เสวนาจานส้มตำ ๒๐ : ดอกไม้ ก้อนหิน และครูอ้อย (เวอร์ชั่นชำแหละหัวใจที่เหน็ดเหนื่อย)


กลับมาพบกับเสวนารสแซบที่เป็นประเด็นค้าคางในความรู้สึก กับบันทึกที่สะท้อนจากความรู้สึกด้านหนึ่งของครูอ้อย สิริพร กุ่ยกระโทก ที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่กลั่นกรองจากความรู้สึกจนเข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจของผู้อ่าน



หลายบันทึกที่ผู้อ่านประทับใจ แต่ 2 บันทึกนี้ ถูกนำมาถกในเสวนาจานส้มตำในครั้งนี้ครับ

ฝนตกที่กลางใจของคนมากกว่าหนึ่งคน, บาปบริสุทธิ์..จนมาถึง..บ้านแตก

คู่สนทนา 1 : อ่านบันทึกที่ครูอ้อยเขียนเล่าเรื่องส่วนตัวของท่านจนรู้สึกคุ้นเคย เค้าเขียนมาเรื่อยๆจนรู้สึกผูกพัน บันทึกที่ครูอ้อยมีความสุข อ่านแล้วก็รู้สึกสุขด้วย เรื่องที่ทุกข์ เศร้า ก็เศร้าตามไปด้วย

คู่สนทนา 2 : ยังกับติดละครช่อง 3 ช่อง 7 เลยนะ เหมือนคอยลุ้นพระเอกนางเอกเลย มีครบทุกรสชาติ ทั้งสุข เศร้า เหงา ตรม บางทีก็อยากร้องไห้ตามไปด้วย

คู่สนทนา 1 : แล้วรู้สึกยังไงกับบันทึกเรื่อง “ฝนตกที่กลางใจของคนมากกว่าหนึ่งคน” และ “บาปบริสุทธิ์..จนมาถึง..บ้านแตก”

คู่สนทนา 2 : ครูอ้อยพยายามที่จะสะท้อนความรู้สึกบางอย่างออกมา ถ้าเป็นเรื่องที่ครูอ้อยมีความสุข จะเขียนบันทึกอย่างไหลลื่น แต่ถ้าเป็นเรื่องทุกข์ ครูอ้อยคงจะพยายามเขียนสะท้อนอะไรออกมาบางอย่าง แต่จะไม่ปล่อยออกมาหมด จะกั๊กๆไว้บ้าง

นายบอน : ครูอ้อยพึ่งเขียนความเห็นในบันทึกเก่าๆของนายบอนหยกๆ ที่ http://gotoknow.org/blog/bonlight/60462 บอกว่า “เหนื่อยกายยังพักได้ แต่…เหนื่อยใจ..ใครก็ช่วยไม่ได้ค่ะ “ แล้วครูอ้อยยังย้อนกลับไปอ่านบันทึกเก่าๆของนายบอน และเขียนความคิดเห็นเติมเข้าไปอีก เหมือนกำลังต้องการกำลังใจเพื่อมาต่อสู้ปัญหาชีวิตในปัจจุบัน

<h2> คู่สนทนา 2 : เรื่องฝนตกที่กลางใจ อ่านแล้วสะท้านใจจริงๆ มีหลายคำที่สะท้อนความรู้สึกที่หนักใจหลายอย่าง ขนาดที่มีน้ำตาไหลหลังจากที่ใจลอยเผลอขึ้นลิฟต์ แทนที่จะขึ้นบันไดเหมือนทุกๆวัน แล้วยืนมองตัวเองในกระจกแล้วพยายามจะสื่ออะไรบางอย่างออกมา แต่เขียนออกมาได้แค่บางส่วนเท่านั้น </h2>
คู่สนทนา 1 :
น่าสงสารครูอ้อยเหมือนกันนะ ด้วยความที่เป็นผู้ใหญ่ เป็นที่เคารพนับถือของนักเรียน ในโรงเรียน เป็นที่ชื่นชอบของมิตรรักหลายคน ทำให้เรื่องง่ายๆ แค่การปล่อยให้น้ำตาช่วยละลายความกดดันที่ซ่อนอยู่ในหัวใจบ้าง กลับไม่สามารถทำได้อย่างที่ใจคิด เหมือนความเป็นจริงในชีวิตที่ครูอ้อยกำลังแบกหลายอย่างอยู่

<h2> คู่สนทนา 2 : ถ้าย้อนเวลากลับไปเป็นเด็กได้ ครูอ้อยคงจะปล่อยโฮออกมาเต็มที่ แล้วจะสบายใจขึ้นทันที แต่ถ้าทำแบบนั้นในวันนี้ หลายคนคงหัวใจหล่นไปอยู่ที่ตาตุ่ม แค่ครูอ้อยเขียนบันทึก “บาปบริสุทธิ์..จนมาถึง..บ้านแตก” ก็ทำเอาหลายคนสะท้านใจกันทั่วหน้า </h2>


คู่สนทนา 1 : น่าสนใจว่า มิตรรักหลายคนที่ส่งความปรารถนาดีให้ครูอ้อยอยู่อย่างสม่ำเสมอ จนทำให้ครูอ้อยเขียนความคิดเห็นแสดงความรู้สึกที่ดีขึ้น แต่ความจริง อาจจะไม่ดีก็ได้ กำลังใจเหล่านั้น ช่วยครูอ้อยได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

คู่สนทนา 2 :
สังเกตจากตรงไหน

คู่สนทนา 1 : ครูอ้อยรู้สึก….หนาว…หนาวเหน็บ และอยู่ที่นี่คนเดียว เหมือนกับการเดินทางไปสู่ความสำเร็จที่ต้องเดินไปคนเดียว….. <h3>ถึงแม้ว่า ..ดูผิวเผินว่า..ครูอ้อยจะมีเพื่อนมากมาย มีพันแสง ที่ช่วยเหลือ มีมิตรรักใน g2k ที่เป็นห่วงและให้กำลังใจ...ก็ตาม </h3>

คู่สนทนา 2 :ั้งๆที่รู้ว่า มีกำลังใจมากมาย แต่กำลังใจเหล่านั้นช่วยเยียวยาครูอ้อยได้เพียงชั่วคราว เหมือนตอนหิวข้าว กินข้าวอย่างอร่อย เมื่ออิ่มแล้ว ก็ลืมไป พอหิวอีก ก็ต้องการกินข้าวจานใหม่ โดยลืมข้าวจานเก่าไปแล้ว

นายบอน : แล้วการที่ครูอ้อยกลับมาเปิดอ่านบันทึกเก่าๆที่นายบอนเขียนถึงครูอ้อยล่ะ ก็เหมือนกับข้าวจานเก่าๆ ที่ครูอ้อยกลับมากินอีกครั้ง ??

คู่สนทนา 2 : คงเหมือนอาหารจานโปรด ที่อยากจะสั่งมากินอีกหลายๆครั้ง ไม่รู้ว่า ครูอ้อยคลิกกลับไปอ่านบันทึกเก่าๆของใครอีกบ้าง แต่มันคงจะทำให้ครูอ้อยรู้สึกดีขึ้น หรืออาจจะทำให้ลืมช่วงเวลาในปัจจุบันไปได้

คู่สนทนา 1 : เรื่องบางเรื่องก็บอกใครไม่ได้นะ จะถามใครก็คงไม่เหมาะ จะเขียนเล่าตรงๆ อาจจะเกิดผลกระทบ ครูอ้อยอาจจะคิดว่า เรื่องนั้นเป็นภูเขาน้ำแข็ง แต่สำหรับหลายท่าน อาจจะมองเพียงแค่ก้อนดินเล็กๆก้อนหนึ่ง ใน gotoknow มีผู้รู้มากมาย เสียดายที่ครูอ้อยน่าจะลองปรึกษากับใครดูบ้าง เผื่อปัญหาที่คิดว่าเป็นภูเขา จะกลายเป็นก้อนดินได้บ้าง

นายบอน : ความจริงน่ะ บอกได้ แต่ไม่อยากบอกเอง ตีเส้นล้อมตัวเอง แล้วสะสมความเหนื่อยใจเอาไว้เรื่อยๆ เหมือนรอวันที่จะระเบิด!!!!

คู่สนทนา 2 : อ่านเรื่อง บาปบริสุทธิ์..จนมาถึง..บ้านแตก แล้ว คิดว่า น่าจะมีเรื่องที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิด ที่ครูอ้อยบอกใครไม่ได้ เห็นชื่อเรื่องแล้ว ตกใจจริงๆ

<h2> คู่สนทนา 1 : สงสัยเหมือนกันว่า เกิดอะไรขึ้น เห็นว่า วันที่ 25 ก.พ. มีงานแต่งงานของลูกสาวที่โคราช เรื่องที่น่ายินดีเช่นนี้ ครูอ้อยน่าจะรีบเขียนบันทึกตั้งแต่กลับจากโคราชทันที ขนาดไปงานทอดผ้าป่า วันที่กลับมาคนเดียว ก็รีบเขียนบันทึก อีกวันก็เอารูปมาโชว์ แต่น่าสังเกตว่า ทำไมรูปงานแต่งงาน ถึงโผล่ในบันทึกน้อยมาก แสดงว่า มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น ทำให้บันทึกเรื่องที่จะทำให้ครูอ้อยมีความสุขมากที่สุด โผล่มาใน gotoknow ช้ามาก อย่างผิดคาด</h2>
นายบอน : ครูอ้อยอาจจะพึ่งจะว่างก็ได้มั้ง

คู่สนทนา 1 : บันทึกอื่นๆของครูอ้อยยังโผล่ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ทำไม เรื่องบ้านแตกถึงออกมาก่อนล่ะ ทั้งๆที่ไปงานแต่งงานของลูกสาวแท้ๆ แล้วมาเขียนชื่อเรื่องบ้านแตก น่าคิดว่า ครูอ้อยกำลังหนักใจเรื่องอะไรอยู่นะ

คู่สนทนา 2 : ครูอ้อยให้ความเห็นหลายอย่าง อาทิ ตอบคุณสมพร ก็บอกว่า

* ครูอ้อยกำลังฝึกการอยู่คนเดียว หมายถึงคิดคนเดียว ฝึกให้ใจไม่พะวง และรักการเรียนให้หนัก
* สุขภาพไม่อำนวย แต่หากใจสู้ ก็ยังพอไหว
* ครูอ้อยกำลังฝึก…จิตใจ
* และต้องการพลังที่ดี ที่มีอำนาจจากน้องเสมอ

พอมาตอบคุณหนูนิด ก็บอกว่า
* ครูอ้อยสบายดีค่ะ..เพียงแต่ในระยะนี้..งานมาก และทำงานไม่ทันค่ะ

<h2> เป็นการตอบเลี่ยงไปตามน้ำ ตกลงจะฝึกคิดวิตกกังวลอยู่คนเดียว หรือจะแก้ตัวว่า งานเยอะก็เอาสักอย่าง</h2>
นายบอน : คนอื่นเค้าก็งานเยอะ ทำงานไม่ทันกันทั้งนั้น มีใครที่เขียนบันทึกในเนื้อหาทำนองนี้บ้าง พออ่านเรื่องฝนตกกลางใจแล้ว แบบนี้คงไม่ถือว่า ฝึก..จิตใจแน่ๆ ถ้าฝึกใจ คนเราต้องมีสมาธิ ไม่ใจลอยขนาดเผลอไปขึ้นลิฟต์ ทั้งๆที่ปกติ เดินขึ้นบันไดทุกวัน และคงไม่มีใครไปฝึกมองดูตัวเองในกระจก แล้วน้ำตาไหลออกมาแบบนั้นหรอก… ที่แก้ตัวมา ดูไม่สมเหตุสมผลเสียเลย

<h2> คู่สนทนา 1 : อาการน่าเป็นห่วงมากๆ เดี๋ยวสักพักก็คงจะหลุดเขียนอะไรออกมาอีก ทำให้คนอ่านหวาดหวั่นไปด้วย ถ้าตามอ่านไม่ดี ยิ่งจะคิดว่า ครูอ้อยกำลังย่ำแย่ แต่ถ้าดูข้อความให้ดีๆ จะเห็นอะไรซ่อนอยู่</h2>
นายบอน : โห สุดยอด อ่านขาดจริงๆ

คู่สนทนา 2 : หลายคนให้กำลังใจครูอ้อยแล้ว แต่ก็เป็นกำลังใจที่ดูเป็นนามธรรม ไม่สามารถยึดเหนี่ยวหัวใจให้เข้มแข็งได้ แต่เราได้พระมาห้อยคอจากญาติ มาช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจในยามท้อ ให้สู้ชีวิตได้ น่าจะมอบอะไรสักอย่างให้ครูอ้อยเป็นกำลังใจในยามท้อบ้างนะ

คู่สนทนา 1
: มอบจตุคามรามเทพดีมั้ย

คู่สนทนา 2 : ถ้านายบอนไปเจอครูอ้อยอีก จะเอาอะไรให้ครูอ้อยละ

นายบอน : ก้อนหิน 1 ก้อน

คู่สนทนา 1 :
ไม่ลงทุนเลยนี่ เก็บเอาจากข้างทางนี่นะ โอย ลงทุนหน่อย

<h2> นายบอน : ขนาดมิตรรักทั้งหลายของครูอ้อย ส่งกำลังใจมาให้ โทรหามั่ง และอีกหลายอย่าง ครูอ้อยก็ยังท้อ เหนื่อยใจเหมือนเดิม เอาก้อนหินนั้นแหละดีแล้ว </h2>
คู่สนทนา 2 :
น่าจะมอบดอกไม้สักช่อ ดอกกุหลาบช่อใหญ่ไปเลยสิ

นายบอน :
กุหลาบมันมีหนาม หนามอาจจะตำเนื้อของครูอ้อยได้ แต่ก้อนหินที่จะให้ครูอ้อย ให้ใส่ไว้ในกำมือ ถ้ากำให้แน่น จะเจ็บ

คู่สนทนา 1 : แล้วก้อนหินมันจะมีประโยชน์อะไรล่ะ

นายบอน :
ให้ก้อนหินไว้ในมือ คงจะไม่กำเอาไว้ตลอดเวลาหรอกนะ ก้อนหินให้เอาไว้ขว้าง ขว้างออกไปให้ไกลๆ เหมือนกับการขว้างปัญหา เรื่องที่รบกวนจิตใจออกไปไกลๆมือ เมื่อเรื่องที่รบกวนจิตใจออกไปแล้ว ก็จะมีสติ สมาธิ ลุยงาน แก้ปัญหาได้งัยล่ะ แต่หลายคนมักจะชอบกำก้อนหินไว้ในมือ (กำเรื่องรบกวนจิตใจ) ทำให้มือไม่ว่าง ทำอะไรไม่สะดวก ทั้งๆที่ก้อนหินก็ไม่ได้มีประโยชน์อย่างที่ว่า แต่หลายคนชอบกำมันเอาไว้

คู่สนทนา 2 :
กำหินไว้นานๆ จะรู้สึกหนักนะ หนักใจนั้น หนักได้ แต่ไม่ควรจะหนักใจให้นานเกินไป ไม่งั้นจะเหนื่อยใจ

นายบอน : อันที่จริง ครูอ้อนก็ทำ 5 ส บนโต๊ะทำงาน และห้องทำงานแล้ว แต่กลับลืมที่จะทำ 5 ส ในหัวใจตัวเอง เอาอะไรมาสุมไว้ในห้องหัวใจให้รกไปหมด ทั้งปัญหา เรื่องหนักใจต่างๆ ถ้าจะคิดทำ 5 ส ในหัวใจตัวเองเสียบ้าวง คงจะดี

คู่สนทนา 1 : โห ว่ากันตรงๆแบบนี้ ไม่กลัวครูอ้อยโกรธหรือ

นายบอน :
อยากโกรธก็โกรธไป ถ้ารู้สึกดีขึ้น ถือว่า คุ้ม

<h2> คู่สนทนา 2 : เคยอ่านบันทึกเก่าๆของครูอ้อย ที่เขียนเรื่องหนักใจ แล้วก็จบลงไปเฉยๆ แล้วก็เขียนเรื่องอื่นต่อ แสดงว่า มีปัญหาที่ยังไม่แก้ไขอยู่ ถ้าเคลียร์เรื่องในบันทึกเก่าๆด้วย วันนี้ คงไม่ต้องมีเรื่องหนักใจสะสมมาถึงตอนนี้ </h2>
คู่สนทนา 1 :ช่เลย เรื่องบ้านแตก ก็เป็นทำนองนั้น คงจะปล่อยให้เกิดความเหนื่อยใจ และบั่นทอนตัวเองลงไปเรื่อยๆ เก็บสะสมความกดดันไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังดีที่บันทึกเรื่องเกี่ยวกับความสุข คละเคล้ากันไป แต่เรื่องที่ยังค้างคา แค่มีอะไรมาสะกิดนิดเดียว แผลที่ตกสะเก็ดก็จะอักเสบอีกครั้ง

คู่สนทนา 2 : แบบนี้ สงสัยต้องให้มิตรรักขอวงครูอ้อยแต่ละคนไปเยี่ยมที่โรงเรียน ไปเข้าคิวให้กำลังใจ มอบพระ มอบจตุคามรามเทพให้ครูอ้อย เติมกำลังใจล่ะม้าง

คู่สนทนา 1 :
เดี๋ยวฝากปลัดขิกให้ครูอ้อยด้วยดีกว่า

คู่สนทนา 2
: แต่สะท้านใจมากๆ ที่ครูอ้อยไปแอบร้องไห้ตอนส่องกระจกมองตัวเองในลิฟต์ของโรงเรียนน่ะ จะกลับมาเป็นเด็กก็ไม่ได้ เลยร้องไห้โฮนำตาไหลพราก แล้วมีคนมาคอยโอ๋ คอยปลอบ ให้ความรู้สึกอบอุ่นขึ้นมาได้มั่ง แล้วมีคนที่คอยให้คำปรึกษา ไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไร ก็ปรึกษาได้ทุกเรื่อง แต่พอเป็นผู้ใหญ่ เรื่องแบบนี้กลับทำไม่ได้ ไม่เหมาะสม น่าสงสารครูอ้อยจริงๆ

<h2> นายบอน : เรื่องร้องไห้ ไม่ยากหรอก ชวนครูอ้อยกินส้มตำเผ็ดๆ ชนิดน้ำหูน้ำตาไหลออกมา ครูอ้อยจะปล่อยให้น้ำตาไหลก็ไม่มีใครว่า เพราะจะมีคนร่วมน้ำตาไหลด้วย เพราะความเผ็ด ก็เหมือนกับชีวิตที่กดดัน ต้องหาทางระบายความกดดันออกมาบ้าง ระบายด้วยความแซบของส้มตำซะเลย ทั้งซู้ดปากด้วยความเผ็ดร้อนอีกด้วย เหมือนชีวิตที่ต้องมีรสชาติกันบ้าง</h2>

หมายเลขบันทึก: 81240เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2007 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณบอน

  • ครูอ้อยเขียนบันทึกได้สะท้านใจ..จริงๆหรือคะ
  • ครูอ้อยอยากจะตอบบันทึกนี้...แต่ยังกั๊กไว้..ไม่ตอบ
  • ครูอ้อยคิดว่า...ความรู้สึกนี้..เกิดขึ้นกับคุณบอน..คนเดียวนะ
  • ครูอ้อยรู้ว่า..คุณบอนอ่านบันทึกของครูอ้อย  ประกอบกับรู้เรื่องราวในครอบครัวของครูอ้อย  จึง..เข้าใจอย่างลึกซึ้งกว่าใคร

ขอบคุณที่มีบันทึกที่ดีให้อ่าน

ไม่ใช่เฉพาะนายบอนนะครับ แต่ผู้ร่วมวงเสวนานั้น เกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้งจับความรู้สึก จากถ้อยคำที่ถ่ายทอดผ่านบันทึกของครูอ้อยออกมาได้ ซึ่งคนอ่านท่านอื่นอาจจะอ่านในแบบอ่านแต่ละบันทึก แต่ไม่ได้นำมาเชื่อมโยงกันมากนัก บางคนเลือกอ่านเฉพาะบันทึกที่ครูอ้อนเขียนเรื่องราวความสุข แต่เลี่ยงที่จะอ่านความทุกข์ ทั้งๆที่คนเขียนคงเดียวกัน

การใส่ใจในความรู้สึกที่มากขึ้น ย่อมจะทำให้สัมผัสถึงความรู้สึกบางอย่างที่ซุกซ่อนอยู่ผ่านทางบันทึกที่ถ่ายทอดออกมา แม้จะพยายามอำพรางไว้ด้วยการเขียนบ้อความที่เลี่ยงที่จะกล่าวถึงใจความสำคัญให้มากกว่านั้น

แต่คนที่ติดตามอ่านอย่างเข้าถึงจริงๆ จะมองออกนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท