลภาวะทางเสียง (รถยนต์ เครื่องกระจายเสียง คาราโอเกะ การเล่นกิจกรรมรอบกองไฟ ฯลฯ)

    ซึ่ง เรื่องนี้  มีข้อตกลงร่วมกันที่ชัดเจนว่ไหมคะว่า

    จะกำหนดเวลาถึงกี่ทุ่ม กำหนดขอบเขตบริเวณ กำหนดผู้รับผิดชอบ เป็นต้น

    สวัสดีครับ คุณ add

    ติดต่อผมทางโทรศัพท์ได้ครับ 08 1883   2138 ยินดีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลครับ

    สวัสดีครับ พี่

    P

    สิ่งที่พี่เขียนมาเป็นผลกระทบของการท่องเที่ยวที่พวกเราต้องร่วมกันระดมความคิดเพื่อการแก้ไขปัญหา

    ตอนนี้กำลังเป็นกระแสดังเรื่อง การท่องเที่ยวโดยเฉพาะที่เมืองปาย

    เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทาง ผู้บริหารระดับท้องถิ่นต้องขบคิด และใช้ปัญญาในการพัฒนาอย่างมาก ตอนนี้ยังไม่เห็นกระบวนการที่ตอบโจทย์แก้ไขได้ที่เป็นเรื่องเป็นราวครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท