BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ทฤษฎีและปัญหาคุณธรรม : นำเรื่อง


ทฤษฎีและปัญหาจริยธรรม ๑

คุณธรรม ศัพท์นี้ พวกเราใช้พูด และได้อ่านหรือได้ฟังเป็นประจำ... แต่ถ้าถามว่า คุณธรรมตามความคิดเห็นของคุณเป็นอย่างไร ? ... ผู้เขียนคิดว่าแต่ละท่านก็จะให้ความเห็นแตกต่างกันไป... และถ้าจะประมวลความคิดเห็นเหล่านั้นให้เป็นหนึ่งเดียว ผู้เขียนเองก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ !

ศัพท์ว่า คุณธรรม แม้จะเป็นคำบาลีสันสกฤต แต่ในวรรณคดีบาลีสันสกฤตที่ผู้เขียนคุ้นเคยอยู่ ยังไม่เจอที่ใช้คำนี้โดยตรง... ตามที่พอรู้มาบ้าง เราบัญญัติศัพท์มาใช้แทนคำว่า virtue 

นอกจากคำนี้แล้ว ศีลธรรม และ จริยธรรม ก็เช่นเดียวกัน มิได้มีใช้ในวรรณคดีบาลีและสันสกฤตโดยตรง แต่เป็นเพียงศัพท์ที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้แทนคำว่า moral

อีกคำหนึ่งคือ จริยศาสตร์ ซึ่งเราบัญญัติใช้แทนคำว่า ethics ... ส่วนคำว่า ethical ซึ่งเป็นศัพท์คุณนามนั้น บางครั้งเราก็มักจะแปลว่า เชิงจริยศาสตร์ แต่บางท่านที่แปลคำนี้ว่า จริยธรรม หรือ ศีลธรรม ก็พบเห็นอยู่เสมอ....

ตามนัยแห่งการแปลและการใช้คำเหล่านี้ บ่งชี้ว่าความเห็นเรื่องเหล่านี้ยังไร้มาตรฐานเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้น ผู้เขียนขอฝากให้ตรวจสอบกับราชบัณฑิตย์ฯ เพื่อจะได้ไม่ลักลั่นสำหรับผู้แรกสนใจ และยังมีคำอื่นๆ ที่ราชบัณฑิตย์ฯ บัญญัติไว้ เช่น amoral และ morals แต่สองคำนี้ลึกเกินไป มักไม่ค่อยเจอในหนังสือต่างสาขาออกไป ........

อนึ่ง หลักเบญจศีล-เบญจธรรม ที่เราเรียนรู้และจำกันมาตั้งแต่เด็กๆ นั้น พระเดชพระคุณพระพรหมโมลี (ป.อ. ปยุตฺโต) บอกว่าเป็นภูมิปัญญาของพระโบราณาจารย์ไทยที่ประยุกต์ขึ้นมานำเสนอ มิได้มีอยู่เดิมจากคำภีร์บาลีใดๆ

........

รับทราบและตระหนักกันโดยทั่วไปว่า สังคมไทยปัจจุบันมีปัญหาเรื่องศีลธรรมหรือคุณธรรมอย่างหนัก... จนกระทั้งได้ยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ เมื่อไม่นานมานี้....

ตอนทำวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนศึกษาปมขัดแย้งเชิงทฤษฎีในจริยศาสตร์ร่วมสมัยระหว่างทฤษฎีหลักการกับทฤษฎีคุณธรรม และการนำมโนทัศน์เรื่องการกระทำเหนือหน้าที่มาแก้ปัญหานี้ของ โบฌองพ์ (Beauchamp, Tom L.) ซึ่งบางส่วนผู้เขียนได้นำเสนอไว้แล้วที่   การกระทำเหนือหน้าที่ ซึ่งผู้สนใจอาจแวะไปเยี่ยมได้

แต่นั้น เป็นประเด็นลึกและละเอียดอ่อนเกินไปในแง่ทฤษฎี ดังนั้น ผู้เขียนจะนำมาเล่าใหม่ โดยจะนำเสนอเป็นเรื่องเล่าในแง่ทฤษฎีและวิเคราะห์วิจารณ์สังคมไทยในปัจจุบันไปด้วย เพื่อค้นหาสาเหตุ ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะบางอย่างผสมผสานกันไป ตามที่จะนึกจะคิดได้ในขณะนั้นๆ....

ดังนั้น จึงเชิญชวนผู้สนใจช่วยตรวจสอบ และหรือร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยตามโอกาสที่เห็นว่าสมควร......

เจริญพร

หมายเลขบันทึก: 107122เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2007 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • นมัสการหลวงพี่
  • อื้ง เจอสวดมนต์แปล
  • ไม่ได้ฟังนานสาธุๆๆๆๆ
  • พบว่าทฤษฎีเราดีจังเลย
  • แต่การปฎิบัติบ้านเราแย่มากๆๆครับผม
  • ขอบคุณครับ

นมัสการครับพระอาจารย์

คุณธรรม  บางคนอาจคิดว่าเป็นของลึกซึ้ง  เห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยาก  หรืออื่นๆ แต่ถ้าเรามองตามความเป็นจริงแล้วคุณธรรมอยู่ไกล้ตัวเรานี้เอง ไม่รู้ว่าเรามองเห็นกันหรือเปล่า

P

เห็นด้วยกับอาจารย์ขจิต.....

หลวงพี่เคยให้ความเห็นว่า แนวคิดล่าสุดเรื่องหลักเบญจศีล-เบญจธรรม เทียบได้กับแนวคิดเรื่องทฤษฎีคู่ขนานทางจริยศาสตร์ปัจจุบัน กล่าวคือ

เบญจศีล = ทฤษฎีหลักการ

เบญจธรรม = ทฤษฎีคุณธรรม

เจริญพร

P

คุณโยมว่ามาอย่างนั้น...

จึงใคร่จะถามคุณโยมว่า ตามความคิดเห็นของคุณโยม...

คุณธรรมคืออะไร หรือเป็นอย่างไร ?

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

ทีแรกผมแปลกใจมากที่พบข้อความว่า "คำคุณธรรมนั้น เราบัญญัติมาจากคำ Virtue ในภาษาอังกฤษ" คือ แปลกใจว่า "เราน่าจะมีความคิดเกี่ยวกับคุณธรรมเกิดขึ้นในใจของเรานานมาแล้ว"  นานแค่ไหนหรือ  ต้องก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทยใช้  และก่อนมีการประดิษฐ์อักษรไทยใช้  เราก็มีภาษาของเราเองอย่แล้ว  การมีภาษาใช้  แม้เพียงภาษาพูด  เราก็น่าจะมีการสื่อสารเกี่ยวกับความคิดเรื่องคุณธรรม  เพราะว่า  "ตั้งแต่เราเรื่มเกิดมาเป็นคน" เราก็ต้อง"คิด" ว่า "เราสงสารสัตว์ที่เราเห็นคนอื่นเชือดคอแน่ๆ"  และถ้าเรารู้สึกเช่นนั้น(ต้องรู้สึกสักคนหนึ่ง ! ) ก็แสดงว่า "เราเริ่มมีความรู้สึกเชิงคุณธรรมแล้ว"  และ"มันต้องมีใครสักคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยในหมู่คนไทยของเราในสมัยโน้นที่ "ชอบช่วยเหลือสัตว์เป็นนิจเพื่อไม่ให้ถูกฆ่า"  และถ้าอย่างนี้  ก็แสดงว่า "ความรู้สึกเกี่ยวกับคุณธรรมได้เกิดขึ้นแล้วในหมู่คนไทยในสมัยโน้น"  จึงคิดว่า เราน่าจะมี "มโนทัศน์คุณธรรม" แล้ว   และ  เราน่าจะมี "คำที่เป็นชื่อของมโนทัศน์นี้เกิดขึ้นแล้ว"ในสมัยโน้น ในหมู่คนไทย  ซึ่งต้องก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงหลายพันปี !!

มิใช่ว่าเราเพิ่งมีมโนทัศน์ตามหลังพวกฝรั่งอย่างแน่นอน ?!!

และดังนั้น  เราจึงต้อง "แปลคำของเรา"  "ให้ตรงกับของฝรั่ง"  "มิใช่แปลของฝรั่งมาเป็นของเรา" อย่างแน่นอน

ไม่มีรูป

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ก็เห็นด้วยกับที่อาจารย์ว่า....

แปลคำของเราให้ตรงกับของฝรั่ง มิใช่แปลของฝรั่งมาเป็นของเรา....

ถ้าอาจารย์จะกรุณา โปรดอ่านและให้ความเห็นตอนต่อไปที่ ทฤษฎีและปัญหาคุณธรรม : ความหมาย

เจริญพร 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท