"หวนคืนสู่พื้นฐาน" - การฟังอย่างตั้งใจ vs. การฟังอย่างลึกซึ้ง


..... จะต้องฝึกฟังอย่างลึกๆ ฟังด้วยความรู้สึกที่ “in” กับเรื่องนั้นอย่างเต็มที่ ฟังจนเกิดความรู้สึกเสมือนกับว่าเราได้ “หลุดเข้าไป” ในเรื่องที่กำลังฟังอยู่นั้น ทำให้ได้เห็นบรรยากาศ สามารถเข้าใจในบริบทได้เป็นอย่างดี ...
อย่างที่ผมพูดอยู่เสมอครับว่า .....ในที่สุดแล้ว ทักษะที่แสนจะธรรมดาแต่ถือว่าสำคัญที่ทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) สัมฤทธิ์ผลก็คือ ทักษะการฟัง ....เป็นการฟังใน 2 ลักษณะครับ อย่างแรกผมเรียกว่า การฟังอย่างตั้งใจ หรือ Attentive Listening เป็นทักษะที่จำเป็นในช่วงฟังบรรยาย เป็นการฟังเพื่อให้เข้าใจหลักการ เป็นการฟังที่ต้องตั้งใจ ไม่ วอกแวก เป็นการฟังแบบ เปิดรับ ฟังไปโดยไม่มี คำเถียง หรือ คำถาม ใดๆ พูดง่ายๆ ก็คือ ฟังอย่าง เต็มใจ ฟังแบบ รับไว้ก่อน ไม่ต้องรีบร้อน ด่วนสรุป  ไม่ต้องตัดสินถูกผิดใดๆ ทั้งสิ้น
สำหรับการฟังอย่างที่สอง ผมเรียกว่า การฟังอย่างลึกซึ้ง หรือ Deep Listening ครับ ....ใช้ฟังตอนที่เข้ากระบวนการ ลปรร. กัน เพราะในช่วงนั้น เราจะให้ผู้พูดเล่า เรื่องราว ที่เกิดขึ้นจริง ผู้ฟังจะต้องฝึกฟังอย่างลึกๆ ฟังด้วยความรู้สึกที่ “in” กับเรื่องนั้นอย่างเต็มที่ ฟังจนเกิดความรู้สึกเสมือนกับว่าเราได้ หลุดเข้าไป ในเรื่องที่กำลังฟังอยู่นั้น ทำให้ได้เห็นบรรยากาศ สามารถเข้าใจในบริบทได้เป็นอย่างดี การฟังในลักษณะนี้จะทำให้ผู้ฟังสามารถนำสิ่งที่ได้ฟังนั้น มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ของตนเองได้
เห็นไหมครับว่า .....เราจะต้องไม่มองข้ามทักษะพื้นๆ เช่นเรื่องการฟังนี้ไป เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เรื่องที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายก็คงจะเป็นไปไม่ได้ครับ นี่แหละครับที่เรียกว่า "หวนคืนสู่พื้นฐาน" หรือ “Back to Basics”
คำสำคัญ (Tags): #การฟัง#listening#sharing#basics
หมายเลขบันทึก: 49735เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2006 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ แต่ว่าในปัจจุบันแล้ว น้อยคนนักที่ทำอย่างนั้นได้ มีข้อความหนึ่งกล่าวว่า "มนุษย์เกิดมาเพื่อที่จะพูด หากเรารู้จักฟังแล้วล่ะก็เราจะได้คู่สนทนาที่ดี" บางคนฟังแต่ไม่มีเป้าหมายไม่ได้จับประเด็นหรือสาระสำคัญ เป็นเพียง "การฟังเพื่อรอโอกาสที่จะพูด" ส่วนคู่สนทนาจะ "พูดเพื่อไม่ให้อีกฝ่ายได้มีโอกาสพูด" ท้ายที่สุดแล้ว ไม่มีใครฟังใคร

หลายคนบอกว่า เรื่องนั้น ๆ ไม่น่าสนใจหรือไม่น่าฟัง ผมเห็นด้วยหากว่าเป็นเรื่องที่เราไม่ได้สนใจหรือเป็นเรื่องที่ไกลตัวเกินไป วิธีการแก้ปัญหาก็คือ การตั้งคำถามกับเรื่องนั้น ๆ จะทำให้เราสนใจขึ้นมาได้มากเลยทีเดียว ดังคำกล่าวของไอสไตร์ที่ว่า "จงอย่าหยุดตั้งคำถาม"

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ประพนธ์...

  • บันทึกนี้ทำให้นึกถึงคำกล่าวของอาจารย์แพทย์หลายท่านครับ... ท่านว่า
  • ฟังคนบ้า > ฟังอย่างตั้งใจ + ไม่คิดตาม (คิดตามคนบ้า > อาจจะบ้าตาม)

ส่วนการฟังคนดี...                         

  • คงจะต้องฝึกฟังอย่างตั้งใจ + ฟังอย่างลึกซึ้งอย่างที่อาจารย์แนะนำ
  • ขอขอบพระคุณ
สกาวรัตน์ พวงลัดดา
การฟังเพื่อให้ "หลุดเข้าไป " ในเรื่องที่กำลังฟังสามารถทำได้โดยการฟังด้วยการ มองหน้า สบตาคนพูด สังเกตสีหน้า แววตาของผู้พูดขณะที่พูด รวมถึงฟังเนื้อหาที่เขาเล่าออกมาด้วยความเข้าใจ  จะทำให้เราสามารถ"หลุดเข้าไป"ในเรื่องเล่านั้นได้
ขอบคุณครับสำหรับเทคนิคการฟังที่ท่านทั้งหลายกรุณาแนะนำมา ....ยิ่งทำเรื่อง KM ไป ก็ยิ่งทำให้ได้เห็น "พลังของการฟัง" ครับ ....ว่าช่างยิ่งใหญ่จริงๆ

ขอบคุณคับ แต่อยากได้การฟังอย่างเข้าใจด้วยคับ

เมื่อฟังอย่างตั้งใจ เมื่อฟังได้อย่างลุ่มลึก ก็จะทำให้ "เข้าใจ" ในเรื่องนั้นได้เป็นอย่างดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท