องค์กรของท่านรับมือกับความคิดจากคนละขั้วได้หรือไม่?


องค์กรคือสังคมที่อยู่ร่วมกัน มีพันธกิจหลัก มีเป้าหมาย มีส่วนได้เสียร่วมกัน การขับเคลื่อนองค์กรจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีแผนงาน เมื่อมีปัญหาอุปสรรคที่จะต้องฟันฝ่า องค์กรมักคัดสรร และจัดสรรทรัพยากรที่ดีที่สุด ที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย ควบคุมทิศทางด้วยความคิดความชำนาญของผู้บริหาร เสริมด้วยกระบวนทรรศน์ในการบริหารจัดการตามที่ประสบพบเห็นหรือเรียนรู้มาว่าทำแล้วสำเร็จ

เพราะว่าพันธกิจหลักและเป้าหมายต่างๆ เป็นสิ่งที่ผูกประสานองค์กรไว้ด้วยกัน ทุกองคาพยพในองค์กรจึงพยายามที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แต่ในหลายๆ ครั้ง ตัวเลขต่างๆ (เช่น budget KPI แผนธุรกิจ กลยุทธ์) สร้างแรงกดดันต่อผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก ซ้ำร้ายบรรดานายๆ ทั้งหลายซึ่งมีพันธะกับตัวเลข กลับลืมไปว่าเพื่อนร่วมงานต่างๆ เป็นคน ไม่ใช่เครื่องจักร หรือกลับคิดไปว่าตัวเองไม่ใช่คน

องค์กรดำเนินกิจกรรมด้วยคน สิ่งต่างๆ ที่องค์กรปฏิบัติ จึงสะท้อนความคิดของคนในองค์กรนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอำนาจดำเนินการในระดับต่างๆ (ก็คนเป็นนายนั่นแหละครับ)

บางทีเราควรกลับมาศึกษากระบวนการคิดในสมอง เพื่อพยายามที่จะเข้าใจเรื่องนี้ให้ดีขึ้น

ความรู้เกี่ยวกับสมอง ได้พัฒนาไปเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

สมองแบ่งเป็นสองซีกคือซ้ายและขวา สมองทั้งสองซีก แบ่งกันหน้าที่กันทำงาน

สมองซีกซ้าย ควบคุมร่างกายในซีกขวา ทำหน้าที่คิดในเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล เรื่องการประมวลผลทางภาษา ความเป็นระเบียบ-เป็นขั้นเป็นตอน เรียกว่าเป็นสมองวิชาการ สมองตรรกะ เป็นสมองของความรู้

สมองซีกขวา ควบคุมร่างการซีกซ้าย ทำหน้าที่เรื่องความคิดริเริ่ม เรื่องภาพองค์รวม เรื่องไม่แน่นอน-ไม่มีระเบียบแบบแผน เรื่องการเข้าใจความอภิรมย์ในธรรมชาติและชีวิต เรื่องสัญชาตญาณ เป็นสมองศิลปะ แหล่งกำเนิดแห่งความคิดริเริ่ม เป็นสมองของอารมณ์และแรงกระตุ้น

ในคนปกติ แม้สมองทั้งสองด้านจะทำงานร่วมกันโดยมีสะพานเชื่อมตรงกลาง แต่ก็จะพบว่าคนแต่ละคนมีแนวโน้มที่จะประมวลผลด้วยสมองด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้านหนึ่ง (ไม่เกี่ยวกับถนัดขวาหรือถนัดซ้าย แต่เป็นถนัดที่จะส่งข้อมูลไปประมวลผลด้วยสมองซีกไหน) เรื่องนี้ทำให้คนแต่ละคนมีความถนัดที่แตกต่างกัน แง่คิด-มุมมอง-ทัศนคติแตกต่างกัน

คนเราใช้สมองทั้งสองด้าน จึงทำให้คนมีหลายด้าน มีมุมมองต่อเรื่องหนึ่งหลายมุมมอง ด้วยระบบการศึกษาในปัจจุบัน ด้วยอิทธิพลความคิดรวบยอดของปรัชญาตะวันตก ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ด้วยความมั่งคั่งอันเกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และด้วยค่านิยมของสังคมที่ให้คุณค่ากับความเป็นเหตุเป็นผล คนทั่วไปจึงมีแนวโน้มที่จะชื่นชมต่อการใช้สมองซีกซ้ายมากขึ้น จนบางทีก็มองพวกที่ถนัดในการใช้สมองซีกขวาว่าแปลกแยก เป็นศิลปิน เป็นพวกบ้า เข้าใจยาก ไม่อยู่ในระเบียบ พูดไม่รู้เรื่อง

ธรรมชาติสร้างสมองมาสองซีก ในปัจจุบันเราใช้สมองอยู่เพียงเล็กน้อย (ข้อมูลวิชาการบางแหล่งว่าร้อยละ 10  บางแหล่งว่าร้อยละ 30) แล้วเราก็ยังจะละเลยความคิดจากสมองซีกซ้ายอีก นี่เป็นสิ่งสมควรแล้วหรือ

ในขณะที่องค์กรต้องการความแตกต่างทางความคิดเพื่อที่จะมองสิ่งต่างๆ ได้รอบคอบขึ้น แต่เมื่อมีความแตกต่างจริงๆ องค์กรของท่านรับมือความแตกต่างเหล่านี้ได้ดีเพียงใด

เมื่อปลายทศวรรษที่ 90 บริษัท Apple Computer ได้ใช้โฆษณาทีวี Think Different ซึ่งได้สร้างปรากฏการณ์การตอบรับเป็นอย่างดี ในเวลานั้นแอ็บเปิลสร้างความแตกต่างของแม็คอินทอชจากพีซีซึ่งครองตลาดอยู่ด้วยแคมเปญนี้ -- แม้ชื่อแคมเปญ Think Different ก็แตกต่าง ตามไวยกรณ์ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง จะต้องเป็น Think Differently (differently เป็น adverb ขยาย think)

คลิกเพื่อชม

Here's to the crazy ones! The misfits, the rebels, the trouble makers, the round pegs in the square holes. The ones who see things differently.

They're not fond of rules and they have no respect for the status quo. You can quote them, disagree with them, glorify or vilify them.

About the only thing you can't do is ignore them. Because they change things. They push the human race forward. And while some may see them as the crazy ones, we see genius.

Because the people who are crazy enough to think they can change the world, are the ones who do.

Think different. [apple logo]

นี่คือการยกย่องสดุดีแก่พวกคนบ้า พวกที่เข้ากับใครไม่ได้ พวกกบฏ พวกชอบก่อปัญหา พวกแปลกประหลาดทำตัวไม่เหมือนคนอื่น พวกที่มองอะไรแตกต่างออกไป

คนพวกนี้ไม่ชอบเดินตามกฎเกณฑ์ และไม่อยู่นิ่ง ท่านสามารถกล่าวอ้างพวกเขา โต้แย้งไม่เห็นด้วยกับพวกเขา จะสรรเสริญ หรือดูหมิ่นคนเหล่านี้ก็ได้

แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านไม่สามารถจะกระทำได้คือการละเลยไม่สนใจคนพวกนี้ เพราะพวกเขาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ พวกเขาผลักดันมนุษยชาติให้ก้าวหน้าขึ้น แม้ว่าบางคนอาจเห็นว่าคนเหล่านี้เป็นคนบ้า แต่เรากำลังมองเห็นอัจฉริยะ

ก็เพราะว่าพวกที่บ้าพอจะคิดว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงโลกได้นี่แหละ ที่เป็นคนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

คิดอย่างแตกต่าง [โลโก้ของ apple]

ถอดเสียงโดยเพื่อนร่วมงานชาวอังกฤษชื่อคุณ C.E. ถอดความโดยผม เพื่อใช้เป็นแบบฝึกหัดในการสื่อสารความคิดในบริษัทเมื่อปี 2545

หากองค์กรของท่าน มีคนที่คิดด้วยสมองซีกซ้าย และ/หรือ แตกต่างจากเพื่อนฝูงส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก ท่านยอมรับเขาอย่างที่เขาเป็นอยู่ได้หรือไม่ ท่านใช้ประโยชน์จากความแตกต่างนี้อย่างไร ท่านมีทางเดินให้เขาเลือกแม้ว่าจะแตกต่างกับคนส่วนใหญ่หรือไม่ ท่านยุติธรรมต่อเขาหรือไม่

คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ นำไปสู่คำตอบว่าองค์กรของท่านมีชีวิตหรือไม่ จัดการความแตกต่างได้ดีเพียงใด

หมายเลขบันทึก: 89031เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2007 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

Conductor

ยังมองไม่เห็นบางอย่าง....

เจริญพร

พระอาจารย์มาเร็วอีกแล้วครับ

ที่จริงผมไม่ได้ชี้ประเด็นอะไรเลย นอกจากประเด็นที่ว่าองค์กรต้องการความแตกต่าง และในเวลาที่เราได้ความแตกต่างมา ไม่ว่าจะได้มาอย่างไรก็ตาม เราพร้อมจะรับมันหรือไม่

ยกเรื่องสมองสองซีกมาก็ไม่ค่อยเกี่ยวเท่าไหร่ เพียงแต่จำได้ว่ามีเพื่อนบางคนเคยบอกว่าชอบทะเลาะกับตัวเอง ก็เลยนึกถึงกรณีสมองสองซีกคิดกันคนละอย่าง ก็เป็นคล้ายๆ กับองค์กรที่อาจจะมีฐานของความคิดหลากหลาย

Can we tell a difference between a mad man and a genius? 

Van Gogh was both - a genius first before he became truly mad and cut his ear out.

Do we need conforrmity or diversification?  In US workplace, it's by law not to discriminate by age, race, and gender. 

Two things (at least) that a company can do/be:

  • Be different
  • Be flexible 

 

 

ถ้า genius แปลว่าผู้มีความฉลาดอย่างลึกล้ำแบบที่ wikipedia ให้ความหมายไว้ เราคงจะบอกได้ไม่ยากจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย

แต่ผมไม่ชอบความหมายนั้นครับ อยากเรียก genius ว่าผู้มีอัจฉริยภาพมากกว่า ซึ่งจะได้ความหมายที่กว้างกว่าเรื่องสติปัญญาอย่างเดียว

อัจฉริยภาพเป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันสอดส่องค้นหา ส่งเสริมให้พัฒนาได้ดีขึ้น และช่วยสร้างโอกาสให้สามารถเปล่งประกายได้

ในความหมายที่ว่าเป็นความสามารถพิเศษเหนือกว่าคนปกตินี้ เชื่อว่าทุกคนคงมีดีกันอยู่บ้างอย่างสองอย่าง จะเป็นเรื่องน่าเสียดายหากค้นไม่พบ -- ในบริบทของคนเป็นนายนั้น ควรจะอ่านลูกน้องออก ควรจะเห็นว่าเขาทำอะไรได้ดี หรือดีเป็นพิเศษ แล้วส่งเสริมลูกน้องแต่ละคนตามลักษณะพิเศษนั้น

การเป็นอัจฉริยะกับการเป็นคนบ้า แม้อาจอยู่ไม่ห่างกันนัก ทั้งสองอย่างแตกต่างกับคนทั่วไปจนน่าจะสังเกตได้ง่าย และคงไม่ต้องเป็นอัจฉริยะเสียก่อนจึงจะแยกแยะได้หรอกครับ

เรื่องกฏหมาย EEO นั้น ผมคิดว่าสังคมอเมริกันรู้ตัวว่ามีปัญหาเรื่องนี้มาก (เป็นเช่นนี้ตลอดมาตั้งแต่ก่อตั้งประเทศจนถึงทศวรรษที่ 70) แล้วประชาชนก็ยึดถือกฏหมายเป็นกติกาสังคม การจำกัดเสรีภาพของประชาชน (ที่จะเลือก) จะต้องออกเป็นกฏหมาย ประกอบกับการรักษากฏหมายมีความเด็ดขาด

ช่างต่างกับประเทศสาระขันอันเป็นที่รักเหลือเกิน ทั้งไม่รู้ตัว ไม่ยึดถือกติกาสังคม แล้วยังลูบหน้าปะจมูกกับการรักษากฏหมายเสียอีก

ผมมีความรู้สึกแย้งๆ กันในเรื่องนี้ครับ

ในแง่มุมหนึ่งเป็นความรู้สึกของผมตั้งแต่สมัยวัยรุ่นว่าไม่ชอบอะไรที่เหมือนคนอื่น (อาจเป็นเพราะช่วงนั้นบ้า Albert Camus . The Strangerมาก) แต่ครั้นจะต่างจากคนอื่นมากไปก็อึดอัด ก็จะพยายามสอดใส่ความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ภายใต้ความคล้ายคลึงภายนอก และจะดีใจถ้ามีคนสังเกตเห็น ผมรู้สึกว่าความแตกต่างเป็นอิสระภาพอย่างหนึ่ง เป็นวิญญาณกบฏที่เราอยากมีจากพลังผลักดันภายในของเรา (ทุกคน?) ผม appreciate สิ่งนี้มองว่ามันคือสิ่งที่สร้างสรรค์ ทำให้โลกนี้ไม่แห้งจนน่าเบื่อ

 ในอีกแง่มุมหนึ่งผมรูุ้้สึกว่ากระแสนิยมของการต้องการแตกต่างในช่วงทศวรรษหลังนี่รุนแรงมาก วงการธุรกิจ บันเทิง จะไม่พุ่งถ้าคุณไม่สามารถหาและสร้างความแตกต่างจากคนอื่นได้  (นึกถึงโฆษณาของหมู่บ้านหรือคอนโดหนึ่งที่เป็นคนที่บูชาเอลวิส ทำอะไรก็เอลวิสไปหมด แ้ล้วก็จบท้ายด้วยการบอกว่าอะไรทำนองคุณต้องการความแตกต่าง ทีแรกผมยังเข้าใจผิดเลยนะ เพราะนึกชื่นชมคนที่ทำแบบเอลวิสว่าเขาไม่แคร์ที่เขาจะแตกต่างจากคนอื่นที่อะไรๆ ก็เอลวิส แต่กลายเป็นว่าเข้าใจผิดนายคนนั้นกับแย่เพราะไม่ยอมทำตัวต่างจากเอลวิส?)

ตอนนี้ความแตกต่างกลับกลายเป็นกระแสหลัก เป็นจุดขาย เป็นอะไรที่่หมายถึงพลัง แล้วนี่ผมจะต้องทำตัวให้ไม่แตกต่างจากคนอื่น เพื่อที่จะได้แตกต่างไปจากกระแสหลักหรือเปล่าเนี่ย !!!

 

อาจารย์ครับ

ผมคิดว่าสังคมมีความสามารถในการจัดการตัวเองได้ถ้าหากเราเชื่อในสติปัญญาของหมู่คนครับ

ถ้าเราไม่เชื่อ ก็จะมีลักษณะ Father knows best มีคนที่นึกว่าตัวรู้ดีกว่ามาอาสาจัดการให้ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่

ผมมีความเห็นว่าจะแตกต่างหรือไม่แตกต่าง กลับไม่สำคัญเท่ากับเป็นตัวเองหรือว่าฝืนทำครับ; ถ้าฝืนทำ ไม่ว่าจะเข้ากับกระแสหลักหรือว่าแตกต่าง ก็จะไม่มีความสุขทั้งนั้นครับ

Time magazine's Jan 2007's "The New Map of the Brain" issue: 

"Trying to map the brain has always been cartography for fools. Most of the other parts of the body reveal their workings with little more than a glance. The heart is self-evidently a pump; the lungs are clearly bellows. But the brain, which does more than any organ, reveals least of all. The 3-lb. lump of wrinkled tissue--with no moving parts, no joints or valves--not only serves as the motherboard for all the body's other systems but also is the seat of your mind, your thoughts, your sense that you exist at all. You have a liver; you have your limbs. You are your brain...."

I still think brain is still a big black box - yes, we try to understand how it works, but .. but ... there are so many buts ....and I'm just brained out.

Back to "Think Different" Apple ad campaign which perhaps made more splash than Apple products at that time....  "Years after Apple launched its advertising campaign admonishing customers to "Think Different," CEO Steve Jobs appears to be taking his own advice. ... "

At that time .. even now in the eye of the majority PC users.. to buy an Apple box was to be a subject of being rediculed i.e. are you crazy? it's such an expensive box, not a whole lot of software run on Apple.. etc.. etc .. etc

But now things are different? Apple became mainstream and relevant .. (I would think) .. measured by the spawning of copycats from iPod .. to iPhone..

I don't think as a consumer/a company you can follow the "mainstream" and don't question where it's leading you to .. and that's where you can "Think Different" & *smiley* too.

 

Apple ก็เปลี่ยนไปครับ

  • เปลี่ยน PPC เป็น Intel บน OSX
  • เปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Apple Computer เป็น Apple เฉยๆ
  • หายจาก "Not invented here" syndrome โดยการผลิตสินค้าทั้งหมด ใช้วิธี outsource เพื่อลดต้นทุน ตลอดจนขยายกำลังการผลิตได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องรับความเสี่ยงจากการลงทุนในเรื่องกระบวนการผลิตและสินค้าคงคลัง
  • สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนคือ Apple ยังเป็นบริษัทที่ (1) เชื่อเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (2) ยังเป็นบริษัทที่มีความลับมาก (3) กระจายข่าวผ่านข่าวลือ เพื่อสร้างความตื่นเต้น และ (4) เป็นเจ้าลัทธิ
หนังโฆษณาของ Apple (พร้อมคลิปอื่นๆ) สำหรับบรรดาสาวกครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท