การปกครองส่วนภูมิภาคซาอุดี


การปกครองส่วนภูมิภาค (Regional Government)

1.             การปกครองส่วนภูมิภาค (Regional Government)

หน่วยงานปกครองส่วนภูมิภาคของราชอาณาจักร ซาอุดิอาราเบียอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของผู้บริหารส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนภูมิภาคของซาอุดีอาราเบีย ประกอบด้วยสภาบริหารเทศบาล เขต กับสภาเทศบาลอำเภอและเขตสภาบริหารเทศบาลเขต เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นในเมืองใหญ่ เช่น ริยาด เจดดะฮ และเมกกะ สมาชิกสภามาจากบุคคลที่คนในท้องถิ่นเสนอชื่อขึ้นไป และได้รับความเห็นชอบจากพระมหากษัตริย์สภาเทศบาลและเขต มีการคัดเลือกสมาชิกเช่นเดียวกับสภาบริหารเทศบาลเขตภายใต้การอำนายการของหัวหน้าท้องถิ่น มีกรรมการประกอบด้วยรองหัวหน้าท้องถิ่น ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และบุคคลที่มีชื่อเสียงดีภาในอำเภอเมื่อโครงการวางโครงสร้างพื้นฐาน ของประเทศได้มีการกำหนดขั้น ซึ่งมุ่งให้ความสำคัญต่อการขยายการพัฒนาออกไปยังส่วนภูมิภาคเป็นผลให้มีผลต่อการพัฒนาก้าวหน้าในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

vนแผนการพัฒนาฉบับที่ 5 (1990-95)ได้ระบุประเด็นหลักที่สำคัญไว้v

   เพื่อที่จะให้มีความเท่าเทียมกันในการพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าในระหว่างพื้นที่ที่แตกต่างกันภายในราชอาณาจักร โดยผ่านกระบวนการ   พิจารณาให้ศูนย์กลางการพัฒนาต่าง ๆ เป็นแหล่งพื้นฐานสำหรับการพัฒนาภูมิภาคซึ่งดูตามความเหมาะสมของระดับการพัฒนาการ   ให้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ที่จากการให้บริการ และเต็มที่แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน 

 สภานิติบัญญัติ               

         ราชาอาณาจักรซาอุดีอาราเบียใช้รัฐธรรมนูญแห่งกฎหมายอิสลามในการปกครอง และบริหารประเทศ กฎหมายอิสลามใช้บังคับในทุกกรณีทั้งทางแพ่ง อาญา และพาณิชย์ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องตรากฎหมายใด ๆ ขึ้นมาใช้ ซาอุดีอาราเบียจึงไม่มีสภานิติบัญญัติ                อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีความจำเป็นต้องตรากฎหมายขึ้น ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากสภาคณะรัฐมนตรี เมื่อสภาคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว ก็นำขึ้นถวายพระมหากษัตริย์ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป    

อำนาจตุลาการ

ราชอาณาจักรซาอุดิอาราเบีย ใช้คัมภีร์อัล-กุรอาน เป็นกฎหมายหลักในการตัดสินคดี โดยอาศัยตัวบทของอัล-กุรอาน เป็นหลักในการยึดถือปฏิบัติ โดยเคร่งครัดมีระบบศาลทำหน้าที่พิจารณาคดี 3 ศาลด้วยกัน1.       ศาลแพ่ง (Mahkamat al-Omoural -Mostajalah) พิจารณาคดีเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั่วประเทศการตัดสินของศาลถือเป็นที่ยุติ2.       ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งและอาญา (Mahkamat al-Sharia al-Koubar) มีอำนาจพิจารณาทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ เช่น ริยาด เจดดะฮ เมกกะฮ เป็นต้น การตัดสินของศาลอาจไม่เป็นที่ยุติ สามารถอุทธรณ์ต่อศาลสูงได้3.       ศาลอุธรณ์ (Court of Cassation) ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ พิจารณาคดีที่อุทธรณ์มาจากศาล (Mahkamat al-Sharia al Koubra)พระมหากษัตริย์ คงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุด ซึ่งอาจทรงแก้ไขคำพิพากษาของศาลใด ๆ ก็ได้ (เอกสารการเรียนรายวิชา ระบบการเมืองการปกครองในตะวันออกกลางสมัยใหม่,2549  : 2-20 )
 

การเมืองการปกครองทั่วไป           

   ก่อนหน้าปี 2534 ซาอุดีฯ ใช้กฎหมายอิสลามเป็นหลักในการปรกครองประเทศโดยพระราชาธิบดีฯ มีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดในการบริหารประเทศ ต่อมาหลังจากวิกฤตการณ์อิรัก-คูเวต ได้มีความเคลื่อนไหวจากประชาชนบางส่วนให้มีการพัฒนารูปแบบการปกครองให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย พระราชาธิบดีฯ จึงได้วางรูปแบบการปกครองอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก โดยประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา 3 ฉบับ เมื่อเดือนมีนาคม 2534 กฎหมายดังกล่าวระบุว่า การปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระราชาธิบดีฯ มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้แต่งตั้งและเพิกถอนครม. และสภาที่ปรึกษา (Shura) สภาที่ปรึกษานี้ถือเป็นพัฒนาการใหม่ของซาอุดีฯ ทีเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่ก็เป็นเพียงในฐานะที่ปรึกษาเท่านั้น มิใช่สภานิติบัญญัติเช่นประเทศอื่นๆ แม้ว่าในทางกฎหมายพระราชาธิบดีฯ มีอำนาจสิทธิขาดในปกครองประเทศ แต่ในทางปฎิบัติ พระราชาธิบดีฯ จะใช้วิธีดำเนินนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน (consensus) จากกลุ่มต่างๆ ในประเทศ อาทิ ประชาชน ฝ่ายศาสนา ทหาร ราชวงศ์ และนักธุรกิจเมื่อวันที่ 16  กันยายน  2545 ได้มีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งยายกอซี  อัลกุชัยฟี เอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียประจำประเทศอังกฤษเป็นรัฐมนตรีทรัพยากรน้ำ ทั้งนี้นายอัลกุซัยฟีได้เข้าไปทำหน้าที่แทนนายอับดุลอลฮ์ อิบนุ อับดุลอะซีส อับนุมุอัมมัร ผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี                การที่อัลกุซัยฟีออกจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตได้รับการมองจากผู้สังเกตการณ์ว่าเป็นแรงกระตุ้นที่มาจากแถลงการณ์ของเขาที่สนับสนุนการลุกขึ้นสู้ของชาวปาเลสไตน์ที่ตกอยู่ภายใต้การครอบครองทางทหารของอิสราเอล นายอัลกุซัยฟีผู้เป็นทั้งนักกวีและนักเขียนได้เขียนบทกวีขึ้นเมื่อเดือนเมษายนในหัวข้อผู้เสียสละชีพเพื่อศาสนา อุทิศให้กับอายาต อัลอัคราช หญิงวัยรุ่นชาวปาเลสไตน์ที่ระเบิดตัวเองนอกซูเปอร์มาร์เกตในนครเยรูซาเล็ม สังหารตัวเธอเองและชาวอิสราเอลสองคน การกระทำดังกล่าวตรงกับช่วงเวลาที่ซาอุดิอาระเบียนำเสนอสันติภาพตะวันออกกลางพอดี ดังนั้นการกระทำของอัลกุซัยฟี จึงถูกตำหนิอย่างรุนแรง                อัลกุซัยฟีกล่าวหานายรัฐมนตรีแอเรียลชารอน ว่าเป็นผู้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ โดยกล่าวว่าการยึดครองชายฝั่งตะวันตก และฉนวนกาซา โดยอิสราเอลนั้นเลวร้ายยิ่งกว่าการครอบครองยุโรปของนาซีและพูดอย่างเป็นนัยว่าเขาจะไม่ว่าอะไรหากว่าบุตรชายของเขาเองจะร่วมระเบิดพลีชีพด้วย

คำสำคัญ (Tags): #(regional government)
หมายเลขบันทึก: 97880เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท